คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงื่อนไข

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 479 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของทรัพย์สิน และการยกเว้นบทบัญญัติกฎหมาย
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข บังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลง และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่าเป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1 ก็ตามแต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ จำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วน เพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรก แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3728/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข การสูญหายของรถยนต์ และความรับผิดของผู้ซื้อ/ผู้ค้ำประกัน
สัญญาซื้อขายรถยนต์ซึ่งระบุว่า กรรมสิทธิ์ของยานยนต์ที่ซื้อขายจะยังไม่โอนเป็นของผู้ซื้อจนกว่าผู้ซื้อจะได้ชำระราคาซื้อขายด้วยเงินสดครบถ้วนตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาเสียก่อนนั้น เป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข ย่อมบังคับกันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 459 เมื่อคู่สัญญาตกลงซื้อขายกำหนดราคากันไว้เป็นจำนวนแน่นอนและโจทก์ผู้ขายให้จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อชำระราคาในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่งแล้วให้ผ่อนชำระราคาส่วนที่เหลือเป็นงวด และมีข้อตกลงว่าหากผู้ซื้อผิดนัดชำระราคางวดใด ยอมให้ผู้ขายเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลือพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ทั้งหมดได้ทันทีดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1มิได้ปฏิบัติตามสัญญาโดยผิดนัดชำระราคาตามงวดที่ได้ตกลงกันไว้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระให้โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยตามข้อตกลงและจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องร่วมรับผิดด้วย แม้จะปรากฏต่อมาว่าก่อนถึงกำหนดชำระราคางวดที่ 14 รถยนต์ที่ซื้อขายถูกคนร้ายลักไปโดยไม่ปรากฏว่า เป็นความผิดของโจทก์หรือจำเลยที่ 1ก็ตาม แต่ตามสัญญาซื้อขายระบุไว้ชัดว่า หน้าที่ความรับผิดของผู้ซื้อย่อมไม่หมดสิ้นไปเนื่องจากการสูญหายของยานยนต์ดังกล่าวจำเลยที่ 1 จึงยังคงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์จนครบถ้วนเพราะข้อสัญญาดังกล่าวเป็นการยกเว้นบทบัญญัติมาตรา 372 วรรคแรกแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน คู่สัญญาย่อมตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 114 เบี้ยประกันภัยที่โจทก์ได้ชำระแทนไป จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดชำระให้โจทก์เต็มจำนวนตามสัญญา แต่ในส่วนอัตราดอกเบี้ยของเงินค่าเบี้ยประกันภัยมิได้กำหนดกันไว้ในสัญญาเหมือนเช่นเงินราคาค่ารถโจทก์จึงเรียกได้เพียงในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนการให้โดยเสน่หาเนื่องจากผู้รับประพฤติเนรคุณ ต้องเข้าเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติเท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสัญญา ไม่เคยให้ความช่วยเหลือ โจทก์ต้องพึ่งพาอาศัยเพื่อนบ้านเพื่อประทังชีพถือว่าจำเลยประพฤติชั่วและเนรคุณโจทก์ ขอให้จำเลยโอนที่ดินที่โจทก์ยกให้โดยเสน่หาแก่จำเลยคืนโจทก์ จำเลยไม่ยินยอม กลับพูดจาเสียดสีด่าว่าโจทก์ แต่การเรียกถอนคืนการให้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 531 เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณมีเพียงกรณีที่ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตาม ป.อ.หรือผู้รับทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรง หรือผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเลยเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ ข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ไม่เข้าเหตุที่จะเรียกถอนคืนการให้ตามที่บัญญัติไว้ดังกล่าว ไม่อาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินที่โจทก์ยกให้คืนแก่โจทก์ได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบ-ร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดิน: การไถ่ถอนจำนองเป็นเงื่อนไข การพิพาทหนี้จำนองไม่ถือเป็นการผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจะขายที่ดินให้โจทก์ โดยมีข้อตกลงว่า เมื่อธนาคารผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองวันใด จำเลยจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันนั้น ย่อมหมายถึงการที่ธนาคารยอมให้ไถ่ถอนจำนองในจำนวนหนี้ที่ถูกต้องด้วย เมื่อปรากฏว่าจำนวนหนี้ที่ธนาคารยอมให้จำเลยชำระเพื่อไถ่ถอนจำนองยังมีข้อพิพาทโต้เถียงเป็นคดีความกันอยู่ จะถือว่าธนาคารยอมให้ไถ่ถอนจำนองแล้วไม่ได้ การที่จำเลยได้ดำเนินการเพื่อไถ่ถอนที่ดินพิพาทแล้วแต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากมีข้อโต้แย้งกับธนาคารผู้รับจำนองเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้ว่าจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อโจทก์อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2863/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งมีเงื่อนไข & สัญญาต่างตอบแทนไม่มีผลผูกพันผู้รับโอนที่ไม่ยินยอม
จำเลยฟ้องแย้งในทำนองว่า หากจำเลยต้องออกจากที่พิพาทที่เช่าแล้ว โจทก์ทั้งสองจะต้องชดใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยได้เสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กล่าวอ้างไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่พิพาทเดิมเป็นเงิน 2,000,000 บาท ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นฟ้องที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ทั้งสองต่อเมื่อศาลฟังข้อเท็จจริงว่า ไม่มีสัญญาต่างตอบแทน และศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทแล้ว เป็นฟ้องแย้งที่มีเงื่อนไขกล่าวคือจะให้ถือเป็นฟ้องแย้งต่อเมื่อศาลพิพากษาขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นภายหลัง ถ้าจำเลยชนะคดีตามคำให้การ ฟ้องแย้งของจำเลยก็ตกไป จึงเป็นคนละเรื่องไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา179 วรรคสุดท้าย ไม่เป็นฟ้องแย้งที่จะรับไว้พิจารณา สัญญาต่างตอบแทนนอกเหนือจากการเช่าเป็นบุคคลสิทธิมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือจำเลยและ ด. เท่านั้น หามีผลผูกพันผู้รับโอนซึ่งมิได้รู้เห็นและยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญานั้นด้วยไม่เมื่อจำเลยมิได้ให้การว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทจาก ด. ได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนระหว่างจำเลยกับ ด. สัญญาต่างตอบแทนดังกล่าวย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้รับโอนที่พิพาทแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจึงชอบแล้ว จำเลยฎีกาคัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฟ้องแย้ง และให้งดสืบพยาน จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำพิพากษาและการปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินประกันหรือชำระหนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234
ผู้พิพากษาคนเดียวลงชื่อในคำสั่งไม่รับคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการชอบด้วย มาตรา 21(2) แห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรม เพราะมิใช่เป็นไปในทางวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดี จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์ของจำเลยได้ โดยไม่ต้องกำหนดวันเวลาให้จำเลยปฏิบัติเสียก่อน เพราะบทบัญญัติดังกล่าวบังคับผู้อุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียวให้ต้องปฏิบัติ หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเช็คผิดเงื่อนไขและลาภมิควรได้: โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืนเงินจากกรรมการบริษัท
บริษัท ค. เปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันเลขที่ 1135ไว้ต่อโจทก์ มีเงื่อนไขว่าจำเลยร่วมกับ ส. ลงชื่อพร้อมประทับตราของบริษัทเบิกเงินได้ และจำเลยเปิดบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 7603 มีเงื่อนไขว่า ถ้าหากเงินในบัญชีเลขที่ 1135 มีไม่พอจ่ายให้โอนเงินจากบัญชีเลขที่ 7603 ได้ ต่อมาโจทก์ได้จ่ายเงินจำนวน 30,000 บาท แก่ผู้ถือเช็คซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ค. ที่สั่งจ่ายเงินจากบัญชีเลขที่ 1135 ไปแต่เงินในบัญชีไม่พอจ่าย โจทก์ได้หักเงินจากบัญชีของผู้อื่นผิดไปและได้ชดใช้เงินให้ผู้นั้นแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คซึ่งมีตรา บริษัท ค. ประทับคู่กับลายมือชื่อจำเลยกรรมการเป็นผู้สั่งจ่ายเพื่อประโยชน์ของบริษัท ค. แต่ผิดเงื่อนไข จึงไม่ชอบ โจทก์จะมีอำนาจหักเงินจากบัญชีเลขที่ 1135หรือไม่ เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ค. ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้ลาภงอกจากการนั้น เงินจำนวน 30,000 บาท จึงไม่ใช่ลาภมิควรได้สำหรับจำเลย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406เรียกคืนจากจำเลยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 194/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ศาลให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว โดยมีเงื่อนไขเพื่อคุ้มครองทายาทรายอื่น
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างเป็นทายาทและ ไม่ขาดคุณสมบัติในการที่จะเป็นผู้จัดการมรดกแต่หากให้เป็นผู้จัดการมรดกทั้งสองฝ่ายแล้วคนหนึ่งคนใดก็ไม่อาจจัดการไปได้ ข้อขัดข้องในการจัดการมรดก ก็คงมีอยู่ต่อไปและไม่อาจแบ่งปันให้แก่ทายาทได้ ปรากฏว่า เจ้ามรดกมีทายาทชั้นบุตรที่เกิดกับผู้ร้อง 4 คน และเป็นทายาท ที่เป็นผู้เยาว์ถึง 3 คน ที่ผู้ร้องเป็นมารดาและเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครอง ถือได้ว่าผู้ร้องมีความสัมพันธ์กับทายาทส่วนใหญ่ใกล้ชิด มากกว่าผู้คัดค้านผู้ร้องจึงน่าจะเป็นผู้รักษาประโยชน์ของทายาท ส่วนใหญ่ได้ดีกว่าผู้คัดค้านซึ่งเป็นทายาทคนเดียว ดังนี้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้ผู้ร้อง เป็นผู้จัดการมรดก แต่กำหนดเงื่อนไข ว่า ถ้าจะจำหน่ายจ่ายโอนหรือก่อภาระติดพันกับทรัพย์มรดกทางทะเบียน ให้แก่บุคคลภายนอกโดยมิได้รับความ เห็นชอบจากทายาททุกคนแล้ว ผู้ร้อง จะต้องขออนุญาตศาลก่อนเป็นกรณีไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข vs. สัญญาเช่าซื้อ: ความรับผิดของผู้ซื้อเมื่อรถยนต์สูญหาย
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผู้ซื้อ ข้อ 3 ระบุว่ากรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคาตามเงื่อนไขครบถ้วน ข้อ 6 ระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด จำนวนใด ผู้ขายย่อมมีสิทธิที่จะเรียกให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่ในขณะนั้นเสียโดยครบถ้วนโดยพลันก็ได้นั้นมีสาระสำคัญแตกต่างกับสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 572,574 จึงเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข เมื่อในระหว่างที่ยังชำระเงินค่างวดอยู่รถยนต์ที่ซื้อขายได้สูญหายไปเพราะถูกคนร้ายลัก แม้จะไม่ใช่ความผิดของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5 โดยจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันสัญญาดังกล่าวต้องร่วมรับผิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขกับสัญญาเช่าซื้อ และอำนาจฟ้องของตัวแทน
สัญญาระบุว่าเป็นสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข โดยมีข้อตกลงว่า กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จะตกไปอยู่แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ซื้อชำระราคา ตามเงื่อนไขครบถ้วนและในกรณีที่ผู้ซื้อผิดนัดขาดการชำระเงินงวดใด ผู้ขายมีสิทธิที่จะเรียก ให้ผู้ซื้อชำระราคาที่เหลืออยู่โดยพลัน ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติเรื่องเช่าซื้อตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 และ มาตรา 574 ในสาระสำคัญ จึงเป็น สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขดังที่ระบุไว้ในสัญญา มิใช่สัญญาเช่าซื้อตามที่จำเลยอ้าง โจทก์ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ม.มีอำนาจจดทะเบียนและโอนทะเบียนรถยนต์ไปยังผู้ซื้อแทนโจทก์ได้ ม.จึงมีอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายแทนโจทก์.
of 48