พบผลลัพธ์ทั้งหมด 486 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 129/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อมีการโอนสิทธิและส่งมอบรถยนต์คืน สัญญาเป็นอันเลิกกันตามมาตรา 573
การที่จำเลยผู้เช่าซื้อส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อเนื่องจากได้โอนสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่ ด.โดยโจทก์ยินยอมแล้วนั้น ถือได้ว่าจำเลยได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์แล้ว ดังนั้น ไม่ว่าการแปลงหนี้ใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลยจะได้ทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ สัญญาเช่าซื้อก็เป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 นับแต่วันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน สิทธิในการอยู่อาศัยตามสัญญาสามารถโอนได้แม้หลังคู่สัญญาสิ้นชีวิต
เดิม จำเลยฟ้องขับไล่บิดาโจทก์ ให้รื้อถอนโรงเรือนในที่ดินจำเลย บิดาโจทก์กับจำเลยตกลง กันได้ โดย ทำสัญญาประนีประนอมยอมความให้บิดาโจทก์และบุตรพร้อมด้วย บริวารของบิดาโจทก์และผู้เช่าโรงเรือนจากบิดาโจทก์อาศัยในที่ดินได้ 30 ปี และจำเลยได้ จดทะเบียนภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ว่า ที่ดินแปลงนี้อยู่บังคับภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ โดยบิดาโจทก์เป็นผู้รับประโยชน์อาศัยปลูกโรงเรือนในที่ดินดังกล่าวมีกำหนด 30 ปี ดังนี้ ข้อตกลงตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลเป็นสัญญาอันหนึ่ง ซึ่ง มีเนื้อความชัดเจนว่า ให้บุตรจำเลยคือโจทก์ในคดีนี้อยู่ในที่พิพาทได้ เป็นเวลา 30 ปี ข้อตกลงเช่นนี้ ไม่ขัดต่อกฎหมายจึงใช้ บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้ แสดงเจตนาถือ เอาประโยชน์แห่งสัญญาจำเลยก็ต้อง ปฏิบัติตาม สัญญานั้น การที่จำเลยไม่ ยินยอมให้โจทก์หรือบริวารโจทก์อยู่ในที่ดินโดย จำเลยได้ รื้อถอนโรงเรือนของโจทก์ออกไปเป็นการผิดสัญญา และละเมิดต่อ โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การแย่งการครอบครองต้องมีการครอบครองจริงก่อน การโอนสิทธิโดยไม่เข้าครอบครองไม่ถือเป็นการแย่งการครอบครอง
เดิมมารดาโจทก์กับ ล. ครอบครองที่ดินร่วมกัน ต่อมาได้แยกกันครอบครองเป็นสัดส่วน โดยมารดาโจทก์ครอบครองที่พิพาท ล. ครอบครองส่วนที่เหลือ โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทตั้งแต่มารดาโจทก์ยังไม่ถึงแก่กรรมตลอดมาจนถึงปัจจุบัน การที่ ล. ขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินทั้งแปลงรวมทั้งที่พิพาทแล้วทำนิติกรรมยกให้จำเลยทั้งสอง โดยทั้ง ล. และจำเลยทั้งสองไม่เคยเข้าครอบครองที่พิพาท ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่พิพาทมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดินจากการซื้อขายและการครอบครองแทนเจ้าของเดิม การฟ้องคืนสิทธิไม่ขาดอายุความ
ห.บิดาจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของตนให้แก่ ล. ภริยาน้อยของ ห. คือที่ดินพิพาทคดีนี้ ต่อมา ล.ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ค.มารดาของโจทก์ทั้งสาม โดย ห.รู้เห็นยินยอมด้วย การที่ล.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ค. ย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพัน ห.ด้วยดังนั้น การที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ห.และเป็นการครอบครองแทน ห.เมื่อ ห.และ ล. ได้โอนการครอบครองที่ดินพิพาทแก่ ค.แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นเจตนายึดถือ เพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่อาจอ้างระยะเวลาการฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้รับโอนมรดกที่ดินพิพาทจาก ค.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5754/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิครอบครองที่ดิน การซื้อขายที่ดิน และอายุความฟ้องร้องคดีครอบครองปรปักษ์
