คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4,971 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การสำแดงราคาสินค้าเท็จ, อำนาจฟ้อง, อายุความ, ความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ในชั้นชี้สองสถานศาลภาษีอากรกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ 5 ข้อ คือ 1. โจทก์มีอำนาจฟ้องและหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ 2. ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ 3. คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ 4. ห้างหุ้นส่วนจำกัดว. สำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ 5. จำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด แต่ศาลภาษีอากรกลางวินิจฉัยประเด็นในข้อ 2. และข้อ 5. เท่านั้น โดยวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยได้ทราบแล้วว่าจะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มที่ได้สำแดงเท็จไว้ จะถือว่าจำเลยจงใจทำละเมิดให้โจทก์ได้รับความเสียหายหาได้ไม่กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นอื่นอีกต่อไปแล้วพิพากษายกฟ้อง ซึ่งปัญหาว่าจำเลยทราบหรือไม่ว่าต้องชำระค่าภาษีอากรในส่วนที่ต้องจ่ายเพิ่มหรือไม่นั้น หากฟังได้ว่าจำเลยทราบเหตุดังกล่าว ก็จะมีปัญหาวินิจฉัยต่อไปว่าจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะมิได้นำเงินซึ่งเป็นทรัพย์สินของห้างมาชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ก่อนอันจะถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ฉะนั้น หากจำเลยในฐานะผู้ชำระบัญชีของห้างจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริง และจะต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีอากรที่ต้องชำระเพิ่มแก่โจทก์เพียงใดเสียก่อน ถ้าหากมิได้เป็นหนี้ค่าภาษีอากรเพราะได้สำแดงราคาสินค้าถูกต้องตามราคาซื้อขายอันแท้จริงในท้องตลาดแล้ว จำเลยก็ไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินของห้างไปชำระให้แก่โจทก์ แต่เมื่อศาลภาษีอากรกลางยังมิได้วินิจฉัยประเด็นว่าห้างสำแดงราคาสินค้าเป็นเท็จต่ำกว่าราคาที่แท้จริงหรือไม่ กรณีจึงยังไม่อาจทราบแน่ชัดว่าห้างเป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์หรือไม่ เพียงใด แม้คู่ความจะได้นำสืบข้อเท็จจริงมาเสร็จสิ้นแล้วอันเป็นการเพียงพอที่ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรจะวินิจฉัยในประเด็นที่ 1. และประเด็นที่ 3. ที่ยังมิได้วินิจฉัยไปเสียเองได้ก็ตามแต่เพื่อให้คดีมีการตรวจสอบดุลพินิจเป็นไปตามลำดับชั้นศาล จึงเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางพิจารณาพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถ ชนกันจนถึงแก่ความตาย ศาลพิจารณาโทษประมาทเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายและยกฟ้องความผิดตาม พ.ร.บ.จราจร
จำเลยได้ขับขี่รถมายังที่เกิดเหตุด้วยความเร็วสูง จึงไม่สามารถหยุดรถได้ทันในขณะที่เห็นผู้ตายขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวาเข้ามาในทางเดินรถเดียวกันเป็นเหตุให้ชนประสานงากับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย แม้ผู้ตายจะมีส่วนประมาทที่ไม่ขับรถชิดขอบทางด้านซ้ายของตนหลังจากเลี้ยวขวาแล้วและไม่มองดูทางข้างหน้าให้ปลอดภัย ก็ไม่ใช่เหตุที่จำเลยจะยกขึ้นอ้างเพื่อปัดความรับผิดของจำเลยได้ในเมื่อจำเลยเองก็มีส่วนประมาทอยู่ด้วยที่ขับรถมาด้วยความเร็วสูงมายังบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมีทางแยก จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
สำหรับความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) , 157 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้วินิจฉัยว่าโจทก์เท่านั้นที่มีอำนาจฟ้อง ส่วนโจทก์ร่วมไม่มีอำนาจร้องขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมในความผิดฐานนี้ได้ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องความผิดฐานนี้ โจทก์อุทธรณ์ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทอ้างเหตุว่าจำเลยขับรถผิดช่องทางจราจรอันเป็นการฝ่าฝืนกฎจราจรประการเดียวโดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ว่าจำเลยขับรถโดยประมาทอ้างเหตุว่าจำเลยขับรถด้วยความเร็วสูงโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้อื่นมาด้วย จึงต้องถือว่าความผิดฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว ดังนั้น แม้คดีจะได้ความว่าจำเลยขับรถโดยประมาทด้วยเหตุขับรถด้วยความเร็วสูงเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น ศาลฎีกาก็ไม่อาจปรับบทลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 43 (4) , 157 ตามคำขอท้ายฟ้องได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะต้องพิพากษายกฟ้องความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1678/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ปัญหาทางการค้าของผู้ซื้อไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้ผู้ขายต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยซื้อผ้าไปจากโจทก์ การที่จำเลยไม่สามารถชำระหนี้แก่โจทก์ได้เพราะผู้ซื้อผ้าจากจำเลยอีกทอดหนึ่งมีปัญหาทางการเงินไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลย เป็นเรื่องการประกอบธุรกิจการค้า ซึ่งการประสบปัญหากำไรหรือขาดทุนเป็นปกติทางการค้าย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่อาจถือได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัยอันจะทำให้จำเลยหลุดพ้นจากความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเล ไม่ครอบคลุมกรณีผิดสัญญา แต่ครอบคลุมเฉพาะกรณีของสูญหายหรือเสียหาย
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งจำนวน 10,000 บาท ต่อหนึ่งหน่วยการขนส่ง ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 58 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น กรณีที่ผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทางตามสัญญาหาใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหายไม่ จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งดังกล่าวมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งโดยตรง
โจทก์ว่าจ้างผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศโดยติดต่อผ่านจำเลย เมื่อจำเลยได้รับสินค้าไปจากโจทก์แล้ว จำเลยได้มอบใบตราส่งซึ่งระบุชัดว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งให้แก่โจทก์ ทั้งเมื่อโจทก์ชำระค่าระวางการขนส่งให้แก่จำเลย จำเลยก็ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้แก่โจทก์โดยระบุในใบเสร็จรับเงินว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่ง พฤติการณ์ดังกล่าวแม้จำเลยจะไม่ได้ลงลายมือชื่อหรือประทับตราของจำเลยในใบตราส่งก็รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งและได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์แทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศมิใช่เป็นเพียงนายหน้าในการรับของระวางเรือ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาแต่ลำพังตนเอง เมื่อผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้ถึงเมืองปลายทาง จนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายจากการขนส่งไปยังเมืองท่าปลายทาง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
ข้อจำกัดความรับผิดตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลฯ มาตรา 58จำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งไว้เพียง 10,000 บาทต่อหนึ่งหน่วยการขนส่งนั้นใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของที่ได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทาง หาใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหายไม่ จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวมาใช้บังคับได้
ส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์จำเลยได้ตกลงกันว่าเมื่อจำเลยสามารถจัดส่งสินค้าที่ตกค้างไปยังเมืองท่าปลายทางได้เสร็จเรียบร้อยจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์นั้นจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นต่อสู้ในคำให้การ เพิ่งยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์จึงมิใช่เป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้น ซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนรับขนส่งทางทะเลต้องรับผิดตามสัญญา แม้ไม่ใช่ผู้ขนส่งโดยตรง
จำเลยเป็นตัวแทนของผู้ขนส่งและได้ทำสัญญารับขนส่งสินค้าให้แก่โจทก์แทนผู้ขนส่งซึ่งเป็นตัวการที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศ มิใช่เป็นเพียงนายหน้าในการรับจองระวางเรือจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญานั้นแต่ลำพังเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 824 แม้จำเลยจะไม่ใช่ผู้ขนส่งหรือผู้ขนส่งอื่นเมื่อผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งสินค้าให้ถึงเมืองปลายทางแต่ปล่อยให้สินค้าไปตกค้างระหว่างทางเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายต้องเสียค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการที่สินค้าตกค้างที่เมืองท่าดูไบและค่าระวางการขนส่งจากเมืองท่าดูไบไปยังเมืองท่าปลายทางตูนิส จำเลยจึงต้องรับผิดชำระเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเลพ.ศ. 2535 มาตรา 58 ใช้บังคับเฉพาะกรณีที่ของซึ่งผู้ขนส่งได้รับมอบหมายสูญหายหรือเสียหายเท่านั้น แต่กรณีที่ผู้ขนส่งผิดสัญญาไม่ส่งของไปยังเมืองท่าปลายทางตามสัญญามิใช่เป็นกรณีของสูญหายหรือเสียหาย จึงไม่อาจนำข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งมาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 161/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย ผู้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ชำระราคารถยนต์ตามสัญญา แม้จะระงับไปแล้ว
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อและมีคำขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาซึ่งตามสัญญาเช่าซื้อระบุว่าถ้าทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ๆ ผู้เช่าซื้อยอมรับผิดชำระค่าเช่าซื้อตามสัญญาจนครบ ดังนั้น ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์พอถือได้ว่าโจทก์เรียกค่าเสียหายอันเนื่องมาจากรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายแล้ว เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อถูกคนร้ายลักไป จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อก็ต้องใช้ราคารถยนต์นั้นให้แก่โจทก์แม้สัญญาเช่าซื้อจะระงับเพราะวัตถุแห่งสัญญาสูญหาย ความรับผิดของจำเลยที่ 1ก็ยังมีอยู่ตามสัญญา
โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ลงทุนซื้อรถยนต์ที่เช่าซื้อมาในราคา 300,000 บาท จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์บางส่วนเป็นเงิน 111,215.02 บาท โจทก์ยังคงขาดทุนอีกเป็นเงิน 188,784.98 บาท จำเลยทั้งสองต้องชำระค่าเสียหายแก่โจทก์อีกเป็นเงิน188,784.98 บาท คือค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่รวมทั้งหนี้สินอื่นที่ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อ ดังที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองรับผิดชดใช้แก่โจทก์นั่นเองการที่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นว่าจำเลยทั้งสองจะต้องร่วมกันใช้ราคารถยนต์แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดนั้นก็เป็นค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อเช่นกัน ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นมานั้นถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง แต่เมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายแล้ว เพื่อมิให้คดีต้องล่าช้าศาลฎีกาจึงวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อสินค้าสูญหายหลังยึดและอนุญาตให้ส่งออก
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงยึดสินค้าดังกล่าวแล้วนำไปฝากไว้ในตู้เก็บสินค้า โดยผนึกตะกั่วประทับตราของจำเลยที่ 1 ไว้ การเปิดตู้เก็บสินค้าจะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าดังกล่าวไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ แต่สินค้าสูญหายไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของศุลกากรเมื่อยึดสินค้าแล้วสูญหาย แม้จะอนุญาตให้ส่งออกได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 60,99 และดำเนินคดีแก่โจทก์ ซึ่งตามมาตรา 60 บัญญัติให้ริบสินค้าเสียสิ้นเมื่อจำเลยที่ 1 ยึดสินค้าไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามมาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตามมาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตามมาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหายก็ต้องใช้ราคา
of 498