คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14808/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีระหว่างผู้ล้มละลายและการจัดการทรัพย์สิน: การแยกส่วนคดีขับไล่และค่าเสียหาย
คำฟ้องโจทก์ที่มีคำขอให้ขับไล่จำเลยออกจากทรัพย์ที่ให้เช่าของโจทก์ ไม่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของจำเลยซึ่งถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่จะต่อสู้คดีได้โดยลำพัง แต่ในส่วนคำฟ้องที่มีคำขอให้ชดใช้ค่าเสียหายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะเข้าว่าคดีแทนจำเลย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องไม่ขอเข้าดำเนินคดี โดยเห็นว่าค่าเสียหายเป็นสิทธิเรียกร้องที่มีมูลหนี้เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ต้องห้ามมิให้รับชำระหนี้ตามมาตรา 24 เป็นเพียงความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มา จึงถือได้ว่าไม่ติดใจคัดค้าน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีเองเฉพาะส่วนฟ้องขับไล่ และอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีได้ โดยมิได้สั่งงดพิจารณาคดีหรือจำหน่ายคดีในส่วนค่าเสียหาย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในส่วนนี้แล้ว เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา จำเลยอุทธรณ์ได้เฉพาะที่พิพากษาให้ขับไล่จำเลย ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ส่วนที่ให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าว จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14086/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและการใช้บทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีล้มละลาย
แม้ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ บัญญัติไว้ว่า ถ้าลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันไม่ให้ความร่วมมือกับ บสท. ในการปรับโครงสร้างหนี้ตามที่ บสท. สั่ง โดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ หรือยักย้ายถ่ายเทหรือปิดปังซ่อนเร้นทรัพย์สินของตน ให้ บสท. ดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดของลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันแล้วแต่กรณี โดยไม่ต้องดำเนินการไต่สวน และให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็วก็ตาม แต่ตามคำร้องของผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องได้รับโอนหนี้สินของลูกหนี้ทั้งสองซึ่งเป็นสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมในมูลหนี้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ซึ่งผู้ร้องไม่มีหลักฐานแห่งหนี้มาแสดง โดยขอนำเสนอในชั้นไต่สวนคำร้อง ประกอบกับคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ทั้งสองเด็ดขาดย่อมมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่และเสรีภาพของลูกหนี้ทั้งสองโดยตรง อีกทั้งบทบัญญัติของมาตรา 58 วรรคสี่ ดังกล่าว มิได้บังคับให้ศาลต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด โดยห้ามมิให้ศาลไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง จึงสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดตามคำร้องก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยทันที ดังนั้น การที่ศาลล้มละลายกลางทำการไต่สวนคำร้องของผู้ร้องจึงไม่เป็นการขัดต่อกฎหมาย
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 3 บัญญัตินิยามคำว่า "คดีล้มละลาย" หมายความว่า คดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย..." ซึ่งนอกจากคดีที่ฟ้องหรือร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 แล้วยังหมายความรวมถึงการร้องขอให้ลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันล้มละลายตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 14 บัญญัติให้ศาลล้มละลายมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายโดยกระบวนพิจารณาในศาลล้มละลายให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายตามมาตรา 19 ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดดังกล่าว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง...มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งสอดคล้องกับ พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ที่กำหนดให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว ซึ่งตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายและข้อกำหนดคดีล้มละลายไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการนำสืบและการรับฟังพยานเอกสารไว้จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 90 และมาตรา 93 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้คู่ความที่อ้างอิงเอกสารเป็นพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนจะต้องส่งสำเนาเอกสารนั้นให้คู่ความฝ่ายอื่นก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน และการอ้างเอกสารเป็นพยานนั้นให้ยอมรับฟังได้แต่ต้นฉบับเอกสารเท่านั้น แต่ผู้ร้องนำสืบอ้างส่งเอกสารแห่งหนี้เป็นสำเนาเอกสารโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่ลูกหนี้ทั้งสองก่อนวันสืบพยานและส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาล ทั้งการที่ผู้ร้องแถลงต่อศาลว่าต้นฉบับเอกสารอยู่ที่เจ้าหนี้เดิม ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามมาตรา 93 (1) ถึง (3) ที่จะให้รับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับเอกสารได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13989/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบุคคลล้มละลาย: อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้... (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้" ข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหนังสือแจ้งการประเมิน 6 ฉบับ ที่ให้โจทก์ชำระค่าภาษีและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินดังกล่าว กรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ฉะนั้น เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจในการฟ้องร้องคดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ด้วยตนเอง คำสั่งของศาลภาษีอากรกลางที่ไม่รับฟ้องของโจทก์และไม่รับคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13989/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว แม้มีการยื่นคำร้องขอให้ฟ้องแทน
