คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญาซื้อขายที่ดิน เริ่มนับจากวันชำระเงินบางส่วน แม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม การที่โจทก์ชำระเงินให้จำเลยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2518 แล้วโจทก์จำเลยตกลงกันว่าส่วนที่เหลือจะชำระในวันโอน โดยมิได้กำหนดเวลาวันโอนไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ซึ่งโจทก์อาจบังคับใช้สิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2518 เป็นต้นไปอันเป็นวันเริ่มนับอายุความตามมาตรา 169 เดิม มิใช่เริ่มนับแต่วันที่ผิดนัดจนกว่าจะมีการบอกกล่าวก่อน เมื่อนับถึงวันฟ้องเกิน 10 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเอกสารสำคัญเพื่อการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์โดยมิชอบ เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 188
จำเลยเอาเอกสารเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ ซึ่งเป็นของโจทก์ร่วมไปจากโจทก์ร่วม แล้วนำไปดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์ให้แก่ผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าจำเลยมีเจตนาเอาเอกสารของโจทก์ร่วมไปโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 188 แม้จำเลยมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีประกอบกับจำเลยไม่เคยได้รับโทษจำคุกมาก่อนศาลฎีกาเห็นควรให้โอกาสจำเลยกลับตัวเป็นพลเมืองดีโดยให้รอการลงโทษจำคุกจำเลย แต่ให้ลงโทษปรับจำเลยด้วยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 870/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาท การชำระหนี้ และการโอนกรรมสิทธิ์
หนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาทซึ่งทำในวันเดียวกันกับวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทได้ระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้าง น. เป็นผู้รับจ้าง จำเลยที่ 2 ได้จัดทำสัญญามาเรียบร้อยแล้วนำมาให้โจทก์ลงชื่อโดย น. ไม่ได้อยู่ด้วย จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง บ้านพิพาท ในการซื้อที่ดินและบ้านพิพาทได้ตกลงกันว่าเมื่อจะโอนที่ดินและบ้านต้องเอาที่ดินและบ้านพิพาทจำนองธนาคารก่อน แล้วเอาเงินจากธนาคารมาชำระค่าที่ดินและบ้านส่วนที่ยังเหลือแก่จำเลยที่ 1 จากนั้นโจทก์จะเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้ต่อธนาคารที่ยังชำระค่าบ้านไม่ครบเพราะยังสร้างบ้านไม่เสร็จ ข้อความต่าง ๆ ในหนังสือสัญญาว่าจ้างก่อสร้างบ้านพิพาท โจทก์ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย แต่จำเลยที่ 2 ในนามของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ตกลงว่าจ้าง น. ทำการก่อสร้างการระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างก่อสร้างบ้านจึงถือว่ากระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 ดังนั้น บ้านพิพาทที่ น.รับจ้างก่อสร้างจึงเป็นบ้านของจำเลยที่ 1 ที่ตกลงจะขายให้แก่โจทก์ การก่อสร้างบ้านพิพาทแล้วเสร็จก่อนโจทก์ฟ้องราวปีเศษ และโจทก์ยังค้างชำระค่าก่อสร้างบ้านพิพาทอีกประมาณ 200,000 บาท เมื่อโจทก์เข้าไปอยู่ในบ้านพิพาทแล้ว จำเลย ที่ 2 ได้ทวงถามให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทเป็นเงิน 300,000 บาท การที่โจทก์ได้ไปสำนักงานที่ดินในวันนัด จดทะเบียนโอน แต่เตรียมเงินไปเพียง 70,000 บาทซึ่งไม่พอ ชำระค่าที่ดินและบ้านพิพาทถือว่าโจทก์มิได้อยู่ในฐานะที่จะ สามารถชำระหนี้ได้ แม้จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปที่สำนักงานที่ดินในวันนัดดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดนัดหรือผิดสัญญา โจทก์ได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อที่ดินและบ้านพิพาทจากจำเลย ที่ 1 และยังค้างชำระราคาค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำเลยที่ 1 เป็นเงินจำนวน 300,000 บาท โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องชำระ เงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องแย้งซึ่งถือว่าโจทก์ ผิดนัดแล้ว