พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1679/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องปฏิบัติตามขั้นตอน ป.วิ.พ. มาตรา 234 หากไม่ปฏิบัติตามศาลมีสิทธิยกคำร้อง
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่จำเลยยื่นคำร้องโดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 27 ขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอ้างว่าเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายนั้นเนื้อแท้ของคำร้องก็คือการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 นั่นเอง เมื่อจำเลยไม่นำค่าฤชาธรรมเนียมและเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่ศาลอุทธรณ์กำหนด ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ยกคำร้อง จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาคดีแรงงาน และยืนตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่ให้คืนเงินประกัน
การที่จำเลยอุทธรณ์ว่าศาลแรงงานกลางไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงบันทึกคำแถลงของคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยานทั้งสองฝ่าย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณารวบรัด ฝ่าฝืนมาตรา 31 และ 39 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 ขอให้ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาแล้วพิพากษาใหม่นั้น เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลอันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 226 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
ตามระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและเลิกจ้าง ข้อ 20 ของจำเลยกำหนดว่า 'หากพนักงานคนใดปฏิบัติผิดกฎข้อบังคับข้อใดข้อหนึ่ง บริษัท ฯ สงวนสิทธิ์ที่จะพิจารณาโทษให้ออกจากงานและยึดเงินประกัน' และตามระเบียบดังกล่าวได้กำหนดเรื่องการขอรับเงินประกันคืนไว้ว่า 'พนักงานที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าปฏิบัติงานกับบริษัท ฯ อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปถึงจะมีสิทธิรับเงินประกันคืนเมื่อลาออกจากงานโดยต้องยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วัน' การที่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างลาออกโดยโจทก์ได้ทำงานกับบริษัทจำเลยเกินกว่า 6เดือน และยื่นใบลาล่วงหน้า 15 วันแล้ว จึงต้องด้วยระเบียบการขอรับเงินประกันคืน แม้จำเลยจะฟังว่าโจทก์ขาดงาน 3วันติดต่อกัน แต่จำเลยก็มิได้ให้โจทก์ออกจากงาน กรณีจึงไม่ต้องด้วยข้อ 20 แห่งระเบียบข้อบังคับหมวดการให้ออกและการเลิกจ้างดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยเสียหายประการใด จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดเงินประกันของโจทก์ไว้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์: คำสั่งศาลชั้นต้นที่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นที่สุด
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่าคดีไม่มีมูล จึงพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เพราะเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริง โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์อ้างว่าเป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์เห็นว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็นข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัย จึงมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นแล้ว คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 ทวิวรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ และการร้องต่อศาลอุทธรณ์เมื่อไม่พอใจคำสั่ง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นทำแทน ฉะนั้นเมื่อคู่ความไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฐานะดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือรอจนกว่าศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์แล้วไปร้องต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พอใจในคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นก็ชอบที่จะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจศาลอุทธรณ์.(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่1184/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์และการร้องต่อศาลอุทธรณ์เมื่อไม่พอใจคำสั่ง
เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์แล้ว กระบวนพิจารณาต่อจากนั้นย่อมถือได้ว่าเป็นกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์โดยศาลชั้นต้นทำแทน ฉะนั้นเมื่อคู่ความไม่พอใจคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งในฐานะดำเนินการแทนศาลอุทธรณ์ ก็ชอบที่จะร้องต่อศาลอุทธรณ์หรือรอจนกว่าศาลชั้นต้นจะส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์แล้วไปร้องต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่พอใจในคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวนั้นก็ชอบที่จะสั่งใหม่ได้ตามอำนาจศาลอุทธรณ์.(อ้างคำพิพากษาศาลฎีกาที่1184/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมและการไม่แจ้งคำสั่ง ทำให้จำเลยเสียสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาล
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2528 จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2528 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2528 เพื่อจะทำอุทธรณ์ฉบับสมบูรณ์มายื่นเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอจำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองอันเป็นฉบับเพิ่มเติมผ่านเรือนจำกลางชลบุรี แต่ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ครบกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2528 ตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ อุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลยที่ยื่นในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดทำการย่อมเป็นการยื่นภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลย และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่าจำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิ หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปโดยไม่ให้โอกาสจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งก่อน จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5779/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมและการไม่แจ้งคำสั่ง ทำให้จำเลยเสียสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2528 จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับแรกเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2528 พร้อมกับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน นับแต่วันที่ 6 เมษายน 2528 เพื่อจะทำอุทธรณ์ฉบับสมบูรณ์มายื่นเพิ่มเติม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับเป็นอุทธรณ์ของจำเลยและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้ตามขอ จำเลยยื่นอุทธรณ์ฉบับที่สองอันเป็นฉบับเพิ่มเติมผ่านเรือนจำ แต่ระยะเวลายื่นอุทธรณ์ที่ศาลชั้นต้นขยายให้ครบกำหนดในวันที่ 21 เมษายน 2528ตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ อุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลยที่ยื่นในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน 2528 ซึ่งเป็นวันแรกที่เปิดทำการย่อมเป็นการยื่นภายในกำหนดโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์เพิ่มเติมของจำเลย และไม่ได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบ จึงไม่ทราบว่าจำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งตาม ป.วิ.อ.มาตรา 198 ทวิ หรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์เพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปโดยไม่ให้โอกาสจำเลยใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งก่อน จึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองแรงงาน: ลูกจ้างประสบอันตรายจากการทำงานตามคำสั่ง แม้เป็นการติดตั้งส่วนตัวของผู้บริหาร
ผู้จัดการโรงงานของบริษัทนายจ้างสั่งให้ลูกจ้างไปติดตั้งท่อประปาที่บ้านของผู้จัดการบริษัทนายจ้างซึ่งซื้อท่อประปาจากนายจ้างได้ในราคาพิเศษ เช่นเดียวกับลูกค้าที่ขอให้ไปทำการติดตั้งบริษัทนายจ้างก็จะจัดการติดตั้งท่อประปาให้โดยลูกจ้างลงเวลาทำงานในบัตรลงเวลาทำงานและเดินทางไปปฏิบัติงานโดยรถยนต์ของนายจ้าง การที่ลูกจ้างประสบอันตราย ถึงแก่ความตายขณะทำการติดตั้งท่อประปาดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้นายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4454-4455/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากคำสั่งยึดทรัพย์สินของบริษัท ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือเป็นการเลิกจ้าง
การที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลยและของกรรมการผู้จัดการของจำเลยไว้ทั้งหมด ตามมาตรา8วรรคแรกแห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 นั้นจำเลยย่อมไม่สามารถประกอบกิจการต่อไปได้ ซึ่งมีผลต่อไปว่าจำเลยไม่มีงานให้โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำและจำเลยก็ไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้โจทก์ที่ 2 นับแต่วันที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งดังกล่าวถึงวันฟ้องเป็นเวลา 3 เดือนเศษจำเลยจึงอยู่ในฐานะที่ไม่มีความสามารถจะจ้างโจทก์ที่ 2 ไว้เป็นลูกจ้างของจำเลยต่อไปได้กรณีถือได้ว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์ที่ 2 แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4017/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาในคดีมรดก: ศาลยืนตามคำสั่งเดิม
การที่ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามที่โจทก์ขอแต่สั่งให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนจนกว่าจะสิ้นระยะเวลาอุทธรณ์และจำเลยมิได้ขอให้ทุเลาการบังคับคดีนั้น แม้จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นอันมีผลให้คำสั่งที่ให้งดการบังคับคดีดังกล่าวสิ้นสุดลง แต่เมื่อโจทก์ได้ขอหมายบังคับคดีภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันสิ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในคำบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 260(2) คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่โจทก์ก่อนพิพากษาตามมาตรา 254(2) โดยการห้ามโอน ขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาทนั้นย่อมมีผลอยู่ต่อไป
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.
การบังคับคดีนั้นเป็นอำนาจของคู่ความที่ชนะคดีจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อคดียังไม่ถึงที่สุดเพราะโจทก์อุทธรณ์และโจทก์ไม่อาจทราบได้ว่าจะได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเป็นจำนวนเงินเท่าใด โจทก์ย่อมมีสิทธิรอให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไป ทั้งการที่โจทก์ขอให้ห้ามโอนขาย ยักย้ายทรัพย์มรดกพิพาททั้งหมดก็เพราะโจทก์อ้างว่ามีสิทธิได้รับมรดก 1 ใน 3ส่วนทุกรายการจึงไม่เป็นการห้ามเกินความจำเป็น
คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลสั่งจำหน่ายและแบ่งทรัพย์มรดกพิพาทซึ่งศาลได้มีคำสั่งห้ามโอน ขาย ยักย้าย ดังกล่าวอันพออนุโลมได้ว่าเป็นการร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ขอในระหว่างพิจารณาหรือเพื่อบังคับตามคำพิพากษาดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 นั้น เมื่อไม่มีเหตุผลเพียงพอ ศาลย่อมสั่งยกคำร้องโดยไม่จำต้องไต่สวน.