คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินโดยไม่สุจริต แม้เป็นสินสมรสคู่สมรสมีอำนาจฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไรที่ไหนและเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณาทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียว กับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้วเพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อยังไม่มีการหย่าทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าเป็นโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญา แต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่สุจริตและขาดความยินยอมจากคู่สมรส
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยทั้งสองคนทราบดีว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจโอนและจำเลยที่ 2 รับโอนโดยไม่สุจริต ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโอนโดยวิธีการอย่างไร ที่ไหน และเมื่อไร เพราะเป็นรายละเอียดที่ต้องนำสืบในชั้นพิจารณา ทั้งโจทก์ได้ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โดยโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่พิพาทให้แก่โจทก์คนเดียวกับมีคำขอบังคับให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำลงโดยมิชอบ จึงเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว
โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำหนังสือหย่าและตกลงแบ่งทรัพย์สินกันโดยชอบ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 หย่าขาดจากกันแล้ว เพราะยังไม่ได้จดทะเบียนหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 แต่ข้อตกลงเรื่องการหย่าและข้อตกลงเรื่องแบ่งทรัพย์สินเช่นนี้เป็นข้อตกลงที่แยกจากกันไม่ได้เมื่อยังไม่มีการหย่า ทรัพย์สินนั้นคงเป็นสินสมรสอยู่ตามเดิม โจทก์อ้างไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของทรัพย์พิพาทแต่ผู้เดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาแต่โดยที่โจทก์มีสิทธิในทรัพย์สินอยู่ด้วยครึ่งหนึ่ง ทั้งคำฟ้องบรรยายว่าจำเลยทั้งสองลักลอบโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน และแจ้งเท็จว่าจำเลยที่ 1 เป็นม่าย เท่ากับกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองสมคบกันโอนที่พิพาทโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรสโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 243/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีเช็ค การยกข้อต่อสู้ไม่สุจริตและไม่มีมูลหนี้ต้องมีเหตุผลสนับสนุน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตามเช็ค จำเลยให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับเช็คพิพาทโดยไม่สุจริตแต่ไม่ได้ให้เหตุผลว่าโจทก์ไม่สุจริตอย่างใด จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้ ที่จำเลยให้การว่าทำเช็คพิพาทหายไปไม่เป็นเหตุผลที่จะให้รับฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยไม่สุจริต
จำเลยให้การต่อสู้ว่าเช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ที่ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยมีมูลหนี้เพราะผู้มีชื่อนำเช็คมาชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทโดยคบคิดกันฉ้อฉลร่วมกับผู้มีชื่อซึ่งจะเป็นเหตุผลที่แสดงว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ จึงเท่ากับจำเลยไม่ได้ยกมาตรา 916 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ขึ้นต่อสู้ จำเลยจึงไม่มีประเด็นจะนำสืบในข้อนี้อีกด้วยชอบที่จะงดสืบพยานและพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินโดยไม่สุจริตหลังศาลตัดสินแล้ว เป็นความเท็จลงในเอกสารราชการและสร้างความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267, 83
การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอายัดที่ดินโดยไม่สุจริตหลังศาลตัดสินถึงที่สุด ถือเป็นความเท็จลงในเอกสารราชการและสร้างความเสียหาย
บริษัทจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการมอบอำนาจให้ ส. ไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ขออายัดที่ดินหลายโฉนดของโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์เป็นลูกหนี้จำเลย ทั้งๆ ที่ศาลฎีกาพิพากษาแล้วว่าโจทก์มิได้เป็นลูกหนี้จำเลย จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อให้เจ้าพนักงานที่ดินผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน แม้ต่อมากรมที่ดินจะเห็นว่าจำเลยมิได้มีส่วนได้เสียจึงไม่รับอายัด ก็เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่โจทก์และประชาชนแล้ว จำเลยทั้งสามมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267,83
การกระทำของนิติบุคคลย่อมแสดงให้ปรากฏโดยการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลนั้น เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกันกระทำการเพื่อจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: ผู้ใช้ก่อนมีสิทธิมากกว่า แม้ไม่ใช่เจ้าของ หากผู้ขอจดทะเบียนรู้ถึงสิทธิและกระทำไม่สุจริต
โจทก์สั่งสินค้าจากบริษัทต่างประเทศซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปตัวอักษรโรมันคำ "พีคิว" เข้ามาจำหน่ายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523ขณะนั้นจำเลยยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ ยังไม่เคยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าว ดังนี้โจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าพิพาทดีกว่าจำเลยการที่จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าพิพาทโดยรู้ถึงสิทธิของโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลย และการที่บริษัทเจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่ได้มอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีหา กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ไม่ เพราะโจทก์ฟ้องคดีตามสิทธิและในนามของตนเอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของเดิมยังมีสิทธิ
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยผู้ร้องทราบว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มิใช่ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับโจทก์ จึงถือได้ว่าผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทไว้โดยไม่สุจริต สิทธิของผู้ร้องในการซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บ้านพิพาทจึงเป็นของจำเลยที่ 2 และผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ในคดีที่โจทก์นำยึดบ้านพิพาทบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อบ้านจากการขายทอดตลาดโดยไม่สุจริต ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เจ้าของเดิมยังมีสิทธิ
ผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ในคดีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.ฟ้องจำเลยที่ 1 โดยผู้ร้องทราบว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มิใช่ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองไว้กับโจทก์ จึงถือได้ว่าผู้ร้องซื้อบ้านพิพาทไว้โดยไม่สุจริต สิทธิของผู้ร้องในการซื้อบ้านพิพาทจากการขายทอดตลาดย่อมไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330 บ้านพิพาทจึงเป็นของจำเลยที่ 2 และผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ในคดีที่โจทก์นำยึดบ้านพิพาทบังคับชำระหนี้จากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนรับโอนที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้จำเลยมีสิทธิยกข้อต่อสู้ได้
ที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินโฉนด เลขที่ 6343 ที่โจทก์ซื้อมา โดยโจทก์ได้ทราบในขณะซื้อแล้วว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอยู่ทั้งเข้าใจว่าเป็นของจำเลย เพียงแต่สำคัญผิดว่าเป็นที่ดินอยู่นอกโฉนด ดังกล่าว เช่นนี้จำเลยย่อมยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ว่าโจทก์จดทะเบียนรับโอนมาโดยไม่สุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ย่อมไม่สามารถอ้างสิทธิได้ แม้จะจดทะเบียนรับโอน
โจทก์ซื้อที่ดินมีโฉนดโดยเข้าใจว่าที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นของจำเลยและอยู่นอกเขตโฉนดของตน ต่อมารังวัดปรากฏว่าที่ที่จำเลยครอบครองเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินในโฉนดของโจทก์และจำเลยได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไปก่อนแล้ว ดังนี้ โจทก์จะอ้างว่าซื้อที่ดินมาโดยสุจริตหาได้ไม่ จำเลยย่อมยกข้อไม่สุจริตขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.
of 37