คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช่าซื้อ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 746 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4837/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องจากสัญญาเช่าซื้อ การบอกกล่าวการโอนสิทธิ และข้อตกลงการโอนสิทธิโดยไม่ต้องบอกกล่าว
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ง. โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน บริษัทง. จึงเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ส่งมอบรถยนต์ตามที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยทั้งสอง และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับเงินค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ส่วนจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้มีหน้าที่ชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาให้แก่บริษัท และเป็นเจ้าหนี้ในข้อที่จะได้รับรถยนต์ตามที่เช่าซื้อนั้น เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการรับชำระค่าเช่าซื้อ บริษัท ง. ย่อมเป็นเจ้าหนี้ในการจะได้รับชำระค่าเช่าซื้อจากจำเลยทั้งสอง ทั้งเป็นเจ้าหนี้ในการเรียกให้จำเลยทั้งสองส่งมอบรถยนต์คืนพร้อมค่าขาดประโยชน์และค่าเสียหาย สิทธิการเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทง. มิใช่สิทธิเฉพาะตัว ย่อมโอนให้แก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 303 วรรคแรก เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก โจทก์ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องย่อมบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยทั้งสองผู้เป็นลูกหนี้ได้ และกรณีเช่นนี้มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ส่วนปัญหาว่าสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันที่ทำไว้ระหว่างบริษัท ง. กับจำเลยทั้งสองมีข้อตกลงล่วงหน้าไว้ว่า จำเลยทั้งสองยินยอมให้บริษัท ง. โอนสิทธิตามสัญญาให้แก่บุคคลภายนอกได้โดยมิพักต้องบอกกล่าวแก่จำเลยทั้งสองก่อนนั้น เป็นข้อตกลงที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เมื่อคดีนี้โจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัท ง. มาโดยชอบ ทั้งปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องนั้นต่อจำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสองได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดใช้สิทธิตามที่ตกลงไว้ล่วงหน้าและไม่เกิดข้อโต้แย้งในคดีนี้ จึงไม่มีประเด็นจะวินิจฉัยข้อตกลงตามสัญญานั้นอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในสัญญาเช่าซื้อและการรับฝากทรัพย์ หากทรัพย์สินสูญหาย จำเลยต้องรับผิดชดใช้
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4835/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าซื้อในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์ที่สูญหาย
โจทก์ในฐานะผู้เช่าซื้อมีสิทธิที่จะยึดถือและใช้ประโยชน์ตลอดจนมีหน้าที่ต้องดูแลรักษารถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดีตลอดไป และเมื่อได้ชำระเงินให้ครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถจักรยานยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่โจทก์ หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อกัน โจทก์มีหน้าที่ต้องส่งมอบรถจักรยานยนต์คืนให้ผู้เช่าซื้อในสภาพเดิม ดังนั้น เมื่อรถจักรยานยนต์ที่โจทก์นำมาฝากจำเลยได้สูญหายในระหว่างอยู่ในความดูแลของจำเลย จนเป็นเหตุจำเลยไม่สามารถคืนรถจักรยานยนต์ซึ่งรับฝากนั้นให้แก่โจทก์ผู้ฝาก จำเลยต้องรับผิดคืนทรัพย์สินซึ่งรับฝากหรือชดใช้ราคาโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฝากทรัพย์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งรับฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ไม่เป็นลาภมิควรได้ แม้มีการผิดนัดชำระค่างวด
สิทธิเช่าซื้อเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด หาใช่เป็นสัญญาซื้อขายโดยมีเงื่อนไขบังคับหลังไม่เพราะโจทก์ผู้ซื้อกับจำเลยผู้ขายได้ตกลงชื้อและตกลงขายในสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อเป็นที่ยุติเสร็จสิ้นแล้ว โดยจำเลยซึ่งเป็นผู้ขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อได้ส่งมอบสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อและโจทก์ผู้ซื้อก็ได้ชำระค่าสิทธิตามสัญญาให้แก่จำเลยผู้ขายแล้ว และภายหลังจากทำสัญญาซื้อขาย จำเลยผู้ขายได้ส่งมอบรถยนต์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่โจทก์ผู้ซื้อสิทธิได้ครอบครองและใช้ประโยชน์ตามสิทธิแห่งสัญญาเช่าซื้อแล้ว
การใดจะเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 406 ต้องเป็นเรื่องที่บุคคลนั้นได้ทรัพย์เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมาย แต่คดีนี้ขณะทำสัญญาซื้อขายจำเลยมีสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อจำเลยขายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์ เงินที่ได้จากการขายสิทธิอันเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงมิใช่เรื่องลาภมิควรได้จำเลยจึงไม่ต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ ส่วนการที่โจทก์เป็นฝ่ายผิดนัดไม่ชำระค่างวดที่เช่าซื้อต่อบริษัทผู้ให้เช่าซื้อจนเป็นเหตุจำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัทผู้ให้เช่าซื้อเสียหายต้องติดตามยึดรถคืนเพื่อส่งมอบให้บริษัทผู้ให้เช่าซื้อ ซึ่งเกิดแต่ความผิดของโจทก์ฝ่ายเดียว ไม่ถือว่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาสมัครใจเลิกสัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าซื้อต่อกันนับแต่วันที่จำเลยยึดรถคันพิพาทคืนจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4405/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อมีผลบังคับใช้ได้ แม้ผู้ให้เช่าซื้อยังมิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในขณะทำสัญญา โดยเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้มาภายหลัง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกในวันที่ 18 เมษายน 2533 ขณะนั้นรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ต่อมาวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ได้ขายรถยนต์บรรทุกคันดังกล่าวแก่โจทก์โจทก์จึงเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อนับแต่นั้นเป็นต้นมา โดยสัญญาเช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ๆ ฉะนั้น ขณะที่ทำสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 กำลังดำเนินการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อกันอยู่ โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อก็ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันที่เช่าซื้ออันเป็นข้อที่ถือได้ว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินอยู่ในระยะเวลาที่สัญญาเช่าซื้อกำลังดำเนินอยู่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572 ทั้งตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 3 ระบุไว้ว่าในการทำสัญญาเช่าซื้อได้ทำตามคำเสนอของผู้เช่าซื้อโดยให้มีการลงทุนซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อ ก็เป็นการแสดงอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์บรรทุกมาให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อ ซึ่งในสัญญาระบุให้เงินดาวน์เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อต่างหากจากการชำระค่าเช่าซื้อ และเมื่อจำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนตามสัญญาแล้วโจทก์ก็สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์บรรทุกคันที่เช่าซื้อให้แก่จำเลยที่ 1ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 สมัครใจให้โจทก์ไปซื้อรถยนต์มาให้เช่าซื้อและเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถคันดังกล่าวกับโจทก์ โดยมิได้โต้แย้งคัดค้านเกี่ยวกับเรื่องการเป็นเจ้าของรถยนต์คันที่เช่าซื้อของโจทก์แต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อจะอ้างว่า ขณะทำสัญญาเช่าซื้อโจทก์มิได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์คันที่เช่าซื้อเพื่อปัดความรับผิดหาได้ไม่ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์บรรทุกระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงมีผลใช้บังคับกันได้ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4358/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่มจากการขายสินค้าให้เช่าซื้อ: การจดทะเบียนย้อนหลังและการวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร
ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30)พ.ศ.2534 มาตรา 26 ผู้ประกอบการที่จะมีสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77/1 (6)ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้แก่ผู้ประกอบการที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85 หรือ 85/1 หรือที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มชั่วคราวตามมาตรา85/3 และตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ การยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและการออกใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดและให้ผู้ประกอบการดังกล่าวเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนนับแต่วันที่ระบุไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้โจทก์จะได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2535 อันเป็นระยะเวลาภายหลังจากที่โจทก์ยื่นขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2535 ก็ตามแต่อธิบดีกรมสรรพากรก็ได้อนุมัติให้การเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 เป็นต้นมา และให้โจทก์มีสิทธิได้รับการพิจารณาเพื่อขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงต้องถือว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มนับแต่วันดังกล่าวตาม ป.รัษฎากร มาตรา 85 วรรคสี่ และมีผลทำให้การยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.03.5 เมื่อวันที่ 30 มกราคม2535 เป็นการยื่นในฐานะผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โจทก์จึงได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 มาตรา 26
ตามมาตรา 26 วรรคห้า แห่ง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 คำวินิจฉัยที่จะถือเป็นที่สุดต้องเป็นคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากร แต่ ว.มิได้เป็นอธิบดีกรมสรรพากรในขณะนั้น ทั้งไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมสรรพากรได้มีคำสั่งมอบหมายให้ ว.มีคำวินิจฉัยดังกล่าวแทนตน คำวินิจฉัยของ ว.ที่วินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้รับสิทธิขอเสียภาษีการค้าและหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจึงยังไม่ถือเป็นที่สุด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4092/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อเลิกกันเนื่องจากโจทก์ไม่ต่อทะเบียนรถยนต์ ทำให้จำเลยไม่ต้องรับผิดค่าเสียหาย
