พบผลลัพธ์ทั้งหมด 178 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7059-7060/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการจำหน่ายยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท แม้จำหน่ายพร้อมกัน
เมทแอมเฟตามีนเป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ ส่วนอีเฟดรีนเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตาม พ.ร.บ.วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประประสาท ฯ แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะร่วมจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนและอีเฟดรีนของกลางในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากอารมณ์ชั่ววูบและความรับผิดทางอาญาต่อการผสมสารพิษในเครื่องดื่ม
หากจำเลยเกิดอารมณ์ชั่ววูบที่ จ. ภริยาของจำเลยหนีออกจากบ้านจึงเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ไว้เพื่อจะฆ่าตัวตาย แต่ผู้ตายและ อ. มาพบน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงนั้นและดื่มไปเองเสียก่อน จำเลยจึงไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. ดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย จำเลยก็น่าจะใส่สารกำจัดแมลงแลนเนท แอล ลงในเบียร์ที่จำเลยกำลังดื่มอยู่ในขณะนั้น และดื่มฆ่าตัวตายไปในทันที หรือเตรียมน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงไว้เพียงที่เดียวมากกว่าการที่จำเลยใส่สารกำจัดแมลงลงในน้ำอัดลม ซึ่งตามคำให้การชั้นสอบของจำเลยก็ได้ความว่าจำเลยให้ผู้ตาย อ. ว. กับเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามที่มาเล่นวีดีโอเกมส์อยู่ด้วยกันนำเงินไปซื้อน้ำอัดลมมา 4 กระป๋อง แล้วจำเลยบอกให้นำน้ำอัดลมไปแช่ไว้ในตู้เย็นก่อน เมื่อแช่น้ำอัดลมไว้ในตู้เย็นแล้ว พวกเด็กๆ พากันไปเล่นวีดีโอเกมส์ต่อ ต่อมาจำเลยจึงให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมา 1 ขวด แล้วจำเลยแอบเอาน้ำอัดลมที่แช่ไว้ดังกล่าวมารินใส่แก้ว 3 ใบ แล้วเทสารกำจัดแมลงที่ อ. ไปซื้อมาใส่ลงในแก้วน้ำอัดลมเหล่านั้น จากนั้นจำเลยเรียกผู้ตาย อ. และ ว. ให้ลงจากบนบ้านมาดื่มน้ำอัดลม ส่วนเพื่อนๆ ของเด็กทั้งสามจำเลยให้กลับบ้านไป จำเลยได้ยื่นแก้วน้ำอัดลมผสมสารกำจัดแมลงให้ผู้ตาย อ. และ ว. ดื่มคนละแก้ว ผู้ตายดื่มจนหมดแก้ว อ. ดื่มไปครึ่งแก้ว ส่วน ว. ดื่มไปเพียงเล็กน้อย จำเลยให้การดังกล่าวต่อพนักงานสอบสวนทันทีที่ถูกจับกุมในวันเกิดเหตุยังไม่ทันได้คิดเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริง ย่อมมีน้ำหนักรับฟังได้ ดังนี้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่า แต่เนื่องจากจำเลยมีอาชีพเกษตรกรรมและเคยให้ อ. ไปซื้อสารกำจัดแมลงมาเพื่อใช้ในการเกษตรกรรมของจำเลยตามปกติโดยยังมิได้มีเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. รวมทั้งฆ่าตัวตายในขณะนั้น แต่เนื่องจากจำเลยและ ท. ได้ร่วมกันดื่มเบียร์หมดไปหลายขวดอาจเกิดการมึนเมา รวมทั้งเกิดความกลัดกลุ้มและเสียใจประกอบกับความเครียดที่ จ. ซึ่งเป็นภริยาของจำเลยทิ้งจำเลยและบุตรไปทำงานที่กรุงเทพมหานครโดยไม่บอกกล่าวให้จำเลยทราบก่อน จำเลยจึงคิดฆ่าตัวตายพร้อมๆ กับผู้ตายและ อ. เพื่อเป็นการประชด จ. จึงได้นำสารกำจัดแมลงใส่ในน้ำอัดลมให้ผู้ตายและ อ. ดื่มอันเป็นอารมณ์ชั่ววูบซึ่งเกิดขึ้นทันทีทันใดในขณะนั้นก็อาจเป็นได้ จึงยังไม่พอให้ฟังว่าจำเลยเจตนาฆ่าผู้ตายและ อ. โดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเนื่องจากจำเลยมีเจตนาเดียวคือต้องการให้ผู้ตาย อ. และจำเลยถึงแก่ความตายพร้อมกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 346/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากอุบัติเหตุทางถนน: การประเมินความประมาทและการพิพากษาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 จอดรถรอเลี้ยวอยู่ในช่องกลับรถไม่ล้ำเข้าไปกีดขวางการจราจรในช่องเดินรถของจำเลยที่ 1 และโจทก์มิได้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (3), 157 มาด้วย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามบทกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นอ้างและความผิดฐานดังกล่าวของจำเลยที่ 2 ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว แต่เมื่อคดีนี้ได้ขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1673/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของหุ้นส่วนผู้จัดการต่อความผิดของนิติบุคคล: พยานหลักฐานต้องแสดงการสั่งการหรือกระทำความผิดโดยตรง
พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักเพียงพอฟังว่า ในการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 90/5 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวกับความรับผิดในทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคล พ.ศ.2560
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7453/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้แทนบริษัทที่ออกเช็คโดยไม่มีเจตนาให้ใช้เงิน แม้เช็คไม่ได้ออกในนามบริษัทโดยตรง
แม้ข้อเท็จจริงจากทางนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าเช็คพิพาททั้งสามฉบับมิใช่เป็นของจำเลยที่ 1 แต่เป็นของบริษัท ซ. อันแตกต่างจากฟ้อง แต่ก็ได้ความจากทางนำสืบของโจทก์ว่าบริษัท ซ. เป็นบริษัทภายในเครือเดียวกันกับจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทั้งสองบริษัทและจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ซ. ดังนั้นไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะออกเช็คในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะที่กระทำแทนบริษัท ซ. จำเลยที่ 2 ก็คงมีความรับผิดทางอาญาเช่นเดียวกันเพราะการดำเนินกิจการของบริษัทย่อมแสดงออกโดยทางผู้แทนทั้งหลายของบริษัท เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และบริษัท ซ. ลงชื่อในเช็คสั่งจ่ายเงินโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คอันเป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ก็ถือว่าโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะส่วนตัวโดยลำพังไม่จำต้องอ้างว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ก็ได้ ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณากับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องจึงหาใช่เป็นข้อแตกต่างในสาระสำคัญ ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้ด้วย อันเป็นเหตุที่ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องสำหรับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2813/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของกรรมการนิติบุคคลต้องมีเจตนาในการกระทำผิด การอุทธรณ์ต้องแสดงเหตุผลว่ากรรมการมีเจตนา
แม้จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลซึ่งเป็นเพียงบุคคลสมมติโดยอำนาจของกฎหมายต้องดำเนินหรือปฏิบัติงานตามวัตถุประสงค์ของบริษัทผู้แทนนิติบุคคลก็ตาม แต่ความรับผิดทางอาญาของผู้แทนนิติบุคคลยังคงต้องพิจารณาตามหลักทั่วไปโดยต้องปรากฏว่าผู้แทนนิติบุคคลนั้นได้กระทำผิดโดยเจตนาตาม ป.อ. มาตรา 59 เป็นองค์ประกอบสำคัญ คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ประกาศเลิกกิจการและเลิกจ้างก่อนที่จำเลยที่ 2 มีชื่อเป็นกรรมการ ทั้งจำเลยที่ 2 ไม่เคยแสดงตัวและเจตนาเข้าดำเนินงานจัดการแทนจำเลยที่ 1 เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ถูกใช้ชื่อจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้เป็นกรรมการแทน ก. กรรมการคนก่อนระหว่างรอให้การเลิกกิจการและเลิกจ้างมีผลในวันที่ 1 เมษายน 2557 เท่านั้น พยานหลักฐานโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 และร่วมกับจำเลยที่ 1 ไม่จ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่มีการเลิกจ้างให้ลูกจ้าง ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์จึงต้องอุทธรณ์ว่า มีข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์อย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและมีเจตนาร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง การที่โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ร่วมกระทำความผิดด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 7 นั้น ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจและร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้องอย่างไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1688/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบธรรมของรัฐธรรมนูญชั่วคราวหลังรัฐประหาร และผลกระทบต่อความรับผิดทางอาญา
สภาพความเป็นรัฐของรัฐใดรัฐหนึ่งนั้นจะต้องประกอบไปด้วยดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน และมีประชากรอาศัยอยู่ในดินแดนนั้นโดยมีรัฐบาลปกครอง และมีอธิปไตยเป็นของตนเอง ประการสำคัญการตีความกฎหมายต้องตีความในเชิงให้เกิดผลบังคับได้ และต้องเป็นการตีความในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อเจตนารมณ์แห่งความธำรงอยู่ของความเป็นรัฐหรือชาติบ้านเมืองด้วย มิฉะนั้นสถานะความเป็นรัฐหรือความเป็นชาติบ้านเมืองจะถูกกระทบให้เสียหายไปเพราะไม่มีอธิปไตยอยู่ครบถ้วน เมื่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินจากรัฐบาลรักษาการได้อย่างเบ็ดเสร็จ และประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยพุทธศักราช 2550 คณะรัฐมนตรี และวุฒิสภาสิ้นสุดลง ประเทศไทยในขณะนั้นจึงไม่มีหน่วยงานใดที่จะทำหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ แต่มีคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้ามาใช้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์แทน ซึ่งแม้การได้มาซึ่งอำนาจนั้นจะเป็นวิธีการที่ไม่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย และจะมีความชอบธรรมในการได้มาซึ่งอำนาจหรือไม่ก็เป็นกรณีที่ต้องไปว่ากล่าวกันในด้านอื่น แต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ยังมีอำนาจในเชิงข้อเท็จจริงว่าเป็นคณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติโดยควบคุมกลไกและหน่วยงานของรัฐได้ ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีสภาพเป็นกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6389/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการกระทำอนาจารและการทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลฎีกาปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
การกระทำอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 280 นั้น จะต้องได้ความว่าผลของความตายของผู้ถูกกระทำอนาจารเกิดจากการกระทำอนาจาร แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้ตายถูกจำเลยทั้งสองขับรถจักรยานยนต์แซงเบียดจนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายล้มลง เป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ความตายจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตจากภาวะแทรกซ้อน ความตายของผู้ตายย่อมมิใช่ผลโดยตรงอันเกิดจากการที่จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำอนาจารผู้ตาย จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานร่วมกันกระทำอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 278 เท่านั้น