พบผลลัพธ์ทั้งหมด 180 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2471
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับซื้อไม้หวงห้ามโดยรู้ว่าผู้ขายไม่มีสิทธิ์ ตัดไม้ ความผิดฐานรับของโจร
รับซื้อไม้ประเภทหวงห้ามที่ผู้ตัดเอามาขายไว้โดยรู้สึก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9103/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต และแปรรูปไม้หวงห้าม การลงโทษตามกฎหมายป่าไม้
โจทก์บรรยายฟ้องในข้อ 2.2 ว่า จำเลยกับพวกร่วมกันตั้งโรงงานแปรรูปไม้ภายในเขตควบคุมการแปรรูปไม้ โดยใช้เลื่อยโซ่ยนต์ตามฟ้องข้อ 2.1 ตัดทอนไม้ให้เปลี่ยนรูปไปจากเดิมและบรรยายฟ้องในข้อ 2.3 ว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันแปรรูปไม้สักและไม้ประดู่ อันเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ให้เป็นแผ่น ได้ไม้สักแปรรูป 49 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 0.72 ลูกบาศก์เมตร และได้ไม้ประดู่แปรรูป 19 แผ่น/เหลี่ยม ปริมาตร 0.16 ลูกบาศก์เมตร ตามคำฟ้องดังกล่าวมีความหมายในตัวว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานตั้งโรงงานแปรรูปไม้สักและไม้ประดู่โดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 73 วรรคสอง (1) เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพและไม้ที่จำเลยที่ 1 กับพวกตั้งโรงงานเป็นไม้สัก การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 48 วรรคหนึ่ง ซึ่งต้องลงโทษตามมาตรา 73 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14743/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานบุกรุกทำลายป่าสงวน, ทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาต, และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครอง ศาลพิพากษาลงโทษตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้พิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง" ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักเกณฑ์การบรรยายฟ้องของโจทก์ ตามกฎหมายดังกล่าวมาตรา 158 (5) ว่า "การกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิด..." เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองได้บังอาจร่วมกัน ก่นสร้าง แผ้วถาง และเข้ายึดถือหรือครอบครองบริเวณป่าสงวนแห่งชาติ...โดยจำเลยทั้งสองได้ใช้มีดพร้าเป็นอุปกรณ์ในการก่นสร้าง โค่นไม้จำนวนหลายต้น อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองใช้มีดพร้าตัดกิ่งไม้โยนเข้ากองไฟในที่เกิดเหตุ ประกอบกับภาพถ่ายสภาพที่เกิดเหตุลักษณะเป็นการแผ้วถางทำป่าให้เตียนเพื่อเข้ายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งอยู่ในกรอบของข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานร่วมกันก่นสร้าง แผ้วถาง อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติชอบแล้ว
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางที่เกิดเหตุ อันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ และในขณะเดียวกันยังร่วมกันทำไม้โดยตัดไม้ในที่เกิดเหตุโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการกระทำโดยมีเจตนาเดียว จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท เพราะเป็นความผิดสำเร็จในตัวเองทันทีที่ได้กระทำ แต่ลักษณะความผิดฐานร่วมกันทำไม้และยึดถือครอบครอง ทำประโยชน์ แผ้วถางอันเป็นการเสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ กับความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามอันยังมิได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เป็นการกระทำคนละคราวโดยอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดให้เกิดผลแตกต่างแยกต่างหากจากกัน โดยหลังจากที่ตัดไม้แล้วจำเลยทั้งสองมีเจตนามีไม้ที่ตัดไว้ในครอบครองย่อมเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งแยกต่างหากจากการตัดไม้ แม้ว่าไม้ที่จำเลยทั้งสองร่วมกันตัดและมีไว้ในครอบครองจะเป็นจำนวนเดียวกันก็ตาม จึงเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11013/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิพากษาความผิดฐานทำลายป่าไม้ แม้ไม้ไม่ใช่ไม้หวงห้าม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้ โดยตัดฟันต้นงิ้วภายในเขตป่าประดางและป่าวังเจ้า อันเป็นป่าสงวนแห่งชาติ และเลื่อยออกเป็นท่อนได้ไม้งิ้ว 105 ท่อน ปริมาตร 12.07 ลูกบาศก์เมตร แล้วร่วมกันใช้รถยนต์บรรทุกนำไม้ดังกล่าวออกจากป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ทั้งนี้ โดยจำเลยกับพวกไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานและไม่ได้รับการยกเว้นใด ๆ ตามกฎหมาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า ต้นไม้งิ้วที่จำเลยกับพวกร่วมกันตัดฟันและเลื่อยออกเป็นท่อนนั้น เป็นไม้หวงห้ามอันเป็นองค์ประกอบความผิดฐานทำไม้ ตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 ดังนั้น ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่บรรยายข้อเท็จจริงขาดองค์ประกอบความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้คำขอท้ายฟ้องจะระบุบทมาตราที่ขอให้ลงโทษมาด้วยและจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลก็ไม่อาจลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดฐานร่วมกันทำไม้ ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 73 ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225 แต่จำเลยคงมีความผิดฐานร่วมกันทำไม้อันเป็นการทำให้เสื่อมเสียแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 มาตรา 14, 31 วรรคสอง (2) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้าม: ครอบครองแทนผู้อื่นก็เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ ฯ นั้น หาได้มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า "สิทธิครอบครอง" ตาม ป.พ.พ. ไม่ หากแต่มีความหมายกว้างกว่าโดยหมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายใดให้ความหมายจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิดอีกทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสามรับจ้างผู้อื่นมาชัดลากไม้สักของกลางก็ตาม ก็ถือได้ว่าเป็นการครอบครองไม้สักของกลางแทนเจ้าของผู้ว่าจ้าง การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันมีไม้สักของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2312/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดเกี่ยวกับไม้หวงห้าม เลื่อยโซ่ยนต์ และการนำเข้าหลีกเลี่ยงอากร ศาลพิจารณาองค์ประกอบความผิดและแก้ไขโทษ
เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง การที่โจทก์ไม่ได้อ้างมาตรา 83 แห่ง ป.อ. หาทำให้คำฟ้องบกพร่องจนศาลไม่อาจจะลงโทษจำเลยที่ 1 ได้ไม่ เพราะตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 บัญญัติว่า "ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (6) อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด..." ซึ่ง ป.อ. มาตรา 83 มิใช่บทมาตราที่กฎหมายบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด ดังนั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดแล้ว แม้จะไม่ได้ระบุมาตรา 83 มาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ศาลก็ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานตัวการร่วมกันกระทำความผิดได้
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองมีเลื่อยโซ่ยนต์ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดองค์ประกอบความผิด แม้โจทก์จะขอให้ลงโทษฐานดังกล่าว โดยอ้างมาตรา 4, 19 แห่ง พ.ร.บ.เลื่อยโซ่ยนต์ ฯ มาด้วย ศาลฎีกาไม่สามารถลงโทษได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพและมิได้ยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองไม้หวงห้ามรวมถึงการควบคุมการขนย้าย แม้ไม่ใช่เจ้าของโดยตรง ก็ถือเป็นความผิดร่วมกันได้
คำว่า "ครอบครอง" ตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 หมายความรวมถึงครอบครองเพื่อตนเองและครอบครองแทนผู้อื่นด้วย ทั้งนี้ เพราะไม่มีบทกฎหมายใดจำกัดว่าต้องเป็นการครอบครองเพื่อตนเองเท่านั้นจึงจะเป็นความผิด ทั้งในทางอาญาการร่วมกันครอบครองไม้หวงห้ามก็เป็นความผิดเช่นเดียวกัน เมื่อได้ความจากการพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองมาควบคุมการขนไม้หวงห้ามของกลางให้แม่เลี้ยง ต. อันเป็นการกระทำผิดร่วมกันจึงถือว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กับพวกครอบครองไม้ของกลางแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้แปรรูปนำเข้าจากต่างประเทศ ไม่ถือเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้
พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ไม้สักและไม้ยางทั่วไปในราชอาณาจักรไม่ว่าจะขึ้นอยู่ในที่ใดเป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้ชนิดอื่นในป่าจะให้เป็นไม้หวงห้ามประเภทใด ให้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา" ดังนั้นไม้ยางที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. จะต้องเป็นไม้ยางที่ขึ้นอยู่ในราชอาณาจักร ส่วนไม้เต็งและไม้แดงซึ่งเป็นไม้อื่นจะเป็นไม้หวงห้ามก็จะต้องเป็นไม้ในป่า ซึ่งตามนิยามคำว่า "ป่า" ในมาตรา 4(1) ให้หมายความว่า ที่ดินที่ยังมิได้มีบุคคลได้มาตามกฎหมายที่ดิน จึงต้องแปลความว่าไม้เต็งและไม้แดงจะเป็นไม้หวงห้ามต้องเป็นไม้ในราชอาณาจักร คดีนี้ไม้ยางไม้เต็งและไม้แดงของกลางมิได้เป็นไม้ในราชอาณาจักร แต่เป็นไม้ที่นำเข้าจากประเทศสหภาพพม่า จึงไม่ใช่ไม้หวงห้าม ดังนั้น แม้จำเลยจะมีไม้แปรรูปของกลางไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยก็ไม่เป็นความผิดฐานมีไม้หวงห้ามแปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 48 แต่อย่างใด เพราะกรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 50 (4) ที่บัญญัติว่า บทบัญญัติมาตรา 48 มิให้ใช้บังคับในกรณีมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครองที่มิใช่ไม้หวงห้าม ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีไม้แปรรูปและไม้หวงห้าม การแยกความผิดหลายกรรมต่างกัน และการพิจารณาโทษ
การกระทำความผิดฐานร่วมกันมีไม้หวงห้ามที่ยังมิได้แปรรูปโดยไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและโดยพิสูจน์ไม่ได้ว่าได้ไม้นั้นมาโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นความผิดตามมาตรา 69 แห่ง พ.ร.บ.ป่าไม้ฯ กระทงหนึ่งส่วนความผิดฐานมีไม้แปรรูปเกิน 0.20 ลูกบาศก์เมตร โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดตามมาตรา 48 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 73 แห่ง พ.ร.บ. เดียวกันอีกระทงหนึ่ง หาใช่เป็นความผิดในบทบัญญัติเดียวกันไม่ เมื่อ ป.อ. มาตรา 91 ซึ่งบัญญัติถึงการกระทำความผิดหลายกรรมมิได้บัญญัติว่าการกระทำความผิดหลายกรรมจะเกิดขึ้นในวาระเดียวกันไม่ได้ ทั้งการที่กฎหมายบัญญัติบทความผิดและบทลงโทษไว้คนละมาตราย่อมเห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายได้ว่ามีความประสงค์จะแยกความผิด 2 ฐานนี้ออกจากกัน ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีไม้แปรรูปและไม้หวงห้ามที่ยังไม่ได้แปรรูปดังกล่าวไว้ในครอบครองในคราวเดียวกัน ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามซึ่งยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้เหล่านี้ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและภายหลังร่วมกันแปรรูปไม้แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้จะบรรยายถึงมูลเหตุจูงใจของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วยว่า การทำไม้และแปรรูปไม้ดังกล่าว เป็นการกระทำตามที่ได้รับการใช้จ้างวานจากจำเลยที่ 6 ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะไม่สามารถเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในฐานดังกล่าวได้ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีมูลเหตุจูงใจอย่างไรก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดแล้วกลับกลายเป็นเพียงผู้สนับสนุนได้
คำฟ้องโจทก์ได้บรรยายไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้หวงห้ามซึ่งยังไม่ได้แปรรูปไว้ในครอบครองโดยไม้เหล่านี้ไม่มีรอยตราค่าภาคหลวงหรือรอยตรารัฐบาลขายและภายหลังร่วมกันแปรรูปไม้แล้วจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ร่วมกันมีไม้แปรรูปไว้ในครอบครอง แม้จะบรรยายถึงมูลเหตุจูงใจของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ด้วยว่า การทำไม้และแปรรูปไม้ดังกล่าว เป็นการกระทำตามที่ได้รับการใช้จ้างวานจากจำเลยที่ 6 ก็ไม่ได้หมายความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะไม่สามารถเป็นตัวการร่วมกันกระทำความผิดในฐานดังกล่าวได้ เพราะไม่ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จะมีมูลเหตุจูงใจอย่างไรก็ไม่เป็นเหตุให้การกระทำที่ครบองค์ประกอบความผิดแล้วกลับกลายเป็นเพียงผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5804/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้หวงห้าม: การจำแนกประเภทไม้และการพิพากษาคดีทำไม้ในเขตป่าสงวน
พระราชกฤษฎีกากำหนดไม้หวงห้าม พ.ศ.2530 มิได้กำหนดให้ไม้มะกอกทุกชนิดในป่าเป็นไม้หวงห้าม คงมีลำดับที่ 110 ที่กำหนดให้มะเกิ้ม มะเหลี่ยม มะกอกเหลี่ยม มะจิ้น มะกอกเลือด มะกอกเกลื้อน มะเลื่อมและมะกอกเลื่อม ซึ่งเป็นพรรณไม้สกุล Canarium เท่านั้น เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ไม้มะกอกทั่วไปซึ่งมิใช่พรรณไม้ในสกุลดังกล่าว จึงมิใช่ไม้หวงห้ามตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484