พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6008/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อม แม้มิใช่ทายาทโดยตรง
ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 นั้น ไม่จำต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงไม่เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องเป็นมารดาของ ส. และเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส.ส่วนส.ก็เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกของธ. ผู้ตาย ผู้ร้องจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของธ.ที่จะตกได้แก่ส. และยังมิได้แบ่งปันกัน อันต้องถือว่าเป็นทรัพย์มรดกที่ทายาทยังมีสิทธิร่วมกันอยู่ ผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5859/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสซ้อนเป็นโมฆะ และอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดก
จำเลยให้การว่า โจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของ ส. กับ บ. จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียคดีจึงไม่มีประเด็นว่าโจทก์ทั้งสองไม่มีอำนาจฟ้องเพราะส. ถึงแก่กรรมไปแล้วเป็นเหตุให้การสมรสสิ้นสุดลงตามที่จำเลยฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ การที่จำเลยขออายัดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2โดยอ้างว่าเป็นของ ส. เป็นการโต้แย้งสิทธิในทรัพย์มรดกของส. ซึ่งเป็นบิดาโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลย ส.จดทะเบียนสมรสกับบ.อยู่แล้วต่อมาส. จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกโดยมิได้หย่าขาดจาก บ. การจดทะเบียนสมรสระหว่างส. กับจำเลยจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1496 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นแม้จำเลยจะอ้างว่าจดทะเบียนสมรสโดยสุจริตก็หาเป็นเหตุให้การสมรสที่เป็นโมฆะเสียเปล่ากลับสมบูรณ์ขึ้นมาแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4895/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดก: การโอนทรัพย์มรดกเกินสิทธิโดยไม่ได้รับการยกให้โดยเสน่หา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านเป็นมรดกของ ส.ภริยาโจทก์ โจทก์มีสิทธิได้รับ 7 ใน 12 ส่วน นอกนั้นเป็นของทายาทอื่นคือบุตร 5 คน ศาลชั้นต้นสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของ ส. โจทก์ได้โอนที่ดินและบ้านดังกล่าวให้จำเลยซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตรคนหนึ่ง แสดงว่าโจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยไปทั้งหมดทั้งที่จำเลยควรจะได้รับเพียง 1 ใน 12 ส่วน โจทก์มิได้บรรยายฟ้องเลยว่า โจทก์ยกส่วนของโจทก์ให้จำเลยโดยเสน่หาการที่โจทก์ขอให้จำเลยโอนทรัพย์มรดกคืนแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก 11 ใน 12 ส่วน จึงเป็นการเรียกทรัพย์มรดกคืนในฐานะที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก จะฟ้องถอนคืนการให้เพราะเหตุประพฤติเนรคุณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 531 มิได้ โจทก์จึงไม่มีกำหนดฟ้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ประเด็นทรัพย์มรดก: ศาลฎีกายืนตามศาลล่าง คดีฟ้องแย้งเรื่องกรรมสิทธิ์รถยนต์
จำเลยเคยเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้ว่า รถยนต์คันพิพาทในคดีนี้เป็นทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรีท. ขอให้โจทก์คืนรถยนต์คันพิพาทให้จำเลยหรือใช้ราคาโจทก์ให้การว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ซึ่งมีประเด็นว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรีท. หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่ารถยนต์คันพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับพลตำรวจตรีท.ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์มรดกของพลตำรวจตรี ท. ด้วยหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิมฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 โจทก์ฎีกาเพียงแต่ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ มิได้ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา 200 บาท แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาคิดตามจำนวนทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เสียเกินแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4819/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำประเด็นกรรมสิทธิ์ทรัพย์มรดก แม้คดีเดิมยังไม่สิ้นสุด ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามกฎหมาย
คดีเดิมจำเลยฟ้องโจทก์คดีนี้ว่า รถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ขอให้โจทก์คืนให้จำเลยหรือใช้ราคา โจทก์ให้การว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ มีประเด็นว่ารถยนต์คันพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ท. หรือไม่ การที่โจทก์มาฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีเดิมยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ว่า รถยนต์คันพิพาทโจทก์เป็นเจ้าของร่วมกับ ท. ซึ่งจะต้องพิจารณาว่าโจทก์มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ ท. ด้วยหรือไม่ อันเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยมาแล้วในคดีเดิม ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับใช้ได้ในการแบ่งทรัพย์มรดกและหน้าที่ในการโอนกรรมสิทธิ์
การที่จำเลยตกลงแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่โจทก์ตามสิทธิในฐานะทายาทและโจทก์จำเลยได้ตกลงระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันและทำหลักฐานกันไว้เป็นหนังสืออันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีผลบังคับกันได้ตามมาตรา 850,1750 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผลแห่งข้อตกลงทำให้ข้อคัดค้านของโจทก์ระงับไป และได้สิทธิในที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงโจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นเหตุให้ถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้ทายาทอื่น ถือเป็นละเลยหน้าที่และมีเหตุถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3250/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้าย/ปิดบังทรัพย์มรดก: การขอโอนที่ดินและรับชำระหนี้โดยผู้จัดการมรดกยังไม่ถือเป็นการยักย้าย/ปิดบัง หากยังจัดการมรดกไม่เสร็จ
การที่จำเลยซึ่งศาลตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายยื่นคำร้องขอโอนที่ดินมรดกไปเป็นของจำเลยทั้งหมดโดยไม่แจ้งให้โจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายทราบมิใช่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกและขณะที่ยังจัดการมรดกไม่เสร็จจำเลยรับชำระหนี้จากลูกหนี้ของผู้ตาย แล้วไม่นำมาแบ่งแก่โจทก์ทั้งห้าทันทีก็ไม่เป็นการยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกเช่นเดียวกัน เพราะการจัดการมรดกยังไม่เสร็จ จำเลยมีอำนาจเก็บรักษาเงินดังกล่าวไว้เพื่อแบ่งแก่ทายาทต่อไปได้ จำเลยจึงไม่ถูกกำจัดมิให้ได้มรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2806/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกไม่จำเป็นต้องแบ่งทรัพย์มรดก หากมีข้อโต้แย้งเรื่องสิทธิในทรัพย์สิน
ศาลมีคำสั่งแต่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้คัดค้านกับพวกซึ่งเป็นทายาทของผู้ตายไปพบผู้ร้องเพื่อให้แบ่งที่ดินมรดก แต่ผู้ร้องไม่ยอมแบ่งให้โดยอ้างว่าผู้ตายยกที่ดินดังกล่าวให้ผู้ร้องก่อนแล้ว ดังนี้ เป็นการโต้แย้งสิทธิในที่ดินดังกล่าว หาใช่เป็นเรื่องที่ผู้ร้องไม่ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการมรดกหรือมีเหตุอื่นอันสมควรให้ศาลถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกไม่