พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10781/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และผลของการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้ล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลจังหวัดชุมพร จำเลยทั้งสี่เป็นคู่ความในคดีดังกล่าวย่อมต้องผูกพันตามคำพิพากษาที่ให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ถึงแม้ภายหลังศาลมีคำพิพากษา จำเลยที่ 4 ได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าทนายความทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 3 และที่ 4 โดยปราศจากอำนาจ และฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญากู้ยืมเงินอันเป็นมูลหนี้เดิมของคดีแพ่งดังกล่าวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยทั้งสี่ยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาของศาลจนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยทั้งสี่จึงเป็นหนี้โจทก์ซึ่งรับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากเจ้าหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 4 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) ว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัว จำเลยทั้งสี่มีหน้าที่นำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10777/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังหมดกำหนดในคดีล้มละลาย ไม่อาจกระทำได้ แม้จะเพิ่งพบสัญญา
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 บัญญัติไว้ว่า "เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็แต่โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าวไว้ในพระราชบัญญัตินี้..." ซึ่งตามหมวด 4 วิธีจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ ส่วนที่ 1 การขอรับชำระหนี้ มาตรา 91 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ซึ่งจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือไม่ก็ตาม ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด... คำขอรับชำระหนี้นั้นต้องทำตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สิน..." บทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้เป็นกรณีพิเศษแล้วว่า เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด รวมทั้งการขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ แม้จะเกี่ยวข้องกันพอที่รวมการสอบสวนและทำความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าด้วยกันได้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็จะต้องยื่นคำร้องหรือคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาดังกล่าวเช่นกัน ทั้งนี้เพราะกฎหมายล้มละลายมีเจตนารมณ์ให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการไปโดยถูกต้องและรวดเร็วเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ลูกหนี้และบุคคลที่เกี่ยวข้อง สำหรับการขอรับชำระหนี้หากให้เจ้าหนี้แก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับชำระหนี้ในส่วนจำนวนหนี้และหรือมูลหนี้ภายหลังพ้นกำหนดเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว ย่อมทำให้คดีต้องล่าช้าและเป็นการขยายระยะเวลาการขอรับชำระหนี้ให้เจ้าหนี้นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ทั้งกระทบต่อกระบวนการพิจารณาในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อาทิ การประนอมหนี้ การนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและครั้งอื่น เป็นต้น ซึ่งจะต้องทราบจำนวนเจ้าหนี้และหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ ดังนั้น เมื่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้บัญญัติกระบวนพิจารณาเรื่องการขอรับชำระหนี้ไว้เป็นกรณีเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าคำขอรับชำระหนี้และบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เดิมภายในกำหนดระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมที่เจ้าหนี้ยื่นระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ อันเป็นหนี้คนละมูลหนี้และไม่เกี่ยวข้องกันกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เดิมและเพิ่มเติมจำนวนหนี้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้เดิมได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงกระทำมิได้
การที่เจ้าหนี้อ้างว่า เจ้าหนี้เพิ่งตรวจสอบพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ตกแต่งอาคารและสถานที่ทำงานทำให้ต้องขนย้ายสิ่งของและเอกสารรวมทั้งสัญญาต่าง ๆ จากชั้น 2 ไปยังชั้น 10 และพบสัญญารับสภาพหนี้จึงรีบยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมนั้น เจ้าหนี้เพิ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวในภายหลังขณะนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนคำร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจะฟังว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้บรรดาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็มิได้ดำเนินการ จึงไม่อาจขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำร้องนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมมูลหนี้และจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้
แม้เจ้าหนี้จะยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก่อนวันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดให้เจ้าหนี้ยื่นบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นซึ่งเสมือนหนึ่งเป็นวันนัดสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก็ตาม เมื่อพิจารณาว่าคำขอรับชำระหนี้และบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินที่เจ้าหนี้ยื่นไว้เดิมภายในกำหนดระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมที่เจ้าหนี้ยื่นระบุหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ อันเป็นหนี้คนละมูลหนี้และไม่เกี่ยวข้องกันกับมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้เดิมและเพิ่มเติมจำนวนหนี้มาเป็นจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับคำขอรับชำระหนี้ที่ยื่นไว้เดิมได้ แต่เมื่อเจ้าหนี้นำหนี้ดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้จึงกระทำมิได้
การที่เจ้าหนี้อ้างว่า เจ้าหนี้เพิ่งตรวจสอบพบว่าลูกหนี้เป็นหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้เนื่องจากเจ้าหนี้ตกแต่งอาคารและสถานที่ทำงานทำให้ต้องขนย้ายสิ่งของและเอกสารรวมทั้งสัญญาต่าง ๆ จากชั้น 2 ไปยังชั้น 10 และพบสัญญารับสภาพหนี้จึงรีบยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมนั้น เจ้าหนี้เพิ่งกล่าวอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าวในภายหลังขณะนำพยานมาสืบในชั้นไต่สวนคำร้อง พฤติการณ์ดังกล่าวมิใช่เหตุสุดวิสัย หากจะฟังว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษเจ้าหนี้ก็ต้องขออนุญาตขยายระยะเวลาต่อศาลก่อนสิ้นระยะเวลาที่กำหนดให้บรรดาเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็มิได้ดำเนินการ จึงไม่อาจขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำร้องนี้ได้ การที่เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมมูลหนี้และจำนวนหนี้เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10438/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: การยึดโฉนดที่ดินเพื่อประกันตัวไม่ใช่การมีสิทธิเหนือทรัพย์สิน
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 6 ได้ให้นิยามเจ้าหนี้มีประกันว่า เจ้าหนี้มีประกัน หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจำนอง จำนำ หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทำนองเดียวกับผู้รับจำนำ และ ป.พ.พ. มาตรา 241 บัญญัติว่า ผู้ใดเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นและมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่ตนเกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองนั้นไซร้ ท่านว่าผู้นั้นจะยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ก็ได้ แต่ความที่กล่าวนี้ท่านมิให้ใช้บังคับเมื่อหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนด การที่เจ้าหนี้จะมีฐานะเป็นเจ้าหนี้มีประกันในฐานะเจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงนั้นจะต้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้ครอบครองทรัพย์สินของลูกหนี้และมีหนี้อันเป็นคุณแก่ตนเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้น คดีนี้ลูกหนี้ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 14088 มาเป็นทรัพย์หลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา ดังนั้นในการทำประกัน เจ้าหนี้ก็เพียงแต่ยึดโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้เท่านั้น แม้ศาลจะได้แจ้งไปยังเจ้าพนักงานที่ดินให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในที่ดินดังกล่าวก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการห้ามไม่ให้ลูกหนี้โอนทรัพย์ดังกล่าวไปให้ผู้อื่น หาทำให้เจ้าหนี้มีสิทธิเหนือที่ดินอันเป็นทรัพย์หลักประกันแต่อย่างใดไม่ การที่ลูกหนี้มอบโฉนดที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดถือไว้เช่นนี้จึงมีผลเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่เจ้าหนี้จะยึดถือโฉนดที่ดินดังกล่าวไว้จนกว่าจะได้มีการปฏิบัติตามสัญญาประกันหรือสัญญาประกันนั้นสิ้นสุดลง จึงมิใช่เจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ภายในเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และมาตรา 91
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งได้โอนอำนาจในการบังคับคดีนายประกันจากพนักงานอัยการมาเป็นของหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมนั้น ได้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่จะมีการผิดสัญญาประกันในคดีนี้ ซึ่งลูกหนี้ได้ผิดนัดไม่ส่งตัวจำเลยในคดีอาญาในวันที่ 23 สิงหาคม 2548 เจ้าหนี้จึงทราบการบังคับใช้กฎหมายอยู่ก่อนแล้ว อีกทั้งสามารถวางแผนในการดำเนินงานต่าง ๆ ได้ ที่เจ้าหนี้อ้างว่าสำนวนบังคับคดีในประกันมีเป็นจำนวนมากนั้น ก็ไม่ปรากฏว่าสำนวนบังคับคดีดังกล่าวมีจำนวนมากถึงขนาดที่เจ้าหนี้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่ามีเหตุสุดวิสัยที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้หรือมีเหตุอันสมควรที่จะขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10292/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีราคาหลักประกันในคดีล้มละลายต้องถูกต้องเหมาะสม หากต่ำเกินไปเพื่อหลีกเลี่ยงเกณฑ์การฟ้อง ศาลมีอำนาจตรวจสอบได้
ในการฟ้องคดีล้มละลายของเจ้าหนี้มีประกัน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) บังคับให้โจทก์ต้องตีราคาหลักประกันมาในฟ้อง ซึ่งเมื่อหักกับจำนวนหนี้ของตนแล้ว เงินยังขาดสำหรับลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลไม่น้อยกว่าสองล้านบาท เนื่องจากเจ้าหนี้มีประกันย่อมมีสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันของลูกหนี้ในอันที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่หลักประกันนั้นได้ก่อนเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ซึ่งเมื่อนำราคาหลักประกันมาหักชำระหนี้แล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใด หนี้ส่วนที่เหลือย่อมเป็นหนี้ธรรมดาเฉกเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ไม่มีประกัน ฉะนั้น การตีราคาหลักประกันจึงต้องถูกต้องเหมาะสมด้วย หากตีราคาหลักประกันต่ำเกินสมควรเพียงเพื่อจะให้จำนวนหนี้อยู่ในหลักเกณฑ์ในการฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายก็จะไม่เป็นธรรมแก่ลูกหนี้ ศาลจึงมีอำนาจพิจารณาตรวจสอบการตีราคาหลักประกันของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10287/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีล้มละลาย: ผลของการปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษาและการรับสภาพหนี้
การที่โจทก์นำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดร้อยเอ็ดมาฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามล้มละลาย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด ซึ่งมีกำหนดอายุความ 10 ปี อย่างไรก็ตามหลังจากศาลมีคำพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 โดยกำหนดให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้งวดแรกวันที่ 29 มิถุนายน 2542 แล้ว เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548 จำเลยทั้งสามทำบันทึกข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หลังมีคำพิพากษากับโจทก์ โดยยอมรับว่า ณ วันทำบันทึกจำเลยทั้งสามค้างชำระหนี้โจทก์เป็นต้นเงิน 1,900,000 บาท ดอกเบี้ย 1,780,000 บาท และตกลงให้นำดอกเบี้ยบางส่วนจำนวน 950,000 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยส่วนลดพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลา 2 ปี ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระที่เหลือจำนวน 830,000 บาท ตกลงพักชำระหนี้ไว้เป็นเวลาไม่เกิน 2 ปี ในส่วนต้นเงินคงเหลือโจทก์ผ่อนผันการคิดอัตราดอกเบี้ยให้และให้ผ่อนชำระดอกเบี้ยกับต้นเงินเป็นงวดรายเดือน หากจำเลยทั้งสามผิดนัดงวดหนึ่งงวดใดยอมให้โจทก์ยกเลิกการพักชำระดอกเบี้ยและยินยอมให้เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปคิดอัตราตามคำพิพากษาหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้โจทก์ใช้สิทธิบังคับคดีได้ทันที บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์ผ่อนผันการชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่จำเลยทั้งสามเท่านั้น หาใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันทำให้หนี้เดิมตามคำพิพากษาระงับสิ้นไปไม่ แต่เป็นกรณีที่จำเลยทั้งสามรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ อันทำให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และให้เริ่มนับอายุความใหม่ตามอายุความเดิมตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นไป ตามมาตรา 193/15 ดังนั้น เมื่อนับตั้งแต่อายุความสะดุดหยุดลงจนถึงวันฟ้องวันที่ 16 สิงหาคม 2555 ยังไม่เกิน 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10207/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ค่าปรับจากการผิดสัญญาประกันหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่สามารถนำมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 นั้น