คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ป.วิ.พ.

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 269 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2986/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมตัดสินสัญญาโมฆะแล้ว โจทก์ฟ้องเรียกมัดจำจากสัญญานั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คดีก่อนโจทก์ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินซึ่งเป็นที่ดินต้องห้ามขายภายใน 10 ปี โจทก์บอกเลิกสัญญาขอให้บังคับจำเลยคืนมัดจำและเรียกเบี้ยปรับ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอาศัยสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยได้พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยคืนมัดจำเนื่องจากสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเป็นโมฆะ มูลคดีทั้งสองเรื่องและคำขอบังคับอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2391/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามตามมาตรา 248 ป.วิ.พ. กรณีศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพียงเล็กน้อยและทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ 7,500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะในเรื่องค่าเสียหายเป็นว่าให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้โจทก์44,067 บาท ดังนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นแต่เพียงเล็กน้อยและทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 50,000 บาทจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2135/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา: ข้อผิดพลาดเล็กน้อยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
คำร้องของโจทก์ที่โต้เถียงจำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองจะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่า จำนวนหนี้ที่จำเลยทั้งสองค้างชำระถึงวันฟ้องมีมากกว่าจำนวนหนี้ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย โดยขอให้แก้ไขจำนวนเงินจาก 1,542,827.30 บาท เป็น 1,563,767.08 บาท เพิ่มจากเดิมถึงสองหมื่นบาทเศษนั้น มิใช่ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อยตามความหมายของ ป.วิ.พ. มาตรา 143 วรรคแรก ศาลอุทธรณ์จึงไม่อาจที่จะแก้ไขให้ตามคำร้องดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตให้ระบุพยานเพิ่มเติมในคดีที่ดินราคาสูง เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87(2)
โจทก์ฟ้องเรียกร้องที่ดินราคาสูง จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของสามี และจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ในระหว่างการพิจารณาคดีศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง จึงมีเหตุเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)ที่จะสืบตัวจำเลยที่ 2 เป็นพยานเพิ่มเติมตามคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำขอพิจารณาใหม่ล่าช้า: เหตุพฤติการณ์นอกเหนือควบคุมและกรอบเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 208
ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก กำหนดระยะเวลาแก่คู่ความในการใช้สิทธิขอให้พิจารณาใหม่ไว้เป็น 2 ประการ กล่าวคือประการแรกจะต้องยื่นคำขอต่อศาลภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลย แต่ถ้าศาลได้กำหนดการอย่างใด ๆ เพื่อส่งคำบังคับโดยวิธีส่งหมายธรรมดา หรือโดยวิธีอื่นแทนก็ให้นับแต่เมื่อการส่งคำบังคับมีผลใช้ได้ และประการหลังหากมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนเป็นเหตุให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดไม่อาจยื่นคำขอภายในเวลาที่กำหนดไว้ในประการแรกแล้วคู่ความฝ่ายนั้นมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ภายใน15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง ส่วนข้อความตอนท้ายของบทบัญญัติดังกล่าวซึ่งห้ามมิให้ยื่นคำขอเมื่อพ้นกำหนด 2 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือได้มีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นมีความหมายว่า ห้ามมิให้ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่เมื่อพ้น 6 เดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่น แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้จนทำให้การยื่นคำขอต้องล่าช้าเกิน 6 เดือนก็ตาม.
