คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,786 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4471/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมรับผิดในหนี้แม้ได้รับมรดก: สิทธิเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้เต็มจำนวน
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองคดีในคดีแพ่งซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาแล้วว่าลูกหนี้ (จำเลย) กับพวกในฐานะผู้ค้ำประกันบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้น ต้องร่วมรับผิดชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในคดีนี้ แม้คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวลูกหนี้ในฐานะทายาทโดยธรรมของ ส. ผู้ตาย ต้องร่วมรับผิดแก่เจ้าหนี้ในทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกได้แก่ลูกหนี้ด้วยก็ตาม ลูกหนี้ก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดส่วนตนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้ค้ำประกันคนอื่นและบริษัท ท. ลูกหนี้ชั้นต้นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้เต็มตามยอดหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่ค้างชำระมิใช่จำกัดเพียงจำนวนไม่เกินไปกว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตกแก่ลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท: การโอนมรดกซับซ้อน และสิทธิของทายาทหลายคน ศาลฎีกาชี้ขาดสิทธิส่วนแบ่ง
ป.วิ.พ. มาตรา 142 (2) บัญญัติว่า "ในคดีที่โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์ใด ๆ เป็นของตนทั้งหมด แต่พิจารณาได้ความว่าควรได้รับแต่ส่วนแบ่ง เมื่อศาลเห็นสมควรศาลจะพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งนั้นก็ได้" เนื่องจากยังมีทายาทอื่นของ อ. และ บ. ที่มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพร้อมบ้านพิพาทแต่ยังมิได้เข้ามาในคดี ดังนั้น ศาลจะกำหนดแบ่งส่วนเกี่ยวกับที่ดินและบ้านพิพาทให้โจทก์ยังไม่ได้ ชอบที่จะว่ากล่าวกันเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4052/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีครอบครองปรปักษ์: มูลค่าทรัพย์สินและข้อพิพาทเรื่องมรดก
คู่ความตกลงกัน ตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นฉบับลงวันที่ 1 มีนาคม 2547 ว่าที่ดินพิพาทมีราคา 250,000 บาท ผู้คัดค้านประสงค์จะให้แบ่งที่ดินพิพาทแก่ผู้คัดค้านและบุตรเจ้ามรดกคนอื่น ๆ รวม 5 คน ตามส่วนที่แต่ละคนมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย โดยขอให้แบ่งแก่ผู้คัดค้านเฉพาะส่วนที่ผู้คัดค้านจะได้รับในฐานะทายาทโดยธรรม อันเป็นฎีกาในทำนองว่าที่ดินพิพาท 1 ใน 5 ส่วนของผู้คัดค้านไม่ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ ราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีการะหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านจึงไม่เกินสองแสนบาท คดีของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785-3787/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกกรณีพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ทายาทโดยธรรมและเจ้าของรวมมีสิทธิเรียกร้อง
ผู้ตายได้ทำพินัยกรรมไว้ ยกทรัพย์ทั้งหมดให้แก่นาง ต. ผู้เป็นมารดาเพียงผู้เดียว แต่นาง ต. มารดาผู้รับพินัยกรรมได้ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้แก่นาง ต. มารดาย่อมตกไปตามมาตรา 1698 (1) ทรัพย์สินในส่วนที่เป็นมรดกจึงตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1699 ประกอบมาตรา 1620 วรรคหนึ่ง แม้พินัยกรรมดังกล่าวมีข้อกำหนดให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดก แต่ความปรากฏในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาว่าผู้คัดค้านที่ 2 ถึงแก่ความตายและการจัดการมรดกเป็นสิทธิเฉพาะตัว จึงไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องได้
เมื่อผู้ร้องกับผู้ตายอยู่กินฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสตามมาตรา 1457 ผู้ร้องจึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมตามมาตรา 1629 วรรคสอง แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าบุคคลทั้งสองอยู่ร่วมกันฉันสามีภรรยาตั้งแต่ปี 2523 จนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ตลอดเวลาทำมาหาได้ร่วมกัน ดังนั้นทรัพย์สินที่ร่วมกันทำมาหาได้ ผู้ร้องจึงมีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของรวม เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองร่วมกันทำมาหาได้ย่อมต้องแบ่งเป็นของผู้ร้องส่วนหนึ่งและอีกส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเด็กหญิง ญ. แม้จะมิใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ปรากฏตามสำเนาสูติบัตรว่าผู้ตายแจ้งว่าผู้ตายเป็นบิดาของเด็กหญิง ญ. ทั้งได้นำเด็กหญิง ญ. มาเลี้ยงดูอุปการะ ส่งเสียให้เล่าเรียนและให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงได้ว่าผู้ตายได้รับรองเด็กหญิง ญ. เป็นบุตร ดังนั้นเด็กหญิง ญ. จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายซึ่งผู้ตายรับรองแล้ว ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมของผู้ตายตามมาตรา 1629 (1) ฉะนั้นผู้ร้องในฐานะส่วนตัวและฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ญ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามมาตรา 1713
สำหรับผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรที่ผู้ตายได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ประกอบมาตรา 1547 มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3399/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยการส่งมอบการครอบครอง และอายุความฟ้องคดีมรดก
การแบ่งปันทรัพย์มรดก นอกจากไม่มีบทกฎหมายบัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแล้ว ที่ดินพิพาทที่มีเพียงใบไต่สวน ผู้เป็นเจ้าของจึงมีเพียงสิทธิครอบครอง ดังนั้น การแบ่งปันทรัพย์มรดกจึงกระทำได้โดยการส่งมอบการครอบครองเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีการตกลงแบ่งปันกันระหว่างทายาทเป็นส่วนสัด อันเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1750 วรรคหนึ่งแล้ว ว. ทายาทซึ่งเป็นมารดาโจทก์ครอบครองที่ดินส่วนพิพาทตอนกลางเพื่อตนเองตลอดมาและมอบการครอบครองให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีเหตุขัดข้องตามกฎหมาย การจัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วไม่อาจตั้งผู้จัดการมรดกเพิ่มเติมได้
การร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้นต้องมีเหตุจำเป็นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 (1) ถึง (3) เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ดินพิพาทซึ่งหลังจากศาลชั้นต้นตั้ง ม. เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ม. ได้จัดการมรดกเสร็จสิ้นแล้วก่อนที่ ม. จะถึงแก่ความตายโดยจดทะเบียนใส่ชื่อตนเองในโฉนดที่ดินพิพาทในฐานะผู้จัดการมรดกแล้วโอนที่ดินพิพาทให้แก่ ม. ในฐานะทายาทกรณีจึงไม่จำเป็นต้องตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีก ส่วนที่ผู้ร้องอ้างว่าการจัดการมรดกของ ม. ดังกล่าวไม่ถูกต้องนั้นเป็นข้อพิพาทในเรื่องของส่วนแบ่งมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะเสนอคดีเรียกร้องต่อกันโดยตรงอย่างคดีมีข้อพิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2029/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นทายาทและผู้จัดการมรดกตามกฎหมายอิสลาม: การวินิจฉัยของดะโต๊ะยุติธรรมมีผลเด็ดขาด
ในการพิจารณาพิพากษาของศาลชั้นต้น ปรากฏตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า ดะโต๊ะยุติธรรมชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรชายของบุตรชายผู้ตาย ซึ่งถึงแก่ความตายไปก่อนผู้ตาย ดังนี้ ผู้คัดค้านจึงเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับชั้นเดียวกับผู้ร้อง และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดก ซึ่งการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็เพื่อจะให้ผู้นั้นเข้าไปมีอำนาจหน้าที่จัดการรวบรวมและแบ่งทรัพย์สินของผู้ตายซึ่งเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับเรื่องมรดก เมื่อคดีเกิดในจังหวัดปัตตานี ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านเป็นอิสลามศาสนิกจึงตกอยู่ภายใต้บังคับแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูลฯ มาตรา 3 และ 4 ซึ่งบัญญัติให้ดะโต๊ะยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายอิสลามและคำวินิจฉัยชี้ขาดดะโต๊ะยุติธรรมในข้อกฎหมายอิสลามนั้นให้เป็นอันเด็ดขาดในคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินตามใบจองและการตกทอดทางมรดก: ที่ดินยังเป็นของรัฐ การโอนต้องตกทอดทางมรดกเท่านั้น
ใบจอง หมายถึงหนังสือแสดงการยอมให้ราษฎรเข้าครอบครองที่ดินชั่วคราวเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและทำมาหากินเลี้ยงชีพให้เป็นไปตามระเบียบและเงื่อนไขที่ทางราชการกำหนดโดยอยู่ภายใต้ข้อบังคับว่าผู้ได้รับอนุญาตให้จับจองจะโอนไม่ได้เว้นแต่จะตกทอดโดยทางมรดกตาม พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง ที่ดินตามใบจองจึงยังเป็นของรัฐ ไม่ใช่ที่ดินที่เอกชนมีสิทธิครอบครองอันจะมีการแย่งการครอบครองระหว่างราษฎรด้วยกันได้ การที่ ป. ได้รับอนุญาตจากรัฐให้เข้าครอบครองที่ดินตามใบจอง ต่อมา ป. ถึงแก่ความตายสิทธิตามใบจองย่อมตกทอดได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง มาตรา 1600 มาตรา 1635 ประกอบ พ.ร.บ.ให้ใช้ ป.ที่ดิน พ.ศ.2497 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9929/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดก: ภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิเป็นผู้จัดการมรดก แม้มีพินัยกรรมยกทรัพย์ให้ผู้อื่น
ผู้ร้องเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายและศาลได้มีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกกของผู้ตายแล้ว การที่จะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกจึงต้องมีเหตุตามกฎหมาย คือ ผู้จัดการมรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 แต่ไม่ปรากฏว่าผู้คัดค้านได้เรียกร้องให้ผู้ร้องแบ่งทรัพย์มรดกให้ผู้คัดค้านแต่อย่างใด จึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และได้ความว่าที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับผู้ตาย แม้หากจะฟังว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์ส่วนของผู้ตายให้แก่ผู้คัดค้าน ผู้ร้องก็ยังคงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่ จึงไม่มีเหตุอย่างอื่นที่สมควรจะถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายอิสลามในคดีมรดกเมื่อคู่ความฝ่ายหนึ่งมิใช่อิสลามศาสนิก
คดีเกิดขึ้นในเขตจังหวัดสตูลและผู้ร้องซึ่งเป็นอิสลามศาสนิกเริ่มต้นคดีอย่างไม่มีข้อพิพาทโดยยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของผู้ตายซึ่งเป็นอิสลามศาสนิก การที่ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านมีผลให้คดีกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) โดยผู้ร้องและผู้คัดค้านมีฐานะเป็นคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งมีฐานะเสมือนจำเลยมิไช่อิสลามศาสนิก จึงไม่ต้องด้วยมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตจังหวัดปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวด้วยเรื่องครอบครัวและมรดกของอิสลามศาสนิกในเขตจังหวัดสตูล จึงต้องใช้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 บังคับแก่คดี
of 179