คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7725/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังไถ่ถอนขายฝาก แม้ยังมิได้จดทะเบียน ก็ใช้ยันกันได้ระหว่างโจทก์จำเลย
ล.สามีโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครองครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3ล.นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์และ ล.ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และจำเลยได้คืน น.ส.3 กับหนังสือสัญญาขายฝากคืนให้แก่โจทก์และ ล.แล้ว หลังจากนั้นโจทก์และ ล.ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่ง ล.ถึงแก่กรรม โจทก์ก็ครอบครองที่ดินตลอดมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1378 และ 1379 เมื่อการครอบครองดังกล่าวเกิดจากการใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากคืนจากจำเลยผู้ซื้อฝากภายในกำหนด แม้ไม่มีการจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมาซึ่งทรัพยสิทธิในที่ดินยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ในระหว่างโจทก์และจำเลยด้วยกัน ย่อมมีผลใช้ยันกันได้ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาทแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7725/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังไถ่ถอนการขายฝาก แม้ยังมิได้จดทะเบียนก็มีผลใช้ยันกันได้ระหว่างโจทก์และจำเลย
ล. สามีโจทก์เป็นผู้มีชื่อถือสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม น.ส.3 ล. นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนขายฝากให้แก่จำเลย ต่อมาโจทก์และ ล. ใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากภายในกำหนด และจำเลยได้คืน น.ส.3 กับหนังสือสัญญาขายฝากคืนให้แก่โจทก์และ ล. แล้ว หลังจากนั้นโจทก์และ ล. ได้ร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทจนกระทั่ง ล. ถึงแก่กรรมโจทก์ก็ครอบครองที่ดินตลอดมา โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 และ1379 เมื่อการครอบครองดังกล่าวเกิดจากการใช้สิทธิไถ่ถอนการขายฝากคืนจากจำเลยผู้ซื้อฝากภายในกำหนด แม้ไม่มี การจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากก็เป็นเพียงทำให้การกลับคืนมา ซึ่งทรัพย์สิทธิในที่ดินยังไม่บริบูรณ์เท่านั้น แต่ในระหว่าง โจทก์และจำเลยด้วยกัน ย่อมมีผลใช้ยันกันได้ โจทก์ย่อมมี สิทธิฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนไถ่ถอนการขายฝากที่ดินพิพาท แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7007/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียน: สิทธิของผู้รับโอนที่ดีกว่าเมื่อผู้โอนมีสิทธิไม่สมบูรณ์
จำเลยกับ น.จดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยผู้โอนขายกรรมสิทธิ์ให้ และตาม ป.พ.พ.มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้อ้างว่าจำเลยและ น.รับโอนโดยไม่สุจริตข้อเท็จจริงต้องฟังว่า จำเลยและ น.รับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนโดยสุจริตแล้ว โจทก์อ้างการได้ที่ดิน-พิพาทมาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแต่เมื่อมิได้จดทะเบียนจึงยกขึ้นต่อสู้ น.ไม่ได้เมื่อที่ดินส่วนของ น. น.มีสิทธิดีกว่าโจทก์ ต่อมาที่ดินส่วนนี้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ห. เมื่อ ห.ถึงแก่กรรม แม้จำเลยและ ถ.ผู้รับโอนมรดกที่ดินส่วนของ น.มาโดยไม่เสียค่าตอบแทน โจทก์ก็ไม่อาจยกสิทธิของตนใช้ยันจำเลยได้ เพราะสิทธิของโจทก์ขาดตอนไปแล้วตั้งแต่ น.รับโอนทางทะเบียนโดยสุจริต กรณีนี้จะนำหลักกฎหมายทั่วไปที่ว่า "ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน" มาใช้บังคับไม่ได้ เพราะสิทธิของโจทก์ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1299 ซึ่งเป็นบทยกเว้นหลัก-กฎหมายทั่วไป โจทก์จึงไม่อาจอ้างเอากรรมสิทธิ์กึ่งหนึ่งในที่ดิน และฟ้องให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินให้แก่ตนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6080/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม, การจดทะเบียน, และสิทธิครอบครองทรัพย์สินร่วม
ใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์มิใช่เอกสารสำคัญที่แสดงถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานอันหนึ่งที่แสดงถึงการเสียภาษีประจำปีและแสดงว่าผู้มีชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์น่าจะเป็นเจ้าของเท่านั้น ในกรณีเจ้าของขายรถยนต์แล้วกรรมสิทธิ์ในรถยนต์โอนเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ไม่จดทะเบียนโอนก็ใช้ได้ แต่เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคสองบัญญัติถึงตัวทรัพย์สินว่าจะจำหน่ายได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคนการมีชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ย่อมเป็นการคุ้มครองประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์คันที่มีเจ้าของรวมให้ทราบว่าการซื้อรถยนต์คันดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมของเจ้าขอรวมทุกคนก่อน เป็นการตัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่รถยนต์เป็นทรัพย์ของบุคคลหลายคน แต่มีชื่อเจ้าของรวมเพียงคนเดียวในใบคู่มือจดทะเบียน และผู้ซื้อซื้อไปโดยไม่ทราบว่ามีเจ้าของรวมที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการขาย ทำให้เจ้าของรวมที่ไม่ยินยอมและผู้ซื้อได้รับความเสียหายจากการที่ต้องฟ้องและถูกฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขาย นอกจากนี้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ฯก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ ดังนั้น การลงชื่อเจ้าของรวมไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์ นอกจากจะไม่ขัดต่อบทกฎหมายแล้วยังมีประโยชน์มากกว่าการไม่ลงชื่อไว้ในใบคู่มือ จดทะเบียนรถยนต์อีกด้วย ดังนั้นการที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในรถยนต์คันพิพาทขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ไว้ในใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์นั้น จึงมีเหตุสมควรอนุญาตตามที่ขอได้
เดิมสังหาริมทรัพย์อันเป็นกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1โดยอาศัยสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของรวมเมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิการเป็นเจ้าของรวมประกอบกับไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้เจ้าของรวมจำต้องครอบครองทรัพย์สินที่ตนมีกรรมสิทธิ์รวม โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยส่งมอบการครอบครองสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่จดทะเบียน: ผลบังคับใช้จำกัด 3 ปี คำมั่นสัญญาต่ออายุสิ้นผล
