พบผลลัพธ์ทั้งหมด 491 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้างมลทินและผลต่อการเพิ่มโทษกักกัน จำเลยเคยต้องโทษแต่ได้รับการล้างมลทินบางส่วน จึงไม่ครบเกณฑ์กักกัน
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว 3 ครั้งแต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯพ.ศ.2499 จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้ ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 30/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของ พ.ร.บ. ล้างมลทิน ต่อการเพิ่มโทษและกักกันผู้ต้องโทษซ้ำ
จำเลยต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ต่ำกว่า 6 เดือนมาแล้ว3 ครั้ง. แต่ปรากฏว่าสองคดีก่อน. จำเลยพ้นโทษไปก่อนวันใช้พระราชบัญญัติล้างมลทินฯ. จำเลยจึงได้รับการล้างมลทินหมดไปแล้วตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติล้างมลทินฯพ.ศ.2499. จะถือว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาลงโทษจำคุกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้งไม่ได้. ดังนี้ ศาลย่อมไม่มีอำนาจพิพากษาให้กักกันจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 41.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตามมาตรา 92 ต้องมีโทษจำคุกถึงที่สุดแล้ว จึงจะเพิ่มโทษได้ การรอการลงโทษไม่ถือเป็นโทษจำคุก
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้แม้ว่าจำเลยจะมาทำผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำ หากศาลรอการลงโทษไว้ก่อนหน้านี้ เนื่องจากยังถือว่าไม่เคยถูกลงโทษจริง
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก และได้กระทำผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้ แม้ว่าจำเลยจะมาทำผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2104/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกตามมาตรา 92 เมื่อศาลรอการลงโทษ การรอการลงโทษไม่ถือเป็นโทษจำคุก
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ผู้ที่จะถูกเพิ่มโทษได้จะต้องเป็นผู้ที่ถูกศาลพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุก. และได้กระทำผิดขึ้นอีกภายในเวลา 5 ปีนับแต่วันพ้นโทษซึ่งวันพ้นโทษก็คือพ้นโทษจำคุกในคดีก่อนนั่นเอง. ดังนั้น เมื่อคดีก่อนศาลลงโทษจำคุกแต่รอการลงโทษไว้.จึงไม่มีวันพ้นโทษที่จะถือเป็นเกณฑ์ในการเพิ่มโทษได้.แม้ว่าจำเลยจะมาทำผิดขึ้นอีกภายใน 5 ปี นับแต่วันครบกำหนดรอการลงโทษก็ตาม ก็เพิ่มโทษมิได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับคำให้การที่ขยายความถึงประวัติอาชญากรรมของจำเลย ศาลพิจารณาเพิ่มโทษได้ตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้ให้การรับในข้อต้องโทษ และพ้นโทษในวันที่ศาลสอบคำให้การจำเลย แต่ก็ได้ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองเป็นพยานต่อศาลว่าจำเลยเคยต้องโทษตามฟ้องจริงคำว่า ตามฟ้อง นั้นต้องหมายความถึงวันพ้นโทษของจำเลยด้วยเพราะโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าจำเลยพ้นโทษมา และยังได้ท้าวถึงประวัติอาชญากรซึ่งโจทก์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องอีกฉะนั้น เมื่อจำเลยรับว่าเคยต้องโทษตามฟ้องจริง ก็เท่ากับจำเลยรับในข้อพ้นโทษในคดีก่อนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพในคดีอาญา: ผลกระทบต่อการเพิ่มโทษจากประวัติอาชญากร
แม้จำเลยจะมิได้ให้การรับในข้อต้องโทษ และพ้นโทษในวันที่ศาลสอบคำให้การจำเลย แต่ก็ได้ปรากฏจากคำเบิกความของจำเลยซึ่งได้อ้างตัวเองเป็นพยานต่อศาลว่าจำเลยเคยต้องโทษตามฟ้องจริง. คำว่า ตามฟ้อง นั้นต้องหมายความถึงวันพ้นโทษของจำเลยด้วย. เพราะโจทก์ได้บรรยายมาในฟ้องแล้วว่าจำเลยพ้นโทษมา และยังได้ท้าวถึงประวัติอาชญากรซึ่งโจทก์ส่งมาเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องอีก. ฉะนั้น เมื่อจำเลยรับว่าเคยต้องโทษตามฟ้องจริง ก็เท่ากับจำเลยรับในข้อพ้นโทษในคดีก่อนด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายหญิงมีครรภ์จนแท้งลูก ความผิดตามมาตรา 297 และการเพิ่มโทษจากศาลฎีกา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำร้ายร่างกายเขาได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5) โจทก์จะยกเหตุอันตรายสาหัสเพราะป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันตามมาตรา 297(8) มาอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะไม่ได้กล่าวไว้ในฟ้อง
การกระทำอันจะเป็นผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต ส่วนการคลอดก่อนกำหนดเวลาในลักษณะที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 8 วันแล้วจึงตาย ดังนี้ ไม่เป็นการทำให้ได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5)
คดีที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบาไป และโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามมาตรา 297 ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาในทำนองที่ขอลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้หนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
การกระทำอันจะเป็นผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายถึงสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5) นั้น จะต้องเป็นกรณีที่กระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายคลอดออกมาในลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต ส่วนการคลอดก่อนกำหนดเวลาในลักษณะที่เด็กยังมีชีวิตอยู่ต่อมาอีก 8 วันแล้วจึงตาย ดังนี้ ไม่เป็นการทำให้ได้รับอันตรายสาหัสถึงแท้งลูกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297(5)
คดีที่ศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 295 เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเบาไป และโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษตามมาตรา 297 ถือได้ว่าโจทก์ฎีกาในทำนองที่ขอลงโทษจำเลยให้หนักขึ้น ดังนี้ ศาลฎีกามีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยให้หนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์กำหนดได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
(ตัดสินโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 14/2510)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษซ้ำความผิด: ต้องพิจารณาโทษจำคุกในความผิดเดิมที่ศาลพิพากษาลงโทษจริงเท่านั้น
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนักจำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจำกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 ยังไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 204/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำ จำเป็นต้องพิพากษาลงโทษในความผิดเดิมเกิน 6 เดือน
คดีก่อน แม้ศาลจะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแต่งกายโดยใช้เครื่องแต่งกายคล้ายเครื่องแบบทหารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 146 ด้วย แต่มิได้พิพากษาลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มิได้กำหนดโทษตามมาตรา 146 ไว้ หากไปลงโทษตามพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารซึ่งเป็นบทหนัก จำคุก 1 ปี 6 เดือน ทั้งก็รู้ไม่ได้ว่าถ้าศาลจะกำหนดโทษจำคุกตามมาตรา 146 (ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี) ศาลจะกำหนดต่ำกว่า 6 เดือนหรือไม่ เหตุนี้ จึงว่าจำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 146 มีโทษจำคุกกว่า 6 เดือนมาแล้ว ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 93 ยังไม่ได้