และเมื่อสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็น สัญญาต่างตอบแทน จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการตอบแทนด้วย จำเลยทั้งสองยินยอมให้โจทก์เข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทการกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดจำเลยทั้งสอง ส่วนกรณี ที่หากโจทก์ไม่ชำระเงินค่าที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ จำเลยที่ 1 ก็เป็นเรื่องของการผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และบ้านพิพาท จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหายอย่างไร ก็ชอบ ที่จะเรียกร้องเอาจากโจทก์เป็นอีกกรณีหนึ่ง ไม่อาจถือได้ว่า โจทก์ทำละเมิดต่อจำเลยที่ 1 อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ตามที่จำเลยที่ 1 ฟ้องแย้งได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ก่อนสัญญาเช่าทำให้สัญญาเช่าไม่ผูกพันผู้ซื้อ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เมื่อ ส. จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. จะมีผลบังคับ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และบอกกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าเมื่อมีการซื้อขายทรัพย์สิน: สัญญาเช่าสิ้นสุดเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ก่อนสัญญาเช่ามีผล
เมื่อ ส. จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. จะมีผลบังคับ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และบอกกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแบ่งทรัพย์สิน, ผู้จัดการมรดก, การทำละเมิด, และการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
โจทก์ฟ้องเรียกสินสมรสส่วนของโจทก์เฉพาะที่เป็นเงินสดในบัญชีเงินฝากของ พ. ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 จำนวน 3,652,065.20 บาท ว่าโจทก์มีสิทธิได้กึ่งหนึ่ง จำเลยที่ 1 และที่ 2 ก็มิได้ปฏิเสธทั้งยังยอมรับในบัญชีทรัพย์อันดับที่ 26 ท้ายรายงานการประชุมของทายาทว่าจำนวนเงิน 3,652,065.20 บาท เป็นสินสมรสระหว่างนาย พ.กับโจทก์ จึงฟังได้ว่าเงินจำนวน 3,652,065.20 บาท ที่จำเลยที่ 1และที่ 2 เบิกไปจากจำเลยที่ 3 เป็นสินสมรสระหว่าง พ.กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิได้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625 ประกอบด้วยมาตรา 1533 คือ จำนวน 1,826,032.60 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2ต้องรับผิดคืนเงินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยส่วนดอกเบี้ยนั้น การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เบิกเงินสินสมรสของโจทก์ไปแล้วไม่คืนให้โจทก์ย่อมเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยให้โจทก์อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีโดยนับแต่วันที่เบิกเอาไปจากจำเลยที่ 3 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 และ 224 โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่ดินโดยอ้างว่าเป็นสินสมรส และข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ที่ดินดังกล่าวเป็นสินสมรส โจทก์จึงมีสิทธิในที่ดินดังกล่าวเพียงกึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนที่ดินดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งแปลงจึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดอ้างศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อช่วงและการโอนกรรมสิทธิ์ แม้โจทก์ยังไม่เป็นเจ้าของทรัพย์ขณะทำสัญญา แต่บริษัทเจ้าของยินยอมและจำเลยรับทราบ ถือเป็นสัญญาที่ผูกพัน
