พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1896/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยอายุความมรดก: การยอมรับแบ่งมรดกหลัง 20 ปี ถือละเลยอายุความ
การที่จำเลยยอมรับจะแบ่งทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกซึ่งตกอยู่กับจำเลยให้โจทก์ซึ่งเป็นทายาทและสืบสิทธิของทายาทของเจ้ามรดก เป็นเวลาหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตายไปกว่า 20 ปีแล้วนั้น ถือว่าจำเลยละประโยชน์แห่งอายุความในเมื่ออายุความครบบริบูรณ์แล้ว จำเลยจะยกอายุความขึ้นสู้ไม่ได้ (อ้างฎีกาที่ 1607/2505)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทโดยอ้างว่าเจ้ามรดกยกให้ก่อนตาย ทางพิจารณาฟังได้ว่าทรัพย์พิพาทยังไม่ได้ยกให้แก่ใคร เป็นมรดกที่โจทก์จำเลยจะได้รับร่วมกับทายาทอื่น ศาลย่อมพิพากษาให้แบ่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1776/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานในการยึดทรัพย์ภาษีค้างชำระ vs. สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้รายอื่น และการแบ่งมรดก
ประมวลรัษฎากร มาตรา 12 ให้อำนาจข้าหลวงประจำจังหวัดหรือนายอำเภอโดยเฉพาะที่จะสั่งยึดและสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรโดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่ง จึงเห็นได้ว่าสำหรับค่าภาษีอากรค้าง กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานที่จะเรียกเก็บเองตลอดถึงการยึดทรัพย์ได้ด้วย โดยไม่จำต้องนำคดีฟ้องศาลก่อน เมื่อผู้ร้องซึงเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะเจ้าพนักงานมีสิทธิที่จะบังคับเหนือทรัพย์สินได้ตามกฎหมาย ทั้งก็เป็นผู้ใช้อำนาจนี้ก่อน แต่ยังไม่ทันได้ขายทอดตลาด เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไปยึดทรัพย์รายเดียวกันนี้ตามคำสั่งศาลอีก ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิขอเฉลี่ยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีความแพ่ง มาตรา 278 เพราะผู้ร้องเป็นบุคคลภายนอกมีสิทธิอาจร้องขอให้บังคับเหนือทรัพย์สินนั้นได้ตามกฎหมาย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2512)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 30/2512)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดก โดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้น ๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรส ที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อน 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาที่ดินเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่ จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1775/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งมรดกก่อนครบ 1 ปี และการแยกสินเดิมออกจากสินสมรสเมื่อราคาเพิ่มขึ้น
มาตรา 1744 มุ่งหมายถึงการส่งมอบทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทซึ่งมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกโดยผู้จัดการมรดกไม่มีข้อโต้แย้งสิทธินั้นอย่างใด หาใช่บทบัญญัติห้ามทายาทฟ้องผู้จัดการมรดกเพื่อตั้งสิทธิที่จะได้รับส่วนแบ่งมรดกจากผู้จัดการมรดกซึ่งโต้แย้งสิทธิของทายาทนั้นๆ ไม่.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.
เมื่อปรากฏว่าที่ดินเป็นสินเดิม. แม้ภายหลังการสมรสที่ดินนี้จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมมากเพียงใดก็ตาม. ที่ดินดังกล่าวก็ยังมีสภาพเป็นสินเดิมอยู่นั่นเอง.ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นหาใช่ดอกผลของที่ดินไม่. จึงแยกถือเอาราคาในส่วนที่เพิ่มขึ้นเป็นสินสมรสไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาร่วมกัน การให้ทรัพย์สินเป็นของขวัญสงเคราะห์บุตร ไม่ใช่การแบ่งมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก บิดายกที่ดินให้บุตร 200 ตารางวา ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวา เป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวา เป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกต้องมีเจตนาแบ่งร่วมกัน การให้ทรัพย์สินบุตรโดยมิใช่จากมรดก ไม่ถือเป็นการแบ่งมรดก
การแบ่งมรดกระหว่างทายาทด้วยกันนั้น ทายาทจะต้องมีเจตนาร่วมกันเพื่อแบ่งมรดก บิดายกที่ดินให้บุตร 200 ตารางวา ที่ดินนี้ไม่ใช่ของนางถนอมมารดาที่ถึงแก่กรรมแต่ผู้เดียว จำเลยซึ่งเป็นบิดามีส่วนเป็นเจ้าของอยู่ด้วย การยกให้ระบุชัดว่าให้เป็นทรัพย์ส่วนตัวของบุตร ในฐานะจำเลยเป็นบิดาต้องสงเคราะห์บุตรของตนดังนี้ ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการแบ่งมรดกของนางถนอมภรรยาของจำเลยให้แก่บุตร
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้
