คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ทุนทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 764 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4969/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลคำสั่งชี้ขาดเบื้องต้น: การอุทธรณ์คำสั่งศาลไม่ใช่คดีมีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอวินิจฉัยได้จึงให้งบสืบพยานโจทก์และจำเลยแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย อันทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24การที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้สืบพยานโจทก์จำเลยต่อไปจึงเป็นการอุทธรณ์คำสั่งตามมาตรา 227 ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาทตามตาราง 1 ข้อ 2 ข. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมิใช่เสียตามทุนทรัพย์ที่พิพาท ศาลอุทธรณ์จดรายงานกระบวนพิจารณาสั่งให้ศาลชั้นต้นเรียกเก็บค่าขึ้นศาลจากโจทก์ตามทุนทรัพย์โดยไม่ชอบและเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าโจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จึงยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องลง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่าโจทก์จะยื่นคำร้องขอลดจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้องในชั้นอุทธรณ์มิได้ ให้ยกคำร้องนั้นจึงเป็นการไม่ชอบเช่นกันปัญหานี้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายตามสมควร: การพิจารณาจำนวนทุนทรัพย์, ความยากง่ายของคดี, และอายุความค่าจ้าง
บันทึกข้อตกลงค่าจ้างว่าความที่ระบุว่า ค่าทนายตกลงกันตามสมควรภายหลังจากศาลชั้นต้นตัดสินหรือประนีประนอมยอมความนั้น คำว่า ตามสมควรย่อมหมายถึงไม่ได้กำหนดจำนวนแน่นอนว่าเป็นเท่าใด แต่ให้กำหนดโดยคำนึงถึงจำนวนทุนทรัพย์ที่ฟ้องและความยากง่ายในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีและการงานที่โจทก์ได้ปฏิบัติไปแล้วในการว่าความให้จำเลยด้วย ซึ่งเมื่อทั้งโจทก์และจำเลยมิได้มีข้อตกลงกำหนดจำนวนเงินไว้ชัดแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันแล้วก็ต้องถือเอาจำนวนพอสมควรเป็นเกณฑ์ในการกำหนดราคาค่าจ้างว่าความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาและมีการอ่านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม2533 แต่มีการอุทธรณ์อยู่ แสดงว่าจำเลยตกลงให้โจทก์ว่าความในชั้นอุทธรณ์ด้วย สิทธิเรียกร้องค่าว่าความของโจทก์จึงยังไม่เริ่มนับ ต่อมาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาและอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2536 แล้ว จำเลยไม่ได้ว่าจ้างโจทก์ให้แก้ฎีกาให้จำเลย สิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความจึงเริ่มนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 13 กรกฎาคม 2537 จึงไม่เกิน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(16)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4164/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง: ทุนทรัพย์ไม่เกิน 2 แสนบาท
จำเลยทั้งสามฎีกาขอให้ลดค่าเสียหายที่ต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาล อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยทั้งสามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3995/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท กรณีหลงเชื่อคำหลอกลวง
ฎีกาจำเลยที่ว่า จำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การ แต่เนื่องจากจำเลยไม่ทราบขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลจึงหลงเชื่อคำหลอกลวงของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ต้องยื่นคำให้การแต่ต้องไปศาลทุกครั้งตามที่ศาลนัด โจทก์จะไม่ดำเนินการใด ๆ ต่อจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ยื่นคำให้การ เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3832/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก สินสมรส และการวินิจฉัยนอกฟ้อง: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาเรื่องข้อเท็จจริงเกินทุนทรัพย์และฎีกาที่ไม่เป็นสาระ
คดีทั้งสองสำนวนนี้โจทก์ที่ 1 ฟ้องขอแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน 7 ส่วน คิดเป็นเงิน 220,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ที่ 1 ฎีกาขอให้แบ่งที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแก่โจทก์ที่ 1 จำนวน 1 ใน 7 ส่วนตามฟ้องแม้คดีทั้งสองสำนวนนี้จะรวมพิจารณาและโจทก์ที่ 1 จะยื่นฎีการวมกันมากับโจทก์ที่ 2 แต่การคำนวณทุนทรัพย์ในการที่จะใช้สิทธิฎีกานี้ต้องแยกต่างหากจากกันดังนั้นทุนทรัพย์พิพาทในชั้นฎีกาสำหรับโจทก์ที่ 1 คือส่วนแบ่งอีกจำนวน 1 ใน14 ส่วน คิดเป็นเงิน 110,000 บาท จึงไม่เกินสองแสนบาท ซึ่งต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่โจทก์ที่ 1 ฎีกาว่า ที่ดินทั้งสองแปลงไม่ใช่สินสมรสระหว่าง บ.และ ส. นั้นเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สำหรับฎีกาโจทก์ที่ 1 ที่ว่า นางสอนต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก กับที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าบุคคลเหล่านี้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งด้วยเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นนั้น แม้ศาลฎีกาจะวินิจฉัยไปในทางใดก็ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของโจทก์ที่ 1 ในการได้รับส่วนแบ่งมรดกน้อยลงหรือทำให้โจทก์ที่ 1 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกเพิ่มขึ้นแต่ประการใด ดังนี้ ฎีกาของโจทก์ที่ 1 ดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่172 เดิมมีชื่อ ส.ภริยาเป็นเจ้าของ ส่วนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 173 มีชื่อ บ.สามีเป็นเจ้าของ ส.และ บ.ต่างนำที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวไปขายฝากไว้กับ อ.มีกำหนด 5 ปี แล้วไม่ไถ่ถอน ต่อมา บ.ได้ซื้อที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดังกล่าวจาก อ. ซึ่งขณะนั้น บ.และ ส.เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินที่นำไปซื้อที่ดินเป็นเงินจากการขายสวนของ บ.ซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส. ดังนั้น ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงเป็นสินสมรสระหว่าง บ.และ ส.
โจทก์มิได้ฟ้อง ส.กับพวกซึ่งเป็นภริยาและบุตรของ บ.เจ้ามรดกเป็นจำเลย แม้ ส.กับพวกจะเคยยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมแต่ในที่สุดก็ได้ถอนคำร้องดังกล่าวไปโดยโจทก์มิได้คัดค้านและศาลชั้นต้นก็ได้อนุญาตให้ ส.กับพวกถอนคำร้องสอดไปแล้ว ส.กับพวกดังกล่าวจึงมิได้มีฐานะเป็นคู่ความต่อไป จึงไม่มีประเด็นที่จะวินิจฉัยว่า นางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของ ส. จึงต้องฟังว่านางสอนกับพวกดังกล่าวซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ บ.ยังคงมีสิทธิรับมรดกของนายสมบูรณ์ตามสัดส่วนของตน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอแบ่งมรดก ซึ่งจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยว่าทรัพย์มรดกมีอะไรบ้าง ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกมีกี่คน แต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดกเท่าใด การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่านางสอน นายเฉลิมนายถนอม นายสมัยมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาทเพียงใดก็เพื่อชี้ให้เห็นว่าโจทก์ทั้งสองมีส่วนแบ่งเท่าใดเท่านั้น ซึ่งอยู่ในประเด็นที่ว่าโจทก์ทั้งสองมีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินพิพาททั้งสองหรือไม่เพียงใดนั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดทุนทรัพย์ฟ้องแย้งในชั้นฎีกา: การคำนวณดอกเบี้ยหลังวันฟ้อง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จ โดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิด จำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้ง จำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้งจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 356/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ฟ้องแย้งและการคำนวณค่าขึ้นศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยฎีกาขอให้โจทก์ใช้เงินแก่จำเลยจำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องแย้งจนกว่าจะชำระเสร็จโดยอ้างว่าจำเลยชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ไปโดยสำคัญผิดจำเลยจึงไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระแก่โจทก์นั้น เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงคดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชำระเงินตามฟ้องแย้งแก่จำเลยเพียง 199,993.23 บาท เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องแย้งจำเลยจึงฎีกาขอให้โจทก์ชำระเงินแก่จำเลยทั้งสองได้เพียง199,993.23 บาท ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฟ้องแย้งจึงไม่เกิน 200,000 บาท ฎีกาของจำเลยสำหรับฟ้องแย้ง จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีที่จำเลยฟ้องแย้ง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่คิดถึงวันฟ้องแย้งเท่านั้น จะนำดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังวันฟ้องมาคิดรวมเป็นทุนทรัพย์เพื่อคิดค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: ข้อพิพาทไม่ใช่เรื่องกรรมสิทธิ์, คดีไม่มีทุนทรัพย์, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม ถือไม่ได้ว่าจำเลยกล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคสอง
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีข้อตกลง จำเลยผู้จะซื้อจะชำระให้แก่โจทก์ร่วมผู้จะขายเป็นงวด ๆ ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ส่วนราคาบ้านและที่ดินที่ยังคงต้องผ่อนชำระกับธนาคารอยู่นั้นจำเลยผู้จะซื้อจะเป็นผู้ผ่อนชำระกับธนาคารเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้จะขายเลย ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญา ผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำในข้อ 2. ไว้ทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว และหากผู้จะขายผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะขายยอมคืนเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อชำระไว้ให้แก่ผู้จะซื้อ ฯลฯ" เมื่อกรณีที่สัญญากำหนดให้จำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับธนาคารแทนโจทก์ร่วม เป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยติดจำนองไปด้วย ดังนี้การที่จำเลยมีภาระจะต้องผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารผู้รับจำนองนั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะรับว่าได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพียง 3 ครั้ง แล้วไม่ชำระอีกเลย ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทกับโจทก์ร่วม ส่วนการที่จำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร หากทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอย่างใดโจทก์ร่วมก็มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา
ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง แต่มิได้พิพากษายกฟ้องนั้น เห็นว่า ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2995/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีครอบครัวมีทุนทรัพย์: การชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วนไม่ถือเป็นการทิ้งฟ้องทั้งคดี
ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองที่บัญญัติยกเว้นให้มีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ไว้ว่า"บทบัญญัติในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับในคดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครอง" นั้น มีความหมายว่าถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวแล้วมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้เท่านั้นแต่หาได้มีความหมายไปถึงว่าคดีเกี่ยวกับสิทธิสภาพบุคคลและสิทธิในครอบครัวดังกล่าวเป็นคดีที่ไม่มีทุนทรัพย์เสมอไปไม่ โจทก์ฟ้องหย่าและเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพอันเป็นการฟ้องตั้งสิทธิอันเกิดขึ้นจากความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องในครอบครัวระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นสามีภริยากันจึงเป็นคดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัวซึ่งมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา224วรรคสองและ248วรรคสองแต่การที่โจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูมาจำนวน180,000บาทและเรียกค่าทดแทนมาจำนวน200,000บาทรวม380,000บาทอันเป็นการฟ้องเรียกร้องทรัพย์สินมีค่าเป็นจำนวนเงินเข้ามาด้วยกรณีสีจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ซึ่งโจทก์จำต้องจำต้องชำระค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ชำระค่าขึ้นศาลเฉพาะเกี่ยวกับค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าทดแทนที่โจทก์มีหน้าที่จะต้องชำระตามกฎหมายเท่านั้นเมื่อโจทก์ไม่ชำระจึงเป็นการทิ้งฟ้องเฉพาะในส่วนข้อกำหนดตามที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไว้เท่านั้นคำฟ้องเฉพาะเรื่องขอหย่าเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่จำต้องชำระค่าขึ้นศาลส่วนคำฟ้องเกี่ยวกับคำขอค่าเลี้ยงชีพเป็นคำฟ้องเรียกค่าเสียหายในอนาคตซึ่งโจทก์ได้ชำระค่าขึ้นศาลในอนาคตไว้ถูกต้องแล้วเมื่อฟ้องของโจทก์ในสองส่วนนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่สมบูรณ์และชอบด้วยกฎหมายอยู่และแยกเป็นคนละส่วนจากคำฟ้องที่โจทก์ทิ้งฟ้องได้เช่นนี้จึงไม่มีเหตุที่จะถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องในสองส่วนนี้ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นฎีกา: ห้ามรวมค่าเสียหายในอนาคต
การคำนวณทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกา โจทก์ทั้งสามจะนำค่าเสียหายในอนาคตสัปดาห์ละ 2,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนถึงวันยื่นฎีกามาคำนวณด้วยไม่ได้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาตามฎีกาของโจทก์ทั้งสามคงมีจำนวน104,000 บาท ซึ่งมีจำนวนไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 77