โจทก์เช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากบริษัทท.แล้วจำเลยเช่าซื้อรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน จากโจทก์ แม้ในขณะโจทก์จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ยังไม่ได้เป็นเจ้าของรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันที่ให้เช่าซื้อก็ตาม แต่บริษัท ท. ยินยอมให้โจทก์นำรถยนต์พิพาททั้ง 8 คันออกให้ผู้อื่นเช่าซื้อช่วงได้ และโจทก์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาททั้ง 8 คัน ให้แก่จำเลยได้ หากจำเลยชำระเงินค่าเช่าซื้อครบตามสัญญา จำเลยสมัครใจเข้าทำสัญญาโดยมิได้โต้แย้งในเรื่องนี้แต่อย่างใด จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อ จะอ้างว่าขณะทำสัญญาโจทก์ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อ จึงไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6082/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับจำนองเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน – ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง แม้มีการโอนกรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์ โจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องส่งมอบโฉนดที่ดินเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับจำนองกำลังฟ้องบังคับจำนองที่ดินเอาแก่จำเลยก็ตาม แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 วรรคสอง ผู้รับจำนองชอบที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญมิพักต้องพิเคราะห์ว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือหาไม่ ดังนั้น แม้ที่ดินจะโอนกรรมสิทธิ์ไปยังโจทก์ สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้รับจำนองก็ยังคงมีอยู่ตามเดิมส่วนวิธีการที่จะบังคับจำนองเอาแก่ที่ดินแปลงนี้ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไม่เป็นการเสื่อมเสียแก่สิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใดไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ร้องรอการส่งมอบโฉนดที่ดินต่อศาลเพื่อให้โจทก์ไปดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอาศัยไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้ สัญญาอาศัยไม่ก่อให้เกิดกรรมสิทธิ์ในห้องชุด
สัญญาสิทธิอาศัยมีข้อความว่า "ถ้าผู้อาศัยและบริวารไม่ประสงค์จะอาศัยอยู่ในห้องชุดต่อไป ผู้อาศัยจะโอนสิทธิอาศัยให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยผู้รับโอนสิทธิและฐานะเช่นเดียวกับผู้อาศัยทุกประการ หรือถ้าหากผู้อาศัยหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่ผู้อาศัยกำหนดให้ ประสงค์จะซื้อห้องชุดดังกล่าว ผู้อาศัยก็มีสิทธิจะซื้อห้องชุดดังกล่าวได้ในราคาเท่ากับค่าตอบแทนในข้อ 1 และไม่จำต้องชำระราคาให้แก่ผู้ให้อาศัยอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของทางราชการในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท่านั้น แต่ให้ถือเอาค่าตอบแทนในข้อ 1 เป็นค่าราคาของห้องชุดที่ผู้อาศัยได้ชำระแล้ว" ตามข้อความในสัญญาดังกล่าวผู้อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด คงมีเฉพาะสิทธิอาศัยเท่านั้น ผู้อาศัยจึงไม่มีสิทธิทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของห้องชุดให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5690/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาสิทธิอาศัยไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ได้ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้องกรรมสิทธิ์
สัญญาสิทธิอาศัยมีข้อความว่า "ถ้าผู้อาศัยและบริวารไม่ประสงค์จะอาศัยอยู่ในห้องชุดต่อไป ผู้อาศัยจะโอนสิทธิอาศัยให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยผู้รับโอนสิทธิและฐานะเช่นเดียวกับผู้อาศัยทุกประการ หรือถ้าหากผู้อาศัยหรือผู้หนึ่งผู้ใดที่ผู้อาศัยกำหนดให้ ประสงค์จะซื้อห้องชุดดังกล่าว ผู้อาศัยก็มีสิทธิจะซื้อห้องชุดดังกล่าวได้ในราคาเท่ากับค่าตอบแทนในข้อ 1 และไม่จำต้องชำระราคาให้แก่ผู้ให้อาศัยอีกนอกจากค่าธรรมเนียมของทางราชการในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเท่านั้น แต่ให้ถือเอาค่าตอบแทนในข้อ 1 เป็นค่าราคาของห้องชุดที่ผู้อาศัยได้ชำระแล้ว" ตามข้อความในสัญญาดังกล่าวผู้อาศัยไม่มีกรรมสิทธิ์ในห้องชุด คงมีเฉพาะสิทธิอายัดเท่านั้นผู้อาศัยจึงไม่มีสิทธิทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของห้องชุดให้โจทก์ได้
of 56