พบผลลัพธ์ทั้งหมด 519 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ และสิทธิในการได้รับเงินสะสมหลังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหาย
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ที่โต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ แล้วนำไปวินิจฉัยข้อกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 54 การเลิกจ้างจะเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมหรือไม่ จะต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่ามีเหตุจริงหรือไม่ และเหตุนั้นเป็นเหตุสมควรจะเลิกจ้างได้หรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถือได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ข้อ 6 ทวิ และข้อ 7 ระบุว่าในกรณีที่พนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทยมีกรณีต้องหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงจนถูกสอบสวนหรือฟ้องคดีอาญาหรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดอาญา จำเลยจะต้องรอฟังผลการสอบสวนหรือพิจารณาเมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยได้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนแล้วจึงมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ฐานประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้เสียหายแก่กิจการจำเลยอย่างร้ายแรงเป็นคำสั่งที่ชอบและเป็นธรรมซึ่งตามข้อบังคับของจำเลยดังกล่าวไม่จำเป็นต้องรอฟังผลการพิจารณาคดีของศาลก่อน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที คดีที่จำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ยังไม่ปรากฏผลของคดี ค่าเสียหายจึงยังไม่แน่นอน จำเลยจะนำเอาค่าเสียหายดังกล่าวมาหักจากเงินสะสมของโจทก์หาได้ไม่ และไม่มีเหตุที่จำเลยจะรอการจ่ายเงินสะสมไว้ได้ จึงต้องคืนเงินสะสมให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของนายกเทศมนตรีที่ไม่ฟ้องบังคับทายาทตามสัญญา ทำให้โจทก์ขาดสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงที่ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหาโดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จแล้วเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ร.เช่าอาคารพาณิชย์2 คูหา มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าคู่หาละ 200 บาท ต่อเดือนหากร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และร. จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และร.ด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่าร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติ ต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจากส.จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1คงปล่อยปละละเลยเรื่องมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรมและจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 ได้ไปทวงถามทายาทของร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ร.ถึงแก่กรรมแต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความจึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2118/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นความรับผิดจากละเมิดของลูกจ้างต่อนายจ้าง และการผูกพันคำพิพากษาในคดีก่อน
จำเลยให้การว่า ศาลแรงงานกลางไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว การที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว แม้เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ศาลฎีกาไม่เห็นสมควรวินิจฉัยให้ จำเลยอุทธรณ์ว่า ฟ้องเคลือบคลุมเพราะโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ชัดแจ้งว่าใครเป็นคนครอบครองเงิน เงินสูญหายอย่างไร และใครเป็นผู้รับผิดชอบจำเลยไม่เข้าใจคำฟ้องของโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินสดที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาทโจทก์ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการสอบสวนผลการสอบสวนไม่สามารถหาสาเหตุแห่งการที่เงินสดสูญหายไป แต่จำเลยยอมรับว่าเงินสดที่ขาดบัญชีอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลย ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยเป็นคนครอบครองเงินเงินสูญหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ และจำเลยเป็นผู้รับผิดชอบซึ่งจำเลยก็ให้การว่าเงินได้ขาดหายไปขณะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้จัดการและสมุห์บัญชี ไม่ได้อยู่ในความครอบครองของจำเลยจำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อหรือจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายแสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นพนักงานและลูกจ้างของโจทก์ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ คำสั่ง และข้อบังคับของโจทก์ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานที่ดีของโจทก์โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากเป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิดแล้ว