จำเลยที่ 3 ยื่นคำขอให้พิจารณา ใหม่ล่าช้าเกิน 15 วันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับโดยมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่คำขอนั้นมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งถึงเหตุแห่งการยื่นคำขอล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคแรก ซึ่งวรรคสองของมาตรา 208 บังคับให้ต้องกล่าว ศาลชอบที่จะสั่งยกคำขอให้พิจารณา ใหม่ได้แม้เป็นชั้นตรวจคำขอ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4604/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้อง: การเปลี่ยนแปลงข้อหาใหม่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179
ตามคำฟ้องเดิมโจทก์ขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีทแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยขอให้โจทก์เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าที่จำเลยสั่งซื้อจากต่างประเทศ และต่อมาโจทก์ได้ชำระราคาสินค้าแทนจำเลยแล้วก็เป็นแต่เพียงการบรรยายถึงมูลเหตุแห่งการทำสัญญาทรัสต์รีซีทที่โจทก์ฟ้องเท่านั้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องโดยไม่ขอบังคับตามสัญญาทรัสต์รีซีท แต่ขอให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาเลตเตอร์ออฟเครดิต เป็นการตั้งข้อหาใหม่เปลี่ยนแปลงข้อหาในคำฟ้องเดิมมิใช่เป็นการสละข้อหาบางข้อจึงไม่ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 179

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 700/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกประเด็นข้อพิพาทใหม่ในชั้นอุทธรณ์ฎีกา จำเลยต้องยกข้อต่อสู้ในคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาจากเจ้าของเดิม ซึ่งจำเลยปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิเจ้าของเดิม เมื่อจำเลยเห็นว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทโดยไม่สุจริตและไม่ได้เสียค่าตอบแทนจำเลยจะต้องกล่าวไว้ในคำให้การเพื่อตั้งประเด็นพิพาทไว้จึงจะชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสองแม้โจทก์จะให้การแก้ฟ้องแย้งโดยยกเรื่องซื้อที่พิพาทโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนขึ้นมาด้วย ก็เป็นเพียงยืนยันคำฟ้องของโจทก์ว่าโจทก์ซื้อที่พิพาทจากเจ้าของเดิมโดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หาเป็นผลให้เกิดประเด็นขึ้นมาใหม่ไม่ ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทโดยไม่มีประเด็นข้อนี้จำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน จำเลยจึงจะโต้แย้งว่าควรมีประเด็นข้อนี้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบฉันทะขอเลื่อนคดี: ต้องทำตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. และการแถลงขอเลื่อนคดีด้วยวาจาต้องกระทำโดยตัวความหรือทนายความ
การมอบฉันทะและการขอเลื่อนคดี ป.วิ.อ. มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับ คำขอเลื่อนคดีด้วยวาจานั้น ตัวความหรือทนายความจะต้องกระทำด้วยตนเอง มิฉะนั้นจะต้องทำคำขอเลื่อนคดีเป็นลายลักษณ์อักษรและมอบฉันทะให้บุคคลใด บุคคลหนึ่งนำมายื่นต่อศาล ผู้รับมอบฉันทะจากทนายโจทก์ไม่มีอำนาจแถลงด้วยวาจาขอเลื่อนคดี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากโจทก์ขาดนัด และข้อจำกัดในการขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 201
เมื่อศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเพราะเหตุโจทก์ขาดนัดพิจารณาป.วิ.พ. มาตรา 201 วรรคแรกห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำสั่งหรือมีคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นนำคดีที่ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีไปแล้วกลับมาทำการพิจารณาต่อไป อ้างว่ามิได้เป็นคำขอให้มีการพิจารณาใหม่ แต่เป็นการขอให้เพิกถอนคำสั่ง(จำหน่ายคดี) โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีของโจทก์ไปโดยผิดระเบียบแต่ประการใดนั้น คำร้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่นั่นเอง ซึ่งต้องห้าม เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ดำเนินการพิจารณาผิดระเบียบจึงไม่มีเหตุต้องเพิกถอนคำสั่งนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีซ้ำ: ประเด็นต่างกัน ไม่ขัดมาตรา 144 ป.วิ.พ.
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซึ่งต้องห้ามตามบทบัญญัติของ ป.วิ.พ.มาตรา 144 จะต้องเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีครั้งแรกมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะมิได้ชำระเงินงวดเดือนธันวาคม 2525 หรือไม่ โจทก์ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีในครั้งหลังมีประเด็นว่า จำเลยผิดนัดเพราะชำระเงินไม่ตรงกับวันที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความหรือไม่ จึงเป็นคนละประเด็นกัน กรณีจึงไม่ใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144.
of 27