ราคารถยนต์คันที่เช่าซื้อที่ยังขาดจำนวนเป็นค่าเสื่อมราคาอันถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายซึ่งผู้เช่าซื้อจะรับผิดชอบก็ต่อเมื่อผู้เช่าซื้อเป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าซื้อ การที่จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันที่เช่าซื้อไปคืนให้แก่โจทก์เป็นเพราะความผิดของโจทก์เองที่ไม่ยอมต่อทะเบียนรถยนต์ให้แก่จำเลยที่ 1 ทำให้จำเลยที่ 1 ไม่สามรถนำไปรับจ้างหาประโยชน์ได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573ซึ่งคู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 และเมื่อสัญญาเลิกกันโดยจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกราคารถยนต์ที่ยังขาดจากจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: การไม่ถือกำหนดเวลาชำระเป็นสาระสำคัญ + เหตุสุดวิสัย ทำให้ลูกหนี้ไม่ผิดนัด
โจทก์และจำเลยมิได้มีเจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาชำระค่าเช่าซื้อเป็นสาระสำคัญ แม้จำเลยจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามเวลาที่กำหนด สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนดระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387
จำเลยไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เพราะโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินที่จำเลยเช่าซื้อจำเลยอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นแม้ได้ชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินก็ประกาศให้จำเลยทราบด้วยว่าที่ดินไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินกลับคืนมาจำเลยเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีก ถือได้ว่าการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงมิได้ผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3941/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อไม่ระงับทันที หากเจ้าของกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือและเรียกเก็บค่าบริการเพิ่มเติม
สัญญาเช่าซื้อข้อ 6 ระบุว่า "ผู้เช่าซื้อฝ่าฝืน หรือหรือผิดสัญญานี้ข้อหนึ่งข้อใดถือว่าผู้เช่าซื้อผิดสัญญาผู้เช่าซื้อยอมให้ผู้ให้เช่าซื้อริบเงินค่าเช่าซื้อที่ส่ง มาแล้วทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าวให้ทราบแต่ประการใดทั้งสิ้น และถือว่าสัญญาเช่าซื้อฉบับนี้เป็นอันระงับสิ้นสุดลงทันที" แต่ตามที่ปฎิบัติต่อกันจำเลยทั้งสองมิได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์ในวันที่ 5 ของเดือน และหลายงวดชำระครั้งหนึ่งก็มี ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองมิได้มี เจตนาที่จะถือเอากำหนดเวลาเป็นสาระสำคัญ ดังนั้นในงวดต่อมา แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ชำระค่าเช่าซื้อตามที่กำหนดไว้ในสัญญา สัญญาเช่าซื้อก็ยังไม่ระงับสิ้นสุดลงทันที โจทก์จะต้องกำหนด ระยะเวลาพอสมควรบอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเช่าซื้อ ที่ค้างอยู่ก่อน โจทก์จึงจะบอกเลิกสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 การที่จำเลยทั้งสองไม่ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์เนื่องจากปรากฎว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองเช่าซื้อ จำเลยทั้งสองอาจไม่ได้รับกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทนั้นแม้ได้ปฎิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการชำระเงินโดยครบถ้วน ทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทก็ประกาศให้จำเลยทั้งสองทราบด้วยว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ ซึ่งจำเลยทั้งสองอาจถูกฟ้องขับไล่เมื่อใดก็ได้ เมื่อโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทกลับคืนมา จำเลยทั้งสองเตรียมเงินค่าเช่าซื้อที่ค้าง 49,000บาท ไปชำระให้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์ไม่ยอมรับโดยจะขอคิดดอกเบี้ยและค่าบริการเพิ่มอีกรวมแล้วเป็นเงินประมาณ130,000 บาท นั้น ถือได้ว่าเป็นกรณีการชำระหนี้ยังมิได้กระทำลงเพราะพฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งจำเลยทั้งสองผู้เป็น ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 205 จำเลยทั้งสองจึงมิได้ผิดนัดและสัญญาเช่าซื้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3819/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความประกันภัย, การรับสภาพหนี้, และเหตุสุดวิสัยในการเช่าซื้อรถยนต์
ผู้รับประกันภัยที่ถูกผู้เอาประกันภัยยื่นคำร้องขอให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมเพื่อให้ผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งเป็นโจทก์ฟ้องผู้เอาประกันภัยให้รับผิดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่ถูกคนร้ายลักไป มีสิทธิยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 วรรคแรก ขึ้นต่อสู้ได้
ภายหลังจากที่รถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและจำเลยผู้เช่าซื้อได้ติดต่อให้จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน การที่จำเลยร่วมมิได้ปฏิเสธความรับผิด แต่ให้นำบันทึกประจำวันจากพนักงานสอบสวนไปประกอบด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นการทำการอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องอันเป็นการรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 172 วรรคแรก
ส. ซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เช่าซื้อนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปจอดไว้บริเวณซอยลาดพร้าว 84อันเป็นสถานที่ซึ่งคนทั่วไปรวมทั้งคนร้ายสามารถเข้าออกได้โดยสะดวก ส. ควรคาดหมายได้ว่าอาจมีคนร้ายเข้าไปลักรถยนต์ไปได้โดยง่าย จึงอาจป้องกันมิให้คนร้ายลักรถยนต์ได้โดยระมัดระวังให้มากกว่าที่กระทำดังกล่าว การที่ ส. เพียงแต่ล็อกคลัตซ์และกุญแจประตูรถ ยังไม่พอที่จะถือว่าได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น เมื่อรถยนต์ถูกคนร้ายลักไปจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จะทำให้ผู้เช่าซื้อพ้นความรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ
of 75