คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อจำกัด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่และการเรียกร้องค่าเสียหายที่รวมอยู่ในคำฟ้องเดียวกัน
ในคดีฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายจำนวน135,433บาทพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกเดือนละ50,000บาทนับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์เมื่อโจทก์มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้อย่างเอกเทศในข้อหาอื่นคงเรียกมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์เท่านั้นเมื่อได้ความว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์ให้เช่าที่ดินพิพาทไม่เกินเดือนละ2,000บาทจึงเป็นคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์/ฎีกาในคดีบุกรุกและคดีมีทุนทรัพย์แยกจากกัน
โจทก์ฟ้องว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันบุกรุกทำให้เสียหาย หากนำไปให้บุคคลอื่นเช่าจะได้ค่าเช่าปีละ 24,000 บาทจำเลยทั้งเจ็ดให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต่างแยกการครอบครอง ดังนั้นคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 6 และที่ 7 จึงเป็นคดีฟ้องขับไล่บุคคลใด ๆ ออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าหรืออาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท ในขณะยื่นฟ้อง ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ส่วนคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 3 และที่ 5 รวมกันมา ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 5 จะยื่นคำให้การรวมกันมาในคำให้การเดียวกันก็ตาม แต่ที่ดินพิพาทในส่วนของจำเลยที่ 3 และที่ 5 ซึ่งพิพาทกับโจทก์แยกต่างหากจากกัน เพราะฉะนั้นค่าขึ้นศาลสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 ต้องคิดแยกต่างหากจากกันด้วย เมื่อที่ดินพิพาทในส่วนที่จำเลยที่ 3 และที่ 5 พิพาทกับโจทก์มีราคา 111,199.25 บาท และ52,037.58 บาท ตามลำดับ คดีสำหรับจำเลยที่ 3 และที่ 5 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาของแต่ละคนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4980/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าห้าหมื่นบาท
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยโดยยกคำเบิกความของพยานโจทก์ จำเลยขึ้นวินิจฉัยประกอบกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการเดินเผชิญสืบ เป็นการวินิจฉัยพยานที่ปรากฏในสำนวนแล้ว
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท จึงห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในข้อเท็จจริงโดยอ้างว่าต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับรองให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยก็ฎีกาในข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะเมื่อต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4931-4933/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องการมอบอำนาจ และการครอบครองปรปักษ์เป็นเหตุให้ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยที่4และที่5ให้การแต่เพียงว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์และโจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินขึ้นเองโดยไม่สุจริตเท่านั้นจำเลยที่4และที่5หาได้ให้การว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือมอบอำนาจให้ช. เป็นตัวแทนของโจทก์เพื่อทำสัญญาเช่าที่พิพาทและกรณีไม่อาจแปลความได้ว่าจำเลยที่4และที5ได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาข้อนี้ไว้แล้วถือได้ว่าปัญหาดังกล่าวจำเลยที่4และที5ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นทั้งมิได้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามมาตรา249แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทซึ่งให้จำเลยเช่าต่อมาไม่ประสงค์ให้จำเลยที่4และที่5และที่6อยู่ในที่ดินดังกล่าวขอให้บังคับจำเลยออกจากที่พิพาทจำเลยให้การว่าจำเลยที่4ที่5และที่6ครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์แล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยและพิพากษาว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทแทนโจทก์จึงตรงตามประเด็นที่ว่าจำเลยแต่ละคนได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382หรือไม่แล้วหาขัดต่อมาตรา142แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 และ 242: ทุนทรัพย์เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์อุทธรณ์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 คืนของหมั้นเป็นเงิน10,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกันคืนสินสอดเป็นเงิน 50,000 บาทหนี้ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 สามารถแยกออกจากหนี้ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นคนละส่วนกันได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์แต่ละส่วนไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ที่ศาลอุทธรณ์รับพิจารณาเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242 (1) จำเลยทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการยกข้ออ้างในชั้นฎีกา: ประเด็นที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
แม้จำเลยที่ 2 จะให้การว่าโจทก์ไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเนื่องจากผู้เอาประกันภัยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยที่ 2แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยในประเด็นนี้ให้ จำเลยที่ 2ก็ไม่ได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ จึงยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาไม่ได้ เพราะเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธี-พิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีผสมทุนทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องจำนวนเงินทุนทรัพย์และเจตนาการเช่าเริ่มต้นจากสัญญาจอง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขับไล่พร้อมกับเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระจากจำเลยถือได้ว่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ส่วนหนึ่งกับคดีมีทุนทรัพย์อีกส่วนหนึ่งปนกันมาดังนี้จะอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้หรือไม่ต้องแยกจากกันถ้าหากอุทธรณ์ประเด็นเรื่องขับไล่ต้องพิจารณาว่าค่าเช่าเกินเดือนละ4,000บาทหรือไม่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยมีอัตราค่าเช่าห้องละ200บาทต่อเดือนจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสองส่วนที่ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระนั้นต้องพิจารณาว่าเกิน50,000บาทหรือไม่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเช่าเป็นเงิน28,320บาทแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องเป็นจำนวนเงิน51,600บาทจึงเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนเงิน23,280บาทเท่านั้นดังนั้นคงเหลือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมาในชั้นอุทธรณ์มีจำนวนไม่เกิน50,000บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวเช่นกัน สัญญาจองอาคารข้อ5ระบุว่าเมื่อผู้รับจองทำการก่อสร้างอาคารที่จองแล้วเสร็จผู้จองต้องเสียค่าอาคารและค่าบำรุงให้แก่ผู้รับจองตั้งแต่นั้นเป็นต้นไปดังนี้เจตนาของผู้จองและผู้รับจองหรือผู้เช่ากับผู้ให้เช่ามีเจตนาให้ผู้ที่จองอาคารได้อยู่ในอาคารเมื่อทำการก่อสร้างอาคารเสร็จแล้วและนับแต่อาคารที่ให้จองสร้างเสร็จโจทก์ในฐานะผู้รับจองหรือผู้ให้เช่าก็จะเรียกเก็บค่าเช่ากับค่าบำรุงจากผู้จองอาคารหรือผู้เช่าในทันทีจำเลยทำสัญญาจองอาคารแล้วให้ ส.เข้าอยู่ในอาคารที่จองทันทีหากจะนับระยะเวลาการเช่าโดยเริ่มนับตั้งแต่โจทก์จำเลยทำสัญญาเช่ากันตามสัญญาข้อ4ก็ไม่เป็นการแน่นอนว่าจะทำสัญญากันได้เมื่อใดเพราะเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราเช่าที่ดินพิพาทแปลงนี้จากกรมธนารักษ์ซึ่งต่อมาเกิดมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างกรมธนารักษ์กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ต้องรอผลชี้ขาดถึงที่สุดก่อนจึงจะสามารถทำสัญญาเช่าต่อกันได้เมื่อจำเลยให้ส. เข้าอยู่ในอาคารที่จองและเสียค่าเช่าให้แก่โจทก์ตลอดมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า10ปีจนกระทั่งโจทก์มาฟ้องขับไล่พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์และจำเลยไม่ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่จะทำสัญญาเช่าต่อกันหรือไม่ข้อสำคัญน่าจะถือการเข้าอยู่ในอาคารที่จองด้วยเจตนาที่จะให้มีอายุการเช่า20ปีการทำสัญญาจองอาคารไว้โดยยังไม่ทำสัญญาเช่าต่อกันแต่ผู้จองและผู้รับจองก็ได้ปฏิบัติเสมือนหนึ่งมีการเช่าทรัพย์แล้วจึงต้องถือเจตนาของคู่สัญญาเป็นข้อสำคัญอายุการเช่าจึงสมควรเริ่มนับแต่วันที่ทำสัญญาจองอาคารพิพาทเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์, ข้อจำกัดการอุทธรณ์, ความรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย, ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ทุนทรัพย์ของคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ใน ปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224ซึ่งแก้ไขใหม่ให้คิดคำนวณ ทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์ มิใช่ทุนทรัพย์ที่ว่ากล่าวกันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นทั้งจะนำดอกเบี้ยนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันอุทธรณ์มารวมคำนวณเข้าด้วยไม่ได้ โจทก์เป็นผู้นั่งโดยสารมากับรถจักรยานยนต์ของ ต. ซึ่งขับรถชนกับรถของจำเลยโดยประมาณมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยจำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เต็มจำนวนโดยไม่อาจแบ่งความรับผิดให้แก่โจทก์ได้และปัญหานี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา: ค่าเสียหายหลังวันฟ้องถือเป็นค่าเสียหายในอนาคต ไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและบริวารออกจากโกดังพิพาทไปแล้วเมื่อวันที่15มีนาคม2533จึงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คิดถึงวันที่14มีนาคม2535โจทก์ฎีกาว่าจำเลยและบริวารเพิ่งออกไปเมื่อวันที่19พฤษภาคม2535ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายระหว่างวันที่15มีนาคม2533ถึงวันที่14พฤษภาคม2535ด้วยคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวเมื่อค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้องจึงเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ด้วยไม่ได้ต้องถือว่าจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3248/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีอาญาที่มีอัตราโทษจำกัดตามกฎหมาย
เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ.มาตรา 371 ที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษนั้น อัตราโทษอย่างสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 193 ทวิ การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งหมดรวมถึงอุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงสำหรับข้อหาความผิดตามมาตรา 371 ด้วย โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในอุทธรณ์ว่ามีเหตุอันควรที่ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยตามที่ ป.วิ.อ.มาตรา193 ตรี บัญญัติไว้ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในข้อหาความผิดดังกล่าว ความผิดในข้อหาดังกล่าวย่อมยุติเพียงศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 หาได้ไม่ เพราะมิใช่กรณีฎีกาของจำเลยต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 218, 219 และ 220 การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาทั้งหมดจึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกา
of 55