ยังเป็นคำฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำผิดหน้าที่ที่จำเลยต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดกำหนดอายุความเกี่ยวกับการปฏิบัติผิดสัญญาจ้างแรงงานไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมซึ่งกำหนดอายุความไว้ 10 ปี แม้คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้รับจำเลยกลับเข้าทำงานหรือใช้ชดใช้ค่าเสียหายเนื่องจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและเงินอื่น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยประมาทเลินเล่อทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยสูญหายไปจำนวน 1,000,000 บาท ขอให้จำเลยชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ย แต่เหตุที่จำเลยอ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรมคือ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยจำเลยมิได้กระทำผิด ซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยเพราะจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ที่อยู่ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปจำนวน 1,000,000 บาท ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไปหรือไม่ แม้คดีก่อนจำเลยจะเป็นฝ่ายฟ้องโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์เป็นฝ่ายฟ้องจำเลย แต่โจทก์จำเลยในคดีทั้งสองก็เป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยจึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ต้องฟังว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เงินของโจทก์ในความครอบครองของจำเลยขาดบัญชีไป สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่มีกำหนดอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166 เดิม หมายถึง โจทก์จะเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งนับถึงวันฟ้องเกิน 5 ปี แล้วไม่ได้เท่านั้น ส่วนดอกเบี้ยที่ค้างส่งก่อนวันฟ้องนับย้อนหลังไปไม่เกิน5 ปี โจทก์ยังมีสิทธิเรียกร้องได้ หาใช่ว่าถ้าโจทก์ไม่ได้ฟ้องภายในกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแล้ว สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยที่ค้างส่งจะขาดอายุความไปทั้งหมดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทเลินเล่อจากการเก็บรักษายาคุมกำเนิด – ไม่มีเหตุคาดหมายการโจรกรรม
ยาคุมกำเนิดที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปนั้น จำเลยนำไปเก็บรักษาที่บ้านพักแพทย์ เนื่องจากไม่มีห้องเก็บยาโดยเฉพาะ บ้านพักดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุข ห่างกันเพียง 5 - 6 เมตร มีรั้วรอบ และมีเวรยามดูแลตลอดเวลา บุคคลผู้อาศัยในบ้านพักแพทย์ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนัก-งานสาธารณสุขแห่งนั้น เมื่อออกจากบ้านพักบุคคลเหล่านั้นจะปิดบ้านใส่กุญแจ และนำลูกกุญแจไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบเก็บรักษาเพื่อจะได้ใช้เมื่อมีการเบิกยาทั้งก่อนเกิดเหตุ ก็ไม่ปรากฏว่าได้เกิดกรณียาคุมกำเนิดหรือวัสดุครุภัณฑ์สูญหายไปแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุให้คาดหมายได้ว่า การควบคุมดูแลกุญแจบ้านพักแพทย์ตามวิธีการที่จำเลยทั้งสี่ใช้อยู่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการโจรกรรมยาคุมกำเนิดไปได้จะถือว่าการโจรกรรมยาคุมกำเนิดดังกล่าวมาจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสี่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1540/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษายา - สถานที่เก็บปลอดภัย, การควบคุมกุญแจที่เหมาะสม ไม่ถือเป็นความประมาท
ยาคุมกำเนิดที่ถูกคนร้ายโจรกรรมไปนั้น จำเลยนำไปเก็บรักษาที่บ้านพักแพทย์ เนื่องจากไม่มีห้องเก็บยาโดยเฉพาะ บ้านพักดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งสำนักงานสาธารณสุข ห่างกันเพียง5-6 เมตร มีรั้วรอบ และมีเวรยามดูแลตลอดเวลา บุคคลผู้อาศัยในบ้านพักแพทย์ล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานสาธารณสุขแห่งนั้นเมื่อออกจากบ้านพักบุคคลเหล่านั้นจะปิดบ้านใส่กุญแจ และนำลูกกุญแจไปให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายที่รับผิดชอบเก็บรักษาเพื่อจะได้ใช้เมื่อมีการเบิกยาทั้งก่อนเกิดเหตุ ก็ไม่ปรากฏว่าได้เกิดกรณียาคุมกำเนิดหรือวัสดุครุภัณฑ์สูญหายไปแต่อย่างใด จึงไม่มีเหตุให้คาดหมายได้ว่าการควบคุมดูแลกุญแจบ้านพักแพทย์ตามวิธีการที่จำเลยทั้งสี่ใช้อยู่นั้นจะเป็นเหตุให้เกิดการโจรกรรมยาคุมกำเนิดไปได้จะถือว่าการโจรกรรมยาคุมกำเนิดดังกล่าวมาจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยทั้งสี่หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1518/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของตัวแทนเรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้รับสินค้า
จำเลยเป็นตัวแทนเรือ มีหน้าที่ต้องตรวจดูชื่อผู้รับสินค้าพิพาทจากเอกสารต่าง ๆ ให้ละเอียดแล้วจึงแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าในบัญชีสินค้าให้ถูกต้องตรงกับใบตราส่ง ซึ่งจำเลยในฐานะตัวแทนเรือสามารถตรวจตราก่อนได้ แต่หาได้ปฏิบัติไม่กลับแจ้งระบุชื่อผู้รับสินค้าพิพาทผิดไปจากใบตราส่งโดยไม่ใช้ความระมัดระวังอันสมควรเป็นเหตุให้ พ. ออกสินค้าจากท่าเรือให้โจทก์ช้าไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายถือได้ว่าจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยปัญหาค่าเสียหายของโจทก์ว่ามีเพียงใด แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นในคดีและจำเลยอ้างในคำแก้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ครอบครองทรัพย์อันตราย: แม้มิประมาทเลินเล่อก็ต้องรับผิดหากเกิดความเสียหายจากทรัพย์นั้น
สายไฟฟ้าซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเดินอยู่และหม้อแปลงไฟฟ้าเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยสภาพ จำเลยผู้มีทรัพย์ดังกล่าวไว้ในครอบครองจึงต้องรับผิดเพื่อความเสียหายที่เกิดจากทรัพย์ดังกล่าว เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้ต้องเสียหายนั้นเองตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 แม้จำเลยมิได้ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดไฟไหม้ จำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายของโจทก์อันเกิดจากสายไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้าของจำเลยเช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1398/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมเป็นอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินในที่ดินของราษฎรที่ถูกเขตชลประทาน จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องไปดูบริเวณที่ดินและตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรเพื่อทราบจำนวนที่แท้จริงที่ต้องจ่ายค่าทดแทนการที่จำเลยที่ 1 เพียงแต่ตรวจดูรายงานการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่คนอื่นโดยไม่ออกไปดูที่ดิน จึงเป็นความบกพร่องของจำเลยที่ 1 เอง หากจำเลยที่ 1 ยังไม่มีเวลาไปตรวจสอบก็จะต้องไม่ลงชื่อร่วมกับอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินคนอื่นการที่จำเลยที่ 1 ลงชื่อในใบตรวจสอบเป็นสาเหตุให้โจทก์เชื่อว่าราษฎรมีทรัพย์สินตามเอกสารดังกล่าวและจ่ายเงินค่าทดแทนตามที่อนุกรรมการเสนอเรื่องไปความเสียหายของโจทก์ที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ราษฎรเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินตามความเป็นจริงจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ร่วมกับบุคคลอื่นกระทำละเมิดต่อโจทก์ และเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 1 กับบุคคลอื่นดังกล่าวก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1กับบุคคลอื่นให้ร่วมกันรับผิดในความเสียหายที่เกิดแก่โจทก์หรือฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดในความเสียหายทั้งหมดแต่เพียงคนเดียวก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของเจ้าของรถและผู้ใช้รถในฐานะตัวแทนจากการประมาทเลินเล่อ
จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรถยนต์หมายเลขทะเบียน 80-3469 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้นำรถเข้าร่วมกิจการขนส่งสินค้ากับบริษัทจำเลยที่ 4 โดยรถคันดังกล่าวมีชื่อจำเลยที่ 4 ติดที่ข้างรถเห็นได้ชัดเจน และจำเลยที่ 4 รับว่ารถยนต์คันนี้ใช้บรรทุกสินค้าของจำเลยที่ 4 นำไปส่งให้แก่ลูกค้า พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 4 ยินยอมให้จำเลยที่ 2 นำรถยนต์เข้าร่วมกิจการของจำเลยที่ 4 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ย่อมได้รับผลประโยชน์จากการนี้โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของตนจำเลยที่ 4 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในผลแห่งการละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 925/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์จากบริการจอดรถในภัตตาคาร จำเลยต้องรับผิดชอบความเสียหายหากประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยที่ 1 จัดบริการให้แก่ลูกค้าซึ่งไปรับประทานอาหารที่ภัตตาคารของจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 ต้อนรับ เอากุญแจรถยนต์ขับรถยนต์เข้าที่จอดและเคลื่อนย้ายรถยนต์หากมีรถยนต์คันอื่นเข้าออกในบริเวณภัตตาคาร ออกใบรับที่จดหมายเลขทะเบียนรถยนต์และรับกุญแจรถยนต์ของลูกค้าเก็บไว้ การที่จำเลยที่ 1 ปฏิบัติเช่นนี้ถือได้แล้วว่าเป็นการฝากทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ในปัญหาว่าจำเลยที่ 1 รับฝากทรัพย์หรือไม่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นการฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ ดังนี้ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยโดยเห็นด้วยในประเด็นเรื่องฝากทรัพย์แล้วเพียงแต่วินิจฉัยต่อไปว่าเป็นการฝากทรัพย์โดยมีบำเหน็จ ซึ่งก็ยังอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่า จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น