พบผลลัพธ์ทั้งหมด 702 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2839/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการจำหน่ายคดีจำเลยบางคนต่อความรับผิดของจำเลยอื่น และการรับประกันภัยในกรณีลูกจ้างกระทำละเมิด
โจทก์ฟ้องจำเลยที่1ผู้ทำละเมิดจำเลยที่3ในฐานะนายจ้างหรือตัวการและจำเลยที่3ในฐานะผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่2คันที่จำเลยที่1ขับให้ร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ระหว่างพิจารณาจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การแต่โจทก์มิได้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยที่2ขาดนัดยื่นคำให้การศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่2ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองดังนี้คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นคงมีผลเพียงว่าจำเลยที่2ไม่มีฐานะเป็นคู่ความในคดีและศาลไม่สามารถบังคับคดีแก่จำเลยที่2ได้เท่านั้นหามีผลทำให้หนี้หรือความรับผิดของจำเลยที่2ระงับสิ้นไปดังนั้นแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งจำหน่ายคดีสำหรับจำเลยที่2ผู้เอาประกันภัยจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์ของจำเลยที่2ก็อาจถูกพิพากษาให้รับผิดได้ ปัญหาว่าคดีสำหรับจำเลยที่2ขาดอายุความแล้วหรือไม่ไม่มีจำเลยคนใดให้การต่อสู้ไว้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยบุคคลภายนอก: การตีความข้อยกเว้นความรับผิดต่อผู้โดยสารและผู้ขับขี่
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด 2 การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.2 มีข้อความว่า "ความรับผิดต่อผู้โดยสาร บริษัทจะใช้ค่าสินไหม-ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย..." ข้อ 2.8 มีข้อความว่า "การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." ข้อ 2.11 มีข้อความว่า "การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ 2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย..." ตามข้อความในข้อ 2.2 และ ข้อ 2.8 ข้างต้น เป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลย ส่วนข้อ 2.11 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัด จะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 หาได้ไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้ว ข้อ 2.11 มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือ ณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับ ณ.เท่านั้น น.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและ ร.ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.11 น.คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจาก ณ.ผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.8 เมื่อ ณ.ยินยอมให้ น.ยืมรถยนต์ของตนไปขับ และ น.ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ ร.ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.11 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย การตีความขอบเขตความคุ้มครอง และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด2การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อ2.2มีข้อความว่า"ความรับผิดต่อผู้โดยสารบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย"ข้อ2.8มีข้อความว่า"การคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง"ข้อ2.11มีข้อความว่า"การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย"ตามข้อความในข้อ2.2และข้อ2.8ข้างต้นเป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลยส่วนข้อ2.11เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัดจะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8หาได้ไม่ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายจ.3ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้วข้อ2.11มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับณ. เท่านั้นน. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและร. ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.11น. คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากณ. ผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.8เมื่อณ. ยินยอมให้น. ยืมรถยนต์ของตนไปขับและน. ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ร. ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ2.11ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย: การเฉลี่ยความรับผิดเมื่อเกินวงเงินประกัน
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุให้จำเลยที่ 4 รับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวน 500,000 บาทต่ออุบัติเหตุ 1 ครั้ง แต่ในมูลคดีเดียวกันนี้จำเลยที่ 4 ถูกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าเสียหาย ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเงิน 144,580.48 บาท ซึ่งจำเลยที่ 2 ในคดีดังกล่าวคือจำเลยที่ 4 คดีนี้จำเลยที่ 4 ได้ชำระเงิน 195,183 บาท ไปแล้ว เมื่อรวมกับความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้ จำนวน 2,620,210.80 บาท รวมยอดความรับผิดทั้งสิ้น 2,764,791.28 บาท จึงเกินวงเงินที่จำเลยที่ 4 จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำกัดความรับผิดไว้เพียง 500,000 บาท ดังนั้นจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์คดีนี้เฉลี่ยตามส่วนที่ได้รับความเสียหายโดยต้องรับผิดเพียง 473,853.27 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 259/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย กรณีอุบัติเหตุซ้ำซ้อน ศาลคำนวณความรับผิดตามสัดส่วนความเสียหาย
ตามกรมธรรม์ประกันภัยระบุให้จำเลยที่4รับผิดในอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นไม่เกินจำนวน500,000บาทต่ออุบัติเหตุ1ครั้งแต่ในมูลคดีเดียวกันนี้จำเลยที่4ถูกองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยฟ้องเรียกค่าเสียหายศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดต่อองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเป็นเงิน144,580.48บาทซึ่งจำเลยที่2ในคดีดังกล่าวคือจำเลยที่4คดีนี้จำเลยที่4ได้ชำระเงิน195,183บาทไปแล้วเมื่อรวมกับความรับผิดของจำเลยทั้งสองที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในคดีนี้จำนวน2,620,210.80บาทรวมยอดความรับผิดทั้งสิ้น2,764,791.28บาทจึงเกินวงเงินที่จำเลยที่4จะต้องรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยที่จำกัดความรับผิดไว้เพียง500,000บาทดังนั้นจำเลยที่4จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์คดีนี้เฉลี่ยตามส่วนที่ได้รับความเสียหายโดยต้องรับผิดเพียง473,853.27บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2447/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับประกันภัยต้องรับผิดเมื่อผู้ขับขี่ซึ่งได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยประมาทก่อให้เกิดความเสียหาย
จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันที่จำเลยที่ 3 รับประกันภัยไว้โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยด้วยความประมาทเลินเล่อชนรถยนต์ของโจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นเสมือนผู้เอาประกันภัยเองตามข้อกำหนดในกรมธรรม์ประกันภัย ผู้รับประกันจึงต้องรับผิดชอบในความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทก์ด้วยส่วนการที่ผู้ต้องเสียหายไม่ได้ฟ้องหรือเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู้คดีด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 887 วรรคสอง นั้นก็มีผลเพียงทำให้ผู้ต้องเสียหายไม่อาจเรียกค่าสินไหมทดแทนส่วนที่ยังขาดจากผู้เอาประกันภัยได้เท่านั้น ไม่มีผลทำให้ผู้เอาประกันภัยไม่ต้องรับผิดต่อผู้ต้องเสียหายและทำให้ผู้รับประกันภัยหลุดพ้นความรับผิดไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรและการแจ้งให้บริษัทประกันทราบ การพิสูจน์เหตุจำเป็นไม่ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้าที่มาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่า โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่า โจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทุพพลภาพถาวรและการบอกกล่าวเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การตีความสัญญาประกันภัย และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไข
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุพพลภาพถาวรและข้อยกเว้นการแจ้งลายลักษณ์อักษรตามสัญญาประกันภัย
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีประกันภัยรถยนต์ และค่าขึ้นศาล
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาประกันภัย ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ชนรถยนต์ซึ่งโจทก์รับประกันภัยไว้ ให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ใช้ให้แก่ผู้เอาประกันภัยของโจทก์ไปแล้วนั้น เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยค้ำจุน ซึ่งมีอายุความ 2 ปีนับแต่วันเกิดวินาศภัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 882 เหตุวินาศภัยเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2534 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2536 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฎว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความแล้วจำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1 ข้อ 2 (ก) เมื่อปรากฎว่าโจทก์เสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินให้แก่โจทก์