เมื่อหนังสือสัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 538 กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก 3 ปี ตามที่ตกลงกันไว้ จึงไม่มีผลบังคับกันต่อไป คำมั่นของโจทก์ที่ให้แก่จำเลยไว้ตามสัญญาเช่าข้อ 2 (ก) ที่ว่าเมื่อจำเลยเช่าครบ 7 ปียินยอมต่อสัญญาเช่าให้จำเลยอีก 15 ปี ย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วย ดังนั้น จึงไม่มีคำมั่นของโจทก์ที่จะให้จำเลยสนองต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคุ้มครอง, การลอกเลียนแบบ, และอำนาจในการดำเนินคดี
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505 ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534 โดยในปี 2508 บริษัทม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก50 สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปี ประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสองบัญญัติว่า ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1มิได้ลงนาม การรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร.เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณาและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร.เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร.ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ ร.ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตาม แต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร.ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: จำเลยที่ 1 จดทะเบียนก่อน โจทก์เลียนแบบ การฟ้องแย้งโดยตัวแทนที่ไม่มีอำนาจ
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534โดยในปี 2508 บริษัท ม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก 50สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสอง เครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปีประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์ การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสอง บัญญัติว่าภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19 ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้ โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว. เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 มิได้ลงนามการรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร. เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทนแต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณา และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร. เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร. ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ร. ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตามแต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นคงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร. ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 563/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าไม่ได้จดทะเบียน ผลคือมีผลบังคับใช้ได้เพียง 3 ปี คำมั่นสัญญาเกินกว่า 3 ปีจึงสิ้นผล
เมื่อหนังสือสัญญาเช่ามิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่จำเลยจึงฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง3ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา538กำหนดเวลาเช่าที่เกินจาก3ปีตามที่ตกลงกันไว้จึงไม่มีผลบังคับกันต่อไปคำมั่นของโจทก์ที่ให้แก่จำเลยไว้ตามสัญญาเช่าข้อ2(ก)ที่ว่าเมื่อจำเลยเช่าครบ7ปียินยอมต่อสัญญาเช่าให้จำเลยอีก15ปีย่อมสิ้นผลบังคับไปด้วยดังนั้นจึงไม่มีคำมั่นของโจทก์ที่จะให้จำเลยสนองต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายที่ดินรอออกโฉนด: สิทธิครอบครองยังอยู่กับผู้ขายจนกว่าจะจดทะเบียนได้
ตามข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแสดงให้เห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ออกโฉนดที่ดินเสียก่อน แล้วจึงจะทำการซื้อขายให้เสร็จเด็ดขาด การออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่จึงเป็นข้อสำคัญ การที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขาย ก็โดยมีความหวังว่าจะสามารถออกโฉนดที่ดินได้เป็นการเข้าไปจัดการล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนซื้อขาย ไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเด็ดขาด กรณีมิใช่การซื้อขายสิทธิครอบครองโดยให้โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินเอาเอง จำเลยจึงยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจนกว่าจะออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขาย ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลย โจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท และไม่มีอำนาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาท แม้จำเลยจะนำรถเข้าไปไถหน้าดินจนเสียหาย ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 550/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลยจนกว่าจะออกโฉนดและจดทะเบียน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับจำเลยโดยจำเลยมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการออกโฉนดที่ดินและจะทำการโอนต่อเมื่อออกโฉนดที่ดินเสร็จเรียบร้อยจึงเห็นเจตนาของคู่สัญญาได้ว่าประสงค์จะให้ออกโฉนดที่ดินเสียก่อนแล้วจึงจะทำการซื้อขายให้เสร็จเด็ดขาดการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยเพื่อจัดสรรขายก็โดยมีความหวังว่าจะสามารถออกโฉนดที่ดินได้เป็นการเข้าไปจัดการล่วงหน้าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนซื้อขายไม่อาจถือได้ว่าจำเลยมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยเด็ดขาดกรณีมิใช่การซื้อขายสิทธิครอบครองโดยให้โจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินเอาเองซึ่งจะออกโฉนดที่ดินได้หรือไม่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบและไม่ต้องคืนเงินราคาทั้งยังเห็นได้ชัดจากข้อตกลงในสัญญาว่าถ้าไม่สามารถออกโฉนดที่ดินได้ทันในกำหนดจำเลยจะขายที่ดินในอีกโฉนดหนึ่งที่อยู่ติดกันให้แทนในจำนวนเนื้อที่ที่เท่ากันเห็นได้ว่าจำเลยยังคงมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจนกว่าจะออกโฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนขายให้โจทก์ดังนั้นการที่โจทก์เข้าไปจัดแบ่งที่ดินพิพาทเป็นแปลงย่อยย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่เจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทไม่มีอำนาจห้ามจำเลยมิให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวในที่ดินพิพาทแม้จำเลยจะนำรถเข้าไปไถหน้าดินจนเสียหายก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
of 138