พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,659 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิ้นสุดสัญญาสัญญาบัญชีเดินสะพัด การคิดดอกเบี้ยหลังเลิกสัญญา และดอกเบี้ยปรับ
จำเลยเป็นหนี้เบิกเงินเกินบัญชีแก่โจทก์ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัด ต่อมาโจทก์โอนเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของ ช. มาชำระหนี้ของจำเลยเพื่อหักทอนบัญชีเดินสะพัด แต่เมื่อหักทอนบัญชีกันแล้ว จำเลยคงเป็นหนี้โจทก์อยู่อีกจำนวนหนึ่ง หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีอีก พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าคู่สัญญาประสงค์ให้สัญญาบัญชีเดินสะพัดอันเป็นสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยอีก
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ หลังจากบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว สิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่งจำเลยต้องชำระหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชีอยู่แก่โจทก์การที่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยผู้ผิดสัญญาที่หากสูงเกินส่วนศาลอาจปรับลดลงได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในอันที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ หลังจากบัญชีเดินสะพัดเลิกกันแล้ว สิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม ตาม ป.พ.พ. 391 วรรคหนึ่งจำเลยต้องชำระหนี้เงินที่เบิกเกินบัญชีอยู่แก่โจทก์การที่จำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดชำระหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากการเลิกสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง กรณีไม่ใช่เบี้ยปรับที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลยผู้ผิดสัญญาที่หากสูงเกินส่วนศาลอาจปรับลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2397/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดเมื่อหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันหักบัญชี
จำเลยทำคำขอเปิดบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์แบบไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดจึงใช้บังคับได้จนกว่าจะมีการบอกเลิกสัญญาหรือมีการหักทอนบัญชีและเรียกให้ชำระหนี้ส่วนที่เป็นจำนวนคงเหลือ โดยจำเลยยอมเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี หรืออัตราสูงสุดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดและให้คิดดอกเบี้ยทบต้นตามวิธีและประเพณีของธนาคาร มี ช. ทำสัญญาจำนำสิทธิการรับฝากเงินที่ฝากไว้แก่โจทก์เป็นประกันหนี้ดังกล่าว ปรากฏว่าหลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยขอเพิ่มวงเงินจากโจทก์ แต่โจทก์ไม่ยินยอม วันที่ 2 กันยายน จำเลยจึงแจ้งให้โจทก์นำเงินฝากและดอกเบี้ยของ ช. ที่ประกันหนี้ไว้มาชำระหนี้แก่โจทก์ แสดงว่า หลังวันที่ 30 เมษายน จำเลยยังประสงค์จะกู้เบิกเงินเกินบัญชีและเดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์ต่อไป จึงมิได้แจ้งให้โจทก์นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชี แต่เพิ่งแจ้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน ทั้งที่จำเลยเคยเป็นพนักงานสินเชื่อของธนาคารมาก่อนย่อมต้องทราบดีถึงการคิดดอกเบี้ยของธนาคารตามสัญญาดังกล่าว สัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงสิ้นสุดในวันที่ 2 กันยายนซึ่งเป็นวันหักทอนบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ 2 กันยายน ดังนั้น การที่โจทก์มิได้นำเงินฝากของ ช. มาหักทอนบัญชีเสียก่อนที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงจึงหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายใช้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ แต่หลังจากที่สัญญาเลิกกันแล้วสิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยภายหลังสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงถือเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้และเมื่อโจทก์มิได้แสดงอัตราดอกเบี้ยที่คิดแก่จำเลยหลังสัญญาสิ้นสุดให้ชัดเจนจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่สูงกว่าได้
สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นสัญญาลักษณะพิเศษที่กฎหมายใช้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะคำนวณดอกเบี้ยทบต้นเอาแก่ลูกหนี้ได้ แต่หลังจากที่สัญญาเลิกกันแล้วสิทธิในการคำนวณดอกเบี้ยทบต้นย่อมหมดไป คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้จึงเป็นการผิดนัดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสัญญา โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราที่ตกลงกันไว้ในสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าดอกเบี้ยภายหลังสัญญาบัญชีเดินสะพัดสิ้นสุดลงถือเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลมีอำนาจลดลงได้และเมื่อโจทก์มิได้แสดงอัตราดอกเบี้ยที่คิดแก่จำเลยหลังสัญญาสิ้นสุดให้ชัดเจนจึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีนั้น เป็นข้อวินิจฉัยที่ไม่ต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง เป็นการไม่ชอบ แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่สูงกว่าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2094/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามสัญญา, เบี้ยปรับกรณีผิดนัด, และอำนาจศาลในการลดเบี้ยปรับ
ตามหนังสือสัญญากู้เงิน มีใจความโดยสรุปว่า ในระยะ 3 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้เงินโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ได้เพียงร้อยละ 8.11 ต่อปีเท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นกว่านั้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญา เว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 3 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้เงินหรือหลังจากนั้นก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.11 ต่อปีในระยะเริ่มแรกก็ดี ดอกเบี้ยหลังจากล่วงพ้น 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงินก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม แต่ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงเวลา 3 ปีนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งหากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนดเวลาในสัญญาซื้อขาย และการคิดดอกเบี้ย
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้าพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยตามที่ระบุไว้ในใบส่งของว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า โจทก์ส่งมอบสินค้าครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 และครั้งหลังเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จำเลยจึงต้องชำระราคาครั้งแรกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 และครั้งหลังในวันที่ 17 สิงหาคม 2540 จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผิดนัดชำระหนี้ตามกำหนดในใบส่งของ และการคิดดอกเบี้ยโดยไม่ต้องเตือน
ข้อตกลงการชำระราคาสินค้าพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยตามที่ระบุไว้ในใบส่งของว่าต้องชำระภายใน 45 วัน นับแต่วันส่งมอบสินค้า โจทก์ส่งมอบสินค้าครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2540 และครั้งหลังเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2540 จำเลยจึงต้องชำระราคาครั้งแรกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 และครั้งหลังในวันที่ 17 สิงหาคม 2540 จึงเป็นหนี้ที่ได้กำหนดเวลาชำระไว้ตามวันแห่งปฏิทิน เมื่อจำเลยมิได้ชำระตามกำหนด ถือได้ว่าจำเลยผิดนัดโดยโจทก์มิพักต้องเตือนอีก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 204 วรรคสอง จำเลยต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของเงินที่ค้างชำระนับแต่วันครบกำหนด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทเช่าซื้อ, การแปลงสภาพบริษัท, และดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด มีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน ตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) ถึง (4) ในหนังสือรับรองของกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์โดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจของโจทก์หาใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ไม่ การดำเนินธุรกิจของโจทก์จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
พ.ร.บ บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทเอกชนคือบริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ และบริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทเอกชนเดิมทั้งหมด เมื่อโจทก์ ซึ่งเดิมเป็นบริษัทเอกชนทำหนังสือมอบอำนาจให้นายส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินของบริษัทแทนบริษัทได้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด สิทธิและความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชน และเมื่อหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวยังอยู่ในกำหนดเวลา ส.จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างเหตุมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อโจทก์เรียกดอกเบี้ยเอากับจำเลยทั้งสองตามสัญญาเช่าซื้อซึ่งถือว่าเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายตามสัญญา หาใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1961/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธุรกิจเช่าซื้อไม่เข้าข่ายธุรกิจเงินทุน, อำนาจลงนามหลังแปรสภาพบริษัท, ดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อ
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดมีวัตถุประสงค์ให้เช่าซื้อและให้เช่าทรัพย์สิน การที่โจทก์ให้จำเลยเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ จึงอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์ และธุรกิจดังกล่าวของโจทก์มิใช่ธุรกิจการจัดหามาซึ่งเงินทุนและใช้เงินนั้นในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งแยกประเภทไว้ ดังบทนิยาม "ธุรกิจเงินทุน" ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 จึงไม่เข้าลักษณะการประกอบธุรกิจเงินทุนอันจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 อนุญาตให้บริษัทจำกัดซึ่งตั้งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดได้ เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนการแปรสภาพก็หมดสภาพจากการเป็นบริษัทจำกัดตามมาตรา 184 แต่มาตรา 185 ยังคงรับรองถึงความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทจำกัดที่หมดสภาพด้วยการแปรสภาพใหม่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดว่า บริษัทมหาชนจำกัดที่แปรสภาพมานั้นย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สินหนี้ สิทธิและความรับผิดของบริษัทจำกัด การที่บริษัท ส. ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้ ส. ลงนามในสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สินแทนได้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวย่อมก่อให้เกิดสิทธิหรือความรับผิดอันโอนไปยังโจทก์ซึ่งแปรสภาพมาเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ช. จึงยังคงมีอำนาจลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องอ้างมูลหนี้อันเกิดจากการผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ที่จำเลยที่ 1ทำกับโจทก์โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน มิใช่เรียกร้องมูลหนี้อันเกิดจากการกู้ยืมเงิน เมื่อสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาและต้องชำระเงินใด ๆ ให้แก่เจ้าของ ผู้เช่าซื้อยอมเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปีนับจากวันผิดนัด และโจทก์เรียกดอกเบี้ยตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จึงมิใช่เป็นการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยหรือขัดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945-1946/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ การคิดดอกเบี้ย และอัตราแลกเปลี่ยนตามกฎหมาย
หลังจากที่มีข้อพิพาทกันตามสัญญาซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้มีการตกลงกันใหม่เพื่อจะระงับข้อพิพาทด้วยการเสนอคดีให้ศาลไทยเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ดังนี้ ข้อตกลงเดิมที่ต้องเสนอให้อนุญาโตตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยจึงสิ้นผลผูกพันไปแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทตามสัญญาดังกล่าวให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยก่อน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไปจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงให้จำเลยที่ 1 หลายครั้ง คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 26,724,388.49 ดอลลาร์สหรัฐจำเลยที่ 1 ชำระราคาบางส่วนแล้วผิดนัดไม่ชำระส่วนที่เหลือเป็นเงิน 25,174,388.40 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 30 แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ว่ามีการส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงกี่ครั้ง ปริมาณครั้งละเท่าใด เมื่อใดบ้าง รวมถึงจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดและโจทก์คิดดอกเบี้ยได้อย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงไปจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงให้จำเลยที่ 1 หลายครั้ง คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 26,724,388.49 ดอลลาร์สหรัฐจำเลยที่ 1 ชำระราคาบางส่วนแล้วผิดนัดไม่ชำระส่วนที่เหลือเป็นเงิน 25,174,388.40 ดอลลาร์สหรัฐ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้แก่โจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงให้พอเข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา และคำขอบังคับ ถือว่าเป็นคำฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายตามข้อกำหนดคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2540 ข้อ 6 วรรคหนึ่ง ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 30 แล้ว ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ว่ามีการส่งมอบน้ำมันเชื้อเพลิงกี่ครั้ง ปริมาณครั้งละเท่าใด เมื่อใดบ้าง รวมถึงจำเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่เมื่อใดและโจทก์คิดดอกเบี้ยได้อย่างไร ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่จำเป็นต้องกล่าวในคำฟ้องเพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่ารถยนต์ ความเสียหายรถยนต์ และดอกเบี้ยเงินประกัน
จำเลยไม่ได้นำสืบว่าเมื่อจำเลยยึดรถยนต์ที่เช่าคืนมารถยนต์ที่เช่าชำรุดหรือมีความบุบสลายเพราะความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุให้รถยนต์ที่เช่าเสื่อมสภาพ เสื่อมราคา โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดต่อจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 วรรคแรก และตามสัญญาเช่าไม่ได้ระบุให้โจทก์ต้องรับผิดในราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่เมื่อโจทก์ผิดสัญญาจำเลยจึงไม่อาจเรียกราคารถยนต์ที่เช่าส่วนที่ขาดอยู่ จากโจทก์ได้
แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องวางเงินประกันต่อผู้ให้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ย่อมมีความหมายเพียงว่านับแต่วันที่โจทก์ได้วางเงินประกันต่อจำเลยจนกระทั่งครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาในระหว่างเวลาเช่าดังกล่าวโจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงินประกันไม่ได้เท่านั้น ทั้งหนี้ที่จำเลยจะต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวให้โจทก์นับแต่วันผิดนัด
แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่าผู้เช่าจะต้องวางเงินประกันต่อผู้ให้เช่าโดยไม่มีดอกเบี้ย แต่ย่อมมีความหมายเพียงว่านับแต่วันที่โจทก์ได้วางเงินประกันต่อจำเลยจนกระทั่งครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาในระหว่างเวลาเช่าดังกล่าวโจทก์จะเรียกเก็บดอกเบี้ยจากจำเลยในต้นเงินประกันไม่ได้เท่านั้น ทั้งหนี้ที่จำเลยจะต้องคืนเงินประกันแก่โจทก์เป็นหนี้เงิน จำเลยจะต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 วรรคแรก จำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยจำนวนดังกล่าวให้โจทก์นับแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1795/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในสัญญากู้ยืมเงินกรณีคณะกรรมการไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล และการคิดดอกเบี้ยเมื่อไม่ได้กำหนดเวลาชำระ
หนังสือ สัญญากู้ยืม เงิน ระบุ คณะกรรมการ กองทุน ผู้บริหาร สำนักงาน การ ประถม ศึกษา อำเภอ เป็น ผู้กู้ โดย มี จำเลย เป็น ผู้ลงนาม ใน ฐานะ ประธาน คณะกรรมการ แต่เมื่อ คณะกรรมการ ไม่มี ฐานะ เป็น นิติบุคคล ที่ จะ สามารถ รับผิด ต่อ โจทก์ ใน ฐานะ บุคคลภายนอก สำหรับ กิจการ ที่ จำเลย กระทำ ไป ดัง ที่ บัญญัติ ไว้ ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 จึง ถือไม่ได้ว่า จำเลย เข้า ทำ สัญญา แทน ตัวการ ที่ มี ตัว อยู่ จริง ดังนั้น จำเลย จึง ต้อง รับผิด ตาม สัญญากู้ยืม เงิน ตาม ลำพัง สัญญากู้ยืม เงิน ไม่ได้ กำหนด อัตรา ดอกเบี้ย ไว้ เพียงแต่ กำหนด ให้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย ทุกวัน สิ้นเดือน โจทก์ จึง มีสิทธิ คิด ดอกเบี้ย ใน ระหว่าง ผิดนัด อัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อ ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 แม้ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย แก่ โจทก์ อัตรา ร้อยละ 2 บาท ต่อ เดือน ก็ เป็น การ ชำระ ดอกเบี้ย ตาม อำเภอ ใจ โดย รู้ อยู่ ว่า ตน ไม่มี ความผูกพัน ที่ จะ ต้อง ชำระ จำเลย หา มีสิทธิ จะ ได้รับ ดอกเบี้ย ที่ ชำระ ไป แล้ว คืน ไม่ อย่างไร ก็ ตาม เนื่องจาก สัญญากู้ยืม เงิน มิได้ กำหนด เวลา ให้ จำเลย ใช้ คืนเงิน ที่ กู้ยืม และ ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ ได้ บอกกล่าว แก่ จำเลย ให้ คืนเงิน ดังกล่าว ภายใน เวลา อันควร ตาม มาตรา 652 จึง ไม่อาจ ถือว่า วันที่ 1 สิงหาคม 2540 ซึ่ง เป็น วัน หลังจาก วันที่ จำเลย ชำระ ดอกเบี้ย สำหรับ เดือน สุดท้าย ให้ แก่ โจทก์ เป็น วันที่ จำเลย ผิดนัด ต้อง ถือว่า จำเลย ผิดนัด และ ต้อง เสีย ดอกเบี้ย ตั้งแต่ วันฟ้อง เป็นต้น ไป