พบผลลัพธ์ทั้งหมด 231 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการยึดทรัพย์ของลูกหนี้ล้มละลายก่อนมีคำพิพากษา และการดำเนินคดีเช่าซื้อควบคู่กัน
กรณีประนอมหนี้ก่อนมีคำพิพากษาให้ล้มละลายนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่หมดอำนาจและหน้าที่ในคดีล้มละลายจะนำมาตรา 63 มาใช้บังคับไม่ได้
ในคดีที่จำเลยเช่าซื้อทรัพย์ไปจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวด ติดกันคดียังพิพาทกันอยู่ว่าฝ่ายใดผิดสัญญาและโจทก์จะเรียกสิ่งของที่เช่าซื้อกลับคืนไปได้ หรือไม่ จำเลยก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีอื่น และเจ้าพนักงานเข้ามาดำเนินคดีนี้แทนจำเลย ทั้งได้โอนสิ่งของที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนในคดีนี้เข้าในกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายตามมาตรา 109 (3) ด้วยนั้น คดีที่พิพาทกันเรื่องเช่าซื้อก็ยังต้องดำเนินต่อไป และยังไม่มีทางที่จะให้โจทก์คดีนี้ไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 ในชั้นนี้ได้
กรณีฟ้องเรียก ทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยดังเช่นในคดีนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีเรียกทรัพย์ที่ถูกยึดคืนจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 158
ในคดีที่จำเลยเช่าซื้อทรัพย์ไปจากโจทก์แล้ว ไม่ชำระค่าเช่าซื้อ 2 งวด ติดกันคดียังพิพาทกันอยู่ว่าฝ่ายใดผิดสัญญาและโจทก์จะเรียกสิ่งของที่เช่าซื้อกลับคืนไปได้ หรือไม่ จำเลยก็ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีอื่น และเจ้าพนักงานเข้ามาดำเนินคดีนี้แทนจำเลย ทั้งได้โอนสิ่งของที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนในคดีนี้เข้าในกองทรัพย์สินของผู้ล้มละลายตามมาตรา 109 (3) ด้วยนั้น คดีที่พิพาทกันเรื่องเช่าซื้อก็ยังต้องดำเนินต่อไป และยังไม่มีทางที่จะให้โจทก์คดีนี้ไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 91 ในชั้นนี้ได้
กรณีฟ้องเรียก ทรัพย์ของโจทก์คืนจากจำเลยดังเช่นในคดีนี้ เป็นคนละเรื่องกับกรณีเรียกทรัพย์ที่ถูกยึดคืนจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 720/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่นายอำเภอจดทะเบียนสมรส และข้อยกเว้นตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
นายอำเภอมีหน้าที่จดทะเบียนสมรสให้แก่คู่สมรสตามที่เขาร้องขอตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 นายอำเภอจะอ้างเหตุขัดข้อง ตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยโดยที่คำสั่งกระทรวงมหาดไทยนั้นมิได้อาศัยอำนาจตามบทกฎหมายนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 167/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการชันสูตรพลิกศพ: อนามัยอำเภอทำหน้าที่แทนได้ตามกฎหมาย
แพทย์ที่ทำการชันสูตรพลิกศพเป็นอนามัยอำเภอก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: กรมการอำเภอและอธิบดีกรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 มิได้ยกเลิก พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117, 122 บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และว่าจะขัดกับประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4 (15) ก็ไม่ได้เพราะ ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินทีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดิน ทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 117 บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและ พ.ร.บ. ระเบียบราชการบริหารแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่ดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอ vs กรมที่ดิน
พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4มิได้ยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 และพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117,122บัญญัติให้กรมการอำเภอดูแลรักษาที่อันเป็นสาธารณประโยชน์ และจะว่าขัดกับประมวลกฎหมายที่ดินอันจะต้องยกเลิกไป ตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 4(15)ก็ไม่ได้ เพราะประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินทั้งหลายอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ในเมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 117บัญญัติให้เป็นหน้าที่กรมการอำเภอจะต้องระวังรักษาดูแลที่ดินเป็นสาธารณประโยชน์ของรัฐบาล ไม่ให้ผู้ใดทำให้เสียหายและพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2495 มาตรา 40 วรรคสุดท้ายได้บัญญัติให้นายอำเภอมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการอันเป็นอำนาจของกรมการอำเภอ ฉะนั้น นายอำเภอจึงมีอำนาจดูแลรักษาและสั่งห้ามไม่ให้ผู้ใดทำให้ที่สาธารณประโยชน์เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดป้ายหาเสียงและการใช้อำนาจหน้าที่ นายอำเภอไม่มีความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์หรือใช้อำนาจโดยมิชอบ
