คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เพิกถอน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5719/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการเพิกถอนการขายทอดตลาด: สิทธิของโจทก์ยังคงอยู่แม้ระยะเวลาเกิน 10 ปี หากมีเหตุให้เพิกถอน
โจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 แล้ว แต่คดีมีปัญหาเฉพาะขั้นตอนการขายทอดตลาดซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยเฉพาะไม่เกี่ยวกับโจทก์หรือผู้แทนโจทก์ แม้จำเลยร้องขอ ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและขายทอดตลาดใหม่และศาลฎีกาเห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาดไปโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบคำสั่งของศาลที่อนุญาตให้ขายทอดตลาด และวันขายทอดตลาด จึงพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และขายทอดตลาดใหม่ แม้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ให้คู่ความฟังเมื่อเกิน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น ก็ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี ทำการขายทอดตลาดใหม่ต่อไปตามคำพิพากษาศาลฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5621/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โมฆะนิติกรรมจำนอง: เจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงมีสิทธิเพิกถอน แม้โจทก์มิได้อ้างถึงเจตนาทุจริตของผู้รับจำนอง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์และจำเลยที่ 1ได้จดทะเบียนหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา โดยจำเลยที่ 1ยอมยกทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของตนให้แก่โจทก์และบุตรบุญธรรม 4 คน ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้นำที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่ของตนไปจำนองให้แก่จำเลยที่ 2 โดยจำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจอันชอบด้วยกฎหมายที่จะกระทำได้ นิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงตกเป็นโมฆะ เพราะจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่แท้จริง เป็นเหตุให้โจทก์ ซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงต้องได้รับความเสียหาย ขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ และคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา เช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ส่วนจะเป็นจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือจำเลยทั้งสองต่อสู้และกรณีจะเพิกถอนนิติกรรมจำนองได้หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยต่อไป ดังนั้นการที่โจทก์มิได้บรรยายในฟ้องว่าจำเลยที่ 2 ไม่สุจริตอย่างไรในการรับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1และการจำนองที่ดินทำให้โจทก์เสียเปรียบอย่างไร ไม่ทำให้ฟ้อง ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 2 เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4419/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: โจทก์เป็นเจ้าของสิทธิก่อนจำเลย ศาลเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ ขอชุดตรวจได้ที่งานย่อข้อกฎหมายระบบ CW โถงกลางชั้น 3 ++
++
++
โจทก์เป็นเจ้าของและเป็นผู้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า ORIENTEXPRESS มาก่อนจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวและในเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนของจำเลยคำว่า VENICESIMPLON - ORIENT - EXPRESS เครื่องหมายการค้าจดทะเบียนคำว่า ORIENT EXPRESS ของจำเลย และเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนคือเครื่องหมายคำว่า ORIENT-EXPRESS ดีกว่าจำเลยผู้ที่ได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของและมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยและให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยดังกล่าวได้ ตามบทบัญญัติมาตรา 41(1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2477 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์อ้างว่าถูกโต้แย้งสิทธิ
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้โจทก์จะได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้แล้วก็ตาม แต่การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นการกระทำโดยนำเอาทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาจดทะเบียน โจทก์จึงไม่อาจอ้างอิงแสวงสิทธิในทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเพื่อห้ามจำเลยจดทะเบียนและใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศที่โจทก์ไม่ได้รับการจดทะเบียนไว้นั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีที่โต้แย้งสิทธิกันระหว่างโจทก์กับจำเลย มิใช่การโต้แย้งสิทธิระหว่างโจทก์กับบุคคลอื่นเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทและเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนและยื่นขอจดทะเบียนดีกว่าจำเลย ดังนี้แม้จะวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลยให้ ก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยข้อฎีกาดังกล่าวของจำเลยอีกต่อไป
