คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กฎหมายอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1292/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หลักการใช้กฎหมายอาญาที่แตกต่างกันตามช่วงเวลา และการเลือกใช้กฎหมายที่เป็นคุณแก่จำเลย
การใช้กฎหมายส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 3 นั้น ต้องพิจารณาทั้งโทษสูงและโทษต่ำ เช่น ถ้าจะลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสถ้าจะลงโทษจำคุกเกิน 7 ปี ซึ่งจะลงได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 เช่นนี้ ต้องใช้ มาตรา 256 เพราะลงโทษจำคุกได้ไม่เกิน 7 ปี แต่ถ้าจะลงโทษต่ำกว่า 2 ปีลงมา (ถึง 6 เดือน) ต้องใช้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297เพราะบัญญัติให้ทำได้
แต่ถ้าการวางโทษอยู่ในระดับที่ใช้กฎหมายลักษณะอาญาก็ได้หรือใช้ประมวลกฎหมายอาญาก็ได้ เช่นนี้ควรใช้กฎหมายลักษณะอาญา อันเป็นกฎหมายในขณะทำผิด
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2500)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1109/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแห่นาคไม่ถึงขั้นเป็นพิธีกรรมทางศาสนาตาม ม.173 อาญา
การแห่นาคไปวัดเพื่อจะทำการอุปสมบท เป็นการกระทำตามประเพณีนิยมของชนบางหมู่ยังไม่ถึงขั้นกระทำพิธีกรรมทางศาสนา ตามความหมายใน ม.173

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 784/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาในการกระทำความผิดฐานใช้แสตมป์ปลอม และข้อยกเว้นความรับผิดตามกฎหมายอาญา ม.43
ก.ม.อาญา ม.43 ถือว่า++ใดกระทำการใดลงโดย++จึงจะเอาโทษ หากระทำโดยมิได้เจตนาแล้วก็บัญญัติไม่เอาและหลัก ก.ม.ในข้อในี้ใช้ครอบครอง พ.ร.บ.ภาษีและเครื่องดื่ม พ.ศ.2495 ด้วยตามที่บัญญัติไว้ใน ม.11 ก.ม.อาญา ดังนั้นการที่จำเลยเจ้าของโรงงานน้ำอัดลมและปรากฏว่าขวดน้ำโซดาได้ปิดแสตมป์++ออกไปจากโรงงานของจำเลย หากยังมีทางสงสัยว่าจำเลยอาจได้แสตมป์นี้มาโดยสุจริตไม่รู้ว่าเป็นของปลอมแล้วจำเลยก็ไม่มีความผิดฐานมีและใช้แสตมป์เครื่องดื่มปลอม.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายกับผู้กระทำผิดซ้ำ ไม่ขัดต่อกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.กักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้าย เป็น ก.ม.พิเศษใช้กับผู้กระทำผิดทางอาญาถูกจำคุกหลายครั้งไม่เข็ดหลาบหาขัดกับ ก.ม.อาญา ม.25 ไม่ ศาลย่อมยกขึ้นใช้ปรับบทแก่จำเลยในกรณีเช่นนี้ได้ ทั้งไม่ขัดต่อ ก.ม.รัฐธรรมนูญแต่อย่างใด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้กฎหมายกักกันผู้กระทำผิดซ้ำเพื่อเพิ่มโทษจำคุก ไม่ขัดต่อกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติกักกันผู้มีสันดานเป็นผู้ร้ายเป็น กฎหมายพิเศษใช้กับผู้กระทำผิดทางอาญาถูกจำคุกหลายครั้งไม่เข็ดหลาบหาขัดกับกฎหมายอาญา มาตรา 25 ไม่ ศาลย่อมยกขึ้นใช้ปรับบทแก่จำเลยในกรณีเช่นนี้ได้ ทั้งไม่ขัดต่อ กฎหมายรัฐธรรมนูญแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายบท vs. หลายกระทง และการเพิ่มโทษตามกฎหมายอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษและเพิ่มโทษตาม กฎหมายลักษณะอาญามาตรา 73 แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่าจะต้องเพิ่มโทษจำเลยตาม มาตรา 72 ศาลก็เพิ่มโทษจำเลยตาม มาตรา 72 ได้ไม่เป็นการเกินคำขอ
จำเลยทำการชิงทรัพย์และได้ทำให้ทรัพย์ของเจ้าทรัพย์เสียหายด้วยเมื่อปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเกิดขึ้นในสถานที่เดียวกันในเวลาติดต่อเนื่องกันด้วยเจตนามุ่งหวังในทรัพย์ไม่ขาดตอนกันเช่นนี้การกระทำของจำเลยถือว่าเป็นความผิดหลายบทไม่ใช่หลายกระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 523/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'เจ้าพนักงาน' ของพนักงานรายวัน: การแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจรับงานไม่ทำให้เป็นเจ้าพนักงานตามความหมายกฎหมายอาญา
ได้ความตามทางพิจารณาว่าจำเลยทั้ง 3 เป็นพนักงานรายวันของกรมทางหลวงแผ่นดิน กระทรวงคมนาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการตรวจรับหินซึ่งผู้รับเหมานำส่งแล้วรายงานจำนวนหินไม่ตรงกับความจริงเช่นนี้ไม่ถือว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่ง กฎหมายลักษณะอาญา จำเลยจึงไม่มีความผิดตามม.230ที่โจทก์ฟ้อง
โดยปกติจะถือว่าผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานผู้นั้นต้องเป็นข้าราชการตามกฎหมายเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษให้เป็นเจ้าพนักงานดังเช่นพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496มาตรา 44 บัญญัติว่าให้พนักงานเทศบาลมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความหมายแห่ง กฎหมายลักษณะอาญาเป็นต้นและใน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2495 มาตรา17 ซึ่งบัญญัติถึงข้าราชการพลเรือนว่ามีอยู่ 7 ประเภทก็ไม่กินความถึงจำเลยทั้งสามคนนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงินเดือนหากเป็นเพียงพนักงานรายวัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ของสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ต้องพิจารณาเจตนาและหลักเกณฑ์ตามกฎหมาย
คำว่า "สามีภรรยา" ตาม ก.ม. อาญา ม.54 ก.ม.มิได้บัญญัติไว้ว่าพฤติการณ์เช่นไร ก.ม.อาญายอมรับนับถือว่าเป็นสามีภรรยากันฉนั้นโดยปกติต้องอาศัย ป.พ.พ. ที่ใช้อยู่ในขณะทำผิดเป็นหลักกล่าวคือต้องได้มีการจดทะเบียนสมรสแล้ว
ชายหญิงที่ได้เสียกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสแล้วภายหลังฝ่ายหนึ่งเอาทรัพย์ของอีกฝ่ายหนึ่งไป ดังนี้ต้องอาศัยเจตนาเป็นหลักว่ามีเถยจิตลักทรัพย์หรือไม่
เมื่อจำเลยไม่ใช่สามีตาม ม.54 และในเรื่องเจตนานี้ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่าจำเลยเจตนาลักทรัพย์แล้ว ฎีกาของจำเลยในเรื่องว่าไม่มีความผิดตาม ม.54 ในข้อนี้จึงเป็นฎีกาคัดค้านข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ป.วิ.อาญา ม.220.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความประมาทของผู้ขับขี่ การกระทำผิดตาม ม.43 ไม่เชื่อมโยงโดยตรงกับอุบัติเหตุ
ในคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานขับรถชนคนตายโดยประมาทนั้น แม้คดีจะได้ความว่าจำเลยขับขี่รถยนต์โดยไม่มีใบอนุญาตให้ขับขี่ได้ ซึ่งตาม ก.ม.อาญา ม.43 ถือว่าผู้ฝ่าฝืน ก.ม.เช่นนี้กระทำการโดยประมาทก็ตาม แต่การที่จะลงโทษจำเลยฐานทำให้คนตายโดยประมาทตามฟ้องนั้น คดีจะต้องได้ความด้วยว่าเนื่องจากจำเลยกระทำฝ่าฝืน ก.ม.นี้เป็นเหตุให้รถยนต์ชนผู้ตายถึงแก่ความตาย
เมื่อคดีนี้ได้ความว่าจำเลยขับรถเป็นขณะเกิดเหตุจำเลยขับรถโดยเรียบร้อย แขนลีบที่กล่าวในฟ้องว่าใช้การไม่ได้ก็ได้ความว่าไม่ถึงกับใช้แขนนั้นไม่ได้เสียทีเดียว ทั้งเป็นความผิดของผู้ตายเอง การตายมิได้เกิดขึ้นเพราะความประมาทของจำเลย ดังนี้ลงโทษจำเลยตาม ม.252 ไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1617/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบทะเบียนรถไม่ใช่หนังสือสำคัญตามกฎหมายอาญา มาตรา 6(20) การปลอมแปลงจึงไม่เข้าข่ายความผิดฐานปลอมแปลงหนังสือสำคัญ
ในทะเบียนยานพาหนะล้อเลื่อนเป็นเพียงหนังสือราชการเท่านั้นมีไว้เพื่อความสดวกในการควบคุมของเจ้าพนักงานและพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้มุ่งหมายให้เป็นสำคัญแก่การตั้ง เปลี่ยนแก้ หรือเลิกล้างโอนกรรมสิทธิหรือหนี้สินแต่ประการใดไม่ จึงไม่ใช่หนังสือสำคัญตาม ก.ม.อาญา ม.6(20)
เมื่อจำเลยปลอมใบทะเบียนยานพาหนะล้อเลื่อนจะลงโทษตาม ม.225 ไม่ได้
ปัญหาเรื่องการรอการลงโทษจำเลยหรือไม่นี้เกี่ยวกับดุลยพินิจของศาลอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงคู่ความจะฎีกาไม่ได้ตาม ป.วิ.อาญา ม.220.
of 40