พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำคดีล้มละลาย: เหตุอื่นที่ไม่ควรล้มละลายเปลี่ยนไปถือเป็นประเด็นใหม่
ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. เจ้าหนี้เดิมหากมาฟ้องร้องลูกหนี้ในประเด็นที่เจ้าหนี้เดิมได้ฟ้องร้องและศาลได้วินิจฉัยถึงที่สุดไปแล้วโดยเหตุอย่างเดียวกัน ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบกับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 ได้
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คดีก่อนธนาคาร ท. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายศาลล้มละลายกลางเห็นว่าแม้จำเลยทั้งสองจะมีหนี้สินล้นพ้นตัว แต่จำเลยทั้งสองมีรายได้ประจำรวมกันเกินเดือนละ 100,000 บาท ย่อมสามารถชำระหนี้ได้ อีกทั้งหากเจ้าหนี้เดิมยินยอมลดหนี้จำนวนหนึ่งน่าเชื่อว่าจำเลยทั้งสองจะสามารถผ่อนชำระหนี้ได้ในระยะเวลาอันสั้น สมควรให้จำเลยทั้งสองไปเจรจาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้เดิม กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย คดีถึงที่สุด แต่คดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจากธนาคาร ท. ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยกล่าวอ้างในอุทธรณ์ว่า ระยะเวลาผ่านพ้นไป 4 ปีเศษแล้ว จำเลยทั้งสองไม่ได้เข้าทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แก่โจทก์ ทั้งไม่ชำระหนี้ใดๆ ให้แก่โจทก์เลย เช่นนี้ หากเป็นจริงดังที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ก็ถือว่าเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยทั้งสองล้มละลายนั้นอาจจะเปลี่ยนไปในสาระสำคัญ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่เกิดขึ้นใหม่ ไม่ใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4619/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายซ้ำ และการพิสูจน์ความสามารถในการชำระหนี้เพื่อล้มล้างข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว
คดีก่อนโจทก์เคยฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายอ้างเหตุจำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ไม่น้อยกว่าสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน แต่จำเลยไม่ชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (9) ศาลพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าจำเลยมีที่ดิน 1 แปลง มีราคามากกว่าหนี้ คดีถึงที่สุด ส่วนคดีนี้โจทก์นำหนี้เดียวกันมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างเหตุจำเลยถูกยึดทรัพย์ตามหมายบังคับคดี และที่ดินในคดีก่อนจำเลยได้โอนขายไปแล้ว จำเลยไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) แม้มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจะเป็นหนี้เดียวกันและคดีมีประเด็นเดียวกันว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ก็ตาม แต่เหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวเป็นคนละเหตุกัน ทั้งเหตุในคดีนี้เป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2964/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย หลังศาลแพ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุด เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นคำขอภายใน 2 เดือน
เจ้าหนี้ฟ้องจำเลยที่ 2 กับพวกต่อศาลแพ่ง ระหว่างพิจารณาคดีเจ้าหนี้ยื่นคำร้องว่า เพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว ขอให้ศาลหมายเรียกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความแทน ครั้นถึงวันนัดเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า ในคดีล้มละลายครบกำหนดยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2547 แม้ว่าโจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือคดีอยู่ระหว่างพิจารณาก็จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 27 และ 91 การพิจารณาคดีแพ่งต่อไปจะไม่เป็นประโยชน์ ขอให้ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เจ้าหนี้แถลงคัดค้านว่าเพิ่งทราบว่าศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อเดือนธันวาคม 2548 ก่อนหน้านี้จำเลยที่ 2 มาศาลในคดีแพ่ง แต่ไม่ได้แถลงให้เจ้าหนี้และศาลทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้เจ้าหนี้มิได้ดำเนินการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย จนล่วงพ้นกำหนดเวลาที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าว หากศาลมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่ 2 จะทำให้เจ้าหนี้เสียหาย ศาลแพ่งมีคำสั่งยกคำร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อันมีผลเท่ากับศาลแพ่งพิจารณาพฤติการณ์แห่งคดีแล้วมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าดำเนินคดีแทนจำเลยที่ 2 ต่อไป และไม่อนุญาตตามคำแถลงของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ขอให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 25 แล้ว ส่วนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำแถลงว่า ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ติดใจเข้าว่าคดีแพ่ง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ประสงค์จะเข้าว่าคดีแทนจำเลยที่ 2 ขอให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียวนั้น เป็นเพียงการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ติดใจที่จะนำพยานมาสืบหรือถามค้านพยานอีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดีในคดีแพ่ง เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ภายในกำหนดเวลาสองเดือน นับแต่คดีถึงที่สุดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 93