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยรวม 19 ฉบับ และเพิกถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเลขที่184378 ของจำเลย กับห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่าORIENT EXPRESS อีกต่อไป และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในส่วนนี้นั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยรวม19 ฉบับ และให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า 1 ฉบับ โดยอ้างว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของจำเลยและเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนของจำเลยดังกล่าวดีกว่าจำเลย ผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ในกรณีนี้คือจำเลย หาใช่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและมิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยไม่ ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาบังคับนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงเป็นการที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ส่วนที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาห้ามจำเลยใช้และจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ORIENT EXPRESS อีกต่อไปนั้น ปรากฏตามคำฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าซึ่งได้จดทะเบียนในต่างประเทศ แต่ยังไม่ได้รับการจดทะเบียนในประเทศไทย โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน ย่อมไม่อาจนำคดีมาสู่ศาลเพื่อฟ้องขอให้ห้ามผู้อื่นมิให้ใช้หรือจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นอันเป็นการฟ้องเพื่อป้องกันการล่วงสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา29 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิได้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองในส่วนนี้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว ปัญหาทั้งสองดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ราคาต่ำกว่าเกณฑ์ และระยะเวลาในการยื่นคำร้องเพิกถอน
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาด หรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 513
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดี แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพาราปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาท ทั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียว โดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขายของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาดย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่ง ป.วิ.พ. ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง
ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538 การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538 จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 296 วรรคสอง ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4208/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดต้องได้ราคาเหมาะสม หากราคาต่ำกว่าที่ควร ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้
การขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามคำสั่งศาลนั้นจะต้องขายให้ได้ราคาสูงที่สุดเท่าที่สามารถจะประมูลขายได้ หากเจ้าพนักงานบังคับคดีผู้ทอดตลาดหรือศาลเห็นว่าราคาของผู้ประมูลสูงสุดในการประมูลครั้งนั้นต่ำไป เป็นราคาที่ไม่สมควร หรือควรที่จะได้ราคาสูงกว่านั้นเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือศาลอาจไม่อนุญาตให้ขายแล้วเลื่อนไปประกาศขายใหม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์พิพาทไว้เป็นเงิน186,025 บาท แต่ทรัพย์พิพาทอยู่ติดถนนสาธารณประโยชน์และอยู่ในทำเลที่ดิน แม้เจ้าพนักงานที่ดินจะกำหนดราคาประเมินทรัพย์พิพาทไว้จำนวน 123,320 บาท แต่ก็เป็นการประเมินเพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษี จึงไม่ใช่ราคาที่แท้จริงทั้งทรัพย์พิพาททำประโยชน์แล้วโดยทำสวนยางมีต้นยางพารา ปลูกเต็มพื้นที่ และสามารถกรีดยางได้แล้ว ดังนั้นขณะขายทอดตลาดเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประเมินไว้ การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทให้ผู้คัดค้านไปในราคาเพียง 150,000 บาททั้งที่เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และมีผู้ซื้อเพียงรายเดียวโดยไม่ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปในราคานี้ การขายทอดตลาดจึงส่อไปในทางรวบรัดและหากมีการ ประกาศขายใหม่จะมีผู้สู้ราคาสูงกว่าได้ เมื่อการอนุญาตให้ขาย ของเจ้าพนักงานบังคับคดีมิได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการขายทอดตลาด ย่อมเป็นการบังคับคดีฝ่าฝืนมาตรา 513 ประกอบมาตรา 308 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ชอบที่ศาลจะสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง ในกรณีที่ศาลสั่งปรับนายประกัน นายประกันย่อมตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และผู้เป็นเจ้าหนี้คือแผ่นดิน แผ่นดินย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับชำระเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นหลักประกัน ยังไม่ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้รับชำระเงิน เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ส่งเงินค่าปรับที่ได้จากการขายทอดตลาด และจัดทำบัญชีแสดงรายการรับ-จ่ายให้ศาลชั้นต้น เพื่อส่งเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อเวลา 