คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
อุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,483 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องยึดเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง หากไม่ทำตาม จะไม่สามารถอุทธรณ์ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจจึงไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอนหาใช่เป็นอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องกระทำภายในกำหนด หากเลยกำหนดต้องใช้วิธีอื่นที่ไม่ใช่การอุทธรณ์คำพิพากษา
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอม หากโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อใดขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 (3) โดยโจทก์ต้องอุทธรณ์ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่อ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง คือภายใน 7 มีนาคม 2545 ตามมาตรา 229 แต่โจทก์หาได้อุทธรณ์ไม่ กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 โดยไม่มีบทกฎหมายใดให้โจทก์กระทำเช่นนั้นได้ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์ไว้วินิจฉัยด้วยเหตุดังกล่าวจึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอ มิใช่เป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมตามข้อยกเว้นของมาตรา 138 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2426/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมและการเพิกถอนสัญญาประนีประนอม ผู้โจทก์ต้องอุทธรณ์ตามกำหนด หากไม่ทำ ยื่นคำร้องเพิกถอนไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสอง และศาลพิพากษาตามยอมแล้ว เมื่อโจทก์เห็นว่าข้อตกลงตามสัญญายอมข้อใดไม่ชอบ ทำให้คำพิพากษาตามยอมไม่ชอบ เข้าข้อยกเว้นที่โจทก์สามารถอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมได้ โจทก์ก็ต้องอุทธรณ์คำพิพากษานั้นภายในกำหนด 1 เดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาตามยอมให้คู่ความฟัง การที่โจทก์ไม่อุทธรณ์แต่กลับยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความโดยไม่มีบทกฎหมายใดให้อำนาจ จึงไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของโจทก์จึงชอบแล้ว เพราะกรณีของโจทก์เป็นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความตามที่โจทก์ขอให้เพิกถอน หาใช่เป็นอุทธรณ์ตามข้อยกเว้นของ ป.วิ.พ. มาตรา 138 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมที่ต้องห้ามตามกฎหมาย และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยปัญหาความสงบเรียบร้อย
ฟ้องโจทก์ระบุว่าจำเลยขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับรถ และไม่ได้จัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยจากรถ และขับรถในขณะเมาสุราและโดยประมาทพุ่งเข้าชนรถจักรยานยนต์ที่ ช. ขับ และพุ่งเข้าชนกำแพงรั้วบริษัท ท. เป็นเหตุให้นาย ช. ได้รับอันตรายสาหัส และนางสาว ต. ซึ่งนั่งโดยสารมาในรถที่จำเลยขับถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 291, 300 พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43, 157, 160 พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42, 66 พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 7, 37 แม้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. บิดานาย ช. ผู้เสียหายเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยมิได้ระบุว่าอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในความผิดฐานใด แต่ก็พอแปลได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้นาย บ. เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสตาม ป.อ. มาตรา 300 เท่านั้น และความผิดตาม ป.อ. มาตรา 300 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โจทก์ร่วมจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 193 ทวิ โจทก์ร่วมอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ลดโทษและไม่รอการลงโทษจำคุกนั้น เป็นอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษ จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 รับพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมและพิพากษาจำคุกจำเลยมานั้นจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และเมื่อโจทก์ร่วมต้องห้ามอุทธรณ์ จึงไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ เกินกำหนด 7 วัน คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแต่เฉพาะบางส่วน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเด็ดขาดผู้พิพากษาอนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง: คำสั่งไม่อนุญาตไม่อุทธรณ์ต่อได้
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามมาตรา 22 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงฯ เมื่อผู้พิพากษาผู้ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาในศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว โจทก์ร่วมจะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์อีกไม่ได้ เพราะการที่ผู้พิพากษาผู้พิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาใช้ดุลพินิจอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเป็นอำนาจเฉพาะตัวอันเด็ดขาดของผู้พิพากษาผู้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ การอุทธรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษา
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขแผน ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องมิได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/79 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทุเลาการบังคับ: ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีอำนาจพิจารณาคำร้องทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่อาจทำได้
การขอทุเลาการบังคับ กฎหมายกำหนดวิธีการให้อยู่ในอำนาจของศาลเป็นชั้น ๆ ไป การขอทุเลาการบังคับในระหว่างอุทธรณ์เป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 7 เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งยกคำร้องขอทุเลาการบังคับแล้ว จำเลยจะฎีกาคำสั่งต่อศาลฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1792/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่มีข้อความโต้แย้งคำพิพากษาของศาชั้นต้น โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ กรณีจึงต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้คำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด โจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องใหม่ ถือเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็เป็นการรับอุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
of 349