ต้องเป็นเจ้าหนี้ในหนี้เงินที่มูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ลูกหนี้ทำสัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งมีวัตถุแห่งหนี้เป็นกรณีให้ลูกหนี้กระทำการคือให้ลูกหนี้ผู้ประกันนำตัวจำเลยในคดีอาญามาศาลตามนัดหรือหมายเรียกของศาลแขวงชลบุรี และเมื่อลูกหนี้ยังมิได้ผิดสัญญาที่ต้องกระทำการดังกล่าว ลูกหนี้ก็ไม่มีความรับผิดใช้เงินค่าปรับตามที่ศาลมีอำนาจบังคับตามสัญญา หนี้ตามสัญญาประกันในส่วนที่ให้ลูกหนี้กระทำการและยังมิได้ผิดสัญญาจึงมิใช่หนี้เงินที่ต้องขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย เมื่อต่อมาหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ผิดสัญญาประกันและศาลแขวงชลบุรีมีคำสั่งปรับลูกหนี้ ถือว่ามูลหนี้ค่าปรับซึ่งเป็นหนี้เงินที่ลูกหนี้จะต้องชำระตามสัญญาประกันเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำสั่งปรับ แต่เป็นหนี้ที่มิได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ไม่อาจนำหนี้ค่าปรับมาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ แม้ผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในหนี้ค่าปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคสอง แต่ผู้ร้องก็ยังไม่อาจบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้จนกว่าลูกหนี้จะพ้นจากการล้มละลายแล้ว เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตกแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10200/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการใช้เอกสารสำเนาที่มีตราประทับรับรองในคดีล้มละลาย
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ซึ่งบัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายต่อไปโดยเร็ว กฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เป็นกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เนื่องจากคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพและอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบให้ฟังได้ว่า ลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้องและมีเหตุตามกฎหมายให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
ผู้ร้องกล่าวอ้างในคำร้องว่าได้ทำสัญญารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพรายลูกหนี้มาจากธนาคาร ก. เจ้าหนี้เดิม แต่ในชั้นพิจารณาของศาลล้มละลายกลาง ผู้ร้องไม่มีสัญญาที่ทำระหว่างผู้ร้องกับเจ้าหนี้เดิมมาสนับสนุน มีเพียงคำเบิกความของพยานผู้ร้องปาก ว. กล่าวถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวสำเนาหนังสือสัญญาจำนองที่ดิน สำเนาสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนอง สำเนาบันทึกข้อตกลงโอนสิทธิการรับจำนอง และสำเนาคำขอโอนซึ่งหากเป็นเอกสารที่ทำการจดทะเบียนตามกฎหมาย เป็นเอกสารมหาชนที่สามารถตรวจสอบได้ถึงความมีอยู่จริง ผู้ร้องก็ชอบที่จะขอให้เจ้าพนักงานที่เกี่ยวข้องเช่น เจ้าพนักงานที่ดินรับรองความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นก่อนนำเสนอเป็นพยานหลักฐานต่อศาล แต่ผู้ร้องกลับใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารอ้างเป็นพยานหลักฐานโดยไม่นำต้นฉบับเอกสารมาแสดง ที่ผู้ร้องอ้างว่าการใช้ตรายางประทับรับรองสำเนาเอกสารแทนการลงลายมือชื่อของผู้อำนวยการฝ่ายงานคดี มิใช่เป็นเรื่องที่ใครหรือผู้ใดจะมาใช้ตรายางประทับก็ได้ การประทับตราดังกล่าวต้องกระทำโดยได้รับความยินยอมจากผู้ร้องจึงสามารถกระทำได้ และได้กระทำมาเป็นปกติในคดีอื่นด้วยเช่นกันนั้น เป็นข้ออ้างที่ไม่มีกฎหมายสนับสนุน พยานหลักฐานของผู้ร้องไม่พอฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10195/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องยื่นภายในกำหนด หากพ้นกำหนดแล้ว แม้จะมีมูลหนี้เกิดขึ้นก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ก็ไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้
เจ้าหนี้ไม่มีประกันที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อมูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม แต่ต้องยื่นคำขอต่อผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังที่บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 มาตรา 91 และมาตรา 94 หนี้ค่าปรับที่ผู้ร้องนำมาขอรับชำระหนี้ศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 3 นายประกันตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม 2548 และวันที่ 14 มีนาคม 2549 ภายหลังจาก พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2547 เพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 วรรคสอง กำหนดให้ถือว่าหัวหน้าสำนักงานประจำศาลยุติธรรมเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในส่วนที่เกี่ยวกับหนี้ตามสัญญาประกันนานพอสมควรแล้ว ผู้ร้องซึ่งรับโอนอำนาจการบังคับคดีแก่นายประกันย่อมสามารถดำเนินการวางระบบงานเพื่อตรวจสอบว่านายประกันสำนวนคดีใดบ้างผิดสัญญาประกันและเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อดำเนินการบังคับคดีตามอำนาจหน้าที่ของตน และเพื่อทราบว่าลูกหนี้ใดศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ จะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าศาลแขวงนครราชสีมามีบุคลากรผู้รับผิดชอบในการบังคับคดีแก่นายประกันไม่เพียงพอกับปริมาณงาน และเพื่อมิให้หน่วยงานของรัฐต้องสูญเสียรายได้ที่ควรจะได้รับ กรณียังไม่มีเหตุสุดวิสัยหรือกฎหมายให้อำนาจที่จะขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปได้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10098/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค้ำประกัน, การรับสภาพหนี้, และการล้มละลายของลูกหนี้