15 นาฬิกา โดยผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในวันเดียวกันเวลา 9.30 นาฬิกา จึงเป็นการยื่นคำร้องก่อนเจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ถือได้ว่าการบังคับคดียังไม่เสร็จลง และผู้ร้องเพิ่งทราบว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์พิพาทเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2538การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2538จึงไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์แห่งการฝ่าฝืนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสองผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระราคาซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดหลังศาลยกคำร้องเพิกถอน การชำระเงินภายในกำหนดเป็นหลักสำคัญ
ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 85 ที่กำหนดให้ผู้ซื้อทรัพย์ต้องชำระเงินทันที เว้นแต่ทรัพย์สินมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป เจ้าพนักงานอาจผ่อนผันให้ผู้ซื้อทรัพย์วางเงินมัดจำไม่เกินร้อยละ 25 ของราคาซื้อ และทำสัญญาใช้เงินที่ค้างชำระภายในเวลา ไม่เกิน 15 วันก็ได้นั้น เป็นระเบียบหรือข้อกำหนดที่วางไว้สำหรับกรณีที่ซื้อทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดได้ในตอนแรกปรากฏว่าเมื่อผู้คัดค้านที่ 2 ซื้อทรัพย์ได้แล้ว ผู้คัดค้านที่ 2ก็ปฏิบัติตามระเบียบ กระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีฯ ข้อ 85 ทุกประการโดยได้ชำระราคาค่าซื้อทรัพย์ครบถ้วนตามระเบียบแล้ว แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถจะโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ผู้คัดค้านที่ 2 ประมูลซื้อมาได้เนื่องจากผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะได้รับเงินค่าซื้อทรัพย์คืนไปจำนวน 1,045,000 บาท ก็ตาม แต่ต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมมีอำนาจทวงถามเงินค่าซื้อทรัพย์ที่ผู้คัดค้านที่ 2 รับคืนไปเมื่อผู้คัดค้านที่ 2 นำเงินจำนวนดังกล่าววางชำระให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ภายในกำหนดครบถ้วนแล้วจึงถือได้ว่าผู้คัดค้านที่ 2ได้ชำระเงินค่าซื้อทรัพย์โดยถูกต้องไม่มีเหตุที่จะนำทรัพย์พิพาทออกขายทอดตลาดซ้ำอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4104/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้จัดการมรดกใช้อำนาจเกินขอบเขต ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
สำหรับการแบ่งขายที่ดินครั้งแรก จำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกอ้างว่าขายเพื่อนำเงินไปชำระหนี้ของเจ้ามรดก จึงเป็นการจัดสรรทรัพย์สินของเจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ ซึ่งจะต้องดำเนินการตาม ป.พ.พ.มาตรา 1740 วรรคท้ายกล่าวคือ ให้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิให้มีการขายเช่นว่านั้นได้โดยชำระราคาทรัพย์สินนั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้ จนพอแก่จำนวนที่จะชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แต่จำเลยที่ 1 หาได้ดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังกล่าวไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งห้าให้ความยินยอมในการขายที่ดินดังกล่าว จึงเป็นการซื้อขายที่ไม่ชอบ สำหรับการขายที่ดินครั้งที่สองในที่ดินส่วนที่เหลือนั้น
แม้ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เลขที่ 282 เป็นสินสมรสของเจ้ามรดกกับจำเลยที่ 1 ซึ่งจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ครึ่งหนึ่งก็ตามแต่จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับเจ้ามรดกเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ส่วนของเจ้ามรดกครึ่งหนึ่งย่อมตกได้แก่ทายาทซึ่งมีโจทก์ทั้งห้าที่เป็นทายาทรวมอยู่ด้วยทันที จำเลยที่ 1 จึงยังมีสิทธิในฐานะเจ้าของรวมกับทายาทของเจ้ามรดกคนอื่น แม้ในเวลาต่อมาจำเลยที่ 1 จะทำการแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง จำเลยที่ 1 และทายาทของเจ้ามรดกคนอื่นก็ยังเป็นเจ้าของรวมที่ดินทั้งสองแปลงอยู่ จำเลยที่ 1 จะแบ่งแยกแล้วกำหนดว่าเป็นของตนส่วนใดโดยมิได้รับความยินยอมจาเจ้าของรวมคนอื่น ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1364หาได้ไม่ ดังนั้น ที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ จึงมิใช่สินส่วนตัวของจำเลยที่ 1การที่จำเลยที่ 1 รับโอนมรดกที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 15 ไร่ ใส่ชื่อจำเลยทั้งสองและต่อมาโอนขายส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการโอนโดยมิชอบเช่นกัน เมื่อการทำสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวทั้งสองครั้งของจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 แม้จะเป็นทายาท แต่รับโอนในฐานะผู้ซื้อมิใช่รับโอนในฐานะทายาท จึงมิใช่เป็นไปเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก แต่เป็นการกระทำนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดกโดยคบคิดกับจำเลยที่ 2 ทำให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของเจ้ามรดกต้องเสียเปรียบ โจทก์ทั้งห้าจึงมีสิทธิที่จะเพิกถอนการโอนขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้กลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกในสภาพเดิม
จำเลยที่ 2 ใช้หนี้ของเจ้ามรดกให้แก่ธนาคารไป 548,000บาท ดังนั้น จึงต้องหักเงินกองมรดกใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 เสียก่อนแบ่งมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง, การไม่ไต่สวน, สิทธิลูกหนี้
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตามคำพิพากษาบางส่วนแก่ น.ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น.ตกลงกับจำเลยที่ 2 ว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึดไว้จากจำเลยทั้งสองตามประกาศซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าว เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น.ดังกล่าว ไม่กี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดเป็นเรื่องที่หาก น.ผิดข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่านั้น ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี ซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามประกาศขายทอดตลาดที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้ว ไม่ทำให้การขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดีเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่าที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยทั้งสองมีราคาจริงถึง 1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ซึ่งเป็นการขายทอดตลาดต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่า เป็นการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทรัพย์ที่ขายทอดตลาดไปในราคาต่ำเกินสมควร ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 513 ซึ่งอาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติ ป.พ.พ.มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตาม ป.พ.พ.ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา296 วรรคสอง การที่ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งและคำพิพากษาให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสองให้ได้ความชัดว่า ข้อกล่าวอ้างเกี่ยวกับราคาที่ดินและบ้านเป็นความจริงหรือไม่ จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3859/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ราคาต่ำกว่าราคาจริง & ข้อตกลงงดขายที่ไม่ผูกพันเจ้าพนักงานบังคับคดี
ก่อนวันขายทอดตลาด 1 วัน จำเลยนำเงินไปชำระหนี้ตาคำพิพากษาบางส่วนแก่ น. ภริยาโจทก์ที่บ้าน และ น. ตกลงกับจำเลยว่าจะงดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ยึดไว้ซึ่งกำหนดจะขายในวันรุ่งขึ้น แม้โจทก์มิได้ขอให้งดการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อข้อตกลงระหว่างจำเลยกับ น. ดังกล่าว ไม่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ถูกยึดกรณีจึงเป็นเรื่องที่ น. ผิดข้อตกลงกับจำเลย ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้ขายทอดตลาดตามวันเวลาที่ได้กำหนดไว้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ประกาศให้ทราบทั่วกันล่วงหน้าก่อนแล้วการขายทอดตลาดดังกล่าวของเจ้าพนักงานบังคับคดี จึงมิเสียไป
จำเลยยื่นคำร้องว่า ที่ดินและบ้าน 2 ชั้น ของจำเลยที่ถูกยึดมีราคาจริงถึง1,500,000 บาท แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ ธ.ผู้ซื้อในราคาเพียง 500,000 บาท ต่ำกว่าราคาจริงหลายเท่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะถอนทรัพย์สินจากการขายทอดตลาดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 513 หากเป็นความจริงก็อาจถือได้ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 308 ที่บังคับให้การขายทอดตลาดต้องดำเนินไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการขายทอดตลาด จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาจึงชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยโดยยังมิได้ทำการไต่สวนคำร้องของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3504/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งอายัดหลักประกันหลังศาลพิพากษาคดี และผลผูกพันถึงผู้ค้ำประกันที่ไม่ได้อุทธรณ์
คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ผู้ค้ำประกันทั้งสามนำ น.ส.3 มาเป็นหลักประกันแทนที่ดินของจำเลย หลังจากที่ศาลมีคำสั่งห้ามจำเลยกระทำนิติกรรมชั่วคราวในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 265 และมาตรา 259 ประกอบมาตรา 274 นั้นเป็นคำสั่งที่กำหนดใช้วิธีการชั่วคราวก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาวิธีการหนึ่ง เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยมิได้กล่าวถึงวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษา และโจทก์มิได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าโจทก์ประสงค์จะยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาและมีเหตุสมควรที่ศาลจะมีคำสั่งให้วิธีการชั่วคราวเช่นว่านั้นมีผลบังคับต่อไป คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวแก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงเป็นอันยกเลิก ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 260 (1) ผู้ค้ำประกันทั้งสามจึงมีสิทธิรับหลักประกันคืนไป และศาลต้องมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งอายัดที่ดินให้แก่ผู้ค้ำประกันทั้งสามด้วย และเมื่อคดีหนี้ของผู้ค้ำประกันทั้งสามเป็นหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงผู้ค้ำประกันซึ่งมิได้อุทธรณ์ฎีกาได้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
of 104