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1854/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งให้ผู้ร้องพ้นจากตำแหน่งผู้บริหารแผนของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/67 ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1848/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิค่าทนายความจากการล้มละลาย: การรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องต้องเป็นผลมาจากการบังคับคดีตามสัญญาจ้าง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ ผู้คัดค้านมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องได้รับเงินค่าทนายความส่วนที่ 2 โดยผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกานั้น แม้มิใช่เป็นอุทธรณ์คำสั่งซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคสอง แต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งรับอุทธรณ์ส่งมาให้ศาลฎีกาแล้ว ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมเห็นสมควรรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านดังกล่าวไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
สิทธิในการได้รับชำระหนี้ค่าทนายความเพิ่มเติมในส่วนที่ 2 อัตราร้อยละ 10 ของยอดหนี้ตามฟ้องแต่ละคดีจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น ศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า ให้ผู้ร้องมีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 ดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ก็ต่อเมื่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีต่างๆ แล้วไม่ว่าโดยวิธีใดจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ซึ่งตามทางนำสืบของผู้ร้องไม่ปรากฏว่าหลังจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและผู้คัดค้านเข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 22 แล้ว ผู้คัดค้านได้มอบหมายให้ผู้ร้องเข้ามาช่วยเหลือผู้คัดค้านในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้แต่ประการใด ทั้งเงินที่ได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในคดีแพ่งดังกล่าวก็เป็นดำเนินการขายโดยผู้คัดค้านตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ มิใช่กรณีที่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งเพิ่มเติมจากการดำเนินคดีของผู้ร้องตามสัญญาจ้าง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ค่าทนายความส่วนที่ 2 จากเงินได้จากการขายสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ดังกล่าวแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องเงินค่าภาษีจากการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อมีสิทธิได้รับเงินคืนจากกองทรัพย์สิน
เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยในคดีล้มละลายเป็นเงินได้ของกองทรัพย์สินจำเลยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (8) การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์กำหนดเงื่อนไขในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์และข้อตกลงในหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดเป็นผู้ชำระค่าภาษีต่างๆ แล้วนำใบเสร็จรับเงินมาขอรับเงินคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือโอนกรรมสิทธิ์หรือภายใน 20 วัน นับแต่ชำระราคาครบถ้วน หากไม่มาขอคืนภายในกำหนดดังกล่าวถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ไม่ติดใจขอรับเงินดังกล่าวคืนนั้น เป็นเพียงเพื่อให้การจัดการทรัพย์สินของจำเลยดำเนินไปด้วยความสะดวกรวดเร็ว เมื่อจำหน่ายทรัพย์สินแล้วทรัพย์สินซึ่งเหลือจากที่กันไว้สำหรับค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องจัดการแบ่งในระหว่างเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 124 การทำบัญชีแสดงรายการรับ - จ่ายเงิน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สามารถกันเงินในส่วนที่ผู้ซื้อทรัพย์จะมาขอรับเงินที่จ่ายเป็นค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายคืนได้ แล้วแจ้งให้ผู้ซื้อทรัพย์ทราบ หากผู้ซื้อทรัพย์ไม่มารับเงินดังกล่าวคืนภายในห้าปีนับแต่วันที่ศาลสั่งปิดคดีเงินดังกล่าวก็จะตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 176 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะกำหนดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในประกาศขายทอดตลาดทรัพย์หรือหนังสือสัญญาซื้อขายให้ผู้ซื้อทรัพย์มารับเงินดังกล่าวคืนภายในกำหนดเวลาที่ผิดแผกแตกต่างจากบทกฎหมายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1846/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายคดีฟื้นฟูกิจการล้มละลายเมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟู ทำให้ไม่มีประโยชน์ในการพิจารณาอุทธรณ์อีกต่อไป
ศาลฎีกาอนุญาตให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้อุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่มีคำสั่งว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อเลือกผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และมีคำสั่งตั้งบริษัท พ. เป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของลูกหนี้ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่า ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งมีผลทำให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากการฟื้นฟูกิจการภายใต้การกำกับของศาลเข้าสู่สภาวะการดำเนินธุรกิจตามปกติ จึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาอุทธรณ์ของผู้ร้องดังกล่าวอีกต่อไป ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14319/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลดจากการล้มละลาย, การประนอมหนี้, และผลกระทบต่อสิทธิการบังคับคดีของเจ้าหนี้
จำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 81/1 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 13 หลังจากได้รับการปลดจากการล้มละลาย จำเลยได้ยื่นคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยขอชำระหนี้เต็มจำนวนต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ก. โจทก์ในคดีล้มละลาย โจทก์ในคดีล้มละลายตกลงตามข้อเสนอ ผู้ร้องจึงได้ชำระหนี้แทนจำเลย การที่จำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายโดยผลของกฎหมายนั้น ย่อมทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายและมีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของตนเองต่อไป ส่วนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเป็นทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายเพื่อนำมาชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จ การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยขอชำระหนี้เต็มจำนวนให้แก่โจทก์ในคดีล้มละลาย และได้มีการชำระให้แก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลายพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมจนครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่มีเหตุต้องจัดการทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายของจำเลยอีกต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีถอนการยึดทรัพย์ในคดีแพ่งนั้นชอบแล้ว ส่วนการยกเลิกการล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 135 นั้นจะเกิดขึ้นก็โดยเหตุศาลมีคำสั่ง ในคดีนี้เมื่อจำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายอันทำให้จำเลยหลุดพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายไปแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลจำต้องสั่งยกเลิกการล้มละลายอีก แม้โจทก์จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันเป็นหนี้ที่พึงจะขอรับชำระหนี้ได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 แต่เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โจทก์ยื่นคำขอรับชำระหนี้ดังกล่าวในคดีล้มละลายเกินกำหนดระยะเวลา และศาลฎีกามีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลล่างไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของโจทก์ ต่อมาเมื่อจำเลยได้รับการปลดจากการล้มละลายโดยผลของกฎหมายย่อมทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ เว้นแต่หนี้ที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 (1) และ (2) เมื่อหนี้ของโจทก์มิใช่หนี้ตามมาตรา 77 (1) และ (2) โจทก์ย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดีเพื่อชำระหนี้ของโจทก์อีกต่อไปและไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกองทุนรวม และการใช้สิทธิฟ้องล้มละลายโดยชอบตามกฎหมาย
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้รับจดทะเบียนกองทรัพย์สินของโครงการจัดการกองทุนรวมโจทก์เป็นกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 124 วรรคสอง เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2542 โดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนโจทก์ โจทก์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลโดยมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. เป็นผู้แทนโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 70 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ว. จึงมีอำนาจดำเนินคดีแทนโจทก์
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถึงที่สุดแล้ว เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ยอมชำระหนี้ โจทก์จึงขอศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยและโจทก์ได้ยื่นคำขอตรวจสอบการถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยที่สำนักงานที่ดินซึ่งจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตรับผิดชอบ แต่ไม่พบว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะให้ยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพื่อให้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยมีหนี้สิ้นล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (5) และนำคดีมาฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายนับว่าเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายโดยชอบมิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8469/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขการฟ้องคดีล้มละลายโดย บสท. ต้องเข้าหลักเกณฑ์หนี้สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย แม้ไม่ให้ความร่วมมือ
พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มิได้มีบทบัญญัติยกเว้นหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 และมาตรา 10 ทั้ง พ.ร.ก.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ฯ มาตรา 58 วรรคสี่ ก็บัญญัติให้ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย กรณีจึงต้องนำบทบัญญัติว่าด้วยเงื่อนไขในการฟ้องคดีล้มละลายมาใช้บังคับด้วย มาตรา 58 วรรคสี่ จึงเป็นบทบัญญัติในส่วนวิธีพิจารณาที่ใช้แทนการฟ้องคดีล้มละลายทั่วไปและเป็นบทบัญญัติที่ให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดเมื่อเข้าหลักเกณฑ์อันเป็นเงื่อนไขของการฟ้องคดีล้มละลายครบถ้วนแล้วเท่านั้น เมื่อตามคำร้องปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ บสท. อันมีจำนวนไม่ถึง 1,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 9 (2) ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดได้