พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6367/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนวนทรัพย์ในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ศาลแพ่งต้องใช้ข้อเท็จจริงที่ศาลอาญาได้วินิจฉัยไว้แล้ว
ในคดีอาญา ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบในคดีดังกล่าวเกี่ยวกับจำนวนทรัพย์ที่จำเลยที่ 1 รับซื้อไว้ว่าจำเลยที่ 1ซื้อจักรเย็บผ้ายี่ห้อจุกิจำนวน8หลังและจักรโพ้งยี่ห้อซีรูบ้า จำนวน 4 หลัง รวมเป็นจักร 12 หลัง แล้วจึงวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาในการกระทำความผิดทางอาญาคดีถึงที่สุด ถือได้ว่าข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1รับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวน 12 หลัง จริงหรือไม่เป็นประเด็นโดยตรงในคดีอาญา เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวฟ้องจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่งว่า ร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าในจำนวนเดียวกับที่เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันในคดีอาญาเป็นคดีนี้อีกและมีประเด็นโต้เถียงอย่างเดียวกันว่าจำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันรับซื้อจักรเย็บผ้าของโจทก์ไว้จำนวนกี่หลัง ศาลจึงถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาแล้วในคดีอาญาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5546/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดยื่นคำให้การ-พิจารณาคดี: ผลของการทราบคดีหลังกลับจากต่างประเทศ และกำหนดเวลาการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่
แม้ในขณะถูกฟ้องและถูกบังคับคดี จำเลยจะไม่ทราบว่าจำเลยถูกฟ้องและถูกบังคับคดีเพราะขณะนั้นจำเลยเดินทางจากประเทศไทยไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่ที่เกาะฮ่องกง และเพิ่งเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งหลังจากนั้นจำเลยไปอยู่ที่ภูมิลำเนาของจำเลยที่จังหวัดระยองโดยที่จำเลยไม่เคยได้รับสำเนาคำฟ้องหมายเรียกให้ยื่นคำให้การและหมายบังคับคดีเลยก็ตาม แต่หลังจากจำเลยเดินทางกลับประเทศไทยแล้ว จำเลยทราบว่า จำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้และจำเลยต้องตกเป็นฝ่ายแพ้คดี ตามที่จำเลยและทนายความของจำเลยได้ยื่นคำแถลงขอตรวจสำนวน และขอคัดสำเนาคำฟ้องคำพิพากษาและคำสั่ง ของศาล ดังนั้น แม้เหตุที่จำเลยต้องขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา สืบเนื่องมาจากพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 208 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยเดินทางกลับมายังประเทศไทยและจำเลยทราบว่าจำเลยถูกโจทก์ฟ้องในวันที่27 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยขอตรวจสำนวนที่ศาลชั้นต้นนั้น ย่อมถือได้ว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เสียภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้สิ้นสุดลงคือนับแต่วันที่ 28 มีนาคม 2538 เป็นต้นไป การที่จำเลยเพิ่งยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 30ตุลาคม 2538 ถือว่าจำเลยยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาตามที่กฎหมายบัญญัติบังคับไว้แล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิขอให้พิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้พยานหลักฐานจากคดีอาญา และการครอบครองที่ดิน
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้ บัญญัติ เกี่ยวกับ การ รับฟัง ข้อเท็จจริง ของ คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ไว้ อย่าง ชัดแจ้ง ว่า ใน คดีแพ่ง ที่ เกี่ยวเนื่อง กับ คดีอาญา ศาล ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม ที่ ปรากฏ ใน คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา และ คำพิพากษา คดี ส่วน อาญา นั้น จะ ต้อง วินิจฉัย ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ ประการใด แล้ว จึง จะ ให้ คดี ส่วน แพ่ง ต้อง ถือ ข้อเท็จจริง ตาม นั้น ได้ คดี นี้ คำพิพากษา ศาลฎีกา ใน คดี ส่วน อาญา ยัง มิได้ ฟัง ข้อเท็จจริง เป็น ยุติ เพียงพอ ที่ จะ ถือ มา เป็น ข้อ วินิจฉัย ใน คดี ส่วน แพ่ง ได้ แต่ โจทก์ จำเลย ต่าง แถลง ไม่ติดใจ สืบพยาน และ ขอให้ ศาล ฟัง ข้อเท็จจริง ตาม พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา ศาล จึง นำ เอา ข้อเท็จจริง จาก พยานหลักฐาน ที่ โจทก์ จำเลย นำสืบ ใน คดีอาญา มา เป็น พยานหลักฐาน ใน คดี นี้ เพื่อ การ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง ดัง ที่ คู่ความ แถลงรับ กัน ได้ โดย ไม่ ถือ ตาม ผล ใน คดีอาญา แต่ วินิจฉัย ข้อเท็จจริง โดย ชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ใน คดีอาญา วันเกิดเหตุ คือ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2531 จำเลย ใช้ รถแทรกเตอร์ และ รถ แบคโฮ เข้า ไป ไถ ขุด ที่พิพาท ถือว่า จำเลย เข้า ไป แย่ง การ ครอบครอง ที่พิพาท นับแต่ วัน ดังกล่าว เมื่อ นับ ถึง วันที่ โจทก์ ฟ้อง คือ วันที่ 13 มกราคม 2532 จึง ยัง ไม่เกิน ระยะเวลา 1 ปี นับแต่ เวลา ถูก แย่ง การ ครอบครอง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์ จึง ไม่ ขาด สิทธิ ฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5393/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากคดีอาญาในคดีแพ่ง และการครอบครองปรปักษ์
ป.วิ.อ.มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้
คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยาน และขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา
วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13พฤศจิกายน 2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮเข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5340/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการฟ้องคืนสิทธิครอบครอง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการรับฟังข้อเท็จจริงของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไว้อย่างชัดแจ้งว่า ในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลต้อง ถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และคำพิพากษาคดีส่วนอาญานั้นจะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเป็นยุติประการใดแล้ว จึงจะให้คดีส่วนแพ่งต้องถือข้อเท็จจริงตามนั้นได้ คดีนี้คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีส่วนอาญายังมิได้ฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติเพียงพอที่จะถือมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีส่วนแพ่งได้ แต่โจทก์จำเลยต่างแถลงไม่ติดใจสืบพยานและขอให้ศาลฟังข้อเท็จจริงตามพยานหลักฐานในคดีอาญาศาลจึงนำเอาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่โจทก์จำเลยนำสืบในคดีอาญามาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้เพื่อการวินิจฉัยข้อเท็จจริงดังที่คู่ความแถลงรับกันได้โดยไม่ถือตามผลในคดีอาญา แต่วินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานในคดีอาญา วันเกิดเหตุคือวันที่ 7 พฤศจิกายน 2531 ถึงวันที่ 13 พฤศจิกายน2531 จำเลยใช้รถแทรกเตอร์และรถแบคโฮ เข้าไปไถขุดที่พิพาทถือว่าจำเลยเข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทนับแต่วันดังกล่าว เมื่อนับถึงวันที่โจทก์ฟ้องคือวันที่ 13 มกราคม 2532 จึงยังไม่เกินระยะเวลา1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1375 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ขาดสิทธิฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีละเมิดโดยอาศัยเหตุเดียวกันกับคดีที่ถึงที่สุดแล้ว
ในคดีก่อน โจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นคู่ความรายเดียวกัน โดยจำเลยทั้งสามเป็นจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีดังกล่าวโจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง มีหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนกลาง การขอเช่า ขอเลิกเช่า การโอนสิทธิการเช่าการขอรับเช่าสืบแทน ที่ดินและอาคารศาสนสมบัติกลางของวัดร้างและวัดมีพระสงฆ์ในส่วนกลาง คือ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียงบางจังหวัด จำเลยที่ 2ดำรงตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดผลประโยชน์ 7 ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาค มีหน้าที่ปฏิบัติและรับผิดชอบงานเกี่ยวกับการควบคุมการปฏิบัติราชการในฝ่ายให้เป็นไปด้วยดี ทำความเห็นเกี่ยวกับงานจัดประโยชน์ศาสนสมบัติกลางของวัดร้างและวัดที่มีพระสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเสนอผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติเพื่อวินิจฉัยสั่งการ จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ฝ่ายจัดการศาสนสมบัติส่วนภูมิภาคมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายใบเสร็จรับเงินของโจทก์ เมื่อวันที่ 7กันยายน 2527 พ.ได้ขอเบิกใบเสร็จรับเงินจำนวน 5 เล่ม จำเลยที่ 1 และที่ 2ได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้ พ. เป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520หมวด 1 ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เป็นผลให้ พ.ไม่นำใบเสร็จรับเงินดังกล่าวไปลงทะเบียนแต่ได้นำไปปลอมลายมือชื่อออกให้แก่ผู้เช่า แล้ว พ.นำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตนจำนวน 300,274.57 บาท จำเลยทั้งสามจะต้องรับผิดต่อโจทก์ โดยคดีดังกล่าวศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดมีใจความว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้อนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 3 จ่ายใบเสร็จรับเงิน 5 เล่ม ให้แก่ พ.โดยฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 หมวด 1ส่วนที่ 1 ข้อ 9 เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ในคดีดังกล่าวเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ในคดีนี้ การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นละเมิดต่อโจทก์ โดยเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2527 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้ร่วมกันอนุมัติด้วยวาจาให้จำเลยที่ 4 จ่ายใบเสร็จรับเงินให้แก่จำเลยที่ 1 อันเป็นการฝ่าฝืนระเบียบว่าด้วยการรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 หมวด 1 ส่วนที่ 1ข้อ 9 ข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาคดีนี้ของโจทก์จึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับข้ออ้างอันเป็นหลักแห่งข้อหาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 813/2535 ของศาลชั้นต้น ซึ่งคดีถึงที่สุดแล้ว ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีแพ่งจากความผิดอาญา และการกำหนดค่าเสียหายโดยศาล
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย ซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีนี้ด้วย คดีนี้โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เมื่อคดีอาญาดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีนี้จึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ.จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3)
ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้นำ ส.และ ม.เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอาญาเป็นพยานต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าว อีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปาก เป็นเพียงผู้ที่เข้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
เมื่อคดีนี้เป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ.จึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดอาญานั้น มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (3)
ปัญหาว่าโจทก์เสียหายเพียงใดนั้น เมื่อโจทก์และจำเลยต่างนำสืบโต้แย้งกันจนไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้เช่นนี้ ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควรได้
จำเลยไม่ได้นำ ส.และ ม.เข้าเบิกความเป็นพยานภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประกอบกับโจทก์ได้อ้างส่งคำเบิกความของพยานทั้ง 2 ปาก ที่ได้เบิกความไว้ในคดีอาญาเป็นพยานต่อศาล ซึ่งจำเลยไม่ได้โต้แย้งคัดค้านความถูกต้องของคำเบิกความดังกล่าว อีกทั้งจำเลยแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะสืบพยาน2 ปากนี้ในประเด็นเรื่องค่าเสียหาย ดังนั้นเมื่อปรากฏว่าพยานทั้ง 2 ปาก เป็นเพียงผู้ที่เข้าไปทำการรื้อถอนตึกแถวพิพาทของโจทก์ มิใช่เป็นผู้ที่ทำการซ่อมแซมตึกแถวพิพาทจึงไม่สมควรที่จะนำมาเป็นพยานในการประเมินค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยและไม่จำเป็นแก่คดีด้วย ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยดังกล่าวจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4126/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การใช้อายุความทางอาญาบังคับเมื่อมูลเหตุเกิดจากความผิดอาญา
จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกบุกรุกตึกแถวพิพาท และทำให้เสียทรัพย์โดยทุบทำลายส่วนต่าง ๆ ของตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหายซึ่งโจทก์ในฐานะผู้เสียหายได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการด้วย ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยกระทำละเมิดโดยเข้าไปครอบครองและทุบทำลายตึกแถวพิพาทได้รับความเสียหาย จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าว เมื่อคดีอาญามีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้อง คดีแพ่งจึงต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 จึงฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์
เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
เมื่อคดีแพ่งเป็นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญาจึงต้องใช้อายุความทางอาญาซึ่งยาวกว่ามาบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง ซึ่งตามบทมาตราที่จำเลยถูกฟ้องว่ากระทำผิดฐานบุกรุกโดยมีเหตุฉกรรจ์และทำให้เสียทรัพย์มีโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินห้าปี จึงมีอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3892/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานวัตถุและพยานเอกสารในคดีแพ่ง: การรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน
ภาพถ่ายบริเวณที่เกิดเหตุเป็นพยานวัตถุไม่อยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยอ้างส่งพยานหลักฐานเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 89 ไม่ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยอ้างส่งพยานหลักฐานเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3048/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และภาระการพิสูจน์ในคดีละเมิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยแจ้งขอความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาแก่พนักงานสอบสวนว่าโจทก์ร่วมกันขุดถนนริมคลองไหหลำอันเป็นถนนสาธารณะทำให้ถนนอยู่ในลักษณะอันน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่การจราจร อันเป็นความผิดและมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ทำให้โจทก์ทั้งสี่เสียหายเพราะถูกฟ้องคดีอาญา คำฟ้องของโจทก์ทั้งสี่จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งมีกำหนดอายุความทางอาญา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งภายในกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 51 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับคดีอาญาต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ร่วมกันขุดถนนสาธารณะ ความจริงโจทก์ทั้งสี่ขุดรางน้ำในที่ดินโฉนดเลขที่ 260 ของโจทก์ที่ 1 กับ บ.ทำให้โจทก์ทั้งสี่ถูกดำเนินคดีอาญา ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาทจำเลยให้การว่า ที่ดินที่โจทก์ทั้งสี่ขุดเป็นที่ดินสาธารณะไม่ใช่ที่ดินในโฉนดเลขที่ 260 โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้รับความเสียหายประเด็นข้อพิพาทจึงมีว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ทั้งสี่ขุดถนนสาธารณะนั้นเป็นความเท็จอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ โจทก์ทั้งสี่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยเพียงใด โจทก์ทั้งสี่เป็นฝ่ายกล่าวอ้างข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนเป็นความเท็จ การกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 400,000 บาท หน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงนั้นจึงตกอยู่แก่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้กล่าวอ้าง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยกระทำละเมิดโจทก์ทั้งสี่หรือไม่ ค่าเสียหายเพียงใด และกำหนดว่าภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ทั้งสี่ จึงชอบแล้ว