พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4207/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อชำระหนี้ vs. เช็คค้ำประกัน: การพิสูจน์เจตนาออกเช็คและการรับผิดทางอาญา
ข้อความด้านหลังเช็คที่ระบุว่า "เช็คฉบับนี้ให้ไว้เพื่อประกันหนี้" ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยเขียนข้อความขึ้นเองฝ่ายเดียวโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงด้วย ทั้งเป็นข้อความที่ไม่มีบทบัญญัติใดใน ป.พ.พ. ลักษณะตั๋วเงินบัญญัติให้เขียนลงได้ในตั๋วเงิน การเขียนข้อความเช่นนี้ย่อมไม่มีผลใดๆ แก่ตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 899 การที่พนักงานของโจทก์ไม่นำมาเป็นเหตุโต้แย้งย่อมไม่เป็นพิรุธ เพราะข้อความดังกล่าวไม่มีผลต่อความสมบูรณ์ของเช็คพิพาทแต่ประการใด โจทก์ไม่จำต้องทำตามข้อห้ามที่ด้านหลังเช็คพิพาท ประกอบกับไม่ปรากฏรายละเอียดว่าจำเลยทั้งสองจะใช้หนี้โจทก์ด้วยวิธีใดอีก และจะใช้หนี้ให้เสร็จเมื่อใด ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่าจำเลยทั้งสองออกเช็คพิพาทโดยวัตถุประสงค์เพื่อประกันหนี้ฟังไม่ขึ้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3947/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันตามเช็คที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง แม้ผู้สั่งจ่ายไม่ได้เป็นผู้แก้ไข
โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คฉบับพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่แรก และต่อมาฝ่ายจำเลยขอผัดการชำระเงิน ทั้งบุตรสาวจำเลยได้นำเช็คพิพาทไปแก้ไขวันที่และมีการลงลายมือชื่อกำกับไว้ แม้จะไม่ใช่การแก้ไขของจำเลยเองก็ตาม การแก้ไขวันที่ในเช็คเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์จะมีส่วนรู้เห็นด้วยอีกทั้งลายมือชื่อกำกับการแก้ไขดังกล่าวคล้ายคลึงกับลายมือชื่อสั่งจ่ายของจำเลยที่ปรากฏในเช็คพิพาทมาก ยากที่บุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจะทราบได้ว่าไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงเป็นความเปลี่ยนแปลงอันไม่ประจักษ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบย่อมเอาประโยชน์จากเช็คฉบับพิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคสอง จำเลยในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คยังคงต้องรับผิดตามเช็คฉบับพิพาทอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็ค-การแก้ไขและการฟ้องร้อง-อายุความ-การโอนและการฉ้อฉล-ผู้ทรงโดยชอบธรรม
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือได้ ย่อมโอนเปลี่ยนมือกันได้ด้วยการสลักหลังและส่งมอบเช็คในกรณีเช็คระบุชื่อ หรือด้วยการส่งมอบเช็คในกรณีเช็คผู้ถือ เช็คพิพาททั้ง 5 ฉบับ เป็นเช็คสั่งจ่ายเงินสดโดยมิได้ระบุชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินและมิได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก จึงเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์เป็นผู้มีเช็คพิพาทไว้ในครอบครองโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 904 เมื่อการแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทเป็นการแก้ไขโดยจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงยินยอม เช็คพิพาทจึงไม่เสียไปและใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคแรก โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดเวลาใช้เงินตามที่แก้ไขนั้น หาใช่เป็นเรื่องขยายอายุความฟ้องร้องไม่
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าคดีขาดอายุความ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการขาดอายุความนั้นด้วยว่า คดีโจทก์เริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใดและขาดอายุความเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว กล่าวคือ เช็คแต่ละฉบับลงวันที่เท่าใด โจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 แก้ไขวันเดือนปีในเช็คเป็นวันที่เท่าใด โดยมิได้ให้การว่าอายุความนับตั้งแต่วันที่เท่าใด เช็คขาดอายุความแล้วตั้งแต่เมื่อใดและจะครบกำหนด 1 ปี วันใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยคบคิดกันฉ้อฉล และคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร เพียงแต่ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมกันได้นำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร รวมทั้งไม่สุจริตหรือทุจริตร่วมกันนำเช็คมาฟ้องอย่างไร จึงไม่มีประเด็นว่าคบคิดกันฉ้อฉล รวมทั้งใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ให้จำเลยแสดงโดยชัดแจ้งในคำให้การว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ให้การปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าคดีขาดอายุความ จำเลยต้องให้การโดยชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการขาดอายุความนั้นด้วยว่า คดีโจทก์เริ่มนับอายุความตั้งแต่เมื่อใดและขาดอายุความเมื่อใด การที่จำเลยที่ 1 ให้การแต่เพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความแล้ว กล่าวคือ เช็คแต่ละฉบับลงวันที่เท่าใด โจทก์ใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 แก้ไขวันเดือนปีในเช็คเป็นวันที่เท่าใด โดยมิได้ให้การว่าอายุความนับตั้งแต่วันที่เท่าใด เช็คขาดอายุความแล้วตั้งแต่เมื่อใดและจะครบกำหนด 1 ปี วันใด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่า เช็คพิพาทไม่มีมูลหนี้ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นการอ้างข้อต่อสู้อันอาศัยความเกี่ยวพันเฉพาะบุคคลระหว่างตนกับผู้ทรงคนก่อน ๆ ต้องห้ามมิให้ยกขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย เว้นแต่การโอนจะได้มีขึ้นด้วยคบคิดกันฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 916 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่า โจทก์ได้รับโอนเช็คพิพาทจากจำเลยที่ 2 โดยคบคิดกันฉ้อฉล และคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร เพียงแต่ให้การว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 โดยทุจริตร่วมกันได้นำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งไม่ชัดแจ้งว่าคบคิดกันฉ้อฉลอย่างไร รวมทั้งไม่สุจริตหรือทุจริตร่วมกันนำเช็คมาฟ้องอย่างไร จึงไม่มีประเด็นว่าคบคิดกันฉ้อฉล รวมทั้งใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ฎีกาของจำเลยที่ 1 ข้อนี้จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ให้จำเลยที่ 1 จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1385/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขเช็คหลังหมดอายุความไม่ถือเป็นการขยายอายุความ และการให้การเรื่องอายุความต้องชัดเจน
