คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
10 ปี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6506/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีสัญญาประกัน: ความรับผิดทางแพ่งอยู่ภายใต้กำหนดเวลา 10 ปีตามกฎหมาย
ความรับผิดตามสัญญาประกันเป็นความรับผิดทางแพ่ง และค่าปรับที่ศาลสั่งให้ผู้ประกันชำระกรณีผิดสัญญาประกันก็เข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ดังนั้น เมื่อศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน และออกหมายแจ้งคำสั่งให้ผู้ประกันชำระค่าปรับภายใน 30 วัน การที่ผู้ร้องจะใช้สิทธิบังคับคดีย่อมต้องอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 271 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ซึ่งกำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีได้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง หาใช่ว่าจะมีสิทธิขอบังคับคดีเมื่อใดก็ได้โดยไม่มีเวลาจำกัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3549/2565

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาซื้อขายทองคำ: ไม่ใช่อายุความ 2 ปี แต่เป็น 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีคำสั่งให้โจทก์ขายทองคำผ่านระบบอินเทอร์เน็ต แต่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบทองคำที่ทำการขายทุกรายการภายในกำหนดเวลา 3 วันทำการนับแต่วันที่จำเลยส่งคำสั่งขายแต่ละรายการ โจทก์จึงใช้สิทธิตามสัญญาดำเนินการล้างฐานะเพื่อบังคับชำระหนี้โดยหักกลบลบหนี้เพื่อทอนบัญชีระหว่างจำนวนเงินค่าทองคำที่จำเลยสั่งขายกับจำนวนเงินค่าทองคำที่ได้จากการบังคับซื้อกลับ ซึ่งตามสัญญาซื้อขายทองคำแท่ง ข้อ 5.1 ระบุว่า หากปรากฏพฤติการณ์ดังต่อไปนี้ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง ให้ภาระหนี้สินทั้งหมดของลูกค้าในบัญชีของลูกค้าถึงกำหนดชำระโดยพลัน และให้บริษัทสามารถดำเนินการการล้างฐานะซื้อขายทองคำได้ทันที...(1) เมื่อลูกค้าผิดนัดไม่ชำระค่าซื้อและ/หรือขายทองคำ และ/หรือผิดนัดการวางหลักประกัน และ/หรือผิดนัดชำระหนี้ใด ๆ ตามสัญญานี้ ภายในระยะเวลา และ/หรือเงื่อนไขข้อตกลงในสัญญานี้ หรือตามข้อกำหนดของบริษัท และ/หรือไม่ชำระเงินจำนวนใด ๆ ภายใต้สัญญานี้ตามจำนวนที่ต้องชำระเมื่อถึงกำหนดชำระ และข้อ 5.3 วรรคสอง ระบุว่า ในกรณีที่บริษัทล้างฐานะรายการซื้อขายทองคำของลูกค้าแล้ว ทำให้เกิดส่วนต่างของราคาทองคำที่ซื้อขาย และ/หรือผลขาดทุน และ/หรือ มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ลูกค้ายินดีรับผิดชอบชำระส่วนต่าง และ/หรือผลขาดทุน และ/หรือค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้กับบริษัททันทีที่ได้รับการทวงถามจากบริษัท พร้อมด้วยค่าเสียหายและดอกเบี้ยและ/หรือเบี้ยปรับ ในอัตราที่บริษัทกำหนดนับจากวันผิดนัดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระให้บริษัทครบถ้วน การที่จำเลยผิดนัดไม่ส่งมอบทองคำให้โจทก์ตามกำหนด โจทก์จึงใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 5.1 (1) เพื่อดำเนินการล้างฐานะซื้อขายทองคำอันทำให้เกิดส่วนต่างของราคาทองคำที่ซื้อขายที่จำเลยต้องรับผิดตามสัญญาข้อ 5.3 วรรคสอง ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องดังกล่าวจึงเป็นการเรียกเอาค่าเสียหายจากส่วนต่างของราคาทองคำเนื่องจากจำเลยมิได้ส่งมอบทองคำให้แก่โจทก์ภายในกำหนดตามข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว สิทธิเรียกร้องในลักษณะนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีกำหนด 10 ปี มิใช่อายุความ 2 ปี ดังที่จำเลยฎีกาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3716/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้ภาษีภายใน 10 ปี แม้มีการอุทธรณ์และฟ้องคดี
จำเลยมีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลงวันที่ 10 สิงหาคม 2544 ให้โจทก์ทั้งสองชำระหนี้ภาษีอากร 104,731,200 บาท หลังจากโจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแล้วไม่นำเงินภาษีอากรมาชำระให้แก่จำเลยภายในกำหนดถือเป็นภาษีอากรค้าง จำเลยย่อมมีสิทธิใช้อำนาจยึดที่ดินของโจทก์ทั้งสองเพื่อนำเงินมาชำระภาษีอากรค้างได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 การที่จำเลยมีประกาศของผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 ให้ยึดที่ดินพิพาทของโจทก์หลังแจ้งการประเมิน ประมาณเพียง 3 เดือน จึงถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในการขอให้บังคับเพื่อนำเงินมาชำระภาษีอากรค้างครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 271 (เดิม) แล้ว แม้โจทก์ทั้งสองอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยยกอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองโดยส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์ทั้งสองเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2545 ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางขอให้เพิกถอนการประเมิน ศาลฎีกามีคำพิพากษายกฟ้อง โดยศาลภาษีอากรกลางอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2550 และการบังคับที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินมาชำระภาษีอากรค้างยังไม่แล้วเสร็จก็ไม่ทำให้จำเลยหมดสิทธิในการบังคับที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินมาชำระภาษีอากรค้างแต่อย่างใด จำเลยย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับที่ดินพิพาทเพื่อนำเงินมาชำระภาษีอากรค้างต่อไปจนกว่าจะเสร็จสิ้นได้
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ 2 ในคดีหมายเลขแดงที่ ล.648/2553 เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2553 และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2556 ว่า เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งว่าลูกหนี้ที่ 2 ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2551 ขณะที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลาย ลูกหนี้ที่ 2 ไม่อาจเป็นคู่ความได้ เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์จึงไม่อาจยื่นฟ้องคดีล้มละลายในส่วนของลูกหนี้ที่ 2 ต่อศาลได้ เมื่อศาลมีคำสั่งรับฟ้องลูกหนี้ที่ 2 และมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้ที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยผิดหลง จึงให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นตั้งแต่ชั้นรับฟ้องลูกหนี้ที่ 2 ทั้งหมดและมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเฉพาะลูกหนี้ที่ 2 เสียจากสารบบความ คำสั่งของศาลล้มละลายกลางดังกล่าวมีผลเท่ากับว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมาก่อน กรณีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นปัญหาว่าจำเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้โจทก์ที่ 2 ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2553 โดยไม่ระบุถึงที่ดินพิพาทที่จำเลยยึดไว้ถือว่าจำเลยสละสิทธิการยึดที่ดินพิพาทหรือไม่ สิทธิการยึดทรัพย์ของจำเลยระงับไปตั้งแต่ยื่นคำขอรับชำระหนี้หรือไม่อีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1589/2567

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยต้องพิสูจน์การครอบครองโดยสงบและเปิดเผย ต่อเนื่อง 10 ปี
ตามคำให้การของจำเลยที่ 2 ที่ให้การว่า เดิมที่ดินส่วนที่จำเลยที่ 2 คัดค้านเป็นของ พ. ที่ขายให้จำเลยที่ 1 และ อ. โดยมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วบุคคลทั้งสองยกให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ครอบครองทำประโยชน์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยที่ 2 จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น เป็นเพียงการบรรยายถึงข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่มาของการที่จำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาท หากข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินพิพาทในโฉนดที่ดินของ พ. โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลา 10 ปี ก็อาจได้กรรมสิทธิ์จากการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 หาใช่เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 2 ให้การยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 มาแต่ต้น อันจะทำให้จำเลยที่ 2 ไม่สามารถครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของจำเลยที่ 2 เองได้ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเรื่องการครอบครองปรปักษ์
of 17