คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 393 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงสาระสำคัญในฟ้องคดีอาญา ศาลต้องลงโทษตามฟ้องเดิม
ฟ้องว่าจำเลยกับพวกทำร้ายร่างกายผู้เสียหายจนได้รับบาดเจ็บสาหัสขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ทางพิจารณาได้ความว่าผู้เสียหายถูกทำร้ายเพราะมีการชุลมุนต่อสู้กันระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปถือว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 299 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2168/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษายกฟ้องในคดีอาญา: จำเป็นพอสมควรแก่เหตุและการเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดด้วยความจำเป็นพอสมควรแก่เหตุตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 67 ซึ่งไม่ต้องรับโทษ. ชอบที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185. แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่ไม่ต้องรับโทษและให้คุมประพฤติจำเลย. ก็มีผลเท่ากับพิพากษายกฟ้อง. และเป็นการยกฟ้องในข้อเท็จจริง. เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมิได้กระทำผิดพิพากษายกฟ้อง. กรณีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงตัวผู้เสียหายในคดีดูหมิ่นเจ้าพนักงาน ทำให้ข้อเท็จจริงในฟ้องไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่พิสูจน์ได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นเจ้าพนักงงานคือร้อยตำรวจโทธวัชชัย เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกล่าวดูหมิ่นสิบตำรวจโทสมศรี มิใช่กล่าวดูหมิ่นร้อยตำรวจโทธวัชชัย จึงถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญ ต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตโบราณสถานไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติ การครอบครองแทน และการบอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการครอบครอง
ปัญหาว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินเนื่องจากที่ดินนั้นอยู่ในเขตโบราณสถานที่ทางราชการขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติโบราณสถานฯนั้น เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ให้เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีการับวินิจฉัยให้.
ที่ดินบริเวณใดที่ทางราชการขึ้นทะเบียนเป็นเขตโบราณสถานแล้วไม่มีผลทำให้ที่ดินบริเวณนั้นเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินทั้งหมด. เพียงแต่เจ้าของหรือผู้ครอบครองถูกจำกัดสิทธิบางอย่างในที่ดินของตนตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติโบราณสถานฯเท่านั้น. ที่ดินนั้นจึงไม่ใช่ที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินอันจะมีผลให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง.
ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์ให้ ล. ครอบครองแทนจำเลยสืบสิทธิจาก ล. จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองแทนเช่นเดียวกัน. หากจำเลยจะแย่งการครอบครองหรือเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ก็ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ทราบก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 เมื่อจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนแปลงการยึดถือครอบครอง จึงไม่ใช่เรื่องที่ดินพิพาทถูกแย่งการครอบครองซึ่งโจทก์จะต้องฟ้องเรียกเอาคืนภายใน 1 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2638/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงแผนบำเหน็จก่อนออกจากงาน ไม่ขัดแย้งกับข้อบังคับเดิม และใช้บังคับได้
ข้อบังคับเดิมโอกาสที่ลูกจ้างจะได้รับผลประโยชน์หรือบำเหน็จมีครั้งเดียวเมื่อออกจากงาน แต่ประกาศแผนบำเหน็จก่อนออกจากงานของนายจ้างซึ่งประกาศใช้ภายหลังมีข้อความเพิ่มเติมให้ลูกจ้างมีโอกาสเลือกจะขอรับผลประโยชน์หรือบำเหน็จก่อนออกจากงานหรือเลือกรับผลประโยชน์ครั้งเดียวตามข้อบังคับเดิมก็ได้ ไม่เป็นการบังคับทั้งไม่มีข้อพิสูจน์ว่าเงินบำเหน็จก่อนออกจากงานซึ่งลูกจ้างรับจากนายจ้างจะให้ผลประโยชน์น้อยกว่าหรือเป็นข้อเสียเปรียบเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ที่รอรับเมื่อออกจากงาน ข้อบังคับหรือแผนบำเหน็จดังกล่าวไม่มีข้อความขัดหรือแย้งกับข้อบังคับเดิมจึงใช้บังคับได้ไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย การเปลี่ยนแปลงระเบียบ และหลักเกณฑ์การจ่ายที่แตกต่างกัน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างฯเป็น ระเบียบของคณะรัฐมนตรีให้ใช้แก่ลูกจ้างทั่วไปแต่ก็ มิได้หมายความว่ารัฐวิสาหกิจจะมีระเบียบเรื่องนี้ของตนเองโดยเฉพาะไม่ได้แม้เดิมจำเลยจะใช้ระเบียบดังกล่าวซึ่งการจ่ายเงินบำเหน็จตามระเบียบนี้มีค่าชดเชยรวมอยู่ ด้วยก็ตามแต่เมื่อขณะโจทก์ออกจากงานจำเลยได้ออก ข้อบังคับองค์การจำเลยว่าด้วยกองทุนบำเหน็จมาใช้บังคับถือได้ว่าจำเลยมิได้นำระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯมาใช้ บังคับอีกต่อไปทั้งข้อบังคับของจำเลยก็มิได้มีข้อความดังระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จฯและหลักเกณฑ์การ จ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยก็แตกต่างกับหลักเกณฑ์ การจ่ายค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานจึงถือไม่ได้ว่าบำเหน็จที่จำเลย จ่ายให้โจทก์มีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1601/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสัญญา, การขยายเวลา, และสิทธิในการปรับสัญญาจากความผิดพลาดในการก่อสร้าง
จำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ทำการก่อสร้างสะพานตามแบบแปลนต่อท้ายสัญญา โจทก์สร้างสะพานผิดแบบแปลนโดยแจ้งให้จำเลยทราบถึงสาเหตุที่จำเป็นแล้วและวิศวกรของจำเลยก็เห็นด้วย เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงแบบแปลนการก่อสร้างได้ตามที่จำเลยเสนอ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาก่อสร้างสะพานผิดแบบแปลน
ตามสัญญาโจทก์จะต้องสร้างสะพานให้แล้วเสร็จและส่งมอบแก่จำเลยภายในวันที่ 27 มีนาคม 2522 เวลา 16.30 นาฬิกา แต่จำเลยมีหนังสือลงวันที่ 5 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงรายการก่อสร้างได้และประธานกรรมการตรวจการจ้างนัดตรวจงานในวันเดียวกันเวลา16.00 นาฬิกา และ ต่อมาจำเลยมีหนังสือลงวันที่ 12 เมษายน 2522 แจ้งให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างสะพานต่อไปตามสัญญา หนังสือทั้งสองฉบับนี้จำเลยมีถึงโจทก์ภายหลังที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยมิได้กล่าวถึงกำหนดระยะเวลาก่อสร้างที่สิ้นสุดลงแล้ว กลับอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไป การที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์ดำเนินการก่อสร้างต่อไปทั้งๆ ที่กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาได้สิ้นสุดลงแล้วนี้ จึงถือได้ว่าจำเลยมิได้มีเจตนายึดถือเอากำหนดเวลาสิ้นสุดการก่อสร้างตามสัญญาเป็นสาระสำคัญจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะปรับโจทก์เพราะโจทก์ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดเวลา ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าปรับคืนบางส่วน โจทก์มิได้ฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่น ทั้งแก้ฎีกาเป็นทำนอง ว่าพอใจตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาให้คืนค่าปรับทั้งหมดให้แก่โจทก์ได้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยปัญหาที่ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ เมื่อโจทก์อุทธรณ์ จำเลยมิได้ยกปัญหาในเรื่องนี้ตั้งประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึงถือว่าไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในชั้นอุทธรณ์ ต้องถือว่าปัญหาเรื่องนี้มิได้เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ เมื่อจำเลยฎีกาในปัญหาเรื่องนี้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373-1375/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และผลกระทบต่อสิทธิลูกจ้าง
จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับโดยพลการ มิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย แม้ข้อบังคับใหม่จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยส่วนรวมยิ่งกว่าข้อบังคับเดิม แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จไม่เป็นคุณแก่โจทก์ ดังนั้น ข้อบังคับส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1373-1375/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมายส่งผลต่อสิทธิลูกจ้าง แม้ข้อบังคับใหม่จะเป็นคุณโดยรวม
จำเลยเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบังคับโดยพลการมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายแม้ข้อบังคับใหม่จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างโดยส่วนรวมยิ่งกว่าข้อบังคับเดิมแต่ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จไม่เป็นคุณแก่โจทก์ดังนั้นข้อบังคับส่วนที่เกี่ยวกับเงินบำเหน็จจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษตามข้อบังคับธนาคารอาคารสงเคราะห์ แม้ผู้กู้พ้นสภาพการเป็นพนักงาน โจทก์ไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยไม่ได้รับความยินยอม
เดิมจำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์โดยเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ12 ต่อปีต่อมาจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของโจทก์ได้เข้าเป็นลูกหนี้ร่วมและได้สิทธิลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 8 ต่อปี ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ เมื่อข้อบังคับดังกล่าวและบันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินกับสัญญาจำนองมิได้กำหนดให้สิทธิโจทก์ที่จะเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 8 ต่อปีเพราะเหตุที่จำเลยที่ 2 พ้นสภาพการเป็นพนักงานโจทก์ให้ออกจากงานแล้วโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยโดยจำเลยมิได้ยินยอม และการที่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8 ต่อปีโดยไม่ยอมชำระร้อยละ 12 ต่อปีจึงไม่เป็นการผิดสัญญาและไม่เป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 มาตรา 31 (ข)โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินและดอกเบี้ยที่ค้างชำระจากจำเลยคืนทั้งหมด
of 40