พบผลลัพธ์ทั้งหมด 399 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินทุนสะสมของธนาคาร: เหตุไม่ต้องจ่ายเมื่อพนักงานกระทำละเมิดทำให้ธนาคารเสียหาย
ระเบียบของจำเลยว่าด้วยเงินทุนสะสม พ.ศ. 2520 ระบุว่าเมื่อพนักงานบุคคลใด ออกจากธนาคาร ให้ธนาคารจ่ายเงินสะสมแก่พนักงานบุคคลนั้น เว้นแต่ในกรณีต้อง ออกจากงานตาม คำสั่งของธนาคาร เพราะกระทำการทุจริตในหน้าที่หรือกระทำการประมาทเลินเล่อ หรือกระทำการอื่นใด เป็นเหตุให้ธนาคารต้อง เสียหาย... หมายความว่าจำเลยจะไม่ต้องจ่ายเงินทุนสะสมให้แก่พนักงานถ้า พนักงานกระทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายโดยตรงต่อ ทรัพย์สินหรือชื่อเสียงของจำเลยการที่โจทก์ปลุกปล้ำทำอนาจาร อ. พนักงานในสำนักงานเดียวกันแต่ กระทำนอกสถานที่ทำงานเป็นการกระทำในเรื่องส่วนตัว และมิได้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ทั้งจะถือว่าการกระทำละเมิดต่อ อ.ดังกล่าวเป็นการทำละเมิดต่อ จำเลยด้วย หาได้ไม่ โจทก์ไม่ได้ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายตาม ความหมายของระเบียบดังกล่าวอันจะทำให้จำเลยไม่ต้องจ่ายเงินสะสมให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารปฏิเสธจ่ายเช็ค: โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์เงินในบัญชี หากธนาคารอ้างเงินไม่พอจ่าย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันเดียวกับวันออกเช็คว่า'โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย' หรือ 'ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่'ซึ่งอาศัยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991(1)คือเงินในบัญชีไม่พอจ่ายในวันที่ออกเช็ค กรณีเช่นนี้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินในบัญชีของจำเลยอีก.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1526/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารปฏิเสธจ่ายเช็ค อ้างเงินในบัญชีไม่พอ โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ยอดเงินในบัญชีจำเลย
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คในวันเดียวกับวันออกเช็คว่า "โปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย" หรือ "ยังรอเรียกเก็บอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่" ซึ่งอาศัยข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 991(1) คือเงินในบัญชีไม่พอจ่ายในวันที่ออกเช็ค กรณีเช่นนี้ในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่จำต้องนำสืบถึงรายละเอียดเกี่ยวกับเงินในบัญชีของจำเลย คดีโจทก์ก็มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5852/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดแล้ว ธนาคารไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้น แม้จะยังไม่มีการบอกเลิกสัญญา
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ได้สิ้นสุดลงแล้ว ไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ได้ยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีก ทั้งไม่ปรากฏรายการการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระของฝ่ายจำเลย พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุ ในสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาพิพาทได้อีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดใช้เช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่วันที่เช็คถึงกำหนด
โจทก์เพียงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า บัญชีของจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ โดยโจทก์มิได้ยื่นเช็คพิพาทต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงิน ยังถือไม่ได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทในวันนั้นความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเป็นความผิดในวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินภายหลังและธนาคารแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คต่อโจทก์ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 567/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดใช้เช็ค: เริ่มนับเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่แค่วันที่เช็คถึงกำหนด
โจทก์เพียงไปสอบถามเจ้าหน้าที่ธนาคารว่า บัญชีของจำเลยมีเงินพอจ่ายตามเช็คพิพาทหรือไม่ โดยโจทก์มิได้ยื่นเช็คพิพาทต่อธนาคารเพื่อเรียกเก็บเงินยังถือไม่ได้ว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คพิพาทในวันนั้น ความผิดของจำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเป็นความผิดในวันที่โจทก์นำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงินภายหลังและธนาคารแจ้งการปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คต่อโจทก์ ซึ่งนับแต่วันดังกล่าวจนถึงวันที่โจทก์ฟ้องยังไม่ครบ 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3325/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค - เช็คเพื่อประกันหนี้ - ธนาคารปฏิเสธการจ่าย - ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยออกเช็คให้ จ.ไว้เพื่อเป็นประกันหนี้ตามบันทึกข้อตกลงรับสภาพหนี้ และเพื่อใช้เช็คนั้นดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยเพื่อบีบบังคับให้จำเลยชำระหนี้ตามบันทึกดังกล่าว โจทก์ผู้รับโอนเช็คจากจ. ทราบถึงความผูกพันเรื่องเช็คพิพาทระหว่าง จ.กับจำเลยมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจำเลยจึงไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3187/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบเงินโดยเสน่หาและสิทธิในบัญชีเงินฝาก ธนาคารไม่มีอำนาจโอนเงินคืนโดยไม่ได้รับความยินยอม
โจทก์และ ช.ชาวญี่ปุ่นอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อมาช.ส่งเงินจำนวนสิบล้านเยนจากประเทศญี่ปุ่นมาที่จังหวัดพะเยาโดยโอนเงินผ่านธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยา ระบุชื่อ ช.เป็นผู้รับเงินเพราะ ช. ได้เดินทางตามมาพบโจทก์ด้วย ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพะเยาได้โอนเงินเข้าบัญชีสะสมทรัพย์ของโจทก์เช่นที่เคยปฏิบัติ รุ่งขึ้นโจทก์กับ ช. ไปที่ธนาคารจำเลยที่ 1 โจทก์ขอถอนเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากบัญชีสะสมทรัพย์แล้วฝากเงินดังกล่าวในบัญชีเงินฝากประเภทประจำซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของบัญชีตามคำชักชวนของพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าการที่ ช. อยู่ด้วยกับโจทก์ขณะโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์แล้วฝากในบัญชีเงินฝากประเภทประจำ เป็นจำนวน 1,000,000 บาท นั้น ช.ได้รับเงินที่ส่งมาแล้วและได้ส่งมอบให้โจทก์ เป็นผลให้เงินจำนวนสิบล้านเยนตกเป็นของโจทก์โดยการให้โดยเสน่หา จำเลยที่ 1 จึงไม่มีอำนาจโอนเงินในบัญชีเงินฝากประเภทประจำดังกล่าวของโจทก์คืนให้แก่ ช. โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าไม่สามารถนำไปใช้ได้ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
จำเลยขีดฆ่าคำว่า 'หรือผู้ถือ' ในเช็คฉบับพิพาทออก และเขียนคำว่า 'สด' ลงในช่องผู้รับเงิน การกระทำของจำเลยดังกล่าวจำเลยย่อมทราบอยู่แล้วว่าธนาคารตามเช็คจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงแสดงให้เห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คฉบับพิพาท การกระทำของจำเลยเป็นการออกเช็คโดยเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คซึ่งเป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2859/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็คโดยรู้ว่าจะไม่มีเงินพอ ชี้ขาดความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ โดยธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อ้างว่ามีคำสั่งให้ระงับการจ่ายเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยมีเจตนาทุจริต ในการห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คแต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องว่า จำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว