คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ประมวลกฎหมายแพ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 416 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'ของมีค่า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 620: เครื่องรับโทรทัศน์ไม่เข้าข่าย
คำว่า 'ของมีค่า' ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 620 หมายถึงทรัพย์สินที่มีคุณค่าอันมีลักษณะพิเศษทำนองเดียวกับเงินทองตรา ธนบัตร ฯลฯ เครื่องรับโทรทัศน์ เป็นเพียงทรัพย์สินตามธรรมดาทั่ว ๆ ไปเท่านั้น ถึงแม้ราคาจะค่อนข้างสูงก็ถือไม่ได้ว่าเป็นของมีค่าตามความหมายแห่งบทบัญญัติดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทซื้อขายหุ้นผ่านนายหน้า: สัญญาผูกพันตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์ ไม่ใช่การซื้อขายโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่ง
โจทก์ทำการเป็นนายหน้าของจำเลย ตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งออกตามความในมาตรา15(8) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อโจทก์ได้ปฏิบัติตามข้อบังคับนั้นแล้ว จึงผูกพันจำเลยในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ บังคับระหว่างกันได้ หาใช่กรณีการซื้อหุ้น ขายหุ้น กันโดยตรงอันจะต้องปฏิบัติตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129หรือ ในเรื่องการซื้อขายธรรมดา ตามมาตรา 453 ไม่.(ที่มา-เนติ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้ตัดสินว่า เมื่อมีกฎหมายเฉพาะกำหนดเงินเพิ่มสำหรับหนี้ภาษีอากรแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ร.บ.ศุลกากรและประมวลรัษฎากร บัญญัติให้เรียกเงินเพิ่มของค่าอากรที่นำมาชำระจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ และของเงินภาษีที่ต้องชำระแต่มิให้เกินกว่าจำนวนภาษีที่ต้องชำระตามลำดับ ซึ่งเป็นทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรที่ค้างไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงจะนำป.พ.พ.มาตรา 224ว่าด้วยดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดมาเรียกร้องเอากับลูกหนี้ไม่ได้.(ที่มา-เนติฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อรถยนต์สูญหาย: ใช้ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 164 ไม่ใช่ 2 ปี
สัญญาเช่าซื้อข้อ 5 กำหนดว่า ในกรณีที่รถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหายไม่ว่าโดยเหตุสุดวิสัยหรือโดยเหตุใด ผู้เช่าซื้อต้องรับผิดแต่ฝ่ายเดียวชำระค่าเช่าซื้อทั้งสิ้นจนครบ การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อชำระค่ารถยนต์ที่ค้างตามสัญญาดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระราคาทรัพย์สิ้นที่เช่าซื้อจนครบตามที่ระบุไว้ในสัญญา หาใช่ฟ้องเรียกค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 366/2521)
ในกรณีฟ้องเรียกราคารถยนต์ที่เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวข้างต้นไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา164 มิใช่อายุความ 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยจงใจสร้างความเสียหายแก่ผู้อื่นเป็นการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 421
การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้นเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จำเลยมีตึกแถวอยู่ติดกันและมีท่อระบายน้ำโสโครกฝังอยู่ด้านหลังของตึกแถวเป็นแนวเดียวกัน1ท่อเพื่อระบายน้ำร่วมกันไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะโจทก์จำเลยมีเรื่องพิพาทกันมาก่อนแล้วจำเลยนำแผ่นเหล็กเจาะรูเล็กๆปิดกั้นทางระบายน้ำที่จะระบายมาจากบ้านโจทก์จนเป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมขังบ้านโจทก์เป็นการกระทำที่จงใจจะให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ถึงแม้จะกระทำในที่ดินของตนเองก็เป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำโดยละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา421 โจทก์ร้องขอให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษาในกรณีฉุกเฉินให้จำเลยรื้อถอนแผ่นเหล็กดังกล่าวออกเมื่อศาลอนุญาตแล้วโจทก์ก็เอาแผ่นเหล็กที่จำเลยนำไปปิดกั้นออกการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตามคำสั่งศาลอันชอบด้วยกฎหมายถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำโดยละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นสัญญาขายฝาก ทำให้หนี้เงินกู้ระงับสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ทำสัญญากู้เงินกันแล้วตกลงเปลี่ยนสัญญานั้นเป็นสัญญาขายฝากเรือนเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งของซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ ทำให้หนี้เงินกู้เป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3475/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญากู้เป็นสัญญาขายฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349
ทำสัญญากู้เงินกันแล้วตกลงเปลี่ยนสัญญานั้นเป็นสัญญาขายฝากเรือนเป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งของซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ทำให้หนี้เงินกู้เป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดรถยนต์ที่ซื้อมาโดยสุจริต: อำนาจหน้าที่พนักงานสอบสวน & สิทธิผู้ซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่ง
จำเลยที่ 3 เป็นพนักงานสอบสวน ในการสืบสวนสอบสวนจึงมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมหลักฐานและดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับความผิดเพื่อทราบข้อเท็จจริง พิสูจน์ความผิดและเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ การที่จำเลยที่ 3 สืบสวนทราบว่ารถยนต์ของ ช. ที่ถูกยักยอกไปอยู่ในความครอบครองของโจทก์ และยึดรถยนต์ดังกล่าวมาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีจึงเป็นการกระทำตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 และกรมตำรวจจำเลยที่ 4 ต้นสังกัด จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์
โจทก์ซื้อรถยนต์จากท้องตลาดโดยสุจริต ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ที่ซื้อนั้นไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 เพียงแต่บัญญัติว่าผู้ซื้อไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา ดังนี้เมื่อเจ้าของติดตามรถยนต์ดังกล่าวคืนโดยตำรวจยึดรถยนต์นั้นไปและศาลพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาเพราะเหตุที่โจทก์ถูกรอนสิทธิแล้ว โจทก์จึงขอบังคับให้ส่งมอบรถยนต์แก่โจทก์อีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างต้องรับผิดจากงานชำรุดบกพร่อง แม้จำเลยจะรับมอบงานบางส่วน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 600
โจทก์รับจ้างสร้างรั้ว แต่สร้างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาเป็นเหตุให้รั้วพังล้มลงแม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยรับมอบงานบางส่วนและจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ ถือว่าโจทก์ทำงานให้จนเสร็จเรียบร้อยตามทางการจ้างแล้วนั้นโจทก์ก็หาหลุดพ้นจากความรับผิดไม่เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 600โจทก์ยังต้องรับผิดแก่จำเลยจากงานที่ชำรุดบกพร่องตามที่ปรากฏขึ้นภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2677/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิยาม 'ศิลปอุตสาหกรรม' และ 'พ่อค้า' ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กับอายุความในการเรียกร้องค่าสินค้า
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานพ.ศ.2525อธิบายความหมายของคำว่า'ศิลป'ว่า'ฝีมือฝีมือทางการช่างฯลฯ'และ'อุตสาหกรรม'หมายถึง'การทำสิ่งขิงเพื่อให้เกิดประโยชน์เป็นกำไร'ดังนั้นคำว่า'ศิลปอุตสาหกรรม'ในประมวลกำหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)จึงหมายถึงการทำสิ่งของด้วยฝีมือทางการช่างเพื่อให้เกิดผลกำไรกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือการประดิษฐ์หรือผลิตหรือทำสิ่งของด้วยฝีมือทางการช่างให้เป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายหากำไร โจทก์เป็นทบวงการเมืองมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวงและมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ.2518(ที่ใช้บังคับในขณะนั้น)โจทก์ไม่ได้ผลิตปุ๋ยเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลทั่วไปแต่โจทก์เป็นผู้สั่งซื้อปุ๋ยจากต่างประเทศมาขายให้แก่จำเลยที่1เป็นการขายตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อเพิ่มผลผลิตในการทำนาและขายถูกกว่าท้องตลาดไม่ได้คิดกำไรโจทก์จึงมิใช่บุคคลจำพวกประกอบศิลปอุตสาหกรรมและมิใช่ประกอบการค้าโดยซื้อสินค้ามาแล้วขายไปเพื่อหากำไรตามปกติจึงมิใช่พ่อค้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165(1)การที่โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าปุ๋ยจากจำเลยไม่อยู่ในบังคับของอายุความ2ปีและ5ปีตามมาตรา165(1)และวรรคท้ายและเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องถืออายุความ10ปีตามมาตรา164.
of 42