พบผลลัพธ์ทั้งหมด 382 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและการแก้ไขจำนวนเงินประกันโดยศาลฎีกา
คำสั่งศาลให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 253 เป็นคำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 228(2) ย่อมอุทธรณ์ฎีกาได้โดยไม่จำต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ก่อน
คดีมีทุนทรัพย์ 18,739,895.67 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ตามป.วิ.พ.มาตรา 253 ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วเป็นจำนวนต่ำไป จึงให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 50,000บาท.(ที่มา-ส่งเสริม)
คดีมีทุนทรัพย์ 18,739,895.67 บาท ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์วางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย 30,000 บาท ตามป.วิ.พ.มาตรา 253 ศาลฎีกาเห็นว่าเมื่อคำนึงถึงทุนทรัพย์ในคดีนี้แล้วเป็นจำนวนต่ำไป จึงให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 50,000บาท.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122-130/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม: ศาลมิอาจแก้ไขคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้มีการสอบถามและแถลงข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
ฟ้องเคลือบคลุมเป็นฟ้องที่ไม่ชอบมาแต่แรก ประเด็นตามคำฟ้องจึงไม่เกิด แม้ศาลมีอำนาจสอบถามคู่ความเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทแต่การสอบถามนั้นก็จำต้องตรวจจากคำคู่ความที่ชอบ หากไม่เป็นคำคู่ความที่ชอบเสียแล้วแม้คู่ความจะแถลงเป็นประการใดก็หาอาจทำให้คำคู่ความนั้นกลับเป็นคำคู่ความที่ชอบและมีประเด็นขึ้นตามที่ศาลสอบถามและที่คู่ความแถลงไม่
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์ที่ 2 บรรยายฟ้องเพียงประโยคเดียวว่าจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี แล้วมีคำขอให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวเป็นจำนวน 1,428.33 บาท โดยมิได้บรรยายว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ปีละกี่วัน มิได้หยุดในปีใดปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ที่ 2 จึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
ส่วนโจทก์ที่ 9 บรรยายฟ้องว่าตนมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 12 วัน รวม 2 ปี เป็นเวลา 24 วัน ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนไปแล้ว 15 วันจึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ไม่ได้หยุด 9 วัน คิดเป็นเงิน 5,724 บาท ดังนี้ เป็นฟ้องที่พอเข้าใจได้แล้วว่าโจทก์ที่ 9 ฟ้องเรียกค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับสองปีสุดท้าย เป็นฟ้องที่ได้แสดงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพียงพอแก่ความต้องการของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้น ไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม ศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแก้ไขสัญญาประนีประนอมยอมความ: มาตรา 143 ว.พ.พ. ไม่ครอบคลุม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 เป็นแต่ให้อำนาจศาลอาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยในคำพิพากษาหรือคำสั่งเท่านั้นไม่ได้ให้อำนาจสำหรับในกรณีอื่นดังเช่นที่ผิดพลาดหรือผิดหลงในสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมศาลจึงไม่จำต้องชี้ว่าข้อที่ขอแก้ไขเพิ่มเติมในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเป็นข้อผิดพลาดหรือผิดหลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 510/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลมีอำนาจงดสืบพยานเมื่อได้ข้อเท็จจริงจากคำฟ้อง/คำให้การเพียงพอ และการแก้ไขต้นร่างคำสั่งไม่ทำให้คำสั่งไม่ชอบ
ถ้าศาลตรวจคำฟ้องคำให้การจากคำฟ้องและหรือคำให้การได้ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติเพียงพอที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีได้แล้ว การสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจะเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควรหรือเป็นการประวิงคดีให้ชักช้า. ศาลมีอำนาจสั่งงดสืบพยานเช่นว่านั้น หรือพยานหลักฐานอื่นต่อไปได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง เจ้าหน้าที่ชั้นต้นร่างคำสั่งเพื่อให้ผู้มีอำนาจออกคำสั่งตรวจดูชั้นหนึ่งก่อนว่า จะเป็นร่างคำสั่งที่มีข้อเท็จจริง และการปรับบทลงโทษตรงตามมติของ อ.ก.พ. กระทรวงมหาดไทยหรือไม่หากไม่ตรงหรือไม่ถูกต้องผู้มีอำนาจตรวจร่างคำสั่งหรือผู้มีอำนาจออกคำสั่งแก้ไขเพิ่มเติมให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจสหภาพแรงงานในการแก้ไขข้อตกลงสภาพการจ้าง และฐานคำนวณค่าล่วงเวลา
กรณีที่สหภาพแรงงานและนายจ้างต่างแจ้งข้อเรียกร้องฝ่ายละหลายข้อ ซึ่งต้องแบ่งข้อเรียกร้องเจรจากันเป็นคราวๆไปแม้ในการเจรจาคราวแรกจะตกลงกันได้และทำเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วก็ตาม แต่ในการเจรจาข้อเรียกร้องข้ออื่นๆต่อมา สหภาพแรงงานก็มีอำนาจที่จะตกลงแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกได้ ดังนั้น เมื่อข้อตกลงในการเจรจาคราวแรกกำหนดเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จไว้ประการหนึ่ง แล้วต่อมาทำความตกลงเพิ่มเงื่อนไขในการไม่จ่ายเงินบำเหน็จอีกประการหนึ่ง อันเป็นเงื่อนไขซึ่งจะตัดสิทธิของลูกจ้างที่จะกระทำผิดในอนาคต ไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิของลูกจ้างทั่วไปที่ได้รับตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับแรกอยู่ก่อนแล้ว ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างฉบับหลังนี้จึงมีผลใช้บังคับ เมื่อค่าครองชีพเป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้าง และกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานกำหนดให้ถือเอาอัตราค่าจ้างเป็นเกณฑ์ในการคำนวณจ่ายค่าล่วงเวลาฯ นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินนี้ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้น การที่สหภาพแรงงานตกลงกับนายจ้างว่าไม่ให้นำค่าครองชีพมาเป็นฐานคำนวณจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว ข้อตกลงนี้จึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง ลูกจ้างฟ้องเรียกดอกเบี้ยจากเงินบำเหน็จ ค่าล่วงเวลา และค่าทำงานในวันหยุดจากนายจ้างก่อนวันฟ้อง แต่เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างผิดนัดเมื่อใดจึงกำหนดให้นายจ้างจ่ายดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อและจำนวนเงินกู้ ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้โจทก์แก้ไขภายหลัง
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป 6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3028/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญาที่จำเลยลงลายมือชื่อ แม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยโจทก์ ก็ยังเป็นหลักฐานการกู้ยืมที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามสัญญากู้ 16,000 บาท จำเลยให้การว่าความจริงกู้เพียง 6,000 บาท ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานแห่งการกู้เดิมเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้เงิน เมื่อจำเลยเขียนเลข '6,000' ในช่องจำนวนเงินที่กู้ยืมและเซ็นชื่อในช่องผู้กู้ยืม และได้ความว่าจำเลยยืมเงินของผู้อื่นไป6,000 บาท ถือได้ว่ามีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดแล้ว แม้ต่อมาโจทก์จะลงวันที่กู้ยืมผิดไปจากวันกู้ที่แท้จริงและเพิ่มเติมจำนวนเงินกู้ให้สูงขึ้น โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมซึ่งทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมดังกล่าวเป็นเอกสารปลอม ก็ไม่ทำให้หลักฐานแห่งการกู้ยืมที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไป จำเลยจึงต้องรับผิดตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1265/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญา: เลือกใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด หรือกฎหมายที่แก้ไขใหม่ได้ โดยยึดตามหลักกฎหมายเดิม
ศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยในระดับที่ใช้กฎหมายขณะกระทำความผิดก็ได้ หรือกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดก็ได้ เช่นนี้ควรปรับบทลงโทษจำเลยตามกฎหมายในขณะกระทำความผิด(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1292/2500)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3944-3945/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเอกสารราชการโดยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ ไม่ถือเป็นความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารหากไม่มีเจตนาทุจริต
คดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย และในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 222
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า'ให้มันยุติธรรมหน่อย'และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264
โจทก์ซึ่งเป็นพยาบาลลงชื่อและเวลามาทำงานไว้ในสมุดบัญชีลงนามมาทำงานของข้าราชการโรงพยาบาล แต่ไม่ได้อยู่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเสมียนการเงินเขียนข้อความต่อเติมว่า'ให้มันยุติธรรมหน่อย'และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายแพทย์ผู้อำนวยการมีหน้าที่รับผิดชอบงานของโรงพยาบาลชอบที่จะแก้ไขให้ถูกต้องต่อความจริงได้ขีดฆ่าลายมือชื่อและเวลามาทำงานของโจทก์ จึงไม่เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนจำเลยทั้สองจึงไม่มีความผิดฐานปลอมเอกสารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 264