คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3961/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาที่ยังไม่ได้หย่า การจำหน่ายสินสมรสโดยมิได้รับความยินยอม
จำเลยที่ 1 ขายรถยนต์ซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังเป็นสามีภริยากันอยู่และไม่ปรากฏว่าได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในเรื่องทรัพย์สินนั้น จึงต้องบังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หมวด 4 ว่าด้วยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1534จะมีการแบ่งสินสมรสได้ต่อเมื่อมีการหย่ากันเท่านั้น และแม้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจำหน่ายสินสมรสไปเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวหรือในกรณีอื่นตามที่มาตรา 1534 บัญญัติไว้กฎหมายก็ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส เมื่อกฎหมายให้ถือเสมือนว่ารถยนต์ยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรสแล้ว โจทก์ก็ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกร้องเงินที่ได้จากการขายรถยนต์จากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับความยินยอมทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิ และเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
เมื่อนายจ้างได้ออกคำสั่งอันถือว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและได้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างแล้ว นายจ้างจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือออกคำสั่งใหม่อันจะมีผลให้ลูกจ้างต้องเสียประโยชน์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหาได้ไม่ และเมื่อนายจ้างออกคำสั่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายนอกเหนือจากที่จะได้รับบำเหน็จตามคำสั่งเดิมโดยมิได้ยื่นข้อเรียกร้องและไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ จึงเป็นการต้องห้ามตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 มาตรา 20

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำนอง, การบอกกล่าวหนี้, ดอกเบี้ยเกินกฎหมาย, และความยินยอมในการฟ้องคดี
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้จำนอง ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนฟ้องโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วโจทก์ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน หนังสือของสามีโจทก์ที่ยินยอมให้โจทก์ฟ้องจำเลย มิใช่ใบมอบอำนาจที่จะต้องปิดอากรแสตมป์ โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะ แต่จำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2478/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับประกันภัย: จำเลยขับรถคันเอาประกันภัยโดยไม่มีความยินยอมจากผู้เอาประกันภัย สัญญาประกันภัยใช้ไม่ได้
จำเลยเป็นผู้ขับรถยนต์คันที่ อ. ทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยร่วมโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 887จำเลยร่วมผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ต่อเมื่ออ.จะต้องรับผิดเมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าอ. จะต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยร่วมจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน แม้สัญญาประกันภัยระบุว่า ผู้รับประกันภัยจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยกับอ. ผู้เอาประกัน มีนิติสัมพันธ์กันอย่างไร และจำเลยขับรถยนต์คันที่ อ. เอาประกันภัยไว้ในฐานะอะไร ถือไม่ได้ว่าจำเลยขับรถโดยความยินยอมจาก อ. ดังนั้น โจทก์จะถือเอาประโยชน์จากข้อสัญญาประกันภัยดังกล่าวหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 237/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขสัญญาเช่าซื้อโดยความยินยอม และการกำหนดค่าเสียหายที่เหมาะสม
ตามหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ ธ. มีอำนาจเต็มในการขายรถยนต์ให้เช่าซื้อรถยนต์ ตลอดจนการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ อำนาจเช่นนี้ย่อมหมายความรวมถึงอำนาจในการลดราคาขายหรือราคาเช่าซื้อหรือลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระด้วย การที่ ธ. ลดค่าเช่าซื้อที่ค้างให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำตามที่ได้รับมอบอำนาจมาจากโจทก์ แม้สัญญาเช่าซื้อจะระบุว่าการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสัญญาเช่าซื้อจะต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษร ลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายก็ตาม แต่ข้อสัญญาใดที่คู่กรณีได้ทำขึ้น คู่กรณีสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขและตกลงทำข้อสัญญาใหม่ได้ เมื่อข้อสัญญาที่ทำขึ้นใหม่นั้นไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่ ธ. ผู้แทนโจทก์และจำเลยที่ 1 ตกลงลดค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดที่ค้างชำระแล้วเท่ากับคู่กรณีได้ตกลงลดค่าเช่าซื้อให้แก่กันโดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อสัญญาเดิมที่ให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วใช้ข้อสัญญาใหม่ดังกล่าวข้อสัญญาใหม่นี้มีผลผูกพันคู่กรณีเพราะเป็นข้อสัญญาที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าค่าเสียหายที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด คงได้ความเพียงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย ศาลจึงต้องกำหนดค่าเสียหายให้ตามที่เห็นสมควร ค่าเช่าซื้อรถยนต์แต่ละงวดเป็นเงินค่ารถยนต์ที่ซื้อและค่าเช่ารวมอยู่ด้วย เงินค่าเช่าถือเป็นค่าเสียหายที่ฝ่ายใช้รถยนต์จะต้องชำระให้แก่เจ้าของรถยนต์เมื่อไม่ปรากฏแน่ชัดว่า เงินค่าเช่ามีจำนวนเท่าไรศาลย่อมกำหนดค่าเช่าหรือค่าเสียหายนี้ได้ตามที่เห็นสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอกก็ไม่ผูกพันเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินของ ม. มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจาก ม.จึงไม่มีผลให้สิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. โอนไปยังโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินแทนจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิการเช่าไม่สามารถโอนได้โดยอัตโนมัติ แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1เช่าที่ดินของ ม.มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม.เจ้าของที่ดินตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1ไม่ไถ่คืน อาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของจำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนไปยังโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินวัดโดยความยินยอมโดยปริยายและขาดเจตนาทุจริต
วัดเป็นเสมือนสมบัติส่วนกลางซึ่งชาวบ้านใช้สอยร่วมกันและแม้แต่สถานที่ของวัดชาวบ้านก็ร่วมกันใช้ประกอบกิจการต่าง ๆอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมดังกรณีสาธิต การทำปุ๋ยหมักในวันเกิดเหตุการจับปลาในสระของวัดก็เช่นกัน เกิดจากอาหารไม่เพียงพอในการเลี้ยงดูสำหรับมื้อกลางวัน จึงปรารภกันทอดแหจับปลาในสระของวัดขึ้นมาประกอบอาหารด้วยความรู้สึกร่วมกันโดยปริยายว่าเจ้าอาวาสยินยอมให้กระทำได้ดังที่เจ้าอาวาสได้พูดไว้ก่อนหน้าวันเกิดเหตุให้ใช้ของวัดในกรณีขาดแคลนได้ ดังนี้เมื่อจำเลยกับพวกร่วมกันจับปลาขึ้นมาประกอบอาหารรับประทานกัน พฤติการณ์จึงเป็นการกระทำด้วยวิสาสะขาดเจตนาทุจริต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนหุ้นโดยมิได้รับความยินยอม และการครอบครองปรปักษ์ที่ไม่สมบูรณ์
ม. กรรมการผู้จัดการของนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดได้ทำรายงานการประชุมโดยไม่มีการประชุมว่า เจ้าของหุ้นโอนหุ้นให้แก่ ม. และได้โอนหุ้น เป็นชื่อ ม. แล้ว และได้ส่งรายงานการประชุมไปเก็บไว้ที่สำนักงานพาณิชย์จังหวัด โดยไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดทราบถึงเรื่องราวในรายงานการประชุมดังกล่าว ดังนี้การที่ ม. ได้ครอบครองหุ้นดังกล่าวไว้จึงเป็นการกระทำโดยปิดบังซ่อนเร้น ไม่เปิดเผย ไม่ครบเกณฑ์ที่จะทำให้ ม. ได้กรรมสิทธิ์ในหุ้นโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 คำแก้ฎีกาของโจทก์ที่ขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์นั้น ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พรากผู้เยาว์เพื่ออนาจาร: การกระทำโดยไม่ได้รับความยินยอม และเจตนาพาไปเพื่อร่วมประเวณี
มารดาผู้เสียหายอนุญาตให้จำเลยทั้งสองพาผู้เสียหายอายุ ๑๖ ปี ไปเดินเที่ยวเมื่อผู้เสียหายจะกลับบ้าน จำเลยทั้งสองไม่ยอมให้กลับ แต่พาผู้เสียหายไปบ้านที่เกิดเหตุเพื่อให้ พ. ร่วมประเวณี เป็นการพรากผู้เยาว์อายุกว่า ๑๕ ปีไปเพื่อการอนาจาร.
of 57