พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม: การซื้อขายที่ดินพิพาทและข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินซึ่งจำเลยซื้อจากโจทก์กับค่าเสารั้วซึ่งจำเลยให้โจทก์ทดรองจ่ายไปก่อนจำเลยให้การว่า จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายเนื่องจากโจทก์หลอกลวงว่าเป็นเจ้าของที่ดิน ต่อมาเมื่อจำเลยทราบว่าเป็นของ อ.และอ. จะดำเนินคดีแก่โจทก์ โจทก์จำเลยและ อ.จึงตกลงให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินแก่อ.ทั้งโจทก์ต้องชำระค่าเสียหายให้แก่ อ. อีก 50,000 บาทจึงขอให้จำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแทนไปก่อน จำเลยไม่มีความผูกพันกับโจทก์อีกต่อไป ขอให้ยกฟ้องและให้โจทก์ชำระเงิน 50,000 บาทแก่จำเลย แม้ฟ้องแย้งของจำเลยเป็นการเรียกร้องให้โจทก์คืนเงินซึ่งจำเลยชำระให้แก่ อ. แทนโจทก์เนื่องจากการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทก็เป็นประเด็นสืบเนื่องมาจากการซื้อขายที่ดินรายเดียวกัน จึงมีความเกี่ยวพันกันฟ้องแย้งจึงเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 865/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงจดทะเบียนหย่ามีผลเมื่อทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลแล้ว การบังคับสัญญาจึงยังไม่เกิดขึ้น
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะไปจดทะเบียนหย่าในวันที่ระบุหลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลที่โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยไว้ก่อนแล้วถือว่าข้อตกลงนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อนดังนั้นเมื่อยังมิได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันที่ศาลซึ่งมิใช่เป็นเพราะจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเรื่องจดทะเบียนการหย่าจึงยังไม่มีผลใช้บังคับโจทก์จะบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการหย่ากับโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8123/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้บริการ: การตีความฐานภาษีที่ถูกต้องเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อตกลง
โจทก์ทำสัญญารับจ้างทำของหรือสัญญาให้บริการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 และประมวลรัษฎากรมาตรา 77/1(10) ข้อตกลงระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยชำระราคาค่าจ้างให้แก่โจทก์ 3 งวด จากจำนวนเงินค่าจ้างทั้งหมด 5,950,000 บาท เป็นเงินงวดละ 1,983,333.33 บาทต่อมาแม้โจทก์จะได้ตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่โดยให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรข้อตกลงดังกล่าวต่างกับสัญญาที่ทำไว้เดิม โดยระบุให้การสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าและเป็นผู้ชำระราคาซี.ไอ.เอฟ. จำนวน 1,655,641 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม115,894 บาท ตามหลักฐานของกรมศุลกากรก็ตาม แต่โจทก์ก็รับว่าเงินจำนวนดังกล่าวโจทก์เป็นผู้ชำระแทนการสื่อสารแห่งประเทศไทยโดยโจทก์ยังคงรับเงินค่าจ้างจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในงวดแรกเป็นจำนวนเงิน 1,983,333.33 บาท ตรงตามสัญญาเดิม จึงต้องถือว่าโดยพฤตินัยการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าตราไปรษณียากรแทนโจทก์ซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระราคาค่าสินค้าตราไปรษณียากรพร้อมค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนเงินตามหลักฐานที่กรมศุลกากรออกให้อยู่นั้นเอง จึงเห็นได้ว่าจำนวนเงินที่ว่านี้มิใช่ราคาค่าจ้างหรือค่าบริการที่โจทก์ได้ทำการตกลงกับการสื่อสารแห่งประเทศไทยใหม่ แต่ฟังได้ว่าโจทก์ได้รับเงินค่าจ้างหรือค่าบริการในการนำเข้าตราไปรษณียากรจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยในครั้งนี้เป็นเงิน 1,983,333.33 บาทตรงตามสัญญา เงินจำนวนนี้จึงเป็นมูลค่าที่โจทก์ได้รับจากการให้บริการ ซึ่งเป็นฐานภาษีสำหรับการให้บริการที่โจทก์จะต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีขาย) จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้รับบริการคิดเป็นภาษีขายจำนวน 138,833.33 บาท ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 79และมาตรา 82/4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของกรรมสิทธิ์ที่ดิน: ไม่เป็นการแก้ไขเอกสาร, ข้อตกลงไม่จดทะเบียน
สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระบุว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อ การที่โจทก์จะนำสืบว่า จำเลยทำแทนหรือถือกรรมสิทธิ์แทนก็เพื่อแสดงถึงความเป็นมาอันแท้จริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ส. จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินแทน ส. การนำสืบเช่นนี้เป็นการนำสืบถึงการเป็นตัวการตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารไม่ กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า บันทึกข้อตกลงตามเอกสารหมาย จ.4เป็นคำมั่นจะให้ ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จึงจะบังคับได้นั้น จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7498/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซื้อที่ดินเป็นการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน สิทธิเรียกร้องเงินลงทุนต้องรอการชำระบัญชี
ข้อตกลงโครงการซื้อที่ดินระหว่างผู้เริ่มโครงการและผู้ลงทุนระบุว่าเป็นโครงการจัดหาซื้อที่ดินเพื่อขายเอากำไร โดยมีผู้ร่วมดำเนินการคือโจทก์ จำเลยและจำเลยร่วม โจทก์และจำเลยร่วมลงทุนเป็นเงิน ส่วนจำเลยเป็นผู้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินและดำเนินการออกโฉนดที่ดินที่ซื้อได้ เมื่อขายที่ดินดังกล่าวได้แล้วให้จ่ายเงินคืนแก่ผู้ออกเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันชำระเงินซื้อที่ดินจนถึงวันขายที่ดินได้ และจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่าง ๆ หากมีเงินเหลือซึ่งเป็นกำไรก็จะจัดการแบ่งกันในระหว่างผู้ร่วมกันดำเนินการทุกคนดังนี้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยและจำเลยที่ 2 จึงเป็นสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน หาใช่เป็นสัญญาร่วมลงทุนไม่ และเมื่อห้างหุ้นส่วนดังกล่าวยังไม่เลิกกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1055,1056 และ 1057 จึงยังไม่ได้จัดการชำระบัญชีตามมาตรา 1061 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินที่ร่วมลงทุนในห้างหุ้นส่วนจากหุ้นส่วนคนอื่น ๆ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง: ศาลแรงงานถือผลคำพิพากษาคดีอาญา
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะ โดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 138 วรรคหนึ่งประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ.อาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิดดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิดดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง ศาลต้องถือตามข้อตกลงหากคำพิพากษาคดีอาญาตรงกับข้อตกลง
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะโดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7339/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงให้ผลคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีแพ่ง: ศาลต้องถือตามข้อตกลง ไม่ใช่แค่ข้อเท็จจริงในคำพิพากษา
คดีนี้คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาคดีอาญาเป็นข้อแพ้ชนะโดยตกลงกันว่า หากคดีดังกล่าวศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 คดีนี้ไม่มีความผิดและยกฟ้อง ให้ถือว่าจำเลยทั้งสองในคดีนี้พ้นจากความรับผิด แต่หากศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้มีความผิดตามข้อกล่าวหา จำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันรับผิดชำระเงินเต็มตามฟ้องแก่โจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่คู่ความตกลงกันในประเด็นแห่งคดีมาเป็นข้อแพ้ชนะในคดีนี้ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 หาใช่เป็นกรณีที่การวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ไม่
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คดีอาญาที่คู่ความท้ากัน ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ที่นำสืบมายังไม่มั่นคงเพียงพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้แสดงว่าตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว ศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าจำเลยไม่มีความผิด ดังนี้ การที่ศาลแรงงานวินิจฉัยว่าคดีนี้ต้องถือเอาคำพิพากษาคดีอาญาของศาลในคดีดังกล่าวเป็นข้อแพ้ชนะ และฟังว่าจำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดในเงินที่สูญหายไปตามฟ้องตามคำท้านั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการและการปฏิบัติตามข้อตกลงสภาพการจ้าง มิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา(1) ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้ การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงาน ค.ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้ เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7338/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากเลิกกิจการ ไม่ถือเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม หากปฏิบัติตามข้อตกลงและกฎหมาย
กรณีที่จะไม่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมมิใช่จะมีได้เฉพาะแต่ตามที่พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1)ถึง (5) เท่านั้น กรณีอื่นนอกเหนือจากนี้ก็อาจมีได้
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างยังมีผลใช้บังคับแต่กฎหมายมาตราดังกล่าวก็ได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ว่า หากลูกจ้างกระทำการมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (1) ถึง (5) นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ ดังนี้ เมื่อกฎหมายบัญญัติให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างกระทำการมิชอบเช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าลูกจ้างจะกระทำการดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อกิจการของนายจ้างยังคงดำเนินอยู่เท่านั้น หากกิจการของนายจ้างถูกเลิกไปลูกจ้างก็ไม่อาจกระทำการเช่นนั้นได้การที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
กรณีที่นายจ้างเลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงเหตุผลของการเลิกกิจการเป็นสำคัญกับต้องพิจารณาด้วยว่าข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่ทำกันไว้มีว่าอย่างไร เพราะข้อตกลงนี้เป็นสัญญาอย่างหนึ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องปฏิบัติตาม ตลอดจนนายจ้างได้จ่ายเงินผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ลูกจ้างหรือไม่ หรือมีเหตุอื่นใดอันทำให้เห็นได้ว่าการกระทำของนายจ้างเป็นการกระทำที่ทำให้ลูกจ้างได้รับความเสียหายโดยปราศจากความชอบธรรมที่จะทำได้
ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งเป็นข้อตกลงที่โจทก์กับสหภาพแรงงานค. ทำกันไว้ มีข้อตกลงเลิกจ้างในกรณีมีความจำเป็นต้องลดคนงานหรือเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดไว้ด้วย หากมีการเลิกจ้างในกรณีดังกล่าวก็ให้นายจ้างจ่ายเงินต่าง ๆ ตามข้อตกลงให้แก่ลูกจ้าง การที่โจทก์เลิกจ้างผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดเนื่องจากโจทก์เลิกกิจการถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดดังที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดไว้เมื่อโจทก์ได้จ่ายเงินต่าง ๆ ซึ่งมีทั้งเงินที่ต้องจ่ายตามกฎหมายและตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้แก่ผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดรับไปครบถ้วน อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้เรียบร้อยแล้ว จึงไม่มีกรณีที่จะถือว่าผู้กล่าวหาทั้งสี่สิบเอ็ดได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ ดังนั้น ที่โจทก์เลิกกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม