คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีอาญา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ฟ้องคดีอาญา: เหตุอันควร, รายละเอียดในฟ้อง, และผลกระทบต่อการต่อสู้คดีของจำเลย
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องคดีอาญาภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาดก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา เหตุที่โจทก์อ้างถือได้ว่าเป็นเหตุอันควร ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่โจทก์ขอแก้จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า วันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตแก้ฟ้องหลังสืบพยาน: เหตุผลอันควรและผลกระทบต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้วโดยอ้างเหตุผลว่าคำฟ้องของโจทก์บกพร่องเกี่ยวกับวันที่เกิดเหตุเนื่องจากพิมพ์ผิดพลาด ขอแก้คำว่า เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2541 เป็นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2541 เป็นการยื่นก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และถือได้ว่าเป็นเหตุอันควรอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้เพราะอาจเกิดบกพร่องพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 ตุลาคม 2541 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิมจำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ศาลชั้นต้นชอบที่จะอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1010/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขฟ้องคดีอาญา: ศาลอนุญาตแก้ฟ้องได้หากเป็นรายละเอียดเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163กำหนดให้โจทก์ต้องขอแก้หรือเพิ่มเติมฟ้องก่อนมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ฉะนั้น การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ฟ้องภายหลังสืบพยานจำเลยไปบ้างแล้ว โดยอ้างเหตุว่าคำฟ้องโจทก์พิมพ์วันที่เกิดเหตุผิดพลาดขอแก้จากวันที่ 29 เป็นวันที่ 26 การยื่นคำร้องดังกล่าวจึงเป็นการยื่นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งความบกพร่องดังกล่าวอาจเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนั้นได้ ประกอบกับการที่โจทก์แก้ฟ้องเฉพาะวันที่ที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดนั้นเป็นการแก้รายละเอียดซึ่งต้องแถลงในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 164 ทั้งจำเลยให้การและเบิกความก็เป็นเพียงการปฏิเสธลอย ๆ ไม่ได้ให้รายละเอียดว่าวันที่ 26 จำเลยทำอะไรอยู่ที่ไหน นอกจากนี้ยังปรากฏว่าวันที่ 29ซึ่งเป็นวันที่ระบุในคำฟ้องฉบับเดิม จำเลยก็ถูกขังในเรือนจำตามหมายขังระหว่างการสอบสวนคดีนี้ กรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยหลงต่อสู้ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9273/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คดีอาญาที่ศาลแขวงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หากไม่มีการอนุญาตโดยชัดเจนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 352 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ประกอบพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญา ในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 อุทธรณ์ของโจทก์ร่วมกล่าวแต่เพียงว่า พยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วมมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามบทบัญญัติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 22 ทวิ แสดงว่าผู้พิพากษาศาลชั้นต้นที่มีอำนาจอนุญาตให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลสูงได้นั้นจะต้องบันทึกข้อความลงไว้ให้ครบหลักเกณฑ์ทั้งสองประการตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายโดยชัดเจนว่า ข้อความที่ตัดสินไปเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์ และตนอนุญาตให้อุทธรณ์ได้ดังนั้น การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีนี้ในศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมว่า รับเป็นอุทธรณ์ของโจทก์ร่วมเช่นนี้ จึงถือไม่ได้ว่ามีการอนุญาตให้โจทก์ร่วมอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8962-8968/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: คดีสินจ้างแทนบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย แม้มีการฟ้องคดีอาญาควบคู่
คดีนี้ลูกจ้างฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยจากจำเลยผู้เป็นนายจ้างเป็นการฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเนื่องจากการผิดสัญญาจ้างแรงงาน ดังนั้น แม้จำเลยต่อสู้ว่า จำเลยระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างในหนังสือเลิกจ้างแล้วว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง และฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) (4) และจำเลยเป็นโจทก์ฟ้องลูกจ้างเป็นจำเลยในคดีอาญาข้อหาลักทรัพย์ ก็ไม่มีผลให้คดีนี้กลายเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลแรงงานย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไปโดยไม่ต้องรอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับข้อพิพาทเช็ค ยุติคดีอาญาได้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่จำเป็นต้องกระทำต่อหน้าศาลหรือต่อผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเสมอไป อาจกระทำกันนอกศาลได้ เมื่อโจทก์และจำเลยสมัครใจได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย โดยมีข้อความระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างอันเป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทอีก เป็นการระงับข้อพิพาทในมูลหนี้ที่สั่งจ่ายเช็คพิพาท สัญญาประนีประนอมยอมความจึงบังคับกันได้ตามกฎหมาย มีผลทำให้สิทธิเรียกร้องหนี้ตามเช็คที่โจทก์ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและโจทก์ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว โจทก์ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพันไปทั้งฉบับ โจทก์ตกลงว่าจะไปขอถอนฟ้องคดีต่อศาลชั้นต้น ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วนไม่ ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คตามฟ้องจึงได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว คดีเป็นอันเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธิที่โจทก์จะนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 893/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันระงับมูลหนี้เช็คและการระงับสิทธิฟ้องคดีอาญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาลเป็นหนังสือระบุว่าจะไม่เรียกร้องค่าเสียหายหรือดำเนินคดีทางแพ่งเกี่ยวกับสัญญาว่าจ้างที่เป็นมูลเหตุให้จำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาทคดีนี้อีก อันเป็นการะงับข้อพิพาท จึงบังคับกันได้ตามกฎหมายไม่ต้องทำต่อหน้าศาลเสมอไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความจะมีข้อตกลงว่าหากจำเลยผิดนัดยอมให้โจทก์ดำเนินคดีอาญาต่อไปทันที และเมื่อจำเลยชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว ยอมให้หนี้ตามเช็คในคดีอาญาสิ้นผลผูกพัน โจทก์จะถอนฟ้อง ก็มิใช่เป็นเงื่อนไขบังคับก่อนที่เป็นผลให้มูลหนี้ระงับต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ครบถ้วน ดังนั้น มูลหนี้ที่ออกเช็คพิพาทจึงได้สิ้นผลผูกพันไปแล้วคดีเป็นอันเลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8868/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: พยานหลักฐานใหม่ต้องชัดเจนและมีน้ำหนักเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ โดยอ้างเหตุแต่เพียงว่า มีพยานหลักฐานใหม่ตามบัญชีพยานท้ายคำร้องที่จะแสดงชี้ชัดเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่า พยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงไม่นำมาพิสูจน์ว่าผู้ร้องมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษผู้ร้องไปแล้วได้หรือไม่ เมื่อคำร้องของผู้ร้องอ้างเหตุตาม พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2525 มาตรา 5 (3) แต่มิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งตามมาตรา 8 จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดี คำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูล ศาลชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ย่อมไม่ชอบด้วย มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีเป็นของศาลอุทธรณ์ แต่เมื่อคดีได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8868/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: คำร้องต้องระบุเหตุและรายละเอียดพยานหลักฐานใหม่ที่ชัดเจนและสำคัญต่อคดี
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่โดยอ้างเหตุตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 5(3)ซึ่งมาตรา 8 วรรคสอง บัญญัติให้คำร้องนั้นต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 โดยละเอียดชัดแจ้ง แต่ปรากฏว่าคำร้องของผู้ร้องอ้างแต่เพียงว่ามีพยานหลักฐานใหม่ตามบัญชีพยานท้ายคำร้องที่จะแสดงชี้ชัดเท่านั้น ไม่ปรากฏข้ออ้างโดยละเอียดชัดแจ้งเพื่อให้เห็นว่าพยานหลักฐานใหม่มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดจึงไม่นำมาพิสูจน์ว่าผู้ร้องมิได้กระทำความผิดตั้งแต่แรก ที่สำคัญพยานหลักฐานใหม่นั้นมีความสำคัญแก่คดีมากพอที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงผลของคำพิพากษาที่ได้พิพากษาลงโทษผู้ร้องไปแล้วได้หรือไม่ เมื่อคำร้องมิได้อ้างเหตุโดยละเอียดชัดแจ้งเช่นนี้ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ร้องมีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่มีมูลและชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวน
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนนั้น ไม่ชอบด้วยมาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนั้นเป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 2อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่าคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้วศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีคำสั่งใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8804/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาและการระบุประเด็นข้อกฎหมายที่เกินกำหนดอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง หากโจทก์เห็นว่าคำสั่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ชอบจะอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือนนับแต่วันอ่านหรือถือว่าได้อ่านคำสั่งให้โจทก์ฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 วรรคหนึ่งเมื่อโจทก์มิได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจนพ้นกำหนด 1 เดือน ย่อมต้องถือว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้นั้นเป็นอันยุติแล้ว โจทก์อุทธรณ์ฎีกาในปัญหาดังกล่าวต่อไปไม่ได้ ที่โจทก์ยื่นคำร้องครั้งหลังอ้างว่ามีเหตุสงสัยในคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คดีถึงที่สุดและคำสั่งชอบแล้ว ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งโจทก์ก็ยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นเห็นได้ว่าไม่ใช่เหตุตามกฎหมายแต่เป็นการพยายามเชื่อมโยงเหตุการณ์เพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยเรื่องถอนฟ้องซึ่งยุติไปแล้ว เท่ากับเป็นการหลีกเลี่ยงให้โจทก์สามารถอุทธรณ์ได้แม้จะพ้นกำหนดเวลาอันเป็นการไม่ถูกต้องการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ให้โจทก์เป็นการไม่ชอบและถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ฎีกาต่อไปได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้ไม่ชอบเช่นกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 312