บุตรได้รับการยกให้แล้วได้เอาที่ดินไปจำนอง 2 ครั้ง จำเลยซึ่งเป็นบิดาไปไถ่คืนมา การไถ่มานั้นเพื่อเอาที่ดินเป็นของจำเลยเอง แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียนใส่ชื่อจำเลย บุตรเอาที่ดินไปขาย 70 ตารางวา เอาไปจำนอง 130 ตารางวาเป็นเรื่องของจำเลยผู้เป็นบิดาจะไปว่ากล่าวต่างหากไม่เกี่ยวกับมรดกของภรรยาจำเลย ซึ่งจำเลยจะขอให้หักเป็นส่วนได้ของบุตรด้วยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ และการขอคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งมรดก
เดิมพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่โดย ป. ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการจังหวัดเชียงใหม่เป็นโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกมีพินัยกรรมของ ค. จากจำเลยซึ่งเป็นบุพการีของ บ. โดยอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534 ต่อมา ป. ย้ายไปรับราชการประจำกรมอัยการ ดังนี้ เห็นว่าป. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ มิได้ฟ้องเป็นส่วนตัว โดยได้รับมอบอำนาจจากบรรดาทายาท ฉะนั้น ในการดำเนินคดี หาก ป. ไม่อยู่หรือถูกย้ายไปพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่คนอื่นๆ ก็มีอำนาจดำเนินคดีแทน ป. ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจาก ป. อีก
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของ ค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของ ค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค. เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาบังคับจำเลยแบ่งที่นาพิพาทให้แก่บรรดาทายาทตามพินัยกรรมของ ค. จำเลยต่อสู้ว่าที่นาพิพาททั้งหมดเป็นของจำเลย มิใช่มรดกของ ค. ดังนี้คำฟ้องและคำขอของโจทก์เพียงขอให้แบ่งที่นาพิพาทบางส่วนแก่ทายาทตามพินัยกรรมของ ค. เท่านั้น มิได้ฟ้องและมีคำขอให้ใช้ค่าเสียหายในการที่บรรดาทายาทมิได้รับประโยชน์จากที่นาพิพาทในระหว่างคดี ฉะนั้น การที่โจทก์ร้องขอให้ตั้งผู้จัดการผลประโยชน์ที่นาพิพาทเพื่อรวบรวมผลประโยชน์ในระหว่างคดีแบ่งให้แก่ทายาท จึงเป็นการนอกฟ้องและเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909-910/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญายอมความแบ่งมรดกและการสละสิทธิของโจทก์เมื่อได้รับส่วนแบ่งตามคำพิพากษา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งมรดกกันและตกลงให้แบ่งมรดกส่วนหนึ่งแก่บุคคลภายนอกโจทก์ไม่ต้องการทรัพย์อีก และไม่ขอเกี่ยวข้อง ซึ่งศาลพิพากษาให้เป็นไปตามยอมนั้นเมื่อโจทก์ได้รับแบ่งมรดกของโจทก์ถูกต้องตามคำพิพากษาแล้ว การบังคับคดีเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ก็เป็นอันเสร็จสิ้นโจทก์ย่อมไม่มีส่วนได้เสียที่จะขอให้ดำเนินการบังคับคดีต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกและผลของสัญญาประนีประนอมยอมความที่อ้างถึงมัสยิดที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จำเลยไม่อาจตกลงแบ่งที่ดินมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกันไว้ในศาลได้ ที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงอุทิศให้มัสยิดหัวหมากตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น ไม่มีมัสยิดหัวหมากที่จะได้รับประโยชน์ ข้อตกลงข้อนี้เป็นโมฆะต้องนำที่ดินส่วนที่ยกให้มัสยิดหัวหมากมาแบ่งให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆ กัน โจทก์จำเลยได้จดทะเบียนรับโอนมรดกที่ดินแปลงนี้ร่วมกันต่อเจ้าพนักงานที่ดินแล้ว ดังนี้ เห็นได้ว่าเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่ามัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนอยู่ ต้องนำที่ดินส่วนนั้นมาแบ่งระหว่างโจทก์จำเลย แต่ไม่อาจตกลงกันได้ ประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งโจทก์จำเลยมีสิทธิร่วมกันในที่ดินมรดกแปลงนี้ ไม่อาจตกลงแบ่งกันได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งจากจำเลยได้เสมอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363, 1364 ฟ้องของโจทก์ได้แสดงชัดแจ้งแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งขออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55, 172
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า มัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนดังที่ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในศาล แต่จำเลยให้การว่ามัสยิดหัวหมากมีตัวตนอยู่ ประเด็นหน้าที่นำสืบจึงตกแก่โจทก์ต้องนำสืบก่อนให้สมตามฟ้อง
เมื่อโจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่า มัสยิดหัวหมากไม่มีตัวตนดังที่ปรากฏตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่โจทก์จำเลยทำไว้ต่อกันในศาล แต่จำเลยให้การว่ามัสยิดหัวหมากมีตัวตนอยู่ ประเด็นหน้าที่นำสืบจึงตกแก่โจทก์ต้องนำสืบก่อนให้สมตามฟ้อง