จำเลยเป็นนายอำเภอ สั่งให้คนปลดเชือกผูกป้ายผ้าโฆษณาหาเสียงการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งแขวนไว้ที่ทางเดินขึ้นจากท่าเรือจ้างหน้าที่ว่าการอำเภอ ให้พ้นการกีดขวางทางเดินซึ่งจำเลยมีหน้าที่ดูแลรักษาท่าเรือจ้างนั้น ต่อมาผ้าป้ายนั้นได้หายไป โดยไม่ได้เกิดจากการกระทำของจำเลยโดยตรง จำเลยมิได้มีเจตนาจะทำให้เสียทรัพย์จำเลยยังไม่มีผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และฐานใช้อำนาจและตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1239/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต: การจ้างวานกระทำผิดส่วนตัว ไม่อาจลงโทษฐานเจ้าพนักงานใช้อำนาจหน้าที่
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในกระทงความผิดฐานทำ ตัดฟันชักลากไม้โดยไม่รับอนุญาตในกระทงความผิดฐานใช้ดวงตราผิดกฎหมายและในกระทงความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานจดหนังสือราชการอันเป็นหลักฐานเท็จ จำคุกจำเลย 3 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในข้อเท็จจริงแต่แก้โทษลดลงเหลือ 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ จำเลยใช้จ้างวานคนไปตัดฟันชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่ได้กล่าวว่าจำเลยเอาอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการไปใช้จ้างวานคนให้กระทำผิดเช่นนั้นด้วยเลย เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ใช้จ้างวานให้คนไปกระทำผิดเป็นส่วนตัว ย่อมจะลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 132 หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ไม่ได้
บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ จำเลยใช้จ้างวานคนไปตัดฟันชักลากไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ไม่ได้กล่าวว่าจำเลยเอาอำนาจในตำแหน่งหน้าที่ราชการไปใช้จ้างวานคนให้กระทำผิดเช่นนั้นด้วยเลย เช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ใช้จ้างวานให้คนไปกระทำผิดเป็นส่วนตัว ย่อมจะลงโทษจำเลยฐานเป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 132 หรือประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 151 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมโดยไม่มีหมาย และอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานในการเข้าจับกุมในที่รโหฐาน
นายสิบและพลตำรวจสงสัยว่า จำเลยจะกินสุราเถื่อนในเวลาค่ำคืน จึงเข้าไปเพื่อจะจับกุมโดยไม่มีหมาย ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ความผิดซึ่งหน้าและตำรวจไม่มีอำนาจตามขึ้นไปจับจำเลยบนเรือนอันเป็นที่ระโหฐาน เพราะไม่ใช่กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หากตำรวจขืนขึ้นไปจับจำเลย ๆ ทำร้ายเอา ก็ไม่เป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 395/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตำรวจใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่เรียกรับเงินจากผู้ต้องสงสัย ศาลตัดสินผิดฐานทุจริต
การที่จำเลยหยิบเอาเงินไป เนื่องจากที่ใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ในทางทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ความผิดเรื่องลักทรัพย์เกลื่อนกลืนเข้าไปในกรณีนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2003-2005/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าอาวาสมีอำนาจหน้าที่เสมือนเจ้าพนักงาน การกระทำผิดจึงเข้าข่ายความผิดของเจ้าพนักงาน
การที่ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์บัญญัติไว้ว่า พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายลักษณะอาญานั้น บ่งชัดถึงอำนาจและหน้าที่ กล่าวคือเมื่อมีอำนาจในวัดเหมือนกับเจ้าพนักงานแล้ว หากกระทำผิดในหน้าที่ก็จะต้องเป็นผิดฐานเจ้าพนักงานกระทำความผิดด้วย
การลดโทษที่มีเหตุอันเข้าลักษณะทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้น เมื่อได้ทำผิดขณะใช้กฎหมายเก่า ก็ควรอ้างกฎหมายเก่าคือ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุลดโทษ (ตามแบบอย่างฎีกาที่ 1879/2500)
การลดโทษที่มีเหตุอันเข้าลักษณะทั้งกฎหมายเก่าและกฎหมายใหม่นั้น เมื่อได้ทำผิดขณะใช้กฎหมายเก่า ก็ควรอ้างกฎหมายเก่าคือ กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 59 เป็นเหตุลดโทษ (ตามแบบอย่างฎีกาที่ 1879/2500)