ห.บิดาจำเลยได้ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินของตนให้แก่ ล. ภริยาน้อยของ ห. คือที่ดินพิพาทคดีนี้ ต่อมา ล.ได้ทำหนังสือสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่ค.มารดาของโจทก์ทั้งสามโดยห.รู้เห็นยินยอมด้วย การที่ล.ขายที่ดินพิพาทให้แก่ ค.ย่อมมีผลสมบูรณ์และผูกพันห.ด้วยดังนั้น การที่จำเลยครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ห.และเป็นการครอบครองแทนห.เมื่อห.และ ล. ได้โอนการครอบครองที่ดินพิพาทแก่ ค.แล้ว และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือเป็นเจตนายึดถือ เพื่อตนอันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่อาจอ้างระยะเวลาการฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสามผู้รับโอนมรดกที่ดินพิพาทจาก ค.ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 โดยไม่ชอบตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตก ทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตก เป็นของผู้ร้องไม่ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5726/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิทำกินในที่ดิน สทก.1 ถือเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขการครอบครองและการบังคับคดี
ทรัพย์ของจำเลยที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดเป็นต้นผลอาสิน (ต้นทุเรียน เงาะ ขนุน ชมพู่) ในที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิทำกินชั่วคราวในเขตป่าสงวนแห่งชาติเรียกว่า สทก.1 ซึ่ง น. เป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้มีสิทธิครอบครองทำกินชั่วคราวมีเงื่อนไขว่า จะแบ่งแยกหรือโอนสิทธิหรือให้เช่าช่วงทำกินไปยังบุคคลอื่นมิได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ฉะนั้น น. จึงเป็นผู้มีสิทธิทำกินในที่ดินดังกล่าวแต่ผู้เดียว แม้ น. ได้ทำหนังสือสัญญาการซื้อขายทรัพย์ที่โจทก์นำยึดให้ผู้ร้อง ก็ไม่มีผลบังคับ เพราะการขายทรัพย์ดังกล่าวเป็นการขายในสภาพติดกับที่ดิน ซึ่งทำให้ผู้ซื้อได้สิทธิครอบครองทรัพย์ที่นำยึด จึงถือได้ว่าเป็นการโอนสิทธิทำกินชั่วคราวในที่ดินดังกล่าวอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และเงื่อนไขดังกล่าว ทรัพย์ดังกล่าวจึงหาตกเป็นของผู้ร้องไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขัดทรัพย์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5665/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินโดยตัวแทนที่ไม่เปิดเผยชื่อ: สิทธิของบุคคลภายนอกที่สุจริต
การที่โจทก์ยอมให้ใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ใน น.ส. 3 แทนตน เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ได้ไม่ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 806.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5549/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการโอนสิทธิครอบครองที่ดิน แม้ไม่มีการจดทะเบียน ก็สามารถทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ห.คงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเท่านั้น ขณะที่ยกที่ดินดังกล่าวให้จำเลย เมื่อ ห.ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้จำเลยเข้าครอบครอง ถือได้ว่าสละเจตนาที่จะครอบครองที่ดินดังกล่าว และการยกให้มีผลสมบูรณ์ทันที ไม่ต้องไปจดทะเบียนทำนิติกรรมการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยย่อมได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห. แม้ ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382
หลังจาก ห.ยกที่ดินพิพาทให้จำเลยแล้ว ได้มีการออกโฉนดสำหรับที่ดินพิพาทในนามของ ห. แม้ ห.ยังมิได้จดทะเบียนโอนให้จำเลย แต่จำเลยได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวโดยสงบเปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมาตลอดจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้วจำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในเช็คที่ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกเงินได้
แม้เช็คสั่งจ่ายเงินสดหรือเช็คผู้ถือจะถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คซึ่งผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 และย่อมโอนแก่กันได้โดยการส่งมอบ เมื่อโจทก์ได้รับโอนเช็คดังกล่าวมาภายหลังถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์จึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 904 และมีอำนาจฟ้องให้ผู้สั่งจ่ายรับผิดชดใช้เงินตามเช็คได้โดยไม่จำต้องนำเช็คไปขึ้นเงินอีกครั้งหนึ่งเสียก่อน.