โจกท์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามหนังสือแจ้งการประเมิน 6 ฉบับ และเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์การประเมินดังกล่าว กรณีจึงพิพาทกันเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ ฉะนั้น เมื่อขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้โจทก์เป็นบุคคลล้มละลาย อำนาจในการฟ้องร้องคดีย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) แม้โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฟ้องคดีแทนโจทก์แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งไม่ดำเนินการฟ้องคดีแทนโจทก์ ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องคดีและยื่นคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลได้ด้วยตนเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1376/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมการประนอมหนี้ในคดีล้มละลาย คิดจากจำนวนเงินประนอมหนี้ทั้งหมด แม้เจ้าหนี้บางรายถอนคำขอรับชำระหนี้
การคิดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลายที่มีการประนอมหนี้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (4) กล่าวคือ "ค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายให้คิดตามอัตรา ดังต่อไปนี้... (4) ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินให้คิดในอัตราร้อยละสามของเงินสุทธิที่รวบรวมได้ สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น แต่ถ้ามีการประนอมหนี้ให้คิดค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้ ทั้งนี้ แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า..." ถ้อยคำ "ของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้" หมายความว่า ให้คิดค่าธรรมเนียมจากจำนวนเงินที่ลูกหนี้ได้ขอประนอมหนี้ทั้งหมดซึ่งที่ประชุมเจ้าหนี้ได้มีมติพิเศษยอมรับและศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแล้ว และความรับผิดในการชำระค่าธรรมเนียมดังกล่าวเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้และไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป แม้ต่อมาจะมีเจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ถอนคำขอรับชำระหนี้ก็ตาม ดังนั้นเมื่อค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสามของจำนวนเงินที่ประนอมหนี้มีจำนวน 34,811,370 บาท สูงกว่าค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินไม่มีการขายหรือจำหน่ายจำนวน 853,028 บาท จำเลยจึงต้องเสียค่าธรรมเนียม 34,811,370 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12931/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การหักหนี้ที่ได้รับชำระแล้วในชั้น ปรส. และข้อยกเว้นดอกเบี้ยตาม พรบ.ปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศหรือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศหรือ International Finance Corporation หรือ IFC เป็นทบวงการชำนัญพิเศษ (Specialized Agencies) แห่งสหประชาชาติ และ พ.ร.ฎ.ระบุทบวงการชำนัญพิเศษ พ.ศ.2504 มาตรา 3 (4) ซึ่ง พ.ร.บ.คุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย พ.ศ.2504 มาตรา 5 (1) ได้บัญญัติว่า "...ทบวงการชำนัญพิเศษนั้น ๆ เป็นนิติบุคคลและให้ถือว่ามีภูมิลำเนาในประเทศไทย..." ดังนั้น เจ้าหนี้จึงเป็นนิติบุคคลซึ่งมีภูมิลำเนาในประเทศไทย ไม่ใช่เจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร เจ้าหนี้จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 178 กำหนด
ในการขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 นั้น นอกจากเจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องนำพยานมาแสดงให้เห็นว่าหนี้ที่ขอรับชำระเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงแล้ว จะต้องแสดงว่าลูกหนี้ต้องรับผิดใช้หนี้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12851/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขายสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย การโอนสิทธิเรียกร้องมีผลผูกพันคู่สัญญา
เมื่อบริษัท ธ. ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของบริษัท ธ. ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หาใช่เป็นการซื้อขายความไม่ การโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12851/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหลังล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขายได้ตามกฎหมาย
เมื่อบริษัท ธ. ผู้ให้เช่าซื้อตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทดังกล่าวตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยวิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 4 ว่าด้วยการรวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุดโดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายสิทธิเรียกร้องของบริษัท ธ. ที่รวบรวมได้มาโดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้จึงเป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้หาใช่เป็นการซื้อขายความไม่ การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อจึงมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้ประมูลซื้อสิทธิเรียกร้องได้จากการขายของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และฝ่ายจำเลยผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12339/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย: ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายและการหักล้างหลักฐาน
เมื่อโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการ อายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากการเฉลี่ยทรัพย์ในคดีหมายเลขแดงที่ 299/2546 ของศาลจังหวัดสมุทรสาคร เจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดสมุทรปราการดำเนินการให้ กรณีฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 ถูกบังคับคดีตามหมายบังคับคดีของศาลจังหวัดสมุทรปราการ ทางนำสืบของโจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว เนื่องจากการยึดหมายความรวมถึงการอายัดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12162/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ล้มละลาย: ศาลลดค่าธรรมเนียมให้สอดคล้องกับหนี้คงค้าง เพื่อความเป็นธรรมแก่ลูกหนี้
เมื่อจำเลยประสงค์จะชำระหนี้ที่เหลือรวมทั้งค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายเพื่อถอนการยึดทรัพย์ หากให้จำเลยต้องเสียค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (3) (เดิม) โดยไม่พิจารณายอดหนี้ที่เหลือที่จำเลยต้องรับผิดประกอบด้วย ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการไม่ยุติธรรมแก่จำเลยซึ่งเป็นผู้รับผิดในชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง เมื่อพิจารณาว่าจำเลยพยายามขวนขวายชำระหนี้ให้แก่บรรดาเจ้าหนี้มาโดยตลอด จนกระทั่งประสงค์ที่จะชำระหนี้ทั้งหมด แสดงว่าจำเลยมีความสุจริตในการดำเนินคดีและมีเหตุอันสมควร อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 (เดิม) จึงกำหนดค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายในอัตราร้อยละ 3.5 ในขอบเขตของยอดหนี้ที่ค้างชำระขณะยึดทรัพย์เท่านั้น
of 192