พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4645/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางขึ้นอยู่กับความยินยอมของเจ้าของที่ดิน แม้มีสัญญาทำทาง การบอกเลิกสัญญาทำได้โดยปริยาย
จำเลยยินยอมให้โจทก์ใช้ทางพิพาทได้ แต่เมื่อไม่มีข้อกำหนดเวลากันไว้ โจทก์จึงใช้ทางได้ตราบเท่าที่จำเลยยินยอมหากจำเลยไม่ยินยอมโจทก์ก็ไม่มีสิทธิใช้ทาง เพราะสิทธิของโจทก์เกิดจากความยินยอมของจำเลยแม้การที่จำเลยอนุญาตให้โจทก์สร้างทาง>ได้ทำสัญญากันไว้เป็นหนังสือ แต่ในกรณีบอกเลิกสัญญาเช่นนี้ ไม่มีกฎหมายบังคับไว้ว่าจะต้องบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือจำเลยจะบอกเลิกสัญญาเป็นหนังสือหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยนำลวดหนามขึงกั้นทางพิพาทไว้จึงเป็นการบอกเลิกสัญญาโดยปริยายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4518/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำและอายุความสัญญาเช่าซื้อ: ศาลวินิจฉัยฟ้องไม่ซ้ำ เพราะเหตุบอกเลิกสัญญาต่างกัน และฟ้องยังไม่ขาดอายุความ 10 ปี
คดีก่อนศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเพราะยังถือไม่ได้ว่าจำเลยได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยชอบแล้ว สัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงยังไม่เลิก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง ผลเท่ากับยกฟ้องเพราะโจทก์ยังไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลย แต่คดีนี้โจทก์อ้างว่าบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อแล้ว เป็นการอ้างเหตุขึ้นใหม่จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนรวมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ และให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการติดตามหารถยนต์ที่เช่าซื้อ ไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยตรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
ในกรณีที่ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาและเรียกให้ผู้เช่าซื้อส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าซื้อหากส่งคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนรวมทั้งให้ชดใช้ค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ และให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายในการติดตามหารถยนต์ที่เช่าซื้อ ไม่มีกำหนดอายุความไว้โดยตรงจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประวิงคดี, การผิดนัดชำระหนี้, และสิทธิของโจทก์ในการบอกเลิกสัญญาและการไล่เบี้ย
ศาลนัดสืบพยานจำเลยนัดแรกตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2536และได้มีการเลื่อนสืบพยานจำเลย 5 ครั้ง ในจำนวนนี้มีอยู่ครั้งเดียวที่ขอเลื่อนคดีเพราะเหตุที่โจทก์อ้างว่าไม่ได้เตรียมผู้รู้ภาษาจีนกลางมาควบคุมการแปลของล่ามฝ่ายจำเลย นอกจากนั้นที่จำเลยขอเลื่อนคดีมีสาเหตุมาจากฝ่ายจำเลยทั้งสิ้นโดยเฉพาะการเลื่อนคดีครั้งที่ 5 ศาลได้กำชับว่านัดต่อไปให้จำเลยเตรียมพยานมาให้พร้อม แต่เมื่อถึงวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งที่ 6 จำเลยขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าพยานได้เดินทางมาในประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับโทรสารว่าที่บ้านของพยานที่ต่างประเทศมีเรื่องด่วนให้รีบกลับ พยานจึงเดินทางกลับต่างประเทศ การสืบพยานในคดีไม่ว่าจะมีการสืบปากเดียวหรือหลายปาก และทุนทรัพย์ไม่ว่ามากหรือน้อยอยู่ที่ว่าคู่ความเอาใจใส่ที่จะสืบเพียงใด คดีนี้แม้จำเลยจะแถลงว่าสืบพยานปากเดียวแต่ขอเลื่อนคดีหลายครั้งเป็นเวลาหลายเดือน จนศาลต้องกำชับให้เตรียมพยานมาให้พร้อม แต่จำเลยก็ไม่สนใจและไม่เห็นความสำคัญในการดำเนินคดีให้เสร็จไปโดยรวดเร็ว พฤติการณ์ของจำเลยดังกล่าวเป็นการประวิงคดี ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีและถือว่าไม่มีพยานมาสืบชอบแล้ว
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น 2 ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2534 พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2533 กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ 48 งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
จำเลยให้การต่อสู้เรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็น 2 ตอน ในตอนแรกอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายฟ้องให้ชัดว่าจำเลยได้ชำระเงินต้นเท่าใด มีการชำระเงินกันอย่างไรนั้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ผ่อนชำระให้โจทก์หลายครั้งแต่ไม่ตรงตามสัญญา และครั้งสุดท้ายชำระเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2534 พร้อมกับแนบรายละเอียดบัญชีเงินกู้ลูกหนี้มาท้ายฟ้องด้วย การบรรยายฟ้องเช่นนี้และมีเอกสารแนบมาท้ายฟ้องประกอบด้วยรายการชำระหนี้และยอดค้างชำระ นับว่าเป็นการแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้ว และในตอนที่สองจำเลยอ้างว่าโจทก์มิได้บรรยายให้ชัดแจ้งว่าบริษัท ท.ได้แจ้งให้โจทก์ทราบเมื่อใด และแจ้งว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดสัญญาอย่างไรโจทก์รับผิดชอบตามหนังสือค้ำประกันอย่างไรนั้น ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับคู่สัญญาที่จำเลยต้องรับผิดสำหรับโจทก์เพียงแต่เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันต่อคู่สัญญาของจำเลยตามที่จำเลยขอ และโจทก์ใช้เงินให้ไปเช่นนี้ ความสัมพันธ์ตลอดจนการผิดสัญญาของจำเลยกับคู่สัญญา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องเพียงแต่บรรยายให้เห็นถึงความรับผิดของจำเลยต่อโจทก์นับว่าเป็นการชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยจะต้องเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สัญญากู้ได้กระทำกันเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2533 กำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์ 48 งวด งวดละเดือน จำเลยไม่ได้ผ่อนชำระตามกำหนดในสัญญา ซึ่งถือว่าจำเลยผิดนัด แต่หลังจากนั้นเมื่อจำเลยชำระหนี้ให้โจทก์บ้างบางส่วน โจทก์ได้รับชำระหนี้ทุกครั้งที่จำเลยชำระ ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2535โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาและกำหนดให้จำเลยชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วันแต่จำเลยไม่ชำระ ดังนี้ การที่จำเลยไม่ชำระหนี้ให้ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา ถือว่าจำเลยผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ตามที่คู่สัญญาได้กำหนดไว้ แต่ที่โจทก์ยอมรับชำระหนี้ภายหลังที่จำเลยผิดสัญญาแล้ว จะถือว่าโจทก์ไม่ถือเอาเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญหรือสละเงื่อนเวลานั้นจำเลยไม่มีพยานมาสืบให้เห็นว่าเป็นอย่างที่จำเลยอ้าง ทั้งตามข้อตกลงในสัญญาเงินกู้ก็ระบุว่าการไม่ดำเนินการหรือความล่าช้าในการดำเนินการใช้สิทธิของผู้ให้กู้คือโจทก์มิได้แสดงว่าโจทก์สละสิทธิตามที่ระบุไว้ในสัญญา จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ไม่ถือเงื่อนเวลาในการชำระหนี้เป็นสาระสำคัญและสละเงื่อนเวลาอันจะถือว่าจำเลยไม่ผิดสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินกู้คืนได้
ที่จำเลยฎีกาว่าการค้ำประกันและการขยายระยะเวลาค้ำประกันรายนี้มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือใช้บังคับไม่ได้นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ทั้งยังรับว่าได้มีการค้ำประกันจริง แต่โต้แย้งว่ามิได้ขยายระยะเวลาค้ำประกันเท่านั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิจะโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าการค้ำประกันมิได้ทำเป็นหนังสือ
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือค้ำประกันให้โดยจำเลยรับรองว่าเมื่อโจทก์ได้รับแจ้งว่าจำเลยผิดนัด จำเลยยอมให้โจทก์ชำระเงินได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ ดังนั้นเมื่อโจทก์ชำระหนี้ให้แก่บริษัท ท.แทนจำเลยไปแล้วแม้จะไม่ได้บอกให้จำเลยทราบก่อน โจทก์ก็มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับรายวัน-บอกเลิกสัญญาซื้อขาย: การใช้สิทธิของผู้ซื้อเมื่อผู้ขายผิดนัด
สัญญาซื้อขายข้อ 10 มีข้อความว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 9 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบ นับแต่จากวันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 8 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 9วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และในที่สุดโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละศูนย์จุดสอง (0.2) ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาข้อ 9 นั้น หมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 6/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4385/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิปรับตามสัญญาซื้อขายเมื่อผู้ขายผิดนัดส่งมอบของ และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา
สัญญาซื้อขาย ข้อ 10 มีว่า "ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาเป็นต้นไปจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน" และวรรคสามของสัญญาข้อเดียวกันระบุว่า "ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าไม่อาจจะปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันกับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้" ดังนี้ เมื่อจำเลยทั้งสองผิดนัดไม่ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์ โจทก์ได้บอกกล่าวให้จำเลยทั้งสองส่งมอบสิ่งของและได้สงวนสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันด้วย และเมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยทั้งสองไม่อาจส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ จึงบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกัน เป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 10 วรรคหนึ่งและวรรคสามนั่นเอง โจทก์จึงมีสิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ไม่ได้ส่งมอบได้ ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 ที่ระบุให้ผู้ซื้อสามารถเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยนั้นหมายถึงว่า เมื่อผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของที่ซื้อ โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาโดยไม่ให้เวลาผู้ขายที่จะส่งมอบสิ่งของและสงวนสิทธิในการที่จะปรับเป็นรายวัน เมื่อโจทก์ใช้สิทธิปรับจำเลยทั้งสองเป็นรายวัน จำเลยทั้งสองจะต้องชำระค่าปรับพร้อมด้วยดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันผิดนัดให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4279/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องราคาค่าจ้างไม่ถือเป็นการผิดสัญญา บอกเลิกสัญญาไม่ได้
โจทก์ได้ทำชั้นวางของจนสำเร็จตามที่จำเลยว่าจ้าง จำเลยจึงมีหน้าที่ที่ต้องรับมอบชั้นวางของดังกล่าวจากโจทก์ พร้อมกับใช้ราคาตามที่ตกลงกันให้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 602 วรรคหนึ่ง จำเลยจะอ้างว่าโจทก์เรียกร้องให้จำเลยชำระราคาผิดไปจากข้อตกลงอันเป็นการผิดสัญญาเพื่อบอกเลิกสัญญาไม่ได้จำเลยมีสิทธิเพียงแต่บอกปัดไม่จำต้องชำระราคาให้แก่โจทก์ตามที่เรียกร้องมาเท่านั้น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเพียงการโต้แย้งกันเรื่องราคาค่าจ้างเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าการเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้โดยตรง หาใช่นอกประเด็นไม่
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหรือไม่ ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า กรณีระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นเพียงการโต้แย้งกันเรื่องราคาค่าจ้างเท่านั้น จำเลยจะอ้างว่าการเรียกร้องค่าจ้างของโจทก์เป็นการประพฤติผิดสัญญาหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยในประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้โดยตรง หาใช่นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3829/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเช่าเกินเกณฑ์ ศาลอนุญาตฎีกาได้ และการผิดสัญญาเช่าอันเป็นเหตุบอกเลิกสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากตึก 5 ชั้นที่พิพาท อันมีค่าเช่าที่ตกลงในขณะทำสัญญาวันที่ 13 มกราคม 2526 กำหนดอัตรากันไว้เดือนละ 500 บาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ หรือมิได้ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนอสังหาริมทรัพย์นั้นและขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องขับไล่ยังอยู่ในอายุสัญญาเช่าที่จำเลย ได้ทำไว้โดยจำเลยได้ชำระเงินค่าจองตามที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญา จองเช่าอาคารจำนวน 1,620,000 บาท ให้แก่โจทก์ เพื่อให้จำเลยมีสิทธิได้จดทะเบียนเช่าอยู่ในตึกพิพาทมีกำหนดระยะยาวนาน เป็นเวลา 25 ปี 6 เดือน 7 วัน เงินค่าจองเช่าจำนวน1,620,000 บาทดังกล่าว เป็นเงินที่ทำให้จำเลยสามารถมีสิทธิได้อยู่ในห้องเช่าของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงจดทะเบียนเช่ากันไว้ จึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าที่ชำระไว้ล่วงหน้าให้โจทก์ โจทก์จึงมี สิทธินำเงินค่าจองเช่าอาคารนี้มาคำนวณแล้วคิดเฉลี่ยเป็นค่าเช่า รายเดือนตามระยะเวลาเช่าที่กำหนดไว้ได้ แล้วนำเงิน ค่าเช่ารายเดือนเดือนละ 500 บาท ตามสัญญามารวมซึ่งเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วเป็นเงินค่าเช่าเกินเดือนละ 5,000 บาทจึงไม่ต้องห้ามโจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสองเดิมที่ใช้บังคับอยู่ในเวลาที่โจทก์ยื่นฎีกา คือ วันที่ 31 กรกฎาคม 2534 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2540)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3754/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: สิทธิบอกเลิกสัญญาเมื่อเนื้อที่ดินไม่ตรงตามที่ตกลง และการพิสูจน์การมอบอำนาจ
การทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินของโจทก์กับจำเลยมีเจตนาซื้อขายที่ดินโดยกำหนดเนื้อที่ดินเอาไว้แน่นอนแล้ว เพราะหากไม่ประสงค์จะผูกพันกันเป็นจำนวนเนื้อที่ดินแน่นอนดังกล่าวจำเลยก็ควรจะระบุเหตุนี้ให้ปรากฏในสัญญา แต่จำเลยก็มิได้ระบุไว้ กรณีจึงต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 466 ซึ่งบัญญัติให้ผู้ซื้อมีสิทธิบอกปัดไม่รับไว้ก็ได้หากการขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวนนั้นเกินกว่าร้อยละห้าแห่งเนื้อที่ทั้งหมดอันได้ระบุไว้ เมื่อจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์รับโอนที่ดินมีเนื้อที่น้อยกว่าจำนวนตามสัญญากว่าร้อยละห้าของเนื้อที่ทั้งหมด โจทก์ในฐานะผู้ซื้อย่อมมีสิทธิบอกปัดไม่รับโอนและบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยได้ โจทก์ฟ้องโดยระบุว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว.เป็นผู้ฟ้องคดีแทนจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องนี้ข้อเท็จจริงจึงฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์มอบอำนาจให้ ว. ฟ้องคดีนี้แทน โดยโจทก์ไม่จำต้องอ้างส่งหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ต่อศาลอีก ฉะนั้น ข้อฎีกาของจำเลยที่ว่า โจทก์มิได้เสียค่าอ้างเอกสารสำหรับหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีนี้ จึงไม่เป็นสาระที่จะต้องวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3244/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ถือเป็นการผ่อนเวลา แม้เวลาจะล่วงเลยไปนาน ผู้ค้ำประกันจึงยังคงรับผิด
การที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะบอกเลิกสัญญาได้แต่ไม่ใช้สิทธิดังกล่าว หาใช่กรณีที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ไม่ การที่โจทก์ปล่อยให้เวลาล่วงเลยมาถึง 28 เดือน โดยมิได้บอกเลิกสัญญา จึงมิใช่การผ่อนเวลาให้แก่จำเลยที่ 1 อันจักทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญาเช่า, การใช้สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์, และผลกระทบจากนโยบายรัฐ
ข้อความในหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าระบุไว้ชัดเจนว่าส.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปยังจำเลยในฐานะที่ส.ได้รับมอบอำนาจจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โจทก์ร่วมโดยขอให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมทั้งบริวารออกจากอาคารที่เช่าและส่งมอบอาคารที่เช่าคืนแก่โจทก์ร่วมทั้งส.ลงลายมือชื่อไว้ถูกต้องถึงแม้ส. จะระบุตำแหน่งว่าเป็นผู้อำนวยการสำนักสวัสดิการสังคมและสถานที่ออกหนังสือที่สำนักสวัสดิการสังคมตลอดจนออกเลขที่หนังสือของหน่วยราชการดังกล่าวก็ตามก็ถือได้ว่าส. ได้บอกเลิกสัญญาเช่าตามที่โจทก์ร่วมได้มอบอำนาจให้กระทำแทนแล้วเมื่อจำเลยผู้เช่าได้รับหนังสือดังกล่าวย่อมถือได้ว่าโจทก์ร่วมได้บอกเลิกการเช่าแก่จำเลยและมีผลตามกฎหมายแล้วโจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมและโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ การเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมต่างเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิที่จะกระทำนิติกรรมใดๆอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนได้และสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติและโจทก์ร่วมได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนการที่การเคหะแห่งชาติซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทไปจากกรมประชาสงเคราะห์และต่อมาได้โอนกรรมสิทธิ์อาคารพิพาทให้แก่โจทก์ร่วมแล้วโจทก์ร่วมทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินเพื่อนำไปทำสวนสาธารณะแม้จะเป็นการขัดต่อนโยบายของรัฐบาลสมัยที่มุ่งสงเคราะห์ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้มีรายได้น้อยก็ตามแต่เมื่อนโยบายรัฐบาลย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามยุคสมัยการที่รัฐบาลและโจทก์จะนำที่ดินไปทำสวนสาธารณะย่อมเป็นประโยชน์ต่อประชาชนส่วนใหญ่สัญญาซื้อขายระหว่างการเคหะแห่งชาติกับโจทก์ร่วมจึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เช่าที่ดินพิพาทและโจทก์ร่วมเจ้าของที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองและเรียกค่าเสียหายในฐานะที่โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนมิใช่เป็นการฟ้องให้บังคับตามสัญญาเช่าโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้แม้ว่าการเช่าอาคารพิพาทระหว่างการเคหะแห่งชาติกับจำเลยที่1จะไม่มีสัญญาเช่าและไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือก็ตาม