คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานมูลหนี้ในคดีล้มละลายก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มิใช่พึ่งเอกสารในสำนวนศาล
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจสอบเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีตามที่เจ้าหนี้กล่าวอ้างแต่ประการใด
เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องใด ๆ ให้ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดระยองโดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้สิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์หนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานจริงในชั้นสอบสวน แม้เป็นมูลหนี้ที่ฟ้องแล้ว
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเจ้าหนี้ทั้งหลาย มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว แม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีจังหวัด
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลจังหวัดระยอง โดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้หลังล้มละลาย: ข้อตกลงดอกเบี้ยย้อนหลังเป็นโมฆะ แต่เงินต้นสมบูรณ์
แม้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้มูลหนี้เงินยืมและอาวัลที่เจ้าหนี้ได้รับภาระใช้หนี้แทนลูกหนี้ตามเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายไปแล้วหลายครั้งก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีล้มละลายหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 ของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำมูลหนี้ดังกล่าวไปขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ และมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวแล้วนั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือฉบับลงวันที่ 24 เมษายน 2542 ตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงคืนให้แก่เจ้าหนี้ จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจและมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายมิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งเป็นโมฆะ แต่ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลายในคดีหมายเลขแดงที่ ล.28/2529 เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ข้อตกลงดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะ และพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนแก่เจ้าหนี้ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2542 จนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดในคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังพ้นล้มละลาย: ผลผูกพันของนิติกรรมและดอกเบี้ยย้อนหลัง
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท เป็นหนี้ที่มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเจ้าหนี้มิได้นำไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระได้ ย่อมมีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่เมื่อภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือให้แก่เจ้าหนี้ โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท จึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย
ข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คดังกล่าวมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย เป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้จึงตกเป็นโมฆะเช่นกัน แต่ตามพฤติการณ์คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เฉพาะส่วนนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้หลังล้มละลายมีผลผูกพันได้ แต่ดอกเบี้ยย้อนหลังในขณะล้มละลายเป็นโมฆะ
หนี้เงินต้นตามจำนวนในเช็คมีมูลหนี้มาจากเจ้าหนี้ซึ่งมีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้ชำระหนี้ดังกล่าวแทนลูกหนี้ไปแล้วก่อนวันที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายเรื่องก่อนของศาลจังหวัดนนทบุรี และเจ้าหนี้มิได้นำหนี้ดังกล่าวไปขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จนกระทั่งศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายของลูกหนี้ ซึ่งการประนอมหนี้ดังกล่าวผูกมัดเจ้าหนี้ทั้งหมดในเรื่องหนี้ซึ่งอาจขอรับชำระหนี้ได้ แต่ก็มีผลผูกพันหนี้เดิมของเจ้าหนี้ที่ได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้นั้นและมีผลให้ลูกหนี้หลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวเท่านั้น แต่ภายหลังลูกหนี้หลุดพ้นจากภาวะล้มละลายแล้ว ลูกหนี้ได้ทำหนังสือพิพาทให้แก่เจ้าหนี้โดยตกลงยอมชำระหนี้เงินต้นจำนวนในเช็ค 22,750,000 บาท ที่ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่จริงและลูกหนี้ยังมิได้ชำระคืนให้แก่เจ้าหนี้หนังสือพิพาทดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำขึ้นด้วยความสมัครใจมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์กับเจ้าหนี้ว่าจะใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้และมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมาย มิใช่เป็นเอกสารรับสภาพหนี้ตามเช็คธนาคาร ท. ที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ในระหว่างที่ลูกหนี้ยังอยู่ในภาวะล้มละลายอันเป็นการกระทำเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 24 ซึ่งตกเป็นโมฆะไม่ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามหนังสือพิพาทเป็นเงินต้น 22,750,000 บาท
ส่วนข้อตกลงเกี่ยวกับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะชำระให้แก่เจ้าหนี้อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับจากวันที่ 24 เมษายน 2532 จนกว่าจะชำระเสร็จ เป็นข้อตกลงให้ดอกเบี้ยย้อนหลังแก่เจ้าหนี้ไปถึงวันที่ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่เจ้าหนี้เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2532 ซึ่งอยู่ในระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในภาวะล้มละลาย ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการถือเอาเช็คที่ลูกหนี้สั่งจ่ายมอบให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นโมฆะมาเป็นมูลเรียกดอกเบี้ยจากลูกหนี้ ข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยส่วนนี้ จึงตกเป็นโมฆะเช่นกันและตามพฤติการณ์แห่งกรณี คู่กรณีมีเจตนาจะให้ส่วนเงินต้นที่ลูกหนี้จะใช้คืนให้แก่เจ้าหนี้จำนวน 22,750,000 บาท ที่สมบูรณ์แยกออกจากข้อตกลงในเรื่องดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินต้น 22,750,000 บาท นับจากวันที่ 15 สิงหาคม 2542 อันเป็นวันครบกำหนดตามหนังสือพิพาทจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังล้มละลาย: หมดอายุบังคับคดี แต่ยังมีสิทธิจำนอง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม การที่ผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 กำหนดไว้ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7732/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้มีประกันหลังล้มละลาย: การบังคับชำระหนี้จากทรัพย์จำนอง แม้สิทธิบังคับคดีตามคำพิพากษาหมดอายุ
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดทำให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่เพียงผู้เดียวมีอำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 แต่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีประกันในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินอันเป็นหลักประกัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 110 วรรคสาม การที่ผู้ร้องมิได้ดำเนินการบังคับคดีจนล่วงเลยระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271 กำหนดไว้ ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิในการบังคับคดีในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวแต่ผู้ร้องก็ยังมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ในฐานะผู้รับจำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 745 ในหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระเป็นเวลา 5 ปี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์จำนองของจำเลยออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้แก่ผู้ร้องไม่เกินในจำนวนเงินดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 95

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากโจทก์ประเมินราคาทรัพย์สินหลักประกันไม่ครบถ้วน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้เป็นบุคคลล้มละลายโดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษามาฟ้อง และหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ให้ยึดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 ออกขายทอดตลาดชำระหนี้ ดังนั้น แม้ว่าจำเลยที่ 3 จะอุทธรณ์แต่เพียงผู้เดียว แต่เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดนั้นเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ตลอดจนโจทก์ขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาด ก็โดยสาเหตุที่จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ด้วยนั้น กรณีจึงมีความเกี่ยวพันกัน และศาลฎีกาเห็นควรวินิจฉัยคำฟ้องโจทก์ในส่วนจำเลยที่ 1 ก่อน
การที่โจทก์ฟ้องโดยตีราคาทรัพย์หลักประกันของจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1,806,000 บาท ตามสำเนาบัญชีราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินซึ่งในการประเมินราคาทรัพย์จำนองที่มีที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อนำมาพิจารณาว่าเมื่อหักกับหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท หรือ 2,000,000 บาท ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) หรือไม่นั้น โจทก์ต้องตีราคาทั้งที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การที่ทรัพย์จำนองเป็นที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น แต่โจทก์ประเมินมาเฉพาะราคาที่ดินอย่างเดียว กรณีจึงถือว่าโจทก์ปกปิดทรัพย์หลักประกันซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้างอันอยู่บนที่ดิน เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ประเมินทรัพย์จำนองให้ครบถ้วน คำฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 10 (2) และเมื่อกรณีไม่อาจพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ได้ เนื่องจากฟ้องโจทก์ไม่ชอบแล้ว กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 89 ได้
โจทก์ตีราคาทรัพย์หลักประกันเฉพาะที่ดินโดยปกปิดไม่ได้ตีราคาสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ 4 ชั้น ทรัพย์จำนองมาด้วย และจำเลยทั้งสามก็โต้แย้งว่าทรัพย์จำนองดังกล่าวนั้นมีราคาประเมินรวมประมาณ 13,000,000 บาท ประกอบกับคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย ศาลก็เพิ่งพิพากษาคดีแพ่งก่อนฟ้องคดีล้มละลายเป็นเวลาเพียง 8 เดือนเศษ โจทก์ยังสามารถที่จะนำคำพิพากษาคดีแพ่งไปบังคับแก่จำเลยที่ 2 ได้อยู่ และจำเลยที่ 2 ก็ยังประกอบธุรกิจต่างๆ มีรายได้ที่จะมาชำระหนี้แก่โจทก์ กรณียังมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7128-7131/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจถอนฟ้องคดีอาญาของบริษัทล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจจัดการแทน
แม้ศาลล้มละลายกลางจะพิพากษาให้บริษัท อ. ล้มละลายแล้วก็ตาม แต่บริษัท อ. ก็สามารถเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นคดีอาญาในฐานความผิดยักยอก รับของโจร และความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 โดยขอให้ลงโทษทางอาญาแต่เพียงอย่างเดียว มิได้มีคำขอบังคับในส่วนแพ่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายมาด้วย จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (3) ที่โจทก์จะต้องดำเนินการโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ อีกทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 ก็มิได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือล้มละลายด้วย กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ. โจทก์จึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยที่ 4 ได้
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่สำนวนเอง คดีอยู่ในระหว่างไต่สวนมูลฟ้องโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง แล้วให้ศาลชั้นต้นยกคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 และที่ 4 ทั้งสี่สำนวนขึ้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แม้จำเลยที่ 4 จะฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องสิ้นผลไปแล้ว ถือได้ว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะพิจารณาสั่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการบังคับคดีหลังการพิทักษ์ทรัพย์: ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถใช้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้
แม้ผู้ถูกทวงหนี้มิได้ปฏิเสธหนี้เป็นหนังสือไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งถือว่าเป็นหนี้เด็ดขาดตามกฎหมาย และต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้นำสิทธิเรียกร้องดังกล่าวออกขายโดยวิธีประมูลซึ่งผู้ร้องเป็นผู้ซื้อได้ แต่การขอออกคำบังคับ การขอออกหมายบังคับคดี และการขอให้ศาลมีคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินของผู้ถูกทวงหนี้ไว้ชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งในเรื่องนี้นั้นเป็นอำนาจเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวในการเก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 119 ประกอบมาตรา 22 (2) ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาจากลูกหนี้จึงมีเพียงสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าซื้อพิพาทที่จะดำเนินการทวงถามและฟ้องร้องดำเนินคดีแก่ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกันในทางแพ่งต่อไป แต่ไม่อาจขอเข้าสวมสิทธิอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้
of 192