พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 794/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาที่แท้จริงของสัญญา: สัญญาซื้อขายแฝงในสัญญาเงินกู้ การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
จำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์เพราะโจทก์ตกลงซื้อสวนมะพร้าวจำเลย จำเลยรับเงินไปจากโจทก์จำนวนหนึ่งซึ่งจะถือเป็นค่าสวนมะพร้าวต่อเมื่อจำเลยสามารถโอนสวนมะพร้าวให้โจทก์ได้ มิใช่โจทก์จำเลยเจตนากู้เงินกัน 60,000 บาท การทำสัญญากู้จึงเป็นการเอาหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวมาทำเป็นสัญญากู้เงิน มิใช่รับเงินเนื่องจากการกู้เงินกันโดยแท้จริง ในขณะทำสัญญากู้ยังไม่รู้ว่าจำเลยจะต้องคืนเงินหรือไม่ แล้วแต่หนี้ที่จะเกิดจากสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวอีกส่วนหนึ่ง เจตนาอันแท้จริงของคู่กรณีในการทำสัญญากู้ที่ให้บังคับกันได้ก็คือให้ใช้เงินคืนแก่กันในลักษณะกู้เงินตามจำนวนที่จะต้องคืนโดยอาศัยหนี้ตามสัญญาซื้อขายสวนมะพร้าวซึ่งหากจะต้องมีการคืนหรือหักเงินกันต่อไปข้างหน้า จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบว่าความจริงจำเลยรับเงินไปจากโจทก์เพียง 10,000 บาท มิใช่การนำสืบแปลหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หากแต่เป็นการนำสืบหักล้างตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าจำนวนหนี้ตามที่กล่าวในฟ้องนั้นไม่สมบูรณ์ เพราะไม่ใช่เจตนาที่แท้จริง จำเลยมีสิทธิจะนำสืบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคสุดท้าย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบสิทธิในทรัพย์มรดกเพื่อขัดทรัพย์ยึด ศาลรับฟังได้หากอยู่ในประเด็นคำร้อง
ผู้ร้องขัดทรัพย์กล่าวในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่โจทก์นำยึดว่าจำเลยไม่มีสิทธิรับมรดกของ ค. โจทก์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์พิพาท ผู้ร้องย่อมนำสืบได้ว่า ก. ภริยาจำเลยได้ขอร้องบรรดาพี่น้องขอแบ่งเงินสดและได้ตกลงแบ่งเงินสดให้ ก. ก. สละสิทธิไม่เกี่ยวข้องในทรัพย์มรดกต่อไปเป็นเรื่องที่อยู่ในประเด็นตามคำร้องที่นำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1086/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นผิดสัญญาที่ยุติแล้ว และการคำนวณค่าเสียหายโดยศาล แม้โจทก์มิได้นำสืบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยผิดสัญญา แต่โจทก์ไม่เสียหาย ให้ยกฟ้อง จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นข้อนี้ไว้ เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย จำเลยจะฎีกาว่าจำเลยมิได้ผิดสัญญามิได้ เพราะประเด็นเรื่องผิดสัญญายุติถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว
ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 นั้น แม้โจทก์จะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็คำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้โจทก์ได้ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2509)
ค่าเสียหายฐานผิดสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222 นั้น แม้โจทก์จะนำสืบถึงค่าเสียหายไม่ได้ ศาลก็คำนวณค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้นให้โจทก์ได้ตามพฤติการณ์ที่ปรากฏในคดี (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 12/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินไม่มีโฉนด ข้อสันนิษฐานตามกฎหมายและการนำสืบพิสูจน์
โจทก์ฟ้องว่า ได้ที่พิพาทมาโดยจำเลยตีราคาชำระหนี้ให้โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเอาที่พิพาทตีราคาใช้หนี้โจทก์ โจทก์เข้าไปอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยจำเลย ดังนี้เมื่อที่พิพาทเป็นที่ดินที่ยังไม่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดิน และโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่พิพาท จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าโจทก์เข้ายึดถือที่พิพาทเพื่อตน โจทก์ย่อมได้สิทธิครอบครอบ จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่สืบต้องถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายได้สิทธิครอบครองในที่พิพาทจำเลยต้องแพ้คดีโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเอกสารต้องมีเหตุอันสมควร และจำเลยต้องนำสืบข้อเท็จจริงที่กล่าวอ้าง
การที่จำเลยจะระบุผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 88 วรรค 3 จะต้องมีเหตุอันสมควรแสดงว่าตนไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำผู้เชี่ยวชาญมาสืบหรือทราบว่าผู้เชี่ยวชาญได้มีอยู่
การที่จำเลยเบิกความ ได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ ตามหนังสือปรากฏว่าจำเลยรับเงินไปแล้ว จำเลยกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับเงิน โดยจำเลยคิดจะเอาเงินจากสามีจำเลย จึงขอให้โจทก์ช่วยเหลือ โดยจำเลยจะทำหนังสือกู้ให้ เพื่อให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยแล้วให้สามีออกเงินใช้ โจทก์ก็จะให้เงินจำเลย ดังนี้ จำเลยต้องนำสืบ
การที่จำเลยเบิกความ ได้ทำหนังสือกู้ให้โจทก์ ตามหนังสือปรากฏว่าจำเลยรับเงินไปแล้ว จำเลยกล่าวอ้างว่าไม่ได้รับเงิน โดยจำเลยคิดจะเอาเงินจากสามีจำเลย จึงขอให้โจทก์ช่วยเหลือ โดยจำเลยจะทำหนังสือกู้ให้ เพื่อให้โจทก์นำมาฟ้องจำเลยแล้วให้สามีออกเงินใช้ โจทก์ก็จะให้เงินจำเลย ดังนี้ จำเลยต้องนำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 326/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำสืบในคดีหนี้: ผู้กล่าวอ้างต้องนำสืบก่อน แม้ฝ่ายตรงข้ามนำสืบครบถ้วน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินโจทก์ 2 ครั้ง ครั้งหนึ่งชำระแล้ว อีกครั้งหนึ่งยังไม่ได้ชำระ ขอให้ศาลบังคับให้จำเลยชำระหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระ จำเลยให้การว่า กู้เงินโจทก์เพียงครั้งเดียวและชำระไปแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้แล้วแต่กล่าวอ้างว่าเป็นการรับชำระหนี้ตามสัญญากู้อีกฉบับหนึ่ง โจทก์จะต้องนำสืบก่อนในข้อนี้ เพราะทางฝ่ายจำเลยไม่ได้กล่าวข้อเท็จจริงอะไรขึ้นมาอีกเลย ถ้าให้จำเลยนำสืบก่อน จำเลยคงจะสืบแต่ปฏิเสธ ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยนำสืบในข้อนี้ก่อน ผลของคดีก็ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และไม่เกิดความเสียหายเพราะต่างฝ่ายต่างนำสืบมาครบถ้วนบริบูรณ์ด้วยกันแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การนำสืบในคดีภาษี: ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ความไม่ถูกต้องของการประเมินภาษี
ตามประมวลรัษฎากร ให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจแก้จำนวนเงินที่ประเมินแล้วแจ้งให้เสียภาษีเพิ่มได้ตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ ผู้รับแจ้งมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามที่เจ้าพนักงานแจ้งให้ทราบ เว้นแต่ผู้รับแจ้งจะได้อุทธรณ์หรือฟ้องต่อศาลแล้วกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หรือศาลจะมีคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องก็ย่อมเป็นการกล่าวอ้างว่า การเรียกเก็บภาษีของจำเลยซึ่งมีผลอยู่นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องนำสืบว่าเป็นจริงดังที่โจทก์กล่าวอ้าง โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 790/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบที่มาสิทธิ – หลักความเท่าเทียมกันในกระบวนการ – ศาลไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คู่ความโต้เถียงกันว่าที่พิพาทเป็นของฝ่ายใด แม้ฟ้องของโจทก์จะไม่ได้บรรยายถึงสิทธิของผู้ที่ได้ขายที่พิพาทให้โจทก์ว่าได้มาอย่างไร โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบได้เพราะเป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งสิทธิของผู้ขายทั้งความข้อนี้ จำเลยก็ยกเป็นประเด็นขึ้นต่อสู้ด้วย การที่ศาลยอมให้จำเลยนำสืบถึงที่มาแห่งสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียวตามข้ออ้าง แล้วพิพากษาให้จำเลยชนะคดีไปตามนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะพยานของผู้เขียนพินัยกรรม: แม้ไม่ระบุในพินัยกรรม ก็อาจนำสืบได้
แม้ผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรมจะไม่ได้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคสอง ด้วยก็ตาม หากมีข้อความตอนท้ายของพินัยกรรมปรากฏชัดว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าพยานเป็นสำคัญและผู้เขียนได้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้เขียนพินัยกรรมต่อจากลายมือชื่อของพยานรับรองพินัยกรรมแล้ว ก็เป็นข้อเท็จจริงที่จะนำสืบว่าผู้เขียนอยู่ในฐานะพยานด้วยหรือไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 498/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คู่สัญญาและอำนาจฟ้องในสัญญากู้ การนำสืบความเป็นมาของหนี้ และการนำสืบพยานนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำสัญญากู้เงินโจทก์ไป 5,000 บาท แล้วนำสืบว่าจำเลยเคยยืมเงินโจทก์ที่ 1 บิดาโจทก์ที่ 2 ไป 2,800 บาท ไม่ได้ทำสัญญากัน ต่อมาขอยืมอีก โจทก์ที่ 1 ให้ถามโจทก์ที่ 2 ดู โจทก์ที่ 2 ให้ยืมและได้เขียนสัญญากู้กันเป็นเงิน 5,000 บาท และโจทก์ที่ 2 ได้จ่ายเงินอีก 2,200 บาท ให้จำเลยไปแล้ว ดังนี้ แม้จะมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์มาก่อน 2,800 บาท แต่ก็เป็นเรื่องโจทก์นำสืบถึงความเป็นมาของจำนวนเงินกู้ตามสัญญา จึงไม่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ในสัญญากู้ดังกล่าวนั้นจะมิได้ระบุว่าได้ทำสัญญาให้ไว้แก่โจทก์ที่ 2 ด้วย แต่ในช่องผู้ให้กู้ยืม คือเจ้าของเงินนั้น โจทก์ที่ 2 ได้ลงชื่อร่วมกับโจทก์ที่ 1 ด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วย มีอำนาจฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยได้
แม้ในสัญญากู้ดังกล่าวนั้นจะมิได้ระบุว่าได้ทำสัญญาให้ไว้แก่โจทก์ที่ 2 ด้วย แต่ในช่องผู้ให้กู้ยืม คือเจ้าของเงินนั้น โจทก์ที่ 2 ได้ลงชื่อร่วมกับโจทก์ที่ 1 ด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่สัญญากับจำเลยด้วย มีอำนาจฟ้องเรียกเงินกู้จากจำเลยได้