คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 312 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3586/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาที่พิมพ์ผิดพลาดเกี่ยวกับจำนวนเงินค่าชดเชยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ที่ 58 ยื่นฟ้องโดยอ้างว่ามีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามบัญชีรายละเอียด เอกสารท้ายคำฟ้อง รวม 24,900 บาท ในคำขอท้ายคำฟ้องก็ระบุจำนวนเงิน 24,900 บาท เมื่อศาลแรงงานกลางอ่านคำพิพากษาได้บังคับให้จำเลยชำระเงินจำนวนนี้ตรงกับต้นร่างคำพิพากษาแต่เมื่อจัดพิมพ์คำพิพากษาแล้วปรากฏว่าได้พิมพ์จำนวนเงินที่ให้จำเลยชำระแก่โจทก์ที่ 58 เป็นเงิน 14,900 บาท จึงเป็นกรณีการพิมพ์จำนวนค่าชดเชยผิดพลาด เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาครั้งแรกปกติย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะแก้ไขให้ถูกต้อง เพราะได้ล่วงเลยขั้นตอนตามกฎหมายที่ศาลแรงงานกลางจะพึงแก้ไขได้แล้ว แต่ศาลฎีกาไม่มีโอกาสได้ทราบถึงความผิดพลาดในครั้งนั้น จึงมิได้แก้ไขให้ถูกต้องไปในคราวเดียวกันกรณีการพิมพ์ผิดพลาดเช่นนี้ ถือเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเช่นนี้ในภายหลังให้ถูกต้องตรงต่อความเป็นจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3020/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี: การอายัดเงินและการจ่ายให้เจ้าหนี้ การตีความตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินของจำเลยจากคดีอื่นมาจำนวนหนึ่งในเงินจำนวนนี้ได้จ่ายให้โจทก์เพียงบางส่วน เฉพาะส่วนที่จ่ายให้โจทก์นี้ต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่งตามตาราง 5 ข้อ 2 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 2 ไม่ได้หมายถึงเฉพาะการอายัดสิทธิเรียกร้องให้บุคคลภายนอกส่งมอบสิ่งของ และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องทำการจำหน่ายสิ่งของนั้นให้เป็นตัวเงิน แม้การอายัดเงินแล้วมีการจ่ายเงินให้ผู้ขออายัด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องทำการจำหน่ายหรือทำอะไรกับเงินที่อายัดนั้นก็ตามแต่การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด เป็นการปฏิบัติตามความหมายของการอายัดแล้ว
กรณีตามตาราง 5 ข้อ 4 หมายถึง เมื่อมีการยึดหรืออายัดเงินหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย การขายหรือจำหน่ายรวมถึงการแลกเปลี่ยนหรือเอาออกหรือยังไม่มีการจ่ายเงินที่อายัดให้ผู้ขออายัด จึงเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2861/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีรุกล้ำที่ดิน: การฟ้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ศาลยกฟ้องแล้วถือเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยว่าจำเลยสร้างตึกรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และปลูกสร้างฝาผนังก่ออิฐรุกล้ำอีกด้วยศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าที่ดินพิพาทที่โจทก์ฟ้องอยู่ในเขตที่ดินโฉนดเลขที่981ของโจทก์พิพากษายกฟ้องคดีถึงที่สุดคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่าปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำที่ดินโฉนดเลขที่981และมีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำตรงตามฟ้องคดีเดิมทุกประการและขอให้พิพากษารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำเช่นเดียวกับคดีเดิมถือได้ว่าคดีเดิมและคดีนี้คู่ความเดียวกันประเด็นในคดีก่อนและในคดีนี้ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามมาตรา148แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2773/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 แม้ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
คดีก่อน จำเลยที่ 1 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์ในคดีนี้กับพวกเป็นจำเลย ในข้อหาว่า โจทก์เป็นผู้ผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง ที่โจทก์จ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ และโจทก์ได้สั่งให้ จำเลยที่ 1 ระงับการก่อสร้างเนื่องจากโจทก์ได้ทำการออกแบบแปลนตัวอาคารที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเอกชนโดยความผิดพลาดของโจทก์เองและเรียกร้องให้โจทก์ใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 จึงมีประเด็นว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาหรือไม่ และจะต้องใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เท่าใด ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาแต่ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสิทธิบอกกล่าวเลิกสัญญากับโจทก์ จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นจำเลยในคดีนี้ในข้อหาว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาก่อสร้างฉบับเดียวกันโดยอ้างเหตุเช่นเดียวกับคดีก่อนว่าโจทก์ได้ออกแบบแปลนตัวอาคารผิดพลาดโดยเหตุที่ที่ดินบางส่วนทางด้านทิศใต้ของบริเวณที่ดินที่ก่อสร้างเป็นของเอกชน ต่อมาโจทก์ได้จัดซื้อที่ดินของเอกชนดังกล่าวแล้ว จึงขอให้จำเลยทั้งสองทำการก่อสร้างต่อไป แต่จำเลยทั้งสองไม่ก่อสร้างและให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ มูลคดีทั้งสองคดีนี้มีว่าคู่ความฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษาของโจทก์ โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเรื่องก่อสร้างอาคารที่ทำการกองบัญชาการศึกษารุกล้ำที่ดินของเอกชนเป็นข้อสำคัญของคดีจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 กรณีมิใช่เป็นการฟ้องซ้ำตาม มาตรา 148 เพราะขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ คดีก่อนอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ศาลชั้นต้นจะรอคดีนี้ไว้เพื่อฟังผลของคดีก่อนจนถึงที่สุดก็ตาม
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการประเภทไม่จำกัดความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ต้องห้ามมิให้ฟ้องจำเลยที่ 1 จึงมีผลถึงจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อโจทก์ในคำฟ้องและการส่งหนังสือมอบอำนาจใหม่ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
ก่อนมีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ว่าชื่อโจทก์ในคำฟ้องหน้าแรกช่องระบุชื่อคู่ความและช่องระบุชื่อโจทก์ ขอแก้ไขจากบริษัทอาทิตย์ - จันทร์ การลงทุนจำกัดเป็นบริษัท อาทิตย์ - จันทร์ ลงทุนจำกัดและสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมาย 2 (หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี) โจทก์จะได้นำส่งฉบับที่ถูกต้องต่อศาลต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อย อนุญาตสำเนาให้จำเลยและปรากฏว่าจำเลยได้รับสำเนาคำร้องไปแล้วเมื่อศาลอนุญาต คำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าว จึงถือว่าคำฟ้องของโจทก์ก็ดี หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ก็ดี ได้รับอนุญาตจากศาลให้แก่คำว่าบริษัท อาทิตย์ - จันทร์ การลงทุน จำกัด มาเป็นคำว่า บริษัทอาทิตย์ - จันทร์ลงทุนจำกัด ทุก ๆ คำ
จำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมท้ายฟ้องซึ่งศาลอนุญาตให้แก้ไขแล้วไม่น้อยกว่า 3 วัน ก่อนวันนัดสืบพยาน ซึ่งจำเลยก็ทราบข้อความที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขอยู่ก่อนแล้ว เมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ส่งฉบับที่ถูกต้องภายหลังได้การที่โจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจภายหลัง 3 วันก่อนสืบพยาน ย่อมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขชื่อโจทก์ในคำฟ้องและการส่งมอบหนังสือมอบอำนาจใหม่ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90
ก่อนมีการชี้สองสถานโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโจทก์ว่าชื่อโจทก์ในคำฟ้องหน้าแรกช่องระบุชื่อคู่ความและช่องระบุชื่อโจทก์ขอแก้ไขจากบริษัทอาทิตย์-จันทร์การลงทุนจำกัดเป็นบริษัทอาทิตย์-จันทร์ลงทุนจำกัดและสำเนาเอกสารท้ายคำฟ้องหมาย2(หนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดี)โจทก์จะได้นำส่งฉบับที่ถูกต้องต่อศาลต่อไปศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องของโจทก์ว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาตสำเนาให้จำเลยและปรากฏว่าจำเลยได้รับสำเนาคำร้องไปแล้วเมื่อศาลอนุญาตคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงถือว่าคำฟ้องของโจทก์ก็ดีหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์ก็ดีได้รับอนุญาตจากศาลให้แก่คำว่าบริษัทอาทิตย์-จันทร์การลงทุนจำกัดมาเป็นคำว่าบริษัทอาทิตย์-จันทร์ลงทุนจำกัดทุกๆคำ จำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับเดิมท้ายฟ้องซึ่งศาลอนุญาตให้แก้ไขแล้วไม่น้อยกว่า3วันก่อนวันนัดสืบพยานซึ่งจำเลยก็ทราบข้อความที่ศาลอนุญาตให้แก้ไขอยู่ก่อนแล้วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ส่งฉบับที่ถูกต้องภายหลังได้การที่โจทก์ส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจภายหลัง3วันก่อนสืบพยานย่อมไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4997-4998/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินมาจากเจ้าของเดิม จำเลยปลูกบ้านอยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยเจ้าของเดิมโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยรื้อบ้านและออกไปจากที่ดิน โดยบอกกล่าวหลังจากซื้อมาประมาณปีเศษ จำเลยเพิกเฉย ทำให้โจทก์ขาดประโยชน์จากการให้เช่าที่ดินเดือนละ 100 บาทขอให้ขับไล่และเรียกค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเพียงผู้อาศัยอยู่ในบ้านของผู้มีชื่อ มิได้อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์ ดังนี้เป็นคดีฟัองขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่ดิน ซึ่งในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาท และจำเลยมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งสัญญาอาศัย ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4475/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและข้อตกลงเพิ่มเติม การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์ผู้ซื้อและจำเลยที่ 1 ผู้ขายตกลงทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินรายพิพาทโดยอาศัยหลักฐานเป็นหนังสือ แม้มีการวางมัดจำด้วยการวางมัดจำก็เป็นแต่เพียงข้อสัญญาข้อหนึ่งเท่านั้นหาใช่ตกลงทำสัญญากันด้วยการวางมัดจำแต่อย่างใดไม่ กรณีจึงต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ที่ห้ามมิให้คู่ความนำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาอยู่อีก การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสัญญาที่ทำไว้ต่อกันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของกรมทางหลวงในทุกประการเกี่ยวกับการยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายพิพาทต่ออธิบดีกรมทางหลวง จึงต้องห้ามมิให้รับฟังและถือไม่ได้ว่ามีข้อตกลงดังที่โจทก์กล่าวอ้างดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 และโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินรายนี้ตามสัญญาจะซื้อขายต่ออธิบดีกรมทางหลวงตามแบบพิมพ์ของกรมทางหลวง แม้จำเลยจะได้แก้ไขข้อความตามแบบพิมพ์นั้น จนเป็นเหตุให้กรมทางหลวงไม่อนุญาตให้โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำนิติกรรมรายนี้ ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ผู้ขายที่จะกระทำได้โดยชอบ ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3030/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดทรัพย์ก่อนขายทอดตลาด: การตีความ 'ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด' ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำว่า "ก่อนที่ได้เอาทรัพย์สินเช่นว่านี้ออกขายทอดตลาด "ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288 หมายความถึงการขายทอดตลาดบริบูรณ์โดยเจ้าพนักงานบังคับคดีมีการตกลงด้วยการเคาะไม้หรือด้วยกิริยาอื่นอย่างใดอย่างหนึ่งตามจารีตประเพณีในการขายทอดตลาด หรือศาลมีคำสั่งให้ขายแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแต่นำเรือนพิพาทออกดำเนินการขายทอดตลาด 2 ครั้งแล้วเลื่อนไปประกาศขายทอดตลาดอีกเป็นครั้งที่สามการดำเนินการขายทอดตลาดทั้งสองครั้งยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขายทอดตลาดผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขัดทรัพย์ก่อนการขายทอดตลาดในครั้งที่สามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์ก่อนการโอน และผลกระทบต่อผู้ซื้อโดยสุจริตตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 มุ่งประสงค์ คุ้มครองถึงบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ด้วยจึงบัญญัติ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีต้องแจ้งให้ เจ้าพนักงานที่ดินผู้มี หน้าที่ทราบ และให้เจ้าพนักงานที่ดิน บันทึกการยึดไว้ ในทะเบียน เมื่อผู้ร้องซื้อและรับโอนที่พิพาท ในวันเดียว กับที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึด โดยรับโอน ภายหลังการยึด แต่ต่างเวลากัน เจ้าพนักงานที่ดินยังไม่ได้ รับแจ้งการ ยึดจากเจ้าพนักงานบังคับคดี ดังนี้ จึงใช้ยัน ผู้ร้องซึ่ง รับโอนโดยสุจริตไม่ได้
of 32