คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อำนาจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6467/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ที่ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก และเหตุให้ถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีทรัพย์มรดกอย่างอื่นอีกผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายไม่มีอำนาจที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1713กรณีถือได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามมาตรา1727วรรคหนึ่ง คดีนี้เดิมผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่าผู้ร้องเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายสายธนะผลซึ่งถึงแก่ความตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือตั้งผู้จัดการมรดกไว้ผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือที่ดิน1แปลงโฉนดเลขที่885เนื่องจากมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดกดังกล่าวจึงขอให้ศาลตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่12กุมภาพันธ์2534ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกไม่มีพินัยกรรมของผู้ตาย ต่อมาวันที่21พฤษภาคม2534ผู้คัดค้านยื่นคำร้องว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสียในที่ดินโฉนดเลขที่885ซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายทั้งนี้เพราะผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านแล้วขอให้ถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องหลังจากนั้นวันที่11ตุลาคม2536ผู้คัดค้านยื่นคำร้องเข้ามาใหม่ว่าคดีที่ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายฟ้องผู้คัดค้านขอให้ทำลายพินัยกรรมที่ผู้ตายทำไว้ให้แก่ผู้คัดค้านนั้นถึงที่สุดตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่509/2534ของศาลชั้นต้นโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินมรดกดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านไว้ก่อนแล้วจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีผู้จัดการมรดกอีกต่อไปคำร้องของผู้ร้องขอจัดการมรดกเป็นความเท็จทำให้ศาลมีคำสั่งไปโดยผิดหลงขอให้มีคำสั่งถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกและยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6409/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แม้มีการแต่งตั้งทนายความใหม่
แม้จำเลยจะเพิ่งตั้งให้ ส.เข้ามาเป็นทนายความของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ แต่จำเลยก็มิได้แถลงให้ศาลทราบว่าไม่ต้องการให้ ว.ทนายความคนก่อนเป็นทนายความของจำเลยต่อไป หรือยื่นคำร้องขอถอน ว.จากการเป็นทนายความของจำเลย ว.จึงยังเป็นทนายความของจำเลยอยู่และมีอำนาจขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 593/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันกับการบังคับคดีหลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานบังคับคดียังมีอำนาจดำเนินการได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา22(2)บัญญัติให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นแม้ทรัพย์สินนั้นจะอยู่ในระหว่างการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ตามเจ้าพนักงานบังคับคดีก็ยังต้องปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเว้นแต่การบังคับคดีนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา110วรรคแรกประกอบด้วยมาตรา112ทั้งนี้ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาแบ่งเฉลี่ยให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเสมอภาคตามส่วนแต่อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันตามมาตรา110วรรคท้าย ผู้คัดค้านที่1เป็นเจ้าหนี้จำนองทรัพย์พิพาทของลูกหนี้ได้ฟ้องบังคับจำนองและทำการบังคับคดีโดยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์พิพาทเพื่อขายทอดตลาดแล้วศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2ย่อมไม่มีอำนาจที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีโอนการยึดทรัพย์พิพาทมาไว้ในคดีล้มละลายเพราะเป็นการกระทบต่อสิทธิของผู้คัดค้านที่1ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการบังคับแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันโดยตรง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทซึ่งจำนองเป็นหลักประกันต่อไปในการบังคับคดีแพ่งแม้เป็นการปฏิบัติตามคำขอของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2เมื่อคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่กระทบถึงสิทธิดังกล่าวของผู้คัดค้านที่1จึงมีผลเท่ากับเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทไปตามอำนาจหน้าที่ของตนในการบังคับคดีแพ่งตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งภาค4ลักษณะ2การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งหาใช่เป็นการขายทอดตลาดในคดีล้มละลายอันเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่2แต่ผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483แต่ประการใดไม่โจทก์หรือเจ้าหนี้อื่นจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่จะขายซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องแจ้งให้ทราบซึ่งวันขายทอดตลาดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา306

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5858/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการทวงหนี้หลังพิทักษ์ทรัพย์: สิทธิเรียกร้องต้องมีก่อนคำสั่งศาล
กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยดำเนินการทวงหนี้จากลูกหนี้ของจำเลยตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา119นั้นสิทธิเรียกร้องของจำเลยต้องมีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพราะเหตุว่าเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วไม่ว่าจะพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราวหรือพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจำเลยย่อมไม่มีอำนาจจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองอำนาจดังกล่าวตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพียงผู้เดียวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา6,22,24

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5843/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ทำกับผู้จัดการมรดกที่ไม่มีอำนาจ ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยเสียงข้างมาก สัญญาไม่ผูกพันกองมรดก
ผู้จัดการมรดกของ พ.มีสามคนคืออ.ช. และจำเลยขณะจำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ในคดีนี้ อ.และช.ผู้จัดการมรดกอีกสอบคนถึงแก่กรรมแล้ว ดังนี้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวย่อมไม่มีอำนาจจัดการมรดกต่อไปตามลำพัง เพราะในกรณีมีผู้จัดการมรดกหลายคนจะต้องจัดการโดยถือเอาเสียงข้างมากของผู้จัดการมรดกร่วมกัน สัญญาเช่าที่พิพาทจึงไม่ผูกพันกองมรดก การที่ศาลตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวในภายหลังไม่มีผลทำให้สัญญาเช่าที่พิพาทผูกพันกองมรดก โจทก์ฎีกาอ้างเพียงว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังได้ว่าทายาทของ พ. ได้เชิดจำเลยให้แสดงออกว่าจำเลยเป็นตัวแทนจัดการทรัพย์มรดกของ พ.แต่เพียงผู้เดียวโดยโจทก์มิได้ฎีกาโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5293/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสัตยาบันการกระทำของตัวแทน แม้ไม่มีอำนาจฟ้องแย้งชัดแจ้ง
แม้ว่าจำเลยร่วมจะไม่ระบุให้ชัดแจ้งในหนังสือมอบอำนาจว่าได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ แต่หลังจากที่ผู้รับมอบอำนาจได้ฟ้องแย้งไว้แล้ว จำเลยร่วมก็ได้มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งได้ ถือได้ว่าจำเลยร่วมตัวการได้ให้สัตยาบันการกระทำของผู้รับมอบอำนาจตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 จำเลยร่วมจึงมีอำนาจฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีเมื่อผู้เสียภาษียื่นรายการล่าช้า หรือไม่ยื่นรายการตามกำหนด
เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งใน 3 เหตุตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินภาษีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีเหตุครบทั้ง 3 ประการ
แม้เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะได้เรียกให้จำเลยส่งเอกสารต่าง ๆ ไปเพื่อตรวจสอบ แต่เมื่อได้ความแน่ชัดแล้วว่า โจทก์ไม่ได้ยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษี อันเป็นเหตุหนึ่งที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะใช้อำนาจประเมินภาษีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 71 (1) ได้แล้ว ก็หาจำเป็นที่เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนหาความจริงจากเอกสารที่โจทก์ส่งมอบ การส่งมอบเอกสารของโจทก์ไม่ทำให้อำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานดังกล่าวหมดสิ้นไป
โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี หากไม่ยื่นภายในกำหนดเจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา71 (1) ทันที โจทก์ยื่นรายการเกินกำหนดเวลาไป เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยจึงมีอำนาจประเมินได้ตามมาตรา 71 (1) การยื่นรายการของโจทก์ในภายหลังไม่อาจลบล้างอำนาจของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้
ภ.ง.ด.50 หรือแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่งประมวลรัษฎากร ก็คือแบบการยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีที่อธิบดีกำหนดขึ้นตามมาตรา 68 และ69 ซึ่งเป็นแบบการยื่นรายการที่กล่าวไว้ในมาตรา 71 (1) นั้นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการผู้จัดการในการโต้แย้งหนี้ในคดีล้มละลาย และหน้าที่การพิสูจน์หนี้ของเจ้าหนี้
ภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกส. กรรมการผู้จัดการของบริษัทลูกหนี้มาสอบสวนและให้ส่งดวงตราต่างๆของลูกหนี้มาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เก็บรักษาไว้เป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา19วรรคแรกส. ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องโต้แย้งมูลหนี้ของเจ้าหนี้โดยไม่ต้องประทับตราของลูกหนี้เหมือนเช่นกรณีลูกหนี้จะไปทำนิติกรรมสัญญาก่อนถูกพิทักษ์ทรัพย์และถือว่าส. มีอำนาจทำการแทนลูกหนี้ได้มิใช่กระทำในฐานะส่วนตัว เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อพิสูจน์ว่าหนี้ที่ยืนคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริงและในการตรวจคำขอรับชำระหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินแล้วทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระนั้นต่อศาลดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจวินิจฉัยว่าศ.ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหลักกับตัวแทน: สัญญาที่ตัวแทนทำไป หลักต้องรับผิดด้วย แม้หลักมิได้ลงนาม
แม้โจทก์จะฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ แต่โจทก์นำสืบได้ความว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของจำเลยที่ 1 ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ได้ ไม่เป็นเรื่องนอกคำฟ้องของโจทก์ เพราะเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นพิพาทแห่งคดี เนื่องจากในการติดต่อว่าจ้างทำของจำเลยที่ 1 อาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนไปติดต่อทำสัญญากับโจทก์แทนก็ได้ จำเลยที่ 1 จะอ้างว่าจำเลยที่ 2 ลงชื่อในสัญญาเป็นเรื่องส่วนตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4922/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้าง: ตัวแทนทำสัญญาผูกพันนายจ้าง แม้จะไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันว่าจ้างให้โจทก์ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์แต่โจทก์นำสืบได้ความว่าจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของจำเลยที่1ทำสัญญาแทนจำเลยที่1ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยให้จำเลยที่1รับผิดต่อโจทก์ได้ไม่เป็นเรื่องนอกคำฟ้องของโจทก์เพราะเป็นการวินิจฉัยตรงตามประเด็นพิพาทแห่งคดีเนื่องจากในการติดต่อว่าจ้างทำของจำเลยที่1อาจกระทำโดยตนเองหรือโดยมีจำเลยที่2เป็นตัวแทนไปติดต่อทำสัญญากับโจทก์แทนก็ได้จำเลยที่1จะอ้างว่าจำเลยที่2ลงชื่อในสัญญาเป็นเรื่องส่วนตัวหาได้ไม่
of 98