คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ฎีกาต้องห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 496 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4950/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีเถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินราคาน้อยกว่าสองแสนบาท ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงซึ่งมีราคา 25,000 บาท และ 30,000 บาทตามลำดับขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และให้จำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของ ต. ผู้ตายไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงชื่อทางทะเบียนตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ของที่ดินพิพาทเป็นชื่อโจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่ดินพิพาทเป็นของ ต.และ ส.ครอบครองทำประโยชน์ตลอดมาต่อมาต.ยกให้ส.ที่ดินพิพาทจึงเป็นของ ส. มิใช่ของโจทก์ ดังนี้ เป็นการต่อสู้เถียงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แม้ข้อพิพาทเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ
ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า พ. ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ โจทก์ครอบครองทำประโยชน์มาตลอด โจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยการรับมรดกมาจากบิดาและในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. ฝ่ายโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 248 วรรคแรก ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลใช้บังคับก่อนจำเลยยื่นฎีกาคู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงไร ต้องพิเคราะห์ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4764/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากมิได้ยกเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และฎีกาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องฎีกาข้อแรกถึงข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบแล้วลงท้ายฎีกาว่าโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วย ขอให้โจทก์ฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยมิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบข้อไหนอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งในฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์ใช้แก่จำเลยสูงเกินไปนั้น เมื่อศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อแรก คดีคงเหลือปัญหาตามฎีกาซึ่งเป็นเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว เมื่อโจทก์มิได้ยกเหตุว่าศาลชั้นต้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ถือว่าเป็นฎีกาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องสิทธิครอบครองมีทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่พิพาทเป็นของจำเลย ดังนี้เป็นคดีมีข้อพิพาทด้วยเรื่องสิทธิครอบครองจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อที่พิพาทมีราคาเพียง8,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์ฎีกาว่าโจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาท ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทที่ดินรกร้างว่างเปล่าโดยรับมอบการครอบครองจากเจ้าของเดิมและได้เข้าทำประโยชน์ต่อมา โจทก์จึงมีสิทธิครอบครองที่พิพาทใช้ยันจำเลยได้และมีอำนาจฟ้องคดีนั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์เปลี่ยนแปลงเหตุแห่งความเสียหายจากฐานรากเคลื่อนตัวเป็นรื้อถอนอาคาร เป็นการอ้างเหตุใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ความผิดอาวุธปืน & ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น – ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะโทษอาวุธปืน – คดีถึงที่สุด
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต กับฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน และทางสาธารณะ โดยไม่มีเหตุอันสมควรนั้น โจทก์จำเลยต่างไม่อุทธรณ์ถือว่าเป็นอันยุติแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าว จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ส่วนความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เมื่อศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์แก้เฉพาะให้กำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนที่ศาลชั้นต้นยังมิได้กำหนด ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์พิพากษายืนในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นจึงเป็นอันถึงที่สุดตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 วรรคสอง ตอนท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม เนื่องจากความผิดบางส่วนยุติแล้ว และศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาเดิมในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น
คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต กับฐานพาอาวุธปืนไปในเมืองหมู่บ้านและทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควรนั้น จำเลยมิได้อุทธรณ์จึงเป็นอันยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ฎีกาของจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288ให้จำคุกจำเลยไว้ตลอดชีวิต โจทก์และจำเลยไม่อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปศาลอุทธรณ์ภาค 2 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 245 วรรคสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เฉพาะให้กำหนดโทษในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนที่ศาลชั้นต้นยังมิได้กำหนด ซึ่งมีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืนในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นความผิดฐานนี้จึงเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีครอบครองที่ดินพิพาทราคาน้อยกว่า 200,000 บาท ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
คดีพิพาทกันในปัญหาว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง โจทก์ฎีกาว่า ที่พิพาทเป็นที่ธรณีสงฆ์ แม้จำเลยจะครอบครองโดยเจตนาเป็นเจ้าของก็ไม่ได้สิทธิครอบครองโจทก์ย่อมมีสิทธิขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3406/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาทและขาดอายุความฟ้องแย่งการครอบครอง ทำให้ฎีกาต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้ครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันในที่พิพาทซึ่งมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ โดยซื้อมาจากจำเลยที่ 1แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้โอนชื่อทางทะเบียนให้ ต่อมาจำเลยที่ 1ขายที่พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยโอนชื่อทางทะเบียนโดยจำเลยทั้งสองรู้อยู่แล้วว่าที่พิพาทได้โอนให้แก่โจทก์ทั้งสองแล้วทำให้โจทก์ทั้งสองเสียเปรียบ และจำเลยที่ 2 เข้าไปแย่งการครอบครองที่พิพาทขอให้ขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไป กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 2 ซื้อที่พิพาทจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองที่พิพาทโดยโจทก์ทั้งสองมิได้ครอบครองที่พิพาท ดังนี้ ประเด็นในคดีนี้จึงมีว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองหรือจำเลยที่ 2 จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์ทั้งสองจะมีคำขอให้จำเลยที่ 2 เพิกถอนชื่ออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ กับให้จำเลยที่ 1 โอนชื่อทางทะเบียนแก่โจทก์ทั้งสองก็เป็นผลต่อเนื่องในเรื่องที่พิพาทเป็นของใครเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าเป็นคดีมีคำขออันไม่มีทุนทรัพย์ แยกกันได้จากคำขอที่เป็นทุนทรัพย์เมื่อราคาที่พิพาทไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3288/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง, อายุความ, และดุลพินิจศาลในคดีโกงเจ้าหนี้
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำเลยความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 จำคุก 8 เดือน ความผิดฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคแรก จำเลยฎีกาว่าหลังจากศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานฉ้อโกงและมีคำสั่งว่า คดีมีมูลแล้ว โจทก์ได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ขึ้นมาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต คำสั่งดังกล่าวมีผลทำให้คดีมีมูลในความผิดฐานโกงเจ้าหนี้โดยปริยาย โดยที่ศาลชั้นต้นมิได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานนี้เป็นการขัดต่อ ป.วิ.อ. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้ทำการไต่สวนมูลฟ้องความผิดฐานโกงเจ้าหนี้แล้วจึงมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานนี้ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ย่อมมีผลอย่างเดียวกับการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งเมื่อเดือนมีนาคม 2533 โจทก์ย่อมจะต้องไปขอตรวจสอบหลักฐานที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อนำมาใช้ในการสืบพยานในคดีดังกล่าว และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมี น.ส.3 ตามกฎหมายจะต้องมีการประกาศต่อสาธารณชนเป็นเวลา 30 วัน ก่อนทำการโอนปรากฏจากสารบัญด้านหลัง น.ส.3 ที่ดินพิพาทว่ามีการโอนเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม2533 แสดงว่าจะต้องมีการประกาศคำขอต่อบุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมหรือต้นเดือนเมษายน 2533 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโจทก์ควรจะทราบแล้วว่ามีการขอโอนสิทธิในที่ดินดังกล่าว เนื่องจากเป็นเวลาช่วงเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีแพ่ง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมข้อหาและฐานความผิดตาม ป.อ. มาตรา 350เกิน 3 เดือน นับแต่วันเกิดเหตุคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้น ปัญหาว่าโจทก์รู้เรื่องความผิดตั้งแต่เมื่อใดเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
ฎีกาจำเลยที่ว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตามสถานที่เกิดเหตุที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องการกระทำของจำเลยขาดเจตนากระทำผิด และขอให้ศาลรอการลงโทษนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานและการลงโทษของศาลอุทธรณ์ ถือว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเช่นกัน
แม้คดีจะฎีกาได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย แต่ถ้าหากศาลฎีกาเห็นว่าศาลล่างลงโทษจำเลยหนักเกินไปก็ย่อมมีอำนาจที่จะพิพากษาลงโทษจำเลยให้เหมาะสมก่ความผิดได้
of 50