คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1290/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ไม่อาจสืบพยานหลักฐานใหม่ หรืออ้างข้อเท็จจริงเกินขอบเขตฟ้องได้ ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยทั้งสองไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสาร การที่ทนายจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้เงินให้โจทก์ดูแล้วโจทก์เบิกความตอบคำถามค้านว่า สำเนาหนังสือสัญญากู้เงินเป็นสัญญากู้เงินที่โจทก์ทำมอบไว้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยโจทก์ลงลายมือชื่อไว้ในช่องผู้กู้ขณะยังไม่มีการกรอกข้อความ โจทก์หาได้เบิกความรับรองข้อความในเอกสารไม่ ดังนั้น การที่ทนายจำเลยทั้งสองส่งเอกสารดังกล่าวต่อศาลเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบโดยฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง (เดิม) จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง
การที่จำเลยที่ 1 สาบานตนให้การเป็นพยานว่า โจทก์กู้เงินจำเลยที่ 1 จำนวน 1,500,000 บาท โดยมอบโฉนดที่ดินเลขที่ 4878 ให้จำเลยที่ 1 ยึดถือไว้เป็นประกัน จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องคืนโฉนดที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ นั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามฟ้องโจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้างข้อเท็จจริงเป็นประเด็นขึ้นใหม่ คำเบิกความของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นคำเบิกความในข้อที่ไม่ได้เป็นประเด็นในคดี จึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8837/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี 10 ปีนับจากคำพิพากษาถึงที่สุด การยึดทรัพย์เกินกำหนดไม่ทำให้สิทธิบังคับคดีสิ้นสุด
กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ที่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น หมายถึงวันที่คำพิพากษาถึงที่สุด
ศาลแพ่งธนบุรีพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2539 ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ คำพิพากษาจึงถึงที่สุดตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2539 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 147 วรรคสอง โจทก์ขอให้ศาลแพ่งธนบุรีออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2549 และต่อมาวันที่ 10 สิงหาคม 2549 ผู้แทนโจทก์ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลย จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาตามมาตรา 271 แล้ว ดังนั้น แม้ทรัพย์สินของจำเลยที่จะยึดอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้น เจ้าพนักงานบังคับคดีกรมบังคับคดีจึงขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับจังหวัดขอนแก่น ยึดและขายทอดตลาดทรัพย์สินแทน และผู้แทนโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดขอนแก่น ไปยึดทรัพย์สินของจำเลย เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2549 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด ก็เป็นเพียงขั้นตอนการดำเนินงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีเท่านั้น ไม่ทำให้โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินที่ยึดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7950/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยเรื่องอำนาจฟ้องซ้ำ โดยชี้ว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการพิจารณาตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้องโจทก์อ้างเหตุว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้โต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องโดยมีเนื้อหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเช่นเดียวกับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษาไปแล้ว จึงเป็นการวินิจฉัยในเนื้อหาเช่นเดียวกันกับที่ศาลฎีกาได้วินิจฉัยดังกล่าว อันเป็นกรณีที่เห็นได้ชัดเจนว่าศาลชั้นต้นยกเรื่องอื่นขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลฎีกาในประเด็นที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาไปแล้ว โดยพยายามเบี่ยงเบนให้เกิดเป็นประเด็นใหม่ขึ้นในเรื่องอำนาจฟ้องแล้วสรุปทำนองว่าโจทก์มิได้ถูกโต้แย้งสิทธิจึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งเป็นการพิพากษาซ้ำซ้อนกับคำพิพากษาเดิมของศาลชั้นต้น เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ยอมดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ให้เป็นไปตามประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7421/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหลังมีคำพิพากษา: มีผลบังคับตามคำพิพากษา ไม่สามารถเพิกถอนได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันรื้อรั้วสังกะสี รั้วอิฐบล็อก และสิ่งกีดขวางทางเข้าออกในที่ดิน โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยทั้งสองรื้อรั้วสังกะสีและรั้วอิฐบล็อกรวมทั้งสิ่งกีดขวางทางเข้าออกในที่ดินออกชั่วคราวและห้ามมิให้กระทำการใดๆ อันเป็นการกีดขวางทางเข้าออกในที่ดินพิพาทจนกว่าศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 1 ฎีกา ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ปรากฏว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดี คำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาจึงมีผลใช้บังคับต่อไปเท่าที่จำเป็นเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 260 (2) มิใช่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลจะมีคำสั่งเพิกถอนได้ตามมาตรา 267

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
เหตุที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ก็เนื่องจากผู้ร้องอ้างว่าได้รับโอนสินทรัพย์รวมทั้งสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยมาจากโจทก์ ซึ่งสิทธิเรียกร้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้เป็นคดีนี้พร้อมกับได้เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องและศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้บังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจึงเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยต่อไปเท่านั้น หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ไม่มีผลทำให้ผู้ร้องได้รับเงินหรือทรัพย์สินใด ๆ เพิ่มขึ้น ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ดังที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6267/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามคำพิพากษา: การยอมรับชำระราคาถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์
การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่ระบุในคำพิพากษา เมื่อคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์คันพิพาทคืนให้แก่จำเลย หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน โจทก์ก็ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ไปตามลำดับที่ระบุไว้ เมื่อในระหว่างการบังคับคดีในคดีเดิมจำเลยได้ขอรับเงินที่โจทก์นำมาวางศาลเพื่อชำระหนี้ให้แก่จำเลยแล้ว เท่ากับยอมรับถึงการบังคับคดีในขั้นตอนที่ต่างจากการส่งมอบรถยนต์คืนและถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว และแม้สัญญาเช่าซื้อจะเลิกกันไปแล้ว แต่การที่จำเลยยอมรับชำระราคารถยนต์ก็ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ให้แก่โจทก์โดยผลของการชำระหนี้ แม้ว่ารถยนต์สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยการส่งมอบ แต่รถยนต์เป็นพาหนะที่มีกฎหมายควบคุม การนำไปใช้ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีให้ถูกต้องก่อนตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 6 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์คันพิพาทให้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6181/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายหากไม่วางเงินค่าธรรมเนียมตามคำพิพากษา แม้จะวางเงินภายหลังก็ไม่ช่วย
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาและคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วย บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแก่การอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่งในทุกกรณี จำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 เสียเฉพาะค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องเสียในขณะยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ แต่เงินดังกล่าวเป็นคนละส่วนกับเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวให้ครบถ้วนจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้หลังจากที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ก่อนที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 จะยื่นฎีกา จำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาล ก็ไม่มีผลทำให้อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ไปแล้วกลับเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6099/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเนื่องจากคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างผิดพลาดจากบัญชีรวมพิจารณาคดี
ตามคำฟ้องของโจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยชำระค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จำนวน 170,512 บาท แต่เมื่อศาลแรงงานกลางสั่งให้นำคดีนี้รวมพิจารณาคดีเดียวกับคดีอื่นแล้ว ศาลแรงงานกลางได้จัดทำบัญชีสำหรับรวมพิจารณาโดยนำรายละเอียดต่างๆ ในคำฟ้องแต่ละสำนวนมาลงไว้ ซึ่งในช่องคำขอท้ายฟ้องในบัญชีดังกล่าวลงรายการว่าโจทก์ขอให้จำเลยชำระค่าเสียหายดังกล่าวเพียงจำนวน 17,052 บาท โดยจำนวนเงินดังกล่าวไม่ปรากฏในคำฟ้องหรือคำขอท้ายฟ้อง ซึ่งเป็นการลงบัญชีผิดพลาด เมื่อพิจารณาถึงจำนวนเงินค่าเสียหายที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้โจทก์คนอื่นในคดีรวมพิจารณา ปรากฏว่ากำหนดค่าเสียหายจากการนำอัตราค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานโดยประมาณ ยกเว้นโจทก์บางคนในคดีรวมพิจารณามีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายต่ำกว่าจำนวนที่คำนวณได้ตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว ศาลแรงงานกลางก็จะกำหนดให้ไม่เกินตามคำขอท้ายฟ้อง แต่กรณีของโจทก์ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์เพียงคนเดียว โดยหากคำนวณตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วจะได้จำนวนที่สูงกว่า 17,052 บาท ตามที่ลงไว้ในบัญชีสำหรับรวมพิจารณาเป็นจำนวนมาก แต่ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับจำนวนเงินที่ลงไว้ในบัญชีดังกล่าวโดยไม่ปรากฏว่าเป็นเพราะเหตุใด แสดงให้เห็นว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นการนำข้อผิดพลาดในบัญชีดังกล่าวมากำหนดเป็นค่าเสียหาย จึงให้ศาลแรงงานกลางกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้โจทก์ใหม่โดยคำนึงถึงจำนวนเงินที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง ส่วนจะเป็นจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของศาลแรงงานกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6088/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำพิพากษาที่ไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้อง การใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาแทนการขอตีความคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ตรงตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์โดยไม่ได้ระบุว่าให้โจทก์มีสิทธิยึดทรัพย์สินอื่นที่มิใช่ทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์จนครบถ้วน มิใช่เป็นเรื่องผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลง แต่เป็นเรื่องที่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลชั้นต้นไม่อาจใช้ดุลพินิจแก้ไขคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143 โจทก์จึงยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นตีความคำพิพากษาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5904/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ-อำนาจฟ้อง: การโอนทรัพย์ชำระหนี้ไม่กระทบคำพิพากษาเดิม ศาลไม่รับฟ้องขอระงับหนี้
ในคดีก่อนโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดการบังคับคดี โดยอ้างเหตุว่าโจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้วก่อนวันนัดสืบพยาน แต่จำเลยไม่ถอนฟ้องตามที่ตกลงไว้กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นในคดีก่อนวินิจฉัยในสาระสำคัญว่า ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวหากจะพึงมีก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องยกขึ้นว่ากล่าวกับจำเลยเป็นอีกส่วนหนึ่ง ไม่เป็นเหตุที่จะยกขึ้นอ้างเพื่อให้งดการบังคับคดีได้ ดังนี้ คดีก่อนศาลชั้นต้นจึงยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้วจริงหรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้จึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดแล้วคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ทั้งมิใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามมาตรา 144 ด้วยเช่นกัน
คำพิพากษาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ให้ต้องชำระหนี้แก่จำเลยตามที่กำหนดไว้ในคำพิพากษา หากโจทก์ได้โอนรถยนต์ตีใช้หนี้ให้แก่จำเลยเสร็จสิ้นแล้ว ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในคดีก่อนจริงโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดเพื่อความเสียหายใดๆ อันเกิดจากการผิดข้อตกลงชำระหนี้ แต่โจทก์จะฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนเป็นอันระงับ ให้งดการบังคับคดี และบังคับให้จำเลยแจ้งถอนการยึดทรัพย์หาได้ไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีก่อนซึ่งผูกพันโจทก์
of 189