การที่ลูกหนี้ที่ 1 ถึงที่ 6 ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ จึงทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) และเมื่ออายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 1 ลูกหนี้ชั้นต้นย่อมเป็นโทษแก่ลูกหนี้ที่ 7 ผู้ค้ำประกันด้วย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 จึงต้องเริ่มนับอายุความใหม่ ซึ่งมีผลต่อผู้ค้ำประกันด้วย เมื่อสัญญากู้ยืมเงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นหนี้ที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
ผู้ร้องมีหนังสือให้ลูกหนี้ที่ 7 มาปรับโครงสร้างหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรก ลูกหนี้ที่ 7 ได้รับหนังสือ ครั้งที่ 2 ลูกหนี้ที่ 7 ไม่มารับหนังสือภายในกำหนด ผู้ร้องจึงประกาศหนังสือพิมพ์แทน แต่ลูกหนี้ที่ 7 มิได้มาติดต่อกับเจ้าหนี้แต่ประการใด จึงถือว่าลูกหนี้ที่ 7 ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ ตามที่เจ้าหนี้สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 7 ยื่นคำคัดค้านต่อสู้ว่า ตนเองมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้นั้น ก็มิได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่าตนเองมีทรัพย์สินใดบ้างพอชำระหนี้หรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ตามที่ลูกหนี้ที่ 7 อ้าง กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ที่ 7 ล้มละลาย แต่ลูกหนี้ที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 7 เด็ดขาดตามที่ผู้ร้องขอมาในอุทธรณ์ไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ 7 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 87 และมาตรา 84
ผู้ร้องมีหนังสือให้ลูกหนี้ที่ 7 มาปรับโครงสร้างหนี้ 2 ครั้ง ครั้งแรก ลูกหนี้ที่ 7 ได้รับหนังสือ ครั้งที่ 2 ลูกหนี้ที่ 7 ไม่มารับหนังสือภายในกำหนด ผู้ร้องจึงประกาศหนังสือพิมพ์แทน แต่ลูกหนี้ที่ 7 มิได้มาติดต่อกับเจ้าหนี้แต่ประการใด จึงถือว่าลูกหนี้ที่ 7 ไม่ให้ความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ ตามที่เจ้าหนี้สั่งโดยที่ตนอยู่ในฐานะที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย พ.ศ.2544 มาตรา 58 วรรคสี่ ส่วนที่ลูกหนี้ที่ 7 ยื่นคำคัดค้านต่อสู้ว่า ตนเองมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ได้นั้น ก็มิได้นำพยานมาสืบให้เห็นว่าตนเองมีทรัพย์สินใดบ้างพอชำระหนี้หรือไม่ จึงรับฟังไม่ได้ตามที่ลูกหนี้ที่ 7 อ้าง กรณีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ที่ 7 ล้มละลาย แต่ลูกหนี้ที่ 7 ถึงแก่ความตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 7 เด็ดขาดตามที่ผู้ร้องขอมาในอุทธรณ์ไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้จัดการทรัพย์มรดกของลูกหนี้ที่ 7 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 87 และมาตรา 84
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10079/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หลังปลดล้มละลาย: การติดตามทรัพย์สินก่อนปลดล้มละลายและการเพิกถอนการชำระหนี้
คำสั่งปลดจำเลยจากล้มละลายมีผลเพียงให้จำเลยพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย มีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินหรือกิจการของตนซึ่งได้มานับแต่วันที่ได้รับการปลดจากล้มละลายแล้วเท่านั้น ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการจัดการและรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 ทั้งจำเลยซึ่งได้ถูกปลดจากล้มละลายนั้นยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 79 เมื่อผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด จำเลยได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์โดยไม่มีอำนาจ เป็นการให้เปรียบเจ้าหนี้รายอื่น ขอให้เพิกถอนการชำระหนี้ดังกล่าว ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ชอบที่จะไต่สวนให้ได้ความเสียก่อนว่า จำเลยได้กระทำการดังที่ผู้ร้องกล่าวอ้างหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการที่ผู้ร้องจักได้จัดการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยตามอำนาจหน้าที่ต่อไป