คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เช็ค

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,865 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4771/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาเช็คเพื่อชำระหนี้หรือประกันการชำระหนี้ และการวินิจฉัยประเด็นข้อกฎหมายโดยศาล
ศาลฎีกามีคำสั่งอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยว่า ในปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายกำหนดรวมอยู่ด้วย กับฎีกาที่ขอให้รอการลงโทษเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาชอบแล้ว ดังนี้ ประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ว่าเช็คตามฟ้องผู้เสียหายคิดดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยและขอให้รอการลงโทษ จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 คงมีประเด็นแห่งคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายว่าเช็คตามฟ้องออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่เท่านั้น การที่ศาลฎีกาวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวแล้วมีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ฉบับลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ตามรูปคดี จึงหมายความว่าศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวที่ไม่วินิจฉัยในประเด็นว่าเช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่ออกเพื่อชำระหนี้หรือออกเพื่อประกันการชำระหนี้ แล้วพิจารณาพิพากษาใหม่เฉพาะประเด็นแห่งคดีดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบ มาตรา 208 (2) เท่านั้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีดังกล่าวตามที่ศาลฎีกาย้อนสำนวนว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้แล้วพิพากษายืน จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คหลายฉบับไม่เกี่ยวข้องกัน ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องบังคับชำระหนี้แยกแต่ละฉบับได้
การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ไม่จำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกัน การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกัน โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องคดีแพ่ง และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้จึงมิใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้แยกต่างหาก โจทก์ฟ้องได้หลายคดี
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้วคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่ เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่ายในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิ หน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับ แม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้อกในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกันไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็ย่อมมีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงหาใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกันอันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนเช็ค: เช็คแต่ละฉบับเป็นมูลหนี้ต่างหาก โจทก์มีสิทธิฟ้องแยกคดีได้
ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "นับแต่เวลาที่ได้ยื่นคำฟ้องแล้ว คดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาและผลแห่งการนี้ (1) ห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่น..." มีความมุ่งหมายว่า คดีเรื่องเดียวกันโจทก์ควรจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันไปเสียให้เสร็จสิ้นในคราวเดียวกัน ส่วนคดีใดจะเป็นคดีเดียวกันหรือไม่ต้องพิจารณาจากคำฟ้องในคดีนั้นๆ ว่า เป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกันหรือไม่
เช็คเป็นตั๋วเงินซึ่งเป็นเอกเทศสัญญาประเภทหนึ่ง เช็คแต่ละฉบับก่อให้เกิดมูลหนี้ผูกพันระหว่างผู้ทรงเช็ค ผู้สลักหลัง และผู้สั่งจ่าย ในตัวเอง ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิหน้าที่และความเกี่ยวพันระหว่างกันไว้เป็นการเฉพาะ การที่ผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีผู้สั่งจ่ายรายเดียวกันไว้ในครอบครองหลายฉบับแม้จะเป็นการชำระหนี้ในมูลหนี้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเช็คแต่ละฉบับมีความเกี่ยวพันกัน เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คนั้น ผู้ทรงเช็คย่อมใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คแต่ละฉบับได้ หาจำต้องใช้สิทธิเรียกร้องตามเช็คทั้งหมดไปในคราวเดียวกันแต่อย่างใดไม่ การใช้สิทธิเรียกร้องในเช็คแต่ละฉบับโดยยื่นฟ้องเป็นหลายคดีเพื่อบังคับชำระหนี้ตามเช็คต่างฉบับกัน ไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ที่มีการออกเช็คชำระหนี้ ทั้งยังเป็นคดีที่มีสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแยกต่างหากจากกันตามเช็คแต่ละฉบับด้วย คดีนี้ แม้เช็คพิพาทจะเป็นส่วนหนึ่งของเช็คหลายฉบับที่โจทก์ได้รับมาในคราวเดียวกันก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำเช็คดังกล่าวมาเป็นมูลฟ้องร้องเป็นคดีต่างหากจากกันได้ การที่โจทก์นำเช็คจำนวนหนึ่งไปฟ้องในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 523/2547 ของศาลชั้นต้น และนำเช็คพิพาทมาฟ้องคดีนี้ จึงไม่ใช่การยื่นคำฟ้องในเรื่องเดียวกัน อันจะเป็นการต้องห้ามตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามเช็คไม่กระทบหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาพิพากษากลับให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้าง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ที่จำเลยนำเช็คที่ ธ. เป็นผู้สั่งจ่ายมาขายลดกับโจทก์ ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ซึ่งความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. โดยจำเลยได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้ว มีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน ในการชำหนี้โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตามป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก การชำระหนี้ตามเช็คจึงไม่ทำให้หนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินระงับสิ้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2545/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามเช็คไม่ระงับหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญา
มูลหนี้คดีนี้เป็นการเรียกให้ชำระหนี้อันเกิดแต่การผิดสัญญาขายลดตั๋วเงิน ส่วนมูลหนี้ในคดีที่โจทก์ฟ้อง ธ. เป็นการเรียกให้ชำระหนี้ตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่าย อันเป็นนิติกรรมคนละประเภท ความรับผิดของจำเลยต้องเป็นไปตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์นำคดีไปฟ้อง ธ. ต่อมามีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดย ธ. ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่ ธ. ได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์จนครบจำนวนแล้วมีผลเพียงทำให้ความรับผิดตามเช็คในคดีที่ ธ. ถูกโจทก์ฟ้องระงับสิ้นไปเท่านั้น แต่ในส่วนสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์ชอบที่จะนำเงินที่ได้รับชำระหนี้แต่ละครั้งไปชำระดอกเบี้ยที่คงค้างก่อน ส่วนที่เหลือจึงนำไปหักชำระเงินต้นที่ค้างชำระในแต่ละคราวไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธแล้ว ไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงไม่เกิดขึ้นซ้ำ
จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ไปชำระหนี้ค่าเช่าซื้อแก่ผู้เสียหาย แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อ และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 แต่เป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม เมื่อเช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่เสียหายนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สอง จึงไม่ได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีก เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง จะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13113/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารต้องรับผิดชำระเงินค่าเวนคืนที่ผิดพลาด หากจ่ายเงินเข้าบัญชีที่ไม่ตรงกับชื่อผู้รับเงินในเช็ค
ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และ ก. ถูกเวนคืนทางกรุงเทพมหานครจ่ายเงินค่าเวนคืนโดยจ่ายเช็คธนาคาร ก. ให้แก่โจทก์ที่ 1 และ ก. เช็คระบุผู้รับเงินไว้คือโจทก์ที่ 1 กับ ก. และขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือออก ธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่สั่งจ่ายระบุชื่อ แม้ระหว่างชื่อของบุคคลทั้งสองมีเพียงเครื่องหมาย " , " คั่นไว้ก็ตาม ก็มีความหมายว่าธนาคารต้องจ่ายเงินให้แก่บุคคลทั้งสองมิใช่หมายถึงจ่ายเงินให้แก่โจทก์ที่ 1 เพียงคนเดียว อีกทั้งเช็คมีการขีดคร่อมระบุคำว่า "A/C PAYEE ONLY" ธนาคารต้องจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้รับเงินซึ่งมีชื่อในเช็คเท่านั้น การที่ธนาคารจำเลยที่ 1 นำเงินที่เรียกเก็บตามเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ที่ 1 หรือ ม. ย่อมเป็นความเข้าใจของธนาคารจำเลยที่ 1 เพียงฝ่ายเดียวว่าสามารถกระทำได้ ทั้งๆ ที่บัญชีมีชื่อไม่ตรงกับที่ระบุไว้ในเช็ค อีกทั้งธนาคารจำเลยที่ 1 ยอมให้ ม. ผู้ไม่มีสิทธิรับเงินตามเช็คเบิกถอนเงินออกไปเพียงผู้เดียว ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตามการค้าปรกติของธนาคารย่อมไม่เป็นการกระทำที่สุจริตหรือปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่อย่างใด ธนาคารจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชำระเงินต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทของ ก. ฐานกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2
แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 กล่าวในคำฟ้องว่าด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้จัดการจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ได้รับความเสียหายเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีมูลหนี้จากการละเมิด อันจะต้องฟ้องเรียกค่าเสียหายภายในอายุความ 1 ปีก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาคำฟ้องทั้งหมดแล้วเห็นว่า เป็นการที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอ้าง ป.พ.พ. มาตรา 1000 เพื่อยกเว้นความรับผิดตามมูลหนี้ตั๋วเงิน มีอายุความ 10 ปี จะนำอายุความเรื่องละเมิด 1 ปี มาใช้บังคับไม่ได้ ฟ้องโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขวันที่เช็คที่ถูกปฏิเสธไม่ถือเป็นการออกเช็คฉบับใหม่ ความผิดฐานออกเช็คจึงเกิดขึ้นครั้งเดียว
การที่จำเลยนำเช็คที่ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วมาแก้ไขวันที่และลงชื่อกำกับวันที่แก้ไขไว้ แม้จะเจตนาให้มีผลผูกพันเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าซื้อที่จำเลยทำสัญญากับผู้เสียหาย และเป็นการแก้ไขวันสั่งจ่ายซึ่งเป็นข้อสำคัญในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 ก็ตาม แต่การลงวันที่ใหม่และลงนามกำกับการแก้ไขโดยจำนวนเงินและลายมือชื่ออันเป็นรายการที่มีอยู่ในเช็คเดิมจึงเป็นเพียงการแก้วันที่ในเช็คเพียงอย่างเดียว เช็คยังคงเป็นเช็คฉบับเดิม ไม่เป็นการออกเช็คฉบับใหม่แต่อย่างใด เมื่อเช็คถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันนั้นแล้ว การที่ผู้เสียหมายนำเช็คไปเรียกเก็บเงินอีกและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นครั้งที่สองจึงหาได้เกิดความผิดขึ้นใหม่อีกไม่ เพราะเป็นการกระทำอันเดียวกันนั้นเอง การกระทำอันเดียวกันจะเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185, 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12910/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้สั่งจ่ายและผู้สลักหลังเช็ค, ความสุจริตของผู้ทรงเช็ค, และอายุความฟ้องร้องตั๋วเงิน
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คผู้ถือ จึงโอนกันได้ด้วยการส่งมอบ จำเลยที่ 2 สลักหลักเช็คพิพาทและส่งมอบแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 914 ประกอบมาตรา 989 ส่วนจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังส่งมอบต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900, 921, 940 ประกอบมาตรา 989 ความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 จึงแยกจากกันตามฐานะแห่งตน ลายมือชื่อจำเลยที่ 2 จะปลอมหรือไม่เป็นเรื่องความรับผิดของจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ไม่มีผลทำให้จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่ายหลุดพ้นจากความรับผิดต่อโจทก์ ป.พ.พ. มาตรา 1006
จำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินโดยสั่งจ่ายเช็คให้แก่จำเลยที่ 2 ไว้หมุนเวียนแล้วมีผู้นำเช็คไปกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 1 ถือว่าเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 เอง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเนื้อความที่ลงในเช็คต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คโดยสุจริต
of 187