แม้เช็คพิพาทแต่ละฉบับจะถึงกำหนดใช้เงินแล้ว แต่การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ออกเช็คพิพาทแก้ไขวันที่เดือนปีในเช็คพิพาทโดยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทยินยอม เช็คพิพาทจึงยังคงใช้ได้ต่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ทำการแก้ไขตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โดยถือว่าเช็คพิพาทมีกำหนดใช้เงินตามวันที่เดือนปีที่แก้ไขนั้น กรณีหาใช่เป็นการขยายอายุความออกไปอันขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 193/11 ดังที่จำเลยที่ 1 ฎีกาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องอาญาเช็ค และการพิพากษาลงโทษหลายกรรมต่างกัน
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุอ้างแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 4 โดยมิได้อ้างคำว่า "มาตรา" ไว้ด้วย น่าจะเป็นการพิมพ์ผิดหลงเมื่อ พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทบัญญัติเพียง 11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียวเท่านั้น ที่บัญญัติว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษเอาไว้ ส่วนมาตราอื่นๆ ล้วนบัญญัติในเรื่องอื่นไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิด ทั้งในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและไม่หลงต่อสู้ โดยชั้นพิจารณาจำเลยให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
โจทก์ฟ้องโดยระบุชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกจากกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดสองกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ และใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลย โดยพิพากษาแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุกกระทงละ 3 เดือน จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นคำพิพากษาที่แก้ไขมากและไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
โจทก์ฟ้องโดยระบุชัดแจ้งว่าจำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาออกเช็คแต่ละฉบับชำระหนี้แต่ละส่วนแยกจากกัน ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตามเช็คแต่ละฉบับ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมีความผิดสองกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษ และใช้ดุลพินิจลดโทษให้จำเลย โดยพิพากษาแก้ไขโทษจำคุกที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุกกระทงละ 3 เดือน จึงเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นคำพิพากษาที่แก้ไขมากและไม่เป็นผลร้ายต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9423-9424/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการผู้ลงลายมือชื่อเช็คที่ไม่สามารถใช้ได้ แม้เป็นการกระทำแทนบริษัท
จำเลยจะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทในฐานะส่วนตัวหรือกระทำการแทนบริษัทจำเลยก็ต้องมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกัน เนื่องจากการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและประทับตราสำคัญของบริษัทโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามฟ้อง ย่อมถือว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับบริษัทออกเช็คพิพาท โจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะส่วนตัวได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าจำเลยกับบริษัทร่วมกันกระทำผิด และกรณีเช่นนี้ถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องในข้อสาระสำคัญเนื่องจากมิได้ส่งผลให้ผู้แทนหรือนิติบุคคลพ้นจากความรับผิดทางอาญา ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ด้วย จึงไม่มีเหตุที่ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีเช็คและการนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ 1 มิถุนายน 2542 การนับอายุความต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ที่มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน อายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ 2 มิถุนายน 2542 และเมื่อวันเริ่มต้นนับระยะเวลาเป็นวันที่ 2 มิถุนายน 2542 กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคหนึ่ง ที่คำนวณเดือนตามปีปฏิทิน เมื่อระยะเวลามิได้กำหนดนับตั้งแต่วันต้นแห่งเดือน กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/5 วรรคสอง ที่ให้ถือระยะเวลาสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้น เมื่อวันเริ่มระยะเวลาคือวันที่ 2 มิถุนายน 2542 ระยะเวลาสิ้นสุดลงก่อนหน้าวันจะถึงวันแห่งเดือนสุดท้ายอันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะเวลานั้นคือวันที่ 1 กันยายน 2542 ที่จำเลยอ้างว่าคดีครบกำหนดอายุความวันที่ 31 สิงหาคม 2542 จึงหาถูกต้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6740/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารจ่ายเช็คผิดพลาดจากเงินของตนเอง โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินคืน
โจทก์เก็บสมุดเช็คไว้ในลิ้นชักโต๊ะในห้องทำงานซึ่งเป็นห้องส่วนตัว มีกระจกโดยรอบ ปกติไม่มีผู้ใดเข้าไป ผู้ที่ลักเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปคือลูกจ้างในร้านของโจทก์เองถือได้ว่าโจทก์ได้เก็บรักษาเช็คพิพาทดังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำแล้ว ส่วนการที่โจทก์เคยมอบหมายให้บุคคลอื่นกรอกข้อความในเช็คแทนนั้น ก็หาใช่เป็นข้อที่แสดงว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่เก็บเช็คพิพาทไว้ให้ดีไม่ โจทก์จึงมิใช่เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่ออันจะถือว่าเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์เป็นที่ไว้วางใจของประชาชน การจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยที่ 1 ซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยที่ 1 ย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คว่าเป็นลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายหรือไม่ยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วๆ ไป เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นลายมือชื่อปลอมมิใช่ลายมือชื่อของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ผู้ที่นำมาเรียกเก็บเงินทั้งที่มีตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 กับมีเช็คอีกหลายฉบับที่โจทก์เคยสั่งจ่ายไว้อยู่ที่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขาดความระมัดระวังของจำเลยที่ 1 ผู้ประกอบธุรกิจการธนาคารพาณิชย์ ถือได้ว่าการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทดังกล่าวเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เองขณะมีการนำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ที่ธนาคารจำเลยที่ 1 เงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ไม่มีจ่ายเงินตามเช็คแต่จำเลยที่ 1 ได้อนุมัติให้จ่ายเงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปก่อน เงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับจึงเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นความเสียหายที่เกิดแก่จำเลยที่ 1 เอง เมื่อโจทก์ไม่ใช่เป็นผู้สั่งจ่ายตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีสิทธินำเงินจำนวนนี้ไปลงรายการในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ส่วนโจทก์ก็ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามเช็คทั้งสองฉบับแก่โจทก์ ดังนั้น ศาลฎีกาเห็นสมควรให้เพิกถอนรายการลงบัญชีเงินฝากของโจทก์ในบัญชีกระแสรายวันในส่วนที่เกี่ยวกับเช็คพิพาททั้งสองฉบับ แม้โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามชำระเงินแก่โจทก์ หาได้ฟ้องขอให้เพิกถอนรายการที่ลงบัญชีดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำเงินจำนวนตามเช็คไปลงรายการเบิกเงินเกินบัญชีในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของโจทก์ ศาลมีอำนาจพิพากษาให้เพิกถอนรายการดังกล่าวได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำฟ้อง สำหรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จ่ายไปตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเป็นเงินของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ร่วมกันคืนเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเช็คเลิกกันเมื่อมูลหนี้ระงับด้วยสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง
กรณีคดีอาญาเลิกกันตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 เป็นกรณีที่มูลหนี้ที่ผู้กระทำความผิดได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา โดยไม่จำเป็นที่โจทก์และจำเลยทั้งสองต้องทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในคดีอาญา
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
มูลหนี้ตามเช็คพิพาทในคดีนี้โจทก์ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชดใช้เงินเป็นคดีแพ่งของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ศาลแพ่งกรุงเทพใต้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดไปแล้ว ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระเงินตามมูลหนี้ในเช็คพิพาท เป็นอันระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 โจทก์คงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่ตนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น โจทก์ไม่มีสิทธิจะเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดในมูลหนี้ตามเช็คพิพาทได้อีก ดังนั้น หนี้ที่จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันออกเช็คพิพาทเพื่อใช้เงินจึงเป็นอันสิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด คดีจึงเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5240/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผ่อนชำระหนี้เช็คไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ สิทธิฟ้องอาญาไม่ระงับ
ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่มีข้อความว่า จำเลยจะชำระเงินให้แก่โจทก์จำนวนเต็มตามฟ้องโดยผ่อนชำระเป็นรายเดือนจนกว่าจะครบถ้วนให้เสร็จสิ้นภายใน 3 ปี หากโจทก์ได้รับชำระครบถ้วนแล้ว โจทก์จะถอนฟ้องคดีนั้น เป็นข้อตกลงในการผ่อนชำระหนี้ตามเช็คเท่านั้น และตามข้อตกลงดังกล่าวไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยในทันที จึงไม่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ทำให้มูลหนี้เดิมตามเช็คระงับไปแล้วเกิดหนี้ใหม่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ทั้งไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ จึงมิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่อันจะทำให้หนี้เดิมระงับไปแต่อย่างใด เมื่อจำเลยมิได้ใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์ และหนี้ที่ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินนั้นก็ไม่สิ้นผลผูกพันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 คดีจึงไม่เลิกกัน สิทธิของโจทก์ในการนำคดีอาญามาฟ้องจึงไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)