พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 311/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกและรอการลงโทษ: ศาลอุทธรณ์แก้เป็นรอการลงโทษ แม้ยังคงลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ทำให้จำกัดสิทธิในการฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย1ปีศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้รอการลงโทษจำคุกและคุมประพฤติจำเลยไว้ถือว่าเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินหนึ่งปีจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา219.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และประเด็นอำนาจฟ้อง-สภาพบุคคลจำเลย
โจทก์ที่ 2 ใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดแก่โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 17,817.27 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาท ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยที่ 2 ในส่วนซึ่งอาจเป็นผลถึงโจทก์ที่ 2 ด้วย จึงเป็นการมิชอบ จำเลยที่ 2 จะฎีกาขึ้นมาอีกไม่ได้ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การสรุปได้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 มิได้เป็นพนักงานขับรถและไม่มีอำนาจในการใช้รถของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 หมดสภาพการเป็นิติบุคคลตั้งแต่ก่อนเกิดการละเมิดและก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องแล้วนั้น จำเลยที่ 6 มิได้ให้การถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การสรุปได้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 1 มิได้เป็นพนักงานขับรถและไม่มีอำนาจในการใช้รถของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 มิได้กระทำการในทางการที่จำเลยที่ 2 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด ส่วนที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2 หมดสภาพการเป็นิติบุคคลตั้งแต่ก่อนเกิดการละเมิดและก่อนที่โจทก์จะยื่นฟ้องแล้วนั้น จำเลยที่ 6 มิได้ให้การถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และการพิสูจน์การกระทำละเมิดในทางการจ้าง
โจทก์ที่2ใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพียง17,817.27บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยที่2ในส่วนซึ่งอาจเป็นผลถึงโจทก์ที่2ด้วยจึงเป็นการมิชอบ การที่จำเลยที่1ลูกจ้างผู้ทำหน้าที่ธุรการในกองแก๊สของจำเลยที่2ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับรถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นรถที่มีไว้เพื่อใช้งานรับส่งหนังสือและติดต่อภายนอกอันเป็นงานที่อยู่ในขอบข่ายหน้าที่การงานของพนักงานธุรการไปในเวลาทำงานของจำเลยที่2แล้วไปชนกับรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ในขณะเกิดเหตุ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4599/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิการต่อสู้คดีของจำเลยในคดีแพ่งที่เชื่อมโยงกับคดีอาญา โดยต้องผูกพันตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญา
จำเลยขับรถยนต์ชนรถยนต์โจทก์ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงฟ้องเรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลย ฟ้องโจทก์จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่จำเลยถูกฟ้องไว้ คดีเฉพาะตัวจำเลยศาลจำต้องถือตามข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลย การที่จำเลยขอให้เรียกเจ้าของรถยนต์คันอื่นเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยอ้างว่าเหตุเกิดเพราะความประมาทของรถยนต์คันดังกล่าว ไม่ใช่ความประมาทของจำเลยนั้น หากศาลอนุญาตให้เรียกก็จะเท่ากับเป็นการยอมรับให้จำเลยนำสืบโต้แย้งว่าเหตุที่รถยนต์ชนกันครั้งนี้ไม่ใช่ความผิดของจำเลย ซึ่งจำเลยไม่มีสิทธิจะกระทำเช่นนั้นศาลจึงชอยที่จะไม่อนุญาตให้เรียกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นใหม่ที่มิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้เป็นประโยชน์แก่จำเลย
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้จำนองพร้อมด้วยดอกเบี้ยที่ค้างชำระและดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าคำให้การของจำเลยมิได้ปฏิเสธข้อกล่าวอ้างของโจทก์ ถือไม่ได้ว่าเป็นคำให้การต่อสู้คดี พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันผิดนัด โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยชำระดอกเบี้ยตามฟ้องเมื่อในชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์ว่าไม่ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ทั้งมิได้แก้อุทธรณ์ว่าคำให้การจำเลยมีประเด็นดังกล่าวดังนี้ ปัญหาที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยไม่ต้องชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในช่วงเวลาที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวไปยังจำเลย และโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราที่โจทก์ขอ จึงมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างลูกจ้างที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งจำกัดสิทธิการแสวงหาความก้าวหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งของนายจ้างที่กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งจะไปสมัครสอบเป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องยื่นใบลาออกก่อนนั้นเป็นคำสั่ง ที่จำกัดสิทธิในการแสวงความก้าวหน้าของลูกจ้างเกินความจำเป็น จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ด้วยเหตุฝ่าฝืนคำสั่งนี้ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง: นายสมนึกเป็นลูกจ้าง/ตัวแทนของจำเลยหรือไม่
การที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ไม่ใช่ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยนั้น ก็โดยใช้ดุลพินิจวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำมาสืบ แล้วฟังข้อเท็จจริงไปตามนั้น เหตุที่นำคำเบิกความของร้อยตำรวจโทก.และนายช.พยานโจทก์ทั้งสองมาเป็นข้อวินิจฉัยโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104. กรณีเช่นนี้จึงมิใช่วินิจฉัยตรงข้ามกับพยานหลักฐานในสำนวนอันเป็นปัญหาข้อกฎหมายดังที่โจทก์ฎีกาแต่ประการใดฉะนั้นข้อที่โจทก์ฎีกาว่า ส. เป็นลูกจ้างหรือตัวแทนที่ปฏิบัติงานไปในทางการที่จ้างหรือตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นการโต้เถียงในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1884/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อค่าเสียหายแต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท
โจทก์ทั้งสี่ต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวของโจทก์แต่ละคนตามลำพังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการละเมิดและการรับประกันภัยค้ำจุนซึ่งทำให้โจทก์แต่ละคนเสียหายแม้จะฟ้องรวมกันมาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน ปรากฏว่าค่าเสียหายที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมีจำนวนไม่เกินห้าหมื่นบาท จำเลยที่ 3 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3570/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แม้เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยนั้น ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ มิใช่ข้อเท็จจริงนอกประเด็นนอกสำนวนที่จำเลยยกมากล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์และฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเสรีภาพในการประกอบอาชีพและการจดทะเบียนบริษัท: การจำกัดสิทธิโดยมติคณะรัฐมนตรีขัดต่อกฎหมาย
การที่โจทก์มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้าและการเล่นแชร์ เป็นสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำได้ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ การจำกัดสิทธิเช่นว่านี้จะกระทำได้ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้โดยชัดแจ้ง ฉะนั้นเมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่ต้องห้ามหรือต้องควบคุมตามกฎหมาย จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องพิจารณาว่าคำขอของโจทก์ครบถ้วนถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1019 บัญญัติไว้หรือไม่เท่านั้น จำเลยจะสั่งให้รอการรับจดทะเบียนไว้ก่อนตามมติของคณะรัฐมนตรีเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้ควบคุมถึงการประกอบอาชีพของโจทก์ดังกล่าวหาได้ไม่