พบผลลัพธ์ทั้งหมด 886 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5731/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิดข่มขืน และความไม่สมบูรณ์ของคำฟ้องในคดีข่มขืนเด็ก
จำเลยพาผู้เสียหายไปให้พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา แม้จำเลยจะคบคิดกับพวกของจำเลยมาก่อนก็ตาม แต่เป็น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพวกของจำเลยจะข่มขืนกระทำชำเรา ผู้เสียหาย ในขณะพวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราไม่ปรากฏว่า จำเลยได้กระทำการใดอันมีลักษณะเป็นตัวการร่วมกระทำความผิด ด้วย ทั้งจำเลยมิได้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์และมิได้ร่วม ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็น ตัวการร่วมกระทำความผิด การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปให้ พวกของจำเลยข่มขืนกระทำชำเราโดยคบคิดกันมาก่อนนั้น เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกแก่พวกของจำเลยข่มขืน กระทำชำเราผู้เสียหาย จำเลยจึงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 องค์ประกอบความผิดในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 277 วรรคสาม จะต้องมีการร่วมกันกระทำความผิดประการหนึ่ง และการกระทำที่ร่วมกันนั้นเข้าลักษณะอันเป็นการโทรม เด็กหญิงอีกประการหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์บรรยายเฉพาะ ส่วนที่ร่วมกันกระทำความผิดเท่านั้น ไม่ได้บรรยายยืนยันให้เห็นโดยชัดแจ้งถึงองค์ประกอบในส่วนที่สอง ข้อความที่ว่าพวกของจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่คนละ 1 ครั้ง มิใช่ข้อที่จะแสดงให้เห็นเป็นการแน่ชัดว่ามีลักษณะ เป็นการโทรมเด็กหญิง คำฟ้องของโจทก์ไม่ครบถ้วนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) จึง ไม่เป็นคำฟ้องที่จะลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 86 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: คำฟ้องเพียงพอ ศาลไม่ต้องรอการนำสืบ
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์ เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่าง ๆ ตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลยเลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็นการเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้องโดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใดว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้นที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 142 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4749/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ศาลไม่ตัดสิทธิโจทก์แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนในฟ้อง
ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาบอกเลิกจ้างโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ ขอให้จ่ายเงินต่างๆตามสิทธิที่โจทก์จะได้รับ รวมทั้งค่าเสียหายที่จำเลย เลิกจ้างโดยผิดสัญญาจ้างแรงงานด้วย ย่อมเป็น การเพียงพอที่จะถือได้ว่าคำฟ้องของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่กล่าวอ้างถึงการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ด้วยแล้ว โจทก์หาจำต้องกล่าวหรือบรรยายมาในฟ้อง โดยชัดแจ้งหรือต้องนำสืบถึงการกระทำอื่นใด ว่าไม่เป็นธรรมอย่างไรอีกไม่ ฉะนั้น ที่ศาลแรงงาน พิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ยังไม่มีเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์จึงชอบแล้วมิได้ขัดต่อ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาต้องพิจารณาจากคำฟ้องและเหตุผลที่สมควร กรณีละเมิดสิทธิในที่ดินป่าช้า
ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษา โจทก์จะต้องแสดงให้เห็นเป็นที่พอใจแก่ศาลว่าคำฟ้องที่โจทก์ยื่นและในโอกาสที่ยื่นคำขอนั้นมีเหตุสมควรและมีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่ขอนั้นมาใช้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 255 วรรคหนึ่ง (1) (2) อีกทั้งโจทก์ยังต้องแสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าจำเลยที่ 1 ตั้งใจกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิด การผิดสัญญา หรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้องตามมาตรา 255 วรรคสาม อีกด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยใช้ให้คนงานเข้ารื้อรั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าด้านติดถนน ทำให้รั้วป่าช้าจีนบ้าบ๋าเสียหาย และได้เข้าจัดตกแต่งสถานที่ในป่าช้าจีนบ้าบ๋าทำเป็นร้านขายอาหารและให้รถยนต์เข้าไปจอดโดยจำเลยเก็บค่าจอดรถเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าวเป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะทายาทของผู้ก่อตั้งทรัสต์ป่าช้าจีนบ้าบ๋า แม้จำเลยที่ 1 จะเปิดกิจการร้านขายอาหารมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่การประกอบกิจการดังกล่าวต่อไปย่อมเป็นการกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไปซึ่งการละเมิดตามที่ถูกฟ้องร้องนั้น อีกทั้งที่ดินพิพาทเป็นป่าช้าใช้ฝังศพ ย่อมไม่เหมาะสมและบังควรที่จะมาใช้เป็นร้านขายอาหารโต้รุ่งและที่จอดรถยนต์ กรณีมีเหตุสมควรและเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้
แม้ตามคำร้องโจทก์อ้างเพียงว่าเหตุที่ขอคุ้มครองเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนความสงบของสถานที่และบรรดาศพที่ฝังอยู่ในป่าช้า มิได้อ้างเหตุว่าเกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและแก่โจทก์ก็ตามแต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้นต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องการทำรั้ว การปรับพื้นที่ส้วมและที่ทิ้งขยะ ว่าเป็นการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์ขึ้นวินิฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่ไม่ตรงกับเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างและขอมาในคำร้องไม่
แม้ตามคำร้องโจทก์อ้างเพียงว่าเหตุที่ขอคุ้มครองเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนความสงบของสถานที่และบรรดาศพที่ฝังอยู่ในป่าช้า มิได้อ้างเหตุว่าเกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและแก่โจทก์ก็ตามแต่การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุ้มครองชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษานั้นต้องพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ประกอบด้วย เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์มีข้อความระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของโจทก์เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกเรื่องการทำรั้ว การปรับพื้นที่ส้วมและที่ทิ้งขยะ ว่าเป็นการกระทำอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่สภาพสุสานและโจทก์ขึ้นวินิฉัยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว หาใช่ไม่ตรงกับเหตุผลที่โจทก์กล่าวอ้างและขอมาในคำร้องไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4618/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้องในคดีแรงงาน: ศาลรับฟังได้หากเกี่ยวข้องกับประเด็นข้อพิพาทและพยานหลักฐานเชื่อมโยงกัน
โจทก์ฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จำเลยเบิกไปใช้งานแล้วไม่นำไปใช้หรือใช้ไม่หมด แต่ไม่นำมาคืน ตามที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์สรุปความเห็นไว้ จำเลยให้การปฏิเสธว่า จำเลยไม่ได้เบิกหรือเบิกไป แต่ได้ใช้ในงานจนหมด ศาลแรงงานจึงกำหนดประเด็นแห่งคดีว่า จำเลยเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าจากโจทก์ แล้วไม่ส่งคืนหรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลแรงงาน จะต้องพิจารณาพิพากษาไปตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนดไว้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 เคยให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไว้ซึ่งนอกจากจำเลยได้ให้การต่อคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 แล้ว จำเลยยังให้การต่อคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงว่า ได้เบิกสายไฟฟ้าอะลูมิเนียม อันเป็นพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้า ในเขตหมู่ที่ 9 ด้วย การที่จำเลยถูกสอบสวนกรณีเบิกพัสดุอุปกรณ์ ไฟฟ้าไปใช้ในโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 แล้วใช้ไม่หมด แต่ไม่ยอมคืนให้แก่โจทก์ จึงเป็นคราวเดียวกันกับการถูกสอบสวนกรณีเบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดของโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 ดังนั้น แม้ฟ้องโจทก์จะระบุว่าจำเลยที่ 1 เบิกค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานขยายเขตก่อสร้างและปรับปรุงระบบไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 2 โดยมิได้ระบุโครงการขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 มาด้วย ก็เป็นการบรรยายฟ้องขาดตกบกพร่องไปเพียงเล็กน้อย มิใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะทั้งสองโครงการ ดังกล่าวคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงของโจทก์ได้สอบสวน จำเลยที่ 1 ไว้ในคราวเดียวกันตามที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วการที่โจทก์นำสืบเอกสารพิพาทว่าจำเลยที่ 1 เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าตามที่โจทก์ฟ้องเพื่อนำไปใช้ในโครงการ ขยายเขตการไฟฟ้าในเขตหมู่ที่ 9 และศาลแรงงานฟังตามเอกสาร พิพาทว่า จำเลยที่ 1 ได้เบิกพัสดุอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไม่ส่งคืน โจทก์จริงตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานรับฟังพยาน หลักฐานแล้ววินิจฉัยคดีตรงตามประเด็นที่กำหนดไว้แล้ว มิใช่เป็นเรื่องรับฟังพยานหลักฐานนอกเหนือคำฟ้องอันจะเป็น การฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3796/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การระบุอาชีพจำเลยในคำฟ้องมีผลต่ออำนาจพิจารณาคดี แม้ภายหลังจะอ้างเป็นข้าราชการ
ขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องต่อศาลชั้นต้นได้ระบุอาชีพของจำเลยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นข้าราชการบำนาญ จำเลยทราบคำฟ้องแล้วมิได้คัดค้านโต้แย้งทั้ง ๆ ที่อยู่ในวิสัยของจำเลยอันพึงต้องกระทำ จึงถือได้ว่าจำเลยมิใช่บุคคลที่อยู่ ในอำนาจศาลทหารในขณะกระทำผิดตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ.ศ. 2498 มาตรา 13,16(1) ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ประทับฟ้องแล้วดำเนินคดีต่อมาตามขั้นตอนแม้จะปรากฏจากฎีกา ของจำเลยในภายหลังว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลทหารก็ตามศาลล่างทั้งสองซึ่งเป็นศาลพลเรือนด้วยกันก็มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารฯมาตรา 15 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2960/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายลักษณะตัวจำเลยในคำฟ้อง และการแยกความผิดฐานมีอาวุธปืน
โจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดครบองค์ประกอบความผิดตามที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยในคำขอท้ายฟ้องแล้ว แม้ตามคำฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุเลขที่บ้านของจำเลยก็ตาม แต่โจทก์ก็ได้ระบุว่าจำเลยตั้งบ้านเรือนอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์อันเป็นที่อยู่ของจำเลย และบรรยายด้วยว่า จำเลยชื่อ ก. อายุ 38 ปี เชื้อชาติไทยสัญชาติไทย ดังนี้ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายชื่อตัว นามสกุล อายุ ที่อยู่ ชาติและบังคับของจำเลยครบถ้วนตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (4) แล้ว
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะหรือในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการรื่นเริง การมหรสพโดยเปิดเผย โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ในวาระเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
ความผิดฐานมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะหรือในที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีขึ้นเพื่อการรื่นเริง การมหรสพโดยเปิดเผย โดยไม่มีเหตุสมควรและโดยไม่ได้รับอนุญาต เพราะความผิดทั้งสองฐานมีเจตนาในการกระทำผิดเป็นคนละอันแตกต่างกันและเป็นความผิดต่างฐานกัน แม้จำเลยจะกระทำความผิดทั้งสองฐานนี้ในวาระเดียวกัน การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันตาม ป.อ.มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท แม้คำฟ้องไม่ระบุรายละเอียด ศาลสามารถวินิจฉัยได้ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการนำสืบ
โจทก์ฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินพิพาท โดยมิได้ระบุว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แต่จำเลยที่ 2ให้การทำนองว่า ที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ดังกล่าวและทางนำสืบของทั้งสองฝ่ายก็นำสืบรับกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทคือที่ดินตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 987 แล้วพิพากษาขับไล่จำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้มีผลทำให้โจทก์ทั้งสองได้ที่ดินน้อยกว่าที่ขอก็ตามและเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ทั้งยังได้แก้อุทธรณ์ว่าที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาขับไล่จำเลยทั้งสามออกจากที่ดินตาม น.ส.3ดังกล่าวชอบแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาเกินคำขอและพิพาทแก้ให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากที่ดินพิพาทย่อมเป็นการไม่ชอบแม้คู่ความทั้งสองฝ่ายจะมิได้ฎีกาโต้แย้งขึ้นมา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจวินิจฉัยและพิพากษาแก้ให้ขับไล่ออกจากที่ดินตาม น.ส.3 ก. ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องปลอมพินัยกรรมต้องระบุรายละเอียดการปลอมเพื่อให้จำเลยต่อสู้คดีได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก แล้วใช้พินัยกรรมปลอมของเจ้ามรดกที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปทำการรับโอนมรดกที่ดินของเจ้ามรดก โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ร่วมกันทำการปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกด้วยวิธีการอย่างไร เป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน ตลอดจนไม่ได้ระบุวันเวลาที่ทำการปลอมอีกด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยในข้อหาปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2234/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องเช็ค: วันที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันออกเช็ค 2 ฉบับลงวันที่ 15 มีนาคม 2539 และวันที่ 15 เมษายน 2539 มอบให้แก่ผู้เสียหายเพื่อชำระหนี้ เมื่อถึงกำหนดสั่งจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับดังกล่าว ผู้เสียหายนำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คทั้งสองฉบับนั้น ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า ในวันที่เช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดสั่งจ่ายคือวันที่ผู้เสียหายนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงิน และธนาคารตามเช็คได้ปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คแต่ละฉบับในวันที่ที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายนั้น ถือได้ว่าโจทก์ระบุวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คไว้ในคำฟ้องแล้วคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)