พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14281/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ลูกหนี้ร่วม: ผลกระทบการฟ้องคดีต่อคู่สมรสผู้ค้ำประกัน
คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินของบริษัท น. ต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ว. เจ้าหนี้เดิม โดยจำเลยทั้งสี่ลงลายมือชื่อเป็นพยานและเป็นผู้ให้ความยินยอมในฐานะเป็นภริยาของคู่สมรสที่ทำสัญญาค้ำประกัน จำเลยทั้งสี่จึงเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1490 (4 ) ซึ่งต้องรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1489 แต่จำเลยทั้งสี่ก็มิใช่ผู้ค้ำประกันหนี้ต่อโจทก์โดยตรง ความรับผิดของจำเลยทั้งสี่ต่อโจทก์เป็นเพียงลูกหนี้ร่วมตามบทบัญญัติของกฎหมายครอบครัวซึ่งมิใช่ความรับผิดตามสัญญาค้ำประกันในฐานะผู้ค้ำประกัน กรณีจึงไม่อาจนำบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 692 มาใช้บังคับกับจำเลยทั้งสี่ได้ ส่วนการที่โจทก์นำคดีไปฟ้องคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ แม้จะมีผลทำให้อายุความในหนี้ที่คู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์สะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) ก็ตาม แต่อายุความที่สะดุดหยุดลงดังกล่าวย่อมเป็นโทษเฉพาะคู่สมรสของจำเลยทั้งสี่ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่มีผลเป็นโทษแก่จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ป.พ.พ. มาตรา 295
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13082/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมทำร้ายจิตใจและร่างกายของคู่สมรส ทำให้ชีวิตสมรสขาดความผาสุก
โจทก์ประกอบอาชีพครู ต้องให้การศึกษาอบรมลูกศิษย์และได้รับการยกย่องว่าอาชีพดังกล่าวเป็นแม่พิมพ์ของชาติ แต่โจทก์กลับต้องอดทนต่อความประพฤติของจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวที่กระทำต่อตนซึ่งเป็นภริยาและยังกระทำต่อบุตรสาวจำเลยเองอีกด้วย แม้จำเลยจะไม่มีความอ่อนหวานหรือไม่รู้จักการให้เกียรติภริยาของตนก็ตาม แต่จำเลยก็ควรรู้จักการทะนุถนอมน้ำใจของอีกฝ่ายเยี่ยงสามีที่ดีทั่วไปอันจะช่วยประคับประคองชีวิตสมรสให้ราบรื่น มิใช่ด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคายอันเป็นการเหยียดหยามโจทก์ การที่โจทก์อดทนอยู่กับจำเลยอีกหลายปีนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้อภัยตามที่จำเลยเข้าใจเอาเอง เพราะการให้อภัยเป็นเรื่องที่ผู้กระทำผิดสำนึกผิดแล้วอีกฝ่ายไม่เอาโทษ แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ให้โอกาสจำเลยปรับปรุงตนเองเป็นเวลาหลายปี แต่จำเลยหาได้สำนึกและกลับตนไม่ จนกระทั่งโจทก์และบุตรสาวไม่สามารถอดทนอยู่กับจำเลยได้ จึงพากันย้ายหนีจำเลยไปอาศัยอยู่กับมารดาโจทก์ ดังนั้น พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการประพฤติชั่วเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นภริยาได้รับความเสียหายและเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ โจทก์จึงฟ้องหย่าจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 (2) (ค)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1276/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก การแบ่งทรัพย์สิน และสิทธิของคู่สมรส/ทายาท โดยคำนึงถึงการครอบครองทรัพย์สิน และอายุความ
โจทก์มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. เนื่องจาก ป. จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โดย ส. ผู้ตายซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ให้ความยินยอมด้วย โจทก์จึงถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 เมื่อ ส. ถึงแก่ความตายก่อน ป. โดยมีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวรวม 3 แปลง ป. คู่สมรสย่อมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 วรรคสอง และมีสิทธิรับมรดกของ ส. ด้วยส่วนหนึ่งตามมาตรา 1635 แม้ ป. ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกและไม่ได้เข้ายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก แต่เมื่อไม่ปรากฏว่า ป. แสดงเจตนาสละมรดกดังกล่าวตามมาตรา 1612 ป. จึงยังคงเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ตามกฎหมาย เมื่อ ป. ถึงแก่ความตายโดยยังไม่ได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ส. โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ป. ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. แบ่งที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ในส่วนที่ตกแก่ ป. ได้
เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง โดยจำเลยให้การเพียงว่า ป. กับโจทก์ต่างมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดก โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ป. ถึงแก่ความตายและนับแต่โจทก์บรรลุ นิติภาวะจึงขาดอายุความ อายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 มิใช่อายุความห้าปีตามมาตรา 1733 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินห้าปีนับแต่การจัดการมรดกของ ส. เสร็จสิ้นแล้วหรือไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป. คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้ง 3 แปลง ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่ ป. บิดาบุญธรรมของโจทก์ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อจำเลยไม่ได้ให้การไว้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความเพราะเป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งจะต้องฟ้องภายในห้าปีนับแต่การจัดการมรดกเสร็จสิ้นลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง โดยจำเลยให้การเพียงว่า ป. กับโจทก์ต่างมิได้ครอบครองที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดก โจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่ ป. ถึงแก่ความตายและนับแต่โจทก์บรรลุ นิติภาวะจึงขาดอายุความ อายุความที่จำเลยอ้างถึงคืออายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 มิใช่อายุความห้าปีตามมาตรา 1733 วรรคสอง คดีจึงมีประเด็นเพียงว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 หรือไม่เท่านั้น ที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามมาตรา 1733 วรรคสอง จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ กรณีจึงไม่มีเหตุให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องจำเลยเกินห้าปีนับแต่การจัดการมรดกของ ส. เสร็จสิ้นแล้วหรือไม่
จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ซึ่งมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนซึ่งรวมถึง ป. คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในขณะที่ ส. เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย การที่จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกทั้ง 3 แปลง ให้แก่ตนเองเพียงผู้เดียวจึงเป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว และถือได้ว่าการมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทางทะเบียนในที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นของ ส. ทุกคนเท่านั้น จำเลยจึงไม่อาจยกอายุความมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิรับมรดกของ ส. ในส่วนที่ตกได้แก่ ป. บิดาบุญธรรมของโจทก์ คดีของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8917/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสก่อนและหลังใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 และสิทธิในมรดกของคู่สมรส
การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในชั้นชี้สองสถานว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่าง ส. และ จ. หรือไม่ และหากเป็นสินสมรสแล้วโจทก์ทั้งสองและจำเลยมีสิทธิในที่ดินพิพาทเพียงใด ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสินสมรสและบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ส่วนแบ่งในสินสมรสว่าต้องแบ่งตามกฎหมายฉบับใดและควรจะเป็นเท่าใดตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ในปัญหานี้ได้
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
ส. และ จ. อยู่กินเป็นสามีภริยาก่อนปี 2478 จึงเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่จดทะเบียนสมรสเพราะอยู่กินกันก่อนใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 พ.ศ.2477 ซึ่งตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4 และมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477 การแบ่งสินสมรสของ ส. และ จ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 แม้ ส. จะได้ที่ดินพิพาทมาหลังจากใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 แล้ว คือ ส. ได้ 2 ใน 3 ส่วน จ. ได้ 1 ใน 3 ส่วน โดยทรัพย์ส่วนของ จ. เป็นมรดกตกได้แก่ทายาทของ จ. ซึ่งรวมโจทก์ทั้งสองด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16134/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายฝากที่ดินโดยสุจริตของบุคคลภายนอกเมื่อคู่สมรสทำนิติกรรมโดยลำพังและแจ้งข้อมูลเท็จ
แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย และที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลยที่ 1 แต่การที่จำเลยที่ 1 แจ้งจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อฝากที่ดินพิพาทและเจ้าพนักงานที่ดินว่า จำเลยที่ 1 แยกกันอยู่กับโจทก์ ไม่สามารถตามโจทก์มาลงลายมือชื่อให้ความยินยอมได้ ทั้งอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เจือสมกับที่โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่า ได้แยกกันอยู่กับจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ปี 2553 ดังนั้น การที่ปรากฏจากการจดทะเบียนว่าหลังจากจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมแต่เพียงผู้เดียวมาหลายครั้ง โดยโจทก์ไม่เคยให้ความยินยอมย่อมทำให้มีเหตุให้จำเลยที่ 2 เชื่อโดยสุจริตว่าสามารถทำนิติกรรมได้ จึงไม่ถือว่าจำเลยที่ 2 มีความประมาทแต่อย่างใด เมื่อจำเลยที่ 2 ทำนิติกรรมขายฝากกับจำเลยที่ 1 โดยสุจริตในราคา 265,000 บาท ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่สามารถไถ่ถอนได้ก็มีการเพิ่มราคาให้เป็น 300,000 บาท ถือว่าเป็นราคาที่สมควรเพราะโจทก์อ้างในคำขอท้ายคำฟ้องว่า หากโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างคืนโจทก์ไม่ได้ให้ใช้ราคา 230,672 บาท แก่โจทก์ จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน เมื่อจำเลยที่ 2 นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไปขายให้แก่จำเลยร่วมทั้งสองจึงถือว่าจำเลยร่วมทั้งสองได้รับความคุ้มครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1480 วรรคแรก ตอนท้าย โจทก์ไม่สามารถฟ้องขอเพิกถอนนิติกรรมได้
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงสมรสกันกรณียังไม่อาจแบ่งสินสมรสหรือให้ชดใช้ราคาแทนตามคำขอของโจทก์ได้
การฟ้องคดีของโจทก์เป็นการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเพิกถอนนิติกรรมและจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ยังคงสมรสกันกรณียังไม่อาจแบ่งสินสมรสหรือให้ชดใช้ราคาแทนตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10513/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมขายฝากที่ทำโดยคู่สมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และอำนาจฟ้องของคู่สมรส
การที่ อ. ภริยา ทำสัญญาขายฝากที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สมรส นิติกรรมการขายฝากที่พิพาทไม่ชอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1476 (1) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากดังกล่าวได้ตามมาตรา 1480 วรรคหนึ่ง แม้คำขอบังคับของโจทก์เพียงขอให้จำเลยจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาท โดยมิได้ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายฝาก ก็เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของโจทก์คืน เท่ากับมีผลเป็นการเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากด้วยเช่นกัน และการเพิกถอนนิติกรรมการขายฝากดังกล่าวต้องเพิกถอนนิติกรรมทั้งหมดจะเพิกถอนเฉพาะส่วนของโจทก์หาได้ไม่ แต่เมื่อโจทก์ขอมาเพียงเฉพาะส่วนของโจทก์เท่านั้น ศาลก็มิอาจเพิกถอนทั้งหมดได้เพราะจะเป็นการพิพากษาให้เกินไปกว่าหรือนอกเหนือจากที่ปรากฏในคำฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6331-6332/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนและการมีอำนาจฟ้องคดีการสมรสที่เป็นโมฆะ
โจทก์สมรสกับพันตรี จ. ในขณะที่พันตรี จ. มีคู่สมรสอยู่แล้วเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียซึ่งรวมถึงโจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะกล่าวอ้างหรือมีคำร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 ซึ่งความเป็นโมฆะของการสมรสย่อมมีผลไปถึงวันที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับพันตรี จ. หาใช่มีผลนับตั้งแต่วันที่โจทก์จดทะเบียนหย่าในปี 2532 ไม่ ฉะนั้นในขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายจึงถือไม่ได้ว่าในขณะนั้นโจทก์ยังมีคู่สมรสอยู่ การสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายจึงไม่ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 1452 เมื่อจำเลยจดทะเบียนสมรสกับผู้ตายในปี 2533 โดยโจทก์กับผู้ตายยังเป็นคู่สมรสกันอยู่การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1452 ย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 1495
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตามมาตรา 1497 มิใช่เรื่องอายุความในกรณีใช้สิทธิเรียกร้องซึ่งอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ที่ให้มีกำหนด 10 ปี ผู้มีส่วนได้เสียชอบที่จะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะเมื่อใดก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19376/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการสมรสด้วยการตายของคู่สมรสระหว่างดำเนินคดีหย่า และผลกระทบต่อการแบ่งสินสมรส
โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยและขอแบ่งสินสมรส ประเด็นทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสหรือไม่ คู่ความมิได้ฎีกา ประเด็นดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า ทรัพย์พิพาทใดเป็นสินสมรสของโจทก์กับจำเลย คำพิพากษาย่อมผูกพันคู่ความ ประเด็นชั้นฎีกาจึงมีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลยหรือไม่ ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ถึงแก่ความตาย ผู้ร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนโจทก์ผู้มรณะ ประเด็นฟ้องหย่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อโจทก์ถึงแก่ความตายจึงมีผลทำให้การสมรสย่อมสิ้นสุดลงก่อนที่คำพิพากษาให้หย่า จะถึงที่สุด ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 คดีจึงไม่มีประโยชน์ต้องพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าต่อไปอีกหรือไม่ ทั้งโจทก์ซึ่งเป็นผู้ฟ้องหย่าและขอแบ่งสินสมรสถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาต้องแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่มีอยู่นับแต่เวลาที่การสมรสสิ้นสุดไปด้วยเหตุความตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 จึงไม่อนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6847/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกละเลยหน้าที่เบิกเงินให้คู่สมรส แม้คู่สมรสไม่ยินยอมเบิกเงินบางส่วน ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างร้องขอให้ถอนอีกฝ่ายจากการเป็นผู้จัดการมรดกร่วม ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอถอนผู้คัดค้านโดยอ้างว่า ผู้คัดค้านไม่ให้ความร่วมมือโดยไม่ยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินมรดกจากบัญชีเงินฝากของผู้ตายโดยไม่มีเหตุอันสมควร ข้อเท็จจริงได้ความว่า ผู้คัดค้านยอมลงชื่อถอนเงินฝากของผู้ตายแล้วบัญชีหนึ่ง โดยผู้ร้องตกลงว่าจะแบ่งเงินให้ผู้คัดค้าน 10,000 บาท แต่ผู้ร้องไม่แบ่งให้ตามตกลง การที่ผู้คัดค้านไม่ยินยอมลงลายมือชื่อเบิกถอนเงินให้อีก ยังถือไม่ได้ว่าผู้คัดค้านละเลยไม่ทำตามหน้าที่ ไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก แต่การที่ผู้ร้องเบิกเงินของผู้ตายออกจากบัญชีธนาคาร ก. ไปเพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งให้แก่ผู้คัดค้าน ถือได้ว่าผู้ร้องละเลยมิได้ปฏิบัติการตามหน้าที่ผู้จัดการมรดก หากให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้คัดค้านต่อไปจะล่าช้าติดขัดก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดกและผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย จึงมีเหตุสมควรให้ถอนผู้ร้องออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14736/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรส: การซื้อที่ดินด้วยเงินของคู่สมรส การแบ่งสินสมรสต้องแบ่งทรัพย์สินเองหรือขายแล้วแบ่งเงิน
การที่ทรัพย์สินใดจะเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานทั้งมวลประกอบกัน ลำพังการลงลายมือชื่อรับรองต่อเจ้าพนักงานที่ดินว่าเงินทั้งหมดที่ซื้อเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งเป็นคนไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นเพียงหลักฐานเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อพยานหลักฐานทั้งหมดรับฟังได้ว่าโจทก์ไม่ได้ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่เพียงผู้เดียว ที่ดินและบ้านพิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยร่วมกัน
การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวมหรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อน หากไม่ชำระเงินจึงยึดที่ดินมาขายทอดตลาดนำเงินที่ได้จากการขายมาแบ่งกัน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวมหรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งกัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1364 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่โจทก์ก่อน หากไม่ชำระเงินจึงยึดที่ดินมาขายทอดตลาดนำเงินที่ได้จากการขายมาแบ่งกัน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว