พบผลลัพธ์ทั้งหมด 516 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 580/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการและการถอนฟ้อง: ศาลชอบที่จะยกคำร้องเพิกถอนการถอนฟ้องเมื่อข้ออ้างขัดกับเอกสารทางทะเบียน
ตามคำร้องลงวันที่ 24 ตุลาคม 2534 ของโจทก์ขอให้เพิกถอน คำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง อ้างว่า พ.และท. ได้พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์ตามมติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเมื่อวันที่8 กรกฎาคม 2534 แต่ตามหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทฯเอกสารท้ายฟ้อง ซึ่งออกเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ปรากฏว่า พ.และท.ยังเป็นกรรมการของโจทก์อยู่ ทั้งในคำร้องของโจทก์ดังกล่าวก็หาได้อ้างว่าได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมการของ โจทก์ภายหลังจากวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 ไม่ เมื่อข้ออ้างตามคำร้อง ของโจทก์ที่ว่า พ.และท. พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์ตั้งแต่วันที่8 กรกฎาคม 2534 ฟังไม่ได้เพราะขัดต่อหนังสือรับรองของ นายทะเบียนเช่นนี้แล้ว ศาลก็ชอบที่จะสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าว เสียได้โดยไม่จำต้องไต่สวนเสียก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องมีผลทำให้คำขอท้ายฟ้องเป็นอันยกเลิก และโจทก์ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงจึงจะมีสิทธิฟ้อง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เพิกถอน น.ส.3 ก. ถ้าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามก็ขอให้เอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เมื่อต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ย่อมมีผลเป็นการไม่ติดใจให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ตามคำขอท้ายฟ้องด้วย จึงถือเสมือนไม่มีคำขอให้เพิกถอน น.ส.3 ก. อยู่ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอน น.ส.3 ก.ไม่ได้ เนื่องจากจะเป็นการสั่งเกินคำฟ้องซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142
น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไม่ได้ทับที่ดินของโจทก์การที่จำเลยที่ 5 ได้ น.ส.3 ก. ดังกล่าวไปจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วได้โอนที่ดินตาม น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยที่ 6 ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในทางอื่นอีก จำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 6
น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไม่ได้ทับที่ดินของโจทก์การที่จำเลยที่ 5 ได้ น.ส.3 ก. ดังกล่าวไปจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วได้โอนที่ดินตาม น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยที่ 6 ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในทางอื่นอีก จำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องจำเลยบางส่วนมีผลทำให้ศาลไม่อาจสั่งเพิกถอน น.ส.3 ก. เกินคำฟ้องเดิม และการพิพากษาเรื่องละเมิดต้องมีผู้เสียหายจริง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เพิกถอน น.ส.3 ก. ถ้าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไม่ปฏิบัติตามก็ขอให้เอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1ถึงที่ 4 เมื่อต่อมาโจทก์ถอนฟ้องจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4ย่อมมีผลเป็นการไม่ติดใจให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4ตามคำขอท้ายฟ้องด้วย จึงถือเสมือนไม่มีคำขอให้เพิกถอนน.ส.3 ก. อยู่ในคำขอท้ายฟ้อง ศาลจึงสั่งเกี่ยวกับการเพิกถอน น.ส.3 ก. ไม่ได้ เนื่องจากจะเป็นการสั่งเกินคำฟ้องซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 น.ส.3 ก. ของที่ดินพิพาทไม่ได้ทับที่ดินของโจทก์การที่จำเลยที่ 5 ได้ น.ส.3 ก. ดังกล่าวไปจากเจ้าพนักงานที่ดินแล้วได้โอนที่ดินตาม น.ส.3 ก. ให้แก่จำเลยที่ 6 ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าได้ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายในทางอื่นอีกจำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงไม่ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 5 และที่ 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องคดีแพ่ง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี เพราะหากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่ ก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจดุลพินิจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ถอนฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175นั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ การที่โจทก์ใช้สิทธิขอถอนฟ้องเพราะ จำเลยเป็นหนี้โจทก์มีจำนวนมากกว่าที่ระบุในฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย เพราะหากถอนฟ้องแล้วโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีเต็มที่เช่นกัน การที่ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะคดีย่อมแล้วแต่พยานหลักฐานของคู่กรณี ตรงกันข้ามหากไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง จำเลยอาจได้เปรียบในเชิงคดีก็เป็นได้เพราะหากจำเลยเป็นหนี้โจทก์มากกว่าที่ฟ้อง จำเลยอาจไม่ต้องชำระหนี้ดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาโดยใช้สิทธิไม่สุจริต เอาเปรียบในเชิงคดีแต่ประการใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการใช้สิทธิไม่สุจริต
การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องในคดีแพ่งได้หรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้านเมื่อศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดีก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3088/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมยังค้างพิจารณา โจทก์ฟ้องคดีเดิมอีกไม่ได้ แม้จะถอนฟ้องไปแล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้น ขอให้จำเลยและบริวารออกไปจากที่พิพาทอันเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีนี้แล้วโจทก์ขอถอนฟ้องไปศาลชั้นต้นอนุญาตแล้ว จำเลยได้อุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นอุทธรณ์โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ดังนั้นเมื่อคดีก่อนแม้โจทก์จะขอถอนฟ้องไปและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วก็ตาม แต่จำเลยยังอุทธรณ์ การถอนฟ้องนั้นยังไม่ถึงที่สุดโดยยังค้างพิจารณาอยู่ในศาลชั้นอุทธรณ์ จึงห้ามไม่ให้โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้อันเป็นเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด ศาลอนุญาตได้เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใดก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้านจึงอนุญาต ให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1328/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการถอนฟ้องคดี: แม้พ้นจากตำแหน่ง แต่ยังเป็นกรรมการตามหนังสือรับรอง ย่อมมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้
บริษัทโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้ส่งรถคืน ต่อมาที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นมีมติให้ พ.กับท. พ้นจากตำแหน่งกรรมการของโจทก์หลังจากนั้น พ.กับท. อ้างว่าเป็นกรรมการร่วมกันลงชื่อและประทับตราสำคัญของโจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้อง ศาลอนุญาต ดังนี้เมื่อหนังสือรับรองของโจทก์มีชื่อ พ.กับท. เป็นกรรมการโดยไม่มีการจดทะเบียนถอนชื่อ ออกจากการเป็นกรรมการ ต้องถือว่า พ.กับท. ไม่ได้พ้นจากการเป็นกรรมการจึงถือได้ว่าพ.กับท. ได้ขอถอนฟ้องแทนโจทก์แล้วโจทก์จะกลับมาขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งอนุญาตหาได้ไม่ จำเลยเป็นบุตรของ พ.และเป็นน้องภรรยาของท. แต่การที่พ.กับท. ขอถอนฟ้องในนามของโจทก์จะถือว่าประโยชน์ทางได้ทางเสียของโจทก์กับของ พ.กับท. เป็นปฏิปักษ์แก่กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 80 ไม่ได้ เพราะการขอถอนฟ้องจะเป็นผลดีและผลเสียต่อโจทก์ ผลนั้นย่อมตกแก่ พ.กับท.ในฐานะกรรมการของโจทก์ด้วยในลักษณะอย่างเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดี และการฟ้องคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีต้องยื่นเป็นคำร้อง ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ มาตรา 175 วรรคสองแห่งป.วิ.พ. กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย ปรากฏว่านอกจากฟ้องคดีนี้แล้วโจทก์ยังยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและศาลได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์ที่ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ใหม่จึงอาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบแล้ว โจทก์เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีแพ่งรวมสองสำนวนเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความกับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องคดีที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีทั้งสอง ดังนั้น โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีดังกล่าว จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้.