พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คำร้องครอบครองปรปักษ์ที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาตามยอมในคดีเดิม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2549 ผู้คัดค้านทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของ ก. ได้ยื่นฟ้องผู้ร้องต่อศาลจังหวัดขอนแก่นว่า ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 เป็นของผู้คัดค้านทั้งสามที่ได้รับมรดกมาจาก ก. ขอให้ผู้ร้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเข้ามาในที่ดินของผู้คัดค้านทั้งสาม ต่อมาผู้คัดค้านทั้งสามและผู้ร้องตกลงกันได้โดยมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลจังหวัดขอนแก่นพิพากษาตามยอมเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ระบุให้มีการรังวัดเนื้อที่ดินในโฉนดเลขที่ 12730 และ 12732 ให้ได้เนื้อที่ครบตามหน้าโฉนด หากปรากฏว่ามีที่ดินเหลือจากการรังวัดให้ถือว่าส่วนที่เหลือเป็นที่ดินของผู้ร้อง คดีถึงที่สุด ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินได้ทำการรังวัดที่ดินกับมีการปักหลักเขตเรียบร้อยแล้ว การที่ผู้ร้องมาร้องขอครอบครองปรปักษ์ เป็นคดีนี้ซึ่งเป็นที่ดินที่เดียวกับที่พิพาทและมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1627/2549 ของศาลจังหวัดขอนแก่น โดยที่ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามในคดีนี้กับโจทก์และจำเลยในคดีดังกล่าวเป็นคู่ความเดียวกัน ประเด็นที่ต้องพิจารณาในคดีนี้กับคดีดังกล่าวก็เป็นประเด็นเนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องคดีนี้เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ซึ่งผู้ร้องในคดีนี้มิได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในประเด็นนี้และศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มิได้วินิจฉัยประเด็นนี้ให้แก่ผู้ร้อง การที่ผู้ร้องกลับหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาฎีกาว่า ที่ศาลจังหวัดขอนแก่นมีคำพิพากษาตามยอม หาได้เป็นการกระทบกระเทือนการครอบครองปรปักษ์ของผู้ร้องไม่ คำร้องขอของผู้ร้องไม่เป็นฟ้องซ้ำนั้น จึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 4 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15141/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้อน: การฟ้องคดีล้มละลายโดยมีคดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา
โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 มาฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางเป็นคดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ขอให้จำเลยล้มละลาย ต่อมาเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีดังกล่าว ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 สำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2552 โดยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่ง คดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 และคดีหมายเลขแดงที่ ธ.19355/2542 มาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย คำฟ้องของโจทก์ทั้งคดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 กับคดีนี้ ต่างมีประเด็นที่ต้องพิจารณาอย่างเดียวกันว่า จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว และสมควรเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ แม้ว่าโจทก์จะกล่าวอ้างมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ธ.19355/2542 เพิ่มเติมจากมูลหนี้ตามคำพิพากษาศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ธ.15035/2543 มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ แต่ก็ยังคงต้องพิจารณาในประเด็นเรื่องเดียวกันนั่นเอง เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ในวันที่ 8 ตุลาคม 2552 ขณะที่คดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ยังอยู่ระหว่างการขอถอนฟ้อง และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2552 จึงมีผลให้คดีหมายเลขดำที่ ล.10810/2552 ยังอยู่ระหว่างพิจารณา คำฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1333/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ผลคำพิพากษาผูกพัน: การฟ้องเพิกถอนนิติกรรมต้องรอผลคดีเดิมที่เกี่ยวข้องกับกรรมสิทธิ์
โจทก์ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดภูเก็ต เป็นคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 อ้างว่า ที่ดินพิพาทโฉนดตราจอง เลขที่ 169 ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน แต่จำเลยทั้งสี่ร่วมกันฉ้อฉลโจทก์โดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์บังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ แล้วจำเลยที่ 3 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกันการชำระหนี้แก่จำเลยที่ 4 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนอง แม้ในคดีนี้โจทก์จะมิได้มีคำขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่การที่ศาลจะมีคำพิพากษาคดีนี้ได้ก็ต่อเมื่อได้มีคำวินิจฉัยเสียก่อนว่า ที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลจังหวัดภูเก็ต การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามคดีหมายเลขดำที่ 198/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 303/2554 และฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองเพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นชื่อของ ส. เป็นคนละประเด็นกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ในประเด็นที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โอนที่ดินไปให้แก่บุคคลอื่นเป็นการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ กับประเด็นที่ว่าการจำนองอันเกิดจากการฉ้อฉลตามฟ้องนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยในคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไรแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามคดีหมายเลขดำที่ 198/2546 คดีหมายเลขแดงที่ 303/2554 และฟ้องคดีนี้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจำนองเพื่อให้ที่ดินกลับมาเป็นชื่อของ ส. เป็นคนละประเด็นกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ต ในประเด็นที่ว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่โอนที่ดินไปให้แก่บุคคลอื่นเป็นการฉ้อฉลโจทก์หรือไม่ กับประเด็นที่ว่าการจำนองอันเกิดจากการฉ้อฉลตามฟ้องนั้น ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงตามคำวินิจฉัยในคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดย ส. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทนหรือไม่ เมื่อศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไรแล้ว คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในคดีนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145
คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขดำที่ 1508/2543 ของศาลจังหวัดภูเก็ตหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้
ปรากฏตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสองว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างมีหน้าที่ร่วมกันและช่วยกันในการคุ้มครองดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าหัวนาหว้า ทรัพย์สินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว การดำเนินการตามหน้าที่ดังกล่าวของผู้ร้องสอดคนใดคนหนึ่งย่อมผูกพันผู้ร้องสอดอีกคนหนึ่งตามที่มีหน้าที่ร่วมกัน ผลแห่งคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 หมายเลขแดงที่ 1288/2549 ของศาลชั้นต้น ที่แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่ย่อมมีผลผูกพันถึงผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วยเช่นกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับโทษต่อจากคดีเดิม แม้ไม่มีการสืบตัวตนจำเลยในชั้นศาล แต่จำเลยยอมรับในชั้นอุทธรณ์
แม้ศาลชั้นต้นไม่ได้สอบจำเลยว่า เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ และโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏในความเรื่องนี้ก็ตาม แต่ตามอุทธรณ์ของจำเลยรับว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 6811/2550 ของศาลชั้นต้นที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ โดยศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก 3 ปี จริง ตามเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์หมายเลข 1 ถือว่าความปรากฏแก่ศาลแล้ว จึงนับโทษจำเลยต่อตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7188/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ แม้จะมีการถอนฟ้องคดีแรกแล้ว ก็ยังถือเป็นฟ้องซ้อนตามกฎหมาย
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในมูลละเมิดและประกันภัยในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 2026/2548 ของศาลจังหวัดปฐม แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องคดีก่อนเสียเพื่อไปฟ้องเป็นคดีใหม่ต่อศาลที่อยู่ในเขตอำนาจศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง ขณะที่คดีก่อนอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้ชำระหนี้ในมูลหนี้เดิมและรายเดียวกันเป็นคดีนี้ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ดังนั้น เมื่อคดีที่โจทก์ขอถอนฟ้องในคดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ต้องถือว่าคดีก่อนยังไม่ถึงที่สุด การที่โจทก์นำมูลหนี้รายเดียวกันฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีอีกจึงเป็นการฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาศาลฎีกาจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง คดีก่อนถึงที่สุดก็ตาม ก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้นกลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12124/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนและการไม่มีอำนาจฟ้อง เนื่องจากเป็นข้อพิพาทที่ควรยกขึ้นต่อสู้ในคดีเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่า โจทก์กับจำเลยต่างเป็นคู่ความเดียวกันทั้งในคดีของศาลแพ่งและศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว และอยู่ในชั้นบังคับคดี คำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ทั้งหากข้อเท็จจริงเป็นไปตามข้ออ้างของโจทก์ โจทก์ก็ชอบที่จะยกขึ้นต่อสู้ในคำให้การของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยทั้งสองคดีได้ ประกอบกับตามคำฟ้องไม่ปรากฏว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์อย่างไร การฟ้องคดีของจำเลยเป็นการใช้สิทธิในฐานะเจ้าหนี้หาใช่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ กรณีจึงไม่ได้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืน โดยเห็นว่าการที่จำเลยนำคดีมาฟ้องโจทก์เพราะเห็นว่าโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ เป็นการใช้สิทธิทางศาลที่กฎหมายกำหนดให้กระทำได้โดยชอบ จึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ไม่ และหากโจทก์เห็นว่ามูลหนี้ที่จำเลยนำมาฟ้องมีข้อบกพร่องประการใดหรือไม่มีมูลหนี้อยู่จริง หรือโจทก์มีข้ออ้างข้อเถียงประการใดที่จะทำให้โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อจำเลยแล้ว โจทก์ก็สามารถยกขึ้นต่อสู้แก้ข้อกล่าวหาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ได้อยู่แล้ว ไม่จำต้องมาฟ้องเป็นคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ จึงไม่ใช่เรื่องที่จำเลยได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ หรือโจทก์มีความจำเป็นประการใดที่จำต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกข้อความในอุทธรณ์มาทั้งสิ้นซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 7 ว่าไม่ถูกต้องหรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค 7 ควรวินิจฉัยอย่างไร จึงเป็นฎีกาไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3094/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องเรียกเงินมัดจำหลังศาลตัดสินคดีเดิมแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้ให้แก่จำเลยในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินคืนแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาและเรียกค่าเสียหายตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 894/2535 ของศาลชั้นต้น โดยไม่ปรากฏว่าได้ขอบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ด้วย ทั้งที่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในขณะฟ้อง และโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกร้องเช่นนั้นได้แม้ต่อมาคดีดังกล่าวศาลฎีกาจะมีคำพิพากษายกฟ้องคำขอที่บังคับให้จำเลยรังวัดแบ่งแยกที่ดินแก่โจทก์โดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็ได้วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ อันถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่แล้ว ทั้งต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยและเจ้าของรวมทุกคนขอให้บังคับแบ่งแยกที่ดินตามที่โจทก์ต้องการแล้วจดทะเบียนโอนที่ดินที่แบ่งแยกแก่โจทก์ตามสิทธิที่ได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกาและเรียกค่าเสียหาย แต่โจทก์ก็ไม่มีคำขอให้จำเลยคืนเงินมัดจำหากจำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ ซึ่งต่อมาคดีที่โจทก์ฟ้องใหม่นี้ ศาลชั้นต้นก็พิพากษายกฟ้องตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 4934/2542 ของศาลชั้นต้น คดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้อ้างว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา จึงถือว่าสัญญาเลิกกันและขอเงินมัดจำคืน เท่ากับศาลต้องวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีว่าจำเลยผิดสัญญาหรือไม่ซ้ำกับคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองคดีและถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และปัญหาว่าคดีโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความในหยิบยกขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8186/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหย่าซ้อน: เหตุหย่าเดียวกันกับคดีเดิมที่ยังไม่สิ้นสุด
การสมัครใจแยกกันอยู่ซึ่งเป็นมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าตามที่โจทก์อ้างในคดีก่อน เกิดเมื่อประมาณปลายปี 2539 ในคดีนี้โจทก์ก็อ้างมูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าเดียวกันที่เกิดเมื่อประมาณเดือนตุลาคม 2539 อันเป็นช่วงปลายปี 2539 เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างนั้นโจทก์และจำเลยได้กลับมาอยู่ด้วยกันแล้วสมัครใจแยกกันอยู่อีกก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ มูลเหตุแห่งการฟ้องหย่าทั้งในคดีก่อนและในคดีนี้จึงเป็นมูลเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันนั่นเอง เมื่อเป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์ได้อ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าในคดีก่อนแล้ว เหตุฟ้องหย่าในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7112/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังคำพิพากษาถึงที่สุด คดีเดิมมีผลผูกพัน ห้ามฟ้องคดีซ้ำ
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสามขอให้จดทะเบียนแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินทรัพย์มรดก ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามคนละส่วนเท่า ๆ กัน ต่อมาจำเลยทั้งสามฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขอให้เพิกถอนการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาคดีหลังจึงมีผลผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความในคดีว่าการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมและการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นไปโดยชอบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 การที่จำเลยทั้งสามยื่นคำร้องในคดีเดิมขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินออกเป็น 2 แปลง ให้เหลือเฉพาะที่ดินแปลงเดิม แล้วให้นำที่ดินออกขายทอดตลาดอีกเช่นนี้จึงเป็นการรื้อร้องกันอีกในประเด็นที่ได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